-->

ผู้เขียน หัวข้อ: การจัดหาเงินทุนของธุรกิจ SMEs  (อ่าน 1268 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

don

  • บุคคลทั่วไป
การจัดหาเงินทุนของธุรกิจ SMEs
« เมื่อ: 09 มกราคม 2008, 23:07:33 »

การจัดหาเงินทุนของธุรกิจ SMEs
 
เรียบเรียงโดย ผศ.กิตติภูมิ  มีประดิษฐ์

การวางแผนและการสร้างธุรกิจ SMEs ที่จะสามารถอยู่รอดได้นั้นไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหารที่มีความสามารถและการมีตลาดที่ดีเท่านั้น แต่ไม่มีสิ่งใดที่ใช้ทดแทนฐานทางการเงินที่ดีได้  ถ้าหากว่าธุรกิจจะต้องอยู่รอดและเจริญเติบโตตลอดระยะเวลาที่ยาวนาน
ตามหลักการแล้วผู้ประกอบการจะต้องนำเงินไปลงทุนในธุรกิจและมีการบริหารเงินทุนนั้นอย่างเหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่ากิจการจะบรรลุศักยภาพเต็มที่ได้  เงินทุนที่ใช้เพื่อเริ่มต้นธุรกิจได้มาจากแหล่งต่าง ๆ กัน   แม้ว่าการวางแผนทางการเงินที่ดีที่สุดจะไม่ได้เตรียมผู้ประกอบการให้เผชิญกับปัญหาทางการเงินทั้งหมดได้แต่การประเมินความต้องการทางการเงินที่มีการพัฒนามาเป็นอย่างดีก่อนการเริ่มต้นกิจการ  หรือการทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานที่มีอยู่จะช่วยลดการเผชิญปัญหาทางการเงินและความล้มเหลวของธุรกิจที่เกิดโดยฉับพลันซึ่งอาจจะหลีกเลี่ยงได้
ผู้ประกอบการ SMEs จะต้องเผชิญกับคำถามทางการเงินที่สำคัญ ๆ  เช่น ต้องการเงินเพื่อเริ่มต้นกิจการหรือใช้เป็นเงินทุนในการดำเนินงานของธุรกิจที่กำลังประกอบการอยู่เป็นจำนวนเท่าใด  จะหาเงินมาได้จากที่ใด   จะใช้เงินทุนอย่างไร  จะใช้เวลานานเท่าใดก่อนที่การใช้เงินทุนเหล่านี้จะก่อให้เกิดกำไร   สามารถหาเงินทุนมาเพิ่มได้อย่างไรในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน  จะจ่ายเงินคืนให้กับผู้ให้กู้ยืมหรือจะจ่ายคืนผลตอบแทนส่วนที่เหลือให้กับผู้นำเงินมาลงทุนอย่างไรเป็นต้น

การกำหนดความต้องการทางการเงิน
การกำหนดความต้องการทางการเงินของ SMEs ที่กำลังจะเปิดดำเนินการหรือ SMEs ที่เปิดดำเนินการอยู่แล้วจะต้องยึดหลักสำคัญเพื่อให้เกิดการบริหารการเงินที่มีประสิทธิผลโดยการระบุค่าใช้จ่ายดำเนินงานและการประเมินข้อผูกพันทางการเงินส่วนบุคคลที่มีอยู่
ความต้องการทางการเงินของ SMEs จะวนเวียนอยู่รอบ ๆ ความต้องการที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกันสามประเภทคือ  เงินทุนในการจัดตั้งธุรกิจ  เงินทุนในการเริ่มต้นธุรกิจ  และเงินทุนในการดำเนินงาน  ความต้องการสองประเภทแรกมุ่งที่ระยะเวลาก่อนการเริ่มต้นดำเนินงาน  ในขณะที่เงินทุนในการดำเนินงานอาจจะเป็นที่ต้องการ ณ จุดใด ๆ  ก็ได้ในระหว่างช่วงชีวิตของธุรกิจ 

