-->

ผู้เขียน หัวข้อ: การจัดซื้อและการบริหารสินค้าคงเหลือสำหรับธุรกิจ SMEs  (อ่าน 6146 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

don

  • บุคคลทั่วไป

การจัดซื้อและการบริหารสินค้าคงเหลือสำหรับธุรกิจ SMEs

เรียบเรียงโดย ผศ.กิตติภูมิ  มีประดิษฐ์

สำหรับธุรกิจ SMEs ที่มีกระบวนการผลิต  การจัดซื้อวัตถุดิบจะต้องมีการจัดการเพื่อให้ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพดี  ในราคาเหมาะสม  และทันเวลาผลิต  เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลต่อสินค้าสำเร็จที่ผลิตออกมาด้วย  นอกจากนี้  ผู้ประกอบการ ต้องตัดสินใจว่า  ควรมีนโยบายรักษาวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปอย่างไรเพื่อรองรับความต้องการในตลาดที่อาจเพิ่มขึ้นได้  แต่ก็ต้องไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาและค่าเสียโอกาสที่วัตถุดิบหรือสินค้าเสื่อมภาพ ล้าสมัย  และขายไม่ได้  ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ต้องลองตรวจสอบดูว่า มีวิธีการจัดซื้อหรือบริหารสินค้าคงเหลือที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ 

กระบวนการของการจัดซื้อ
วัตถุประสงค์ของการจัดซื้อ  ก็คือ  การจัดหาหรือให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบสินค้า  อุปกรณ์หรือบริการที่จำเป็นต่อการดำเนินการผลิต  (หรือ การดำเนินงานอย่างอื่น  เช่น  การตลาดก็ได้ )  ถ้ากิจการมีการจัดซื้อที่มีคุณภาพ  ทำให้บริษัทมีปัจจัยการผลิตที่จำเป็น  (ยกเว้นแรงงาน) อยู่ในระดับที่พอเพียงทั้งปริมาณและคุณภาพในราคาที่เหมาะสมที่สุด  และทันต่อเวลา

ความสำคัญของการจัดซื้อ
ควรทราบไว้ด้วยว่าคุณภาพสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตได้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณภาพของวัตถุดิบที่นำไปใช้ในกระบวนการผลิต  คุณภาพของสินค้าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกค้ายอมรับและง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ  การจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการผลิตสินค้า
การเพิ่มประสิทธิภาพการทำกำไรของกิจการที่เป็นผลมาจากการจัดซื้อ  มีส่วนหนึ่งที่มาจากลักษณะการต่อรองเพื่อหาราคาที่ดีที่สุด  ประหยัดที่สุด  ภายใต้คุณภาพของวัตถุดิบหรือสินค้าที่กำหนดจากผู้เสนอขาย (Suppliers)  หลายๆ ราย  ทำให้เกิดการประหยัดเกี่ยวกับต้นทุนและกำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม  ลำดับความสำคัญของการจัดซื้อแตกต่างกันออกไปตามประเภทของธุรกิจ  เช่น  ธุรกิจขนาดย่อมที่เน้นการให้บริการรับทำบัญชี  รายการสินค้าคงหรือวัสดุคงเหลือไม่ใช่รายการบัญชีที่มีบทบาท  ธุรกิจประเภทนี้สนใจค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานมากกว่าค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัสดุสำนักงานหรือวัสดุอื่นๆ

กระบวนการของการจัดซื้อ
กระบวนการของการสั่งซื้อประกอบไปด้วยขั้นตอนต่อไปนี้
1)   การรับคำสั่งซื้อจากหน่วยงานเกี่ยวข้องภายใน
2)   จัดหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขายสินค้าหรือวัตถุดิบ ( Suppliers )  ว่ามีอยู่ที่ใดบ้าง  มีผลิตภัณฑ์อะไร  ราคาและส่วนลดเป็นอย่างไร  เป็นต้น  เพื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันประกอบการตัดสินใจ
3)   ติดต่อ  Supplier  ที่ได้คัดเลือกไว้แล้ว  เพื่อตกลงทำเงื่อนไขต่างๆที่จำเป็น  แล้วจัดทำใบสั่งซื้อเพื่อยืนยันการสั่งซื้อไปยัง Supplier
4)   ติดตามผลจากการสั่งซื้อว่า  Supplier  ได้รับหรือไม่  และตกลงขนส่งวัตถุดิบหรือสินค้ามาตามกำหนดเวลาหรือไม่
5)   ตรวจรับสินค้าหรือวัตถุดิบตามที่สั่งซื้อเมื่อมาถึงว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่