ความต้องการเงินทุนในการจัดตั้งธุรกิจ
เงินทุนที่ต้องการเพื่อจัดตั้งกิจการ  ได้แก่  ค่าชำระค่าใบอนุญาตและการขออนุญาตต่าง ๆ  เงินมัดจำ สิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์  ค่าใช้จ่ายทางด้านกฎหมายและอื่น ๆ  การเริ่มต้นธุรกิจเกี่ยวข้องกับการเตรียมการเป็นอย่างมากซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง
ค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นเงินทุนหมุนเวียนเริ่มแรกที่มีจำนวนมากที่สุดรายการหนึ่งจะเป็นเงินมัดจำการเช่าและการซ่อมแซมหรือการออกแบบร้านขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ  ในขณะที่สิ่งอำนวยความสะดวกควรจะถูกแสวงหามาให้เหมาะสมกับความต้องการที่คาดหวังไว้มากที่สุด ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะมีอยู่จำนวนหนึ่งที่มากพอจึงต้องมีการประมาณและวางแผนเตรียมไว้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายจำนวนนี้จะเกิดขึ้นก่อนที่ธุรกิจจะมีรายได้ฃ
ความต้องการเงินทุนประเภทที่สอง คือเงินทุนที่จะนำไปใช้เป็นค่าอุปกรณ์และเครื่องใช้ต่าง ๆ  ที่ต้องการเพื่อดำเนินธุรกิจ  อาทิเช่น  เครื่องบันทึกเงินสด  เครื่องคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์สำนักงานขนาดเล็ก  เครื่องจักรเฉพาะด้านและอุปกรณ์การขนส่งซึ่งแสดงให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายที่ชัดเจนโดยขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ 
ความต้องการเงินทุนประเภทที่สาม คือเงินทุนที่จะนำมาซื้อสินค้าคงเหลือช่วงเริ่มต้นธุรกิจ  ธุรกิจจะต้องมีวัสดุและสินค้าคงเหลือก่อนที่จะเริ่มต้นดำเนินงานในขณะที่ผู้จำหน่ายบางคนให้เครดิตการค้าหรือส่งสินค้าคงเหลือที่ต้องการมาให้ก่อน  แต่ผู้จำหน่ายส่วนใหญ่ต้องการได้รับชำระเงินจากกิจการที่เปิดใหม่เมื่อได้ส่งสินค้ามาให้ 
ความต้องการเงินทุนประเภทที่สี่  คือเงินทุนซึ่งมักจะถูกละเลย เช่น ค่าใบอนุญาตและการขออนุญาต  ค่าธรรมเนียมทางด้านวิชาชีพ  และค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระก่อนใบอนุญาตประกอบธุรกิจและการขออนุญาตตามที่กำหนดไว้  รวมทั้งค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่าง ๆ  ที่ต้องชำระก่อน  เช่น  ค่าประกันภัย  ค่าสาธารณูปโภคเป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญ  ค่าบริการทางด้านกฎหมายและการบัญชีซึ่งถึงแม้ว่าจะมีราคาแพงก็มักจะเป็นที่ต้องการเพื่อจัดตั้งกิจการ  ค่าธรรมเนียมในการจัดตั้งบริษัท  การได้รับลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร  ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามประเภทของความเป็นเจ้าของและความเชี่ยวชาญของเจ้าของเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ  เหล่านี้  ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการที่มีพื้นฐานในเรื่องกฎหมายธุรกิจและการบัญชีอยู่บ้าง  ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะมีจำนวนมากพอที่จะต้องรวมไว้เพื่อทำการวางแผนความต้องการเงินทุน