เกณฑ์การเลือกใช้ผู้ขายรายเดียว
ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมควรเลือกวิธีการจัดซื้อจากผู้ขายรายเดียวภายใต้เกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1)   ผู้ขายรายนั้นสามารถนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพโดดเด่นตรงกับความต้องการของบริษัทเหนือกว่าคู่แข่งขันรายอื่นมาก  ในขณะที่คุณสมบัติข้ออื่นๆไม่แตกต่างกันมากนัก
2)   การสั่งซื้อปริมาณมากจากผู้ขายรายเดียวอาจำให้ได้ส่วนลดเป็นจำนวนมาก  หรือได้สิทธิประโยชน์อื่นเพิ่มเติมจากผู้ขายรายนั้น

เกณฑ์การเลือกผู้ขายหลายราย
ในบางกรณีผู้ประกอบการอาจเลือกจัดซื้อวัตถุดิบสินค้าจากผู้ขายหลายราย  ซึ่งมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
1)   การเลือกพิจารณาข้อเสนอจากผู้ขายหลายๆรายจะทำให้บริษัทมีโอกาสได้คัดเลือกราคา  คุณภาพ  และบริการที่ดีที่สุดที่บริษัทจะได้รับจากผู้ขาย
2)   ผู้ขายเมื่อทราบว่ามีคู่แข่งขันหลายรายเกิดแรงกระตุ้นให้มีการนำเสนอเงื่อนไขการขายที่ดี  เกิดประโยชน์ต่อบริษัทผู้ซื้อ
3)   การกระจายหา ผู้ขายหลายราย  หรือแบ่งยอดซื้อให้กับผู้ขายมากกว่า 1 รายจะช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงผู้ขายรายเดียว  เมื่อเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดเกี่ยวกับผู้ขายรายนั้น  เช่น  การประท้วงของคนงานในบริษัทผู้ขาย  เป็นต้น

ความสำคัญของการบริหารสินค้าคงเหลือ
   สินค้าคงเหลือในที่นี้หมายถึง     วัตถุดิบคงเหลือหรือสินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ   คำว่า  คงเหลือให้นึกถึงคำพวกนี้ที่ไปกองรออยู่ในโกดังหรือคลังสินค้า       ทำไมจึงต้องมีวัตถุดิบคงเหลือหรือสิ้นค้าสำเร็จรูปคงเหลือที่ต้องมี   เพราะในกระบวนการผลิตอาจมีอยู่อย่างต่อเนื่อง มีความต้องการใช้วัตถุดิบอยู่ตลอดเวลา แต่การสั่งซื้อต้องใช้เวลา ถ้าใช้จนหมดแล้วจึงค่อยสั่งวัตถุดิบ ผู้ขาย (Suppiers)   อาจผลิตให้ทัน หรือเสียเวลาในการขนส่ง หรืออาจเป็นเพราะวัตถุดิบมีบางฤดูกาล เช่น  ผลไม้บางชนิดพอหมดฤดูกาลก็ไม่มี    โรงงานผลไม้กระป๋องบางแห่งต้องสร้างห้องเย็นเพื่อเก็บผลไม้เหล่านี้ไว้ เป็นต้น ส่วนสินค้าสำเร็จรูปนั้น  เช่น  โรงงานผลิตของเด็กเล่น   ต้องสั่งซื้อพลาสติกเข้ามา    มีการลงทุนเกี่ยวกับแม่แบบในการพิมพ์ของเล่น    มีการจ้างคนงานมาประจำในโรงงานการผลิตของเล่นทำกันตลอดปีเป็นงานประจำ   ส่วนฝ่ายขายจะติดต่อห้างสรรพสินค้าต่าง   ๆ  หรือผู้ซื้อในต่างประเทศเพื่อทำการขาย   ซึ่งในด้านการขายเกิดความผันผวนได้ง่าย    บางช่วงลูกค้าก็ต้องการน้อย ก็ขายได้น้อย บางช่วงเป็นช่วงที่ลูกค้าต้องการมาก  เช่น ช่วงคริสต์มาสหรือปีใหม่ ผลิตแทบไม่ทัน   ดังนั้น   ในแต่ละข่วววงเวลาต้องมีการสต๊อกสินค้าสำเร็จรูปเอาไว้ก่อนเพื่อไม่ให้เสียโอกาศในการ   แต่จะมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับความต้องการในแต่ละช่วงของตลาดว่าเป็นอย่างไร

การบริหารสินค้าคงเหลือ
การบริหารสินค้าคงเหลือมีวัตถุประสงค์ที่ควรจะต้องทำให้บรรลุอยู่ 4 ด้าน ได้แก่
1)   การทำให้มีการดำเนินการผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง (Ensuring Continuous Operations)  การผลิตที่มีประสิทธิภาพ   จำเป็นต้องมีการเกิดขึ้นของการผลิตอยู่ตลอดเวลาและตรงเวลา เพราะโรงงานเครื่องจักรที่ลงทุนไปมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นทุกวันตั้งแต่ซื้อมา     ค่าจ้างคนงานก็เช่นกัน ต้องจ่ายทุกวัน       จึงจำเป็นต้องใช้การผลิตเหล่านี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้       ลองคิดดูว่าในกระบวนการผลิตถ้ามีความล่าช้าในการจัดส่งวัตถุดิบจะเกิดอะไรขึ้น    อย่างแรกก็คือ  การผลิตต้องหยุดลงเพราะขาดวัตถุดิบ    ปัจจัยการผลิตอื่น  ๆ  ก็จะอยู่ว่าง  ๆ  เกิดค่าใช้จ่าย โดยไม่ทำให้ผลผลิตเพิ่ม      เมื่อผลิตไม่ได้ก็ไม่สินค้าขาย     ถ้าไปตกลงขายสินค้าไว้ก่อนเมื่อส่งมอบไม่ได้  ก็เสียโอกาสในการขายไป ความน่าเชื่อถือก็ไม่มี รายได้ก็ไม่ได้ แต่ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ต้องจ่ายต้นทุนการดำเนินงานสูงขึ้น โอกาสขาดทุนและล้มเหลวก็จะมีมาก    การบริหารให้มีสินค้าคงเหลืออย่างเพียงพอต่อความต้องการ     ทำให้บริษัทดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง และลดปัญหาดังกล่าวข้างต้นลงไปได้

2) การทำให้เกิดยอดขายสูงสุด (Maximizing Sales)
การมีสินค้าคงเหลือในระดับที่เพียงพอ  และเหมาะสมตลอดเวลา ช่วยให้สามารถส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้ทันที       เมื่อลุกค้าต้องการความรวดเร็วในการบริการเป็นปัจจัยหนึ่ง    ที่สร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าซื้อสินค้าทั้งในระยะสั้นระยะยาว   การที่ไม่มีสินค้าตองสนองแก่ลูกค้าเวลาที่ลูกค้าต้องการซื้อนั้น เป็นการผลักลูกค้าให้ไปหาสินค้าคู่แข่ง เป็นการเปิดโอกาสให้คู่แข่ง ทำให้อาจเสียลูกค้าไปให้คู่แข่งตลอดกาล      ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายมากผู้ประกอบการจึงควรตรวจสอบตลอดเวลาทั้งจากเอกสารบัญชี  และ  การเดินตามชั้นวางสินค้า   เพื่อดูว่าสินค้าของเราอยู่บนชั้นเต็มตลอดเวลาหรือไม่    มีการเคลื่อนไหวในแต่ละว่าวันเป็นอย่างไร    มีคนคอยดูแลเติมสินค้าเมื่อสินค้านั้นมีจำนวนลดลงจากชั้นวางสินค้านั้นหรือไม่    เพื่อให้สินค้าเรามีโอกาสสร้างยอดขายตลอดเวลา