ความต้องการเงินทุนในการเริ่มต้นธุรกิจ
นอกเหนือจากความต้องการเงินทุนเพื่อจัดตั้งธุรกิจแล้ว  เงินทุนที่ธุรกิจต้องการอีกประเภทหนึ่งคือ  ความต้องการเงินทุนเพื่อทำให้ธุรกิจเริ่มต้นได้  แรงงาน  การส่งเสริมการขาย  วัสดุสำนักงาน  เครื่องใช้ที่ต้องตกแต่งใหม่  และรายการอื่น ๆ  ที่แตกต่างกันซึ่งจะต้องจัดซื้อมา  ค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นธุรกิจเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดก่อนการเปิดกิจการ ลักษณะที่เด่นชัดของค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นธุรกิจ  คือ  ค่าใช้จ่ายที่มักจะเกิดขึ้นเฉพาะเมื่อเริ่มต้นธุรกิจและจะไม่เกิดขึ้นอีกในปีต่อไป
ความสำคัญของค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นธุรกิจจะขยายขอบเขตออกไปมากขึ้น  เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าทั้งรายรับและรายจ่ายมักจะเปลี่ยนแปลงได้มากในระหว่างช่วงเวลาที่เริ่มต้นธุรกิจ  ลักษณะและขอบเขตของความต้องการสินค้าและบริการของธุรกิจ  จังหวะเวลาการขาย  และระดับของรายจ่ายที่เหมาะสม  ในระหว่างระยะของการลองผิดลองถูกนี้มักจะปรากฏว่ารายจ่ายสูงกว่ารายรับและการหมุนเวียนของเงินสดจะเป็นปัญหา  ดังนั้น เงินทุนในการเริ่มต้นธุรกิจอาจจะเป็นที่ต้องการเพื่อให้คุ้มค่าใช้จ่ายเหล่านี้และช่วยให้ธุรกิจดำเนินงานได้ตลอดระยะเวลาสามถึงหกเดือนแรก
ความต้องการเงินทุนในการดำเนินงาน
ตลอดชีวิตของธุรกิจจะมีความต้องการการจัดหาเงินทุนเป็นบางโอกาส  ผู้ประกอบการอาจจะต้องการที่จะรักษาเสถียรภาพของเงินสดรับและเงินสดจ่าย  ขยายการดำเนินงาน  หรือช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้ตลอดเวลาที่เกิดความยุ่งยาก
 ในขณะที่ผู้ประกอบการผ่านขั้นตอนการจัดตั้งและการเริ่มต้นธุรกิจโดยตลอดได้ค่อนข้างรวดเร็ว  ความต้องการเงินทุนในการดำเนินงานสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิตของธุรกิจ
การใช้เงินทุนในการดำเนินงานที่ปกติธรรมดาที่สุด  คือ  เพื่อที่จะเอาชนะปัญหาการหมุนเวียนของเงินสด  เพื่อช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดในช่วงที่เผชิญกับความตกต่ำ และเพื่อการขยายตัวทางการเงิน  ธุรกิจเกือบทุกแห่งจะต้องเคยประสบกับปัญหาการหมุนเวียนของเงินสดในบางเวลาไม่ช้าก็เร็ว เงินสดรับไม่เพียงพอกับเงินสดจ่ายและธุรกิจจะต้องอาศัยเงินสดสำรองหรือการจัดหาเงินจากภายนอกเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างเงินสดรับกับเงินสดจ่าย ในกรณีที่ลักษณะเช่นนี้กลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ แล้วก็อาจจะจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างเงินทุนของธุรกิจเสียใหม่  นั่นคือ  ความสมดุลระหว่างการก่อหนี้กับการลงทุนของเจ้าของธุรกิจ
ความต้องการเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน เช่น เพื่อที่จะเอาชนะความตกต่ำของธุรกิจ  การถดถอยของเศรษฐกิจ  การสูญเสียลูกค้ารายสำคัญไป ซึ่งสามารถส่งผลกระทบที่สำคัญต่อการดำเนินงานของธุรกิจ  ธุรกิจอาจจะต้องการเงินทุนเพื่อช่วยให้การดำเนินงานต่อเนื่องไปได้  หรือเพื่อที่จะวางตำแหน่งของธุรกิจขึ้นใหม่ในตลาด