   3) การป้องกันการสูญเสียของสินค้าคงเหลือ (Protecting the Inventory)
สาเหตุหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องเข้ามาบริหารจัดการกับสินค้าคงเหลือเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย  เนื่องจากสินค้าเหล่านี้อาจเกิดการสูญเสีย ถูกขโมย  เสื่อมค่า  หรือถูกใช้ในการผลิตอย่างไม่คุ่มค่าทำให้เกิดการเสียหายในระบบสินค้าคงเหลือ      ผู้ประกอบการต้องสร้างให้มีการคุ้มยอดทั้งทางบัญชีและการตรวจนับด้วยมือเป็นครั้งคราว   เพื่อดูว่ามีการสูญหายไปแค่ไหน การมีระบบควบคุมที่ดีทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก     นอกจากนี้ควรมีการตรวจสอบด้วยว่าวัตถุดิบที่สั่งมา    ใช้ไปและคงเหลือในแต่ละงวดการผลิตนั้นมีตังเลขที่ผิดปกติหรือไม่    เพื่อที่จะได้ทราบอัตราการสูญเสียในการใช้วัตถุดิบว่าเป็นอย่างไร    มีการควบคุมดีพอหรือยัง การตรวจสอบในเรื่องนี้จะส่งผลให้การผลิตสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ     และต้นทุนการผลิตของบริษัทมีโอกาสลดลงได้อย่างมาก

   4) การทำให้ค่าใช้จ่ายลงทุนในสินค้าคงเหลืออยู่ในระดับต่ำสุด (Minimizing Inventory Investment) 
      อย่างที่ทราบกันแล้วว่า  การสต๊อกสินค้าคงเหลือ แม้จะทำให้การผลิตหรือการขายเป็นไปอย่างต่อเนื่อง   แต่มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าคงเหลือและค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้านั้น  ผู้ประกอบการอยู่ในระดับต่ำสุด   ภายใต้ข้อจำกัดว่าไม่ทำให้เสียโอกาสในการขายด้วยควรหาการบริหารให้ต้นทุนการลงทุนในสินค้าคงเหลือ

สรุปประเด็น
?   การทำให้มีการดำเนินการผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง การผลิตที่มีประสิทธิภาพ   จำเป็นต้องมีการเกิดขึ้นของการผลิตอยู่ตลอดเวลาและตรงเวลา
?    การทำให้เกิดยอดขายสูงสุด การมีสินค้าคงเหลือในระดับที่เพียงพอ  และเหมาะสมตลอดเวลา ช่วยให้สามารถส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้ทันที       เมื่อลุกค้าต้องการความรวดเร็วในการบริการเป็นปัจจัยหนึ่ง    ที่สร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าซื้อสินค้าทั้งในระยะสั้นระยะยาว 
?    การป้องกันการสูญเสียของสินค้าคงเหลือ สาเหตุหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องเข้ามาบริหารจัดการกับสินค้าคงเหลือเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย  เนื่องจากสินค้าเหล่านี้อาจเกิดการสูญเสีย ถูกขโมย  เสื่อมค่า  หรือถูกใช้ในการผลิตอย่างไม่คุ่มค่าทำให้เกิดการเสียหายในระบบสินค้าคงเหลือ     
?   การทำให้ค่าใช้จ่ายลงทุนในสินค้าคงเหลืออยู่ในระดับต่ำสุด อย่างที่ทราบกันแล้วว่า  การสต๊อกสินค้าคงเหลือ แม้จะทำให้การผลิตหรือการขายเป็นไปอย่างต่อเนื่อง   แต่มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าคงเหลือและค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้านั้น 


กรณีศึกษา 

แหนมแม่สุนี
พ.ต.ต.หญิง นิศากร รัตนชีวกร
จากหนังสือเฟรนไชส์  (สำนักพิมพ์ เค แอนด์ พี บุ๊ค)


ความเป็นมา
การทำธุรกิจนี้เริ่มแรกก็เนื่องจากบังเอิญว่าน้องชายของแฟนที่เขาไปอยู่ที่ลพบุรี มีกลุ่มเพื่อนและทำผลิตภัณฑ์ชุมชน ทีนี้ผลิตภัณฑ์ชุมชนเดิมนี่จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ค่อยมี value เท่าไร เราก็ไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์จากเนื้อปลา จากเดิมที่เขาใช้วิธีการสับ เราก็ไปทำเป็นบดละเอียด และพี่ได้เอามาพัฒนาเรื่องแพ็คเกจจิ้งใหม่ ก็คือเราเอามาห่อแพ็คกิ้ง คือในส่วนของการห่อพลาสติก เสร็จแล้วแพ็คไปอีกทีในส่วนของถุง ลามีเนท คุณภาพของลามีเนทก็คือว่าจะไม่ให้อากาศภายนอกเข้ามา ก็จะเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง และหลังจากนั้นเราก็พัฒนาเรื่องแพ็คเกจจิ้ง เข้ามาเรื่อย ๆ ก็เป็นเรื่องของการใช้ลามีเนทเลย และก็พัฒนาผลิตภัณฑ์ เราคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แต่ว่าในรูปลักษณ์ที่เป็นทางของฝรั่งมากขึ้น เป็นลักษณะไส้กรอกอินเตอร์มากขึ้น
กิจการนี้เป็นกิจการครอบครัวเราเริ่มมาหลายปีแล้ว ตั้งแต่ 2539 ได้เชลล์ชวนชิมครั้งแรก เรามีผลิตภัณฑ์เยอะมาก สูตรเยอะมาก เราคิดสูตรเองหมดเลย เพราะว่าเป็นกิจการของครอบครัว สูตรก็เริ่มมาจากน้องชายของคุณยอดชาย เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2539 แต่เป็นแฟรนไชส์นั้นจะเริ่มประมาณปี 2544-2545 เริ่มตั้งแต่รายการสู้แล้วรวย ก็มีการติดต่อเข้ามาเรื่อย ๆ ติดต่อเข้ามาเยอะ เพราะเดิมเราคิดว่าเราจะทำไปเพื่อสนอบตอบให้ลูกค้า เป็นบริการอย่างหนึ่ง เพราะว่าบางคนเข้ามานี่ก็คือไม่มีอะไรเลย มีเงินมาเพียงอย่างเดียว ยังไม่เคยทำอาชีพอะไรมาก่อนเลย พี่ก็เลยคิดว่าจุดส่วนนี้จะเป็นจุดส่วนบริการให้
พี่จบ Marketing communication มาด้วย พี่ก็เลยได้ใช้ประโยชน์จากตรงนี้ อีกส่วนหนึ่งพี่จบปริญญาตรี พยาบาลตำรวจมา แต่พี่ก็ดูเรื่อง product ด้วย แล้วครอบครัวทำกิจการนี้เราน่าจะช่วยได้ พี่ก็เลยดูเรื่องการตลาดให้ด้วย แล้วส่วนคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร เราก็ใช้ความรู้ที่เป็นพื้นฐานมาช่วยดูเรื่องการตรวจแล้วก็วางมาตรฐานการผลิต ที่เราจะต่างจากชาวบ้านทั่ว ๆ ไป เพราะส่วนหนึ่งเรามีความรู้ที่จะนำมาพัฒนาคุณภาพด้วย และเครื่องของความสะอาดเราเน้นมาก

สินค้า
ผลิตภัณฑ์ของเราเป็นเนื้อปลา ใครก็อยากจะทานปลา เราจะพยายามทำจากเนื้อปลาเกือบทั้งหมด เพราะฉะนั้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมาจะมีปลายอ มีห่อหมกปลา มีแหนมปลายกราย เป็นปลาหมดและอีกทีก็จะเป็นไก่ เอ็นข้อไก่ เราเริ่มต้นคือปลามาก่อน อย่างอื่นพัฒนามาทีหลัง แต่ก็เป็นปลาทั้งหมด และจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสมุนไพรตอนนี้ก็มีถั่วสมุนไพรด้วย และก็มีการส่งออกต่างประเทศด้วย
ในส่วน อย. ตัวนี้เป็นตัวรับประกันคุณภาพเรื่องของความสะอาดแฟรนไชส์ที่เข้าไปขายตามต่างจังหวัด อย่างจังหวัดอยุธยา งานมรดกอยุธยา ก็เอาสุ่มตัวอย่างของพี่ไปตรวจว่ามีสารบอแร็กซ์ หรือมีสารอะไรหรือเปล่า ตรวจสอบแล้วก็ไม่มีอะไรปนเปื้อนและพี่ก็ได้ Clean food good taste มา จากการส่งตรวจของกระทรวงสาธารณสุข พี่จะเน้นที่ว่าผลิตภัณฑ์ ที่เข้ามาพี่จะตรวจบอแร็กซ์ก่อนจากสมุดควบคุมการตรวจบอแร็กซ์ด้วย
ส่วนไส้กรอกปลายอ ไส้กรอก ห่อหมกปลา เราจะคิดสูตรเอง เราก็จะปรับปรุงของเรามาและปรับปรุงรูปลักษณ์ให้มันทันสมัยขึ้น สูตรของเรา ก็พัฒนามาเรื่อย ๆ เรามีสูตรดั้งเดิมมา พัฒนาปรับปรุงของเรากันเรื่อย ๆ