การกำหนดความต้องการความช่วยเหลือทางการเงิน
เมื่อเจ้าของ SMEs ได้ทำการประเมินความต้องการเงินทุนเพื่อนำมาใช้ในการจัดตั้งธุรกิจ  หรือเงินทุนในการดำเนินงานแล้ว ก็สามารถกำหนดสภาพการณ์ที่ยุติธรรมได้  เงินจำนวนนี้เป็นเงินที่เจ้าของเต็มใจและสามารถที่จะผูกมัดธุรกิจกับจำนวนเงินที่เจ้าหนี้และนักลงทุนอื่น ๆ  นำมาให้กับธุรกิจ
ในขณะที่ผู้ที่คาดว่าจะเป็นผู้ประกอบการ SMEs บางคนมีเงินทุนของตัวเองเพียงพอ  ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะต้องกู้ยืมเงินหรือหาผู้ที่จะนำเงินมาลงทุนในธุรกิจ  การตระหนักถึงความต้องการเงินทุนจากภายนอกเป็นเรื่องสำคัญ 
แหล่งของการจัดหาเงินทุนที่สำคัญที่สุดแหล่งหนึ่งสำหรับกิจการซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่  คือ  ทรัพยากรทางการเงินส่วนบุคคล  ถ้าหากว่าเงินทุนของตัวเองไม่เพียงพอ  ผู้ประกอบการการอาจจะต้องกู้ยืมจากญาติพี่น้อง  เพื่อน  สถาบันที่ให้กู้ยืม  หรือผู้จำหน่าย 
ในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ต้องการที่จะกู้ยืมก็อาจจะใช้วิธีแสวงหานักลงทุนจากภายนอก  ในขณะที่เงินทุนเหล่านี้ไม่ต้องได้รับการชำระคืน  ถ้าหากว่าธุรกิจไม่สามารถทำกำไรได้  แต่เจ้าของธุรกิจจะต้องสูญเสียอำนาจหน้าที่ในบางด้านและอาจจะไม่สามารถควบคุมจุดหมายปลายทางของธุรกิจได้
ผู้ประกอบการต้องพยายามที่จะเพิ่มเงินทุนให้เท่ากับจำนวนที่เขาต้องการนำมาใช้ในธุรกิจเท่านั้น  การได้รับเงินทุนจำนวนมากเกินไปทำให้ธุรกิจต้องเสียค่าใช้จ่ายในรูปของการชำระค่าดอกเบี้ยให้กับเงินทุนที่กู้ยืมมา หรือการยอมให้บุคคลอื่นเข้ามามีส่วนในการควบคุมธุรกิจมากเกินไป  สำหรับการจัดหาเงินจำนวนน้อยเกินไปก็หมายความว่าธุรกิจไม่สามารถทำทุกเรื่องที่ต้องการจะทำเพื่อให้กิจการประสบความสำเร็จ 
การจัดหาเงินจะต้องมีการวางแผนอย่างระมัดระวังเป็นอย่างมาก  การบรรลุส่วนผสมที่ต้องการระหว่างส่วนของเจ้าของและหนี้สินซึ่งจะพอดีกับความต้องการเงินทุนไม่สามารถปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม 
การประมาณความต้องการเงินทุนในการเริ่มต้นและดำเนินงานจะมีบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างไปเนื่องจากรายรับบางรายการสามารถทดแทนค่าใช้จ่าย  ดังนั้นกระบวนการที่เกี่ยวข้องจะมีมากกว่าเรื่องของการวิจัยค่าใช้จ่าย  การพยากรณ์ยอดขายสำหรับกิจการที่จัดตั้งขึ้นใหม่  หรือการขยายตัวไปสู่ธุรกิจสายใหม่ที่แตกต่างออกไปเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก  เพราะว่ายังไม่มีบันทึกที่ผ่านมาในอดีต  ผู้ประกอบการมักจะประมาณรายรับภายหลังจากการวิเคราะห์ขีดความสามารถของตลาดและประมาณยอดขายของคู่แข่งขัน
กุญแจที่จะนำไปสู่การประมาณความต้องการเงินทุนที่ประสบความสำเร็จ คือการมีการคาดหมายรายรับและค่าใช้จ่ายที่มีเหตุผล  อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ผู้ประกอบการจะกระตือรือล้นมากเกินไปเกี่ยวกับ SMEsของเขาจนทำให้พวกเขามองโลกในแง่ดีเกินไปเกี่ยวกับยอดขายและทำการประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจต่ำเกินไป 

การวางแผนความต้องการเงินทุนในอนาคต
ความต้องการเงินทุนไม่ได้เป็นเรื่องแปลกในการเริ่มต้นการดำเนินงานของธุรกิจ  ในขณะที่ธุรกิจเจริญเติบโต  ความต้องการเงินทุนเพื่อขึ้นเรื่อย  ๆ  ทำให้มีจำนวนเกินกว่าเงินสดสำรองที่มีอยู่  ดังนั้นแม้แต่ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จก็จะต้องกู้ยืมเงินเพื่อนำไปจัดซื้ออุปกรณ์  ที่ดิน  สินค้าคงคลัง  แรงงาน  และอื่น  ๆ  เพิ่มขึ้น  ในขณะที่เป็นการยากที่จะทำการพยากรณ์ว่าเมื่อใดธุรกิจจะต้องการเงินทุนเพิ่มขึ้นผู้ประกอบการควรจะทราบถึงโอกาสที่อาจจะเกิดขึ้นได้เหล่านี้
ผู้ประกอบการ SMEs ควรจะประมาณและวางแผนความต้องการเงินทุนสำหรับสองถึงสี่ปีข้างหน้าการพยากรณ์ระดับกิจกรรมของธุรกิจในอนาคตเป็นขั้นตอนแรกในกระบวนการนี้เมื่อธุรกิจได้ดำเนินงานมาเป็นระยะเวลาหนึ่งหรือสองปี  สิ่งที่สำคัญที่สุดผู้ประกอบการจะต้องเตรียมธุรกิจสำหรับความต้องการเงินทุนในอนาคตอย่างมีประสิทธิผลไม่ว่าเพื่อที่จะให้ผ่านช่วงเวลาที่ยุ่งยากหรือเพื่อที่จะขยายการดำเนินงาน

ประเภทเงินทุน
เมื่อมีการตัดสินใจเกี่ยวกับความต้องการเงินทุนแล้ว  ผู้ประกอบการจะต้องระบุแหล่งเงินทุนที่อาจจะเป็นไปได้  การจัดหาเงินเป็นเรื่องยากที่จะได้รับและมีประเภทเงินทุนที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดโดยขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ  สถานการณ์ทางการเงินปัจจุบัน  จำนวนของเงินทุนที่ต้องการ  และตัวแปรอื่น  ๆ  และสิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน  คือ  เงินทุนแต่ละประเภทจะเสนอค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งอาจจะเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกับธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง  ความเข้าใจแหล่งเงินทุนแหล่งต่าง  ๆ  และความเชื่อถือได้สำหรับธุรกิจเป็นกุญแจนำไปสู่การก่อให้เกิดเงินทุนและการบริหารการเงินที่ประสบความสำเร็จการจัดหาเงินทุนที่สำคัญสองประเภท คือ  การจัดหาเงินโดยการก่อหนี้และการจัดหาเงินจากส่วนของเจ้าของ

สรุปประเด็น
การกำหนดความต้องการทางการเงินของ SMEs ที่กำลังจะเปิดดำเนินการหรือ SMEs ที่เปิดดำเนินการอยู่แล้วจะต้องยึดหลักสำคัญเพื่อให้เกิดการบริหารการเงินที่มีประสิทธิผลโดยการระบุค่าใช้จ่ายดำเนินงานและการประเมินข้อผูกพันทางการเงินส่วนบุคคลที่มีอยู่
ความต้องการทางการเงินของ SMEs จะวนเวียนอยู่รอบ ๆ ความต้องการที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกันสามประเภทคือ  เงินทุนในการจัดตั้งธุรกิจ  เงินทุนในการเริ่มต้นธุรกิจ  และเงินทุนในการดำเนินงาน  ความต้องการสองประเภทแรกมุ่งที่ระยะเวลาก่อนการเริ่มต้นดำเนินงาน  ในขณะที่เงินทุนในการดำเนินงานอาจจะเป็นที่ต้องการ ณ จุดใด ๆ  ก็ได้ในระหว่างช่วงชีวิตของธุรกิจ 
เมื่อมีการตัดสินใจเกี่ยวกับความต้องการเงินทุนแล้ว  ผู้ประกอบการจะต้องระบุแหล่งเงินทุนที่อาจจะเป็นไปได้  การจัดหาเงินเป็นเรื่องยากที่จะได้รับและมีประเภทเงินทุนที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดโดยขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ  สถานการณ์ทางการเงินปัจจุบัน  จำนวนของเงินทุนที่ต้องการ  และตัวแปรอื่น  ๆ  และสิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน  คือ  เงินทุนแต่ละประเภทจะเสนอค