รูปแบบร้านและราคาแฟรนไชส์
ที่นี่จะมีอยู่ 2 แบบ คือ ชุดเล็ก ราคาชุดละ 1,000 บาท ก็ได้อุปกรณ์การทอดครบชุด และชุดตู้ไม้ ราคา 10,000 บาท นอกจากนี้ก็ได้ป้ายส่งเสริมการขายด้วย ราคาแฟรนไชส์แตกต่างกันแต่ราคาผลิตภัณฑ์ไม่แตกต่าง
นะคะ ราคาเท่ากันหมด

การลงทุน
การลงทุนครั้งแรกก็จะมีค่าใช้จ่าย คือ 1,000 บาท สำหรับชุดแฟรนไชส์ชุดเล็กที่สุดก็จะเป็นชุดเตาแก๊สปิกนิก จะเป็นกระทะมีที่กันลมให้มีที่คีบแหนม ถาดรอง ก็คือจะครบชุดอุปกรณ์ตามนี้ ถ้าซื้อแค่ 1,000 บาท ได้ป้ายอีก 1 ป้าย เป็นป้ายออกรายการต่าง ๆ และเป็นป้ายรับประกันคุณภาพที่เราได้เชลล์ชวนชิม
ชุดใหม่ก็เป็นตู้ 10,000 บาท พร้อมป้ายปล่องไฟเป็นป้ายเชลล์ชวนชิม เป็นตัวการันตีแล้วพี่ก็จะให้ป้ายนี้เสริมไปด้วย เพราะชุดอุปกรณ์ไม้นี่เป็นชุดงานที่คลาสสิคขึ้นนิดหนึ่ง สำหรับที่เราจะจัดในซุ้มเบียร์สด คือถ้าใครมองดูว่าช่วงของเทศกาลเบียร์สด หรือพวกร้านอาหารที่จัดเป็นซุ้มเบียร์หรือจัดในสวนอาหารอยู่แล้วนี่ ถ้ามีไอเดีย เราก็จะไปจัดชุดนี้ให้ได้ เพราะแทรกเข้าไปเป็นซุ้มที่ให้ ลูกค้าเกิด activity คือทานร้อน ๆ

   เพราะจากเดิมตอนแรกเราทำกันเองในครอบครัว แต่ตอนหลังเรามีออเดอร์มากขึ้น และชาวบ้านที่เขาทำนา ทำไร่ ก็ว่าง ก็คือจะเข้ามาทำก็ช่วยทำให้คนมีงานทำด้วย พี่ถึงบอกว่ารัฐบาลน่าจะช่วยส่งเสริม ตรงสินค้าชุมชน พี่ก็เห็นชอบด้วย แต่ภาครัฐก็ต้องช่วยเหลือด้วย

พ.ต.ต. หญิง นิศากร รัตนชีวากร บ้านพัก ตชด. เลขที่ 62/423 ศูนย์จำหน่าย ของกรุงเทพฯ หรือเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่ www.SUNEEFOOD.com เป็นเว็บไซต์ซึ่งเป็นบริษัทของคุณวรวรรณ น้องสาวพี่เป็นผู้จัดทำให้ ติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2279-3593, 0-2617-2556 และ 0-1841-2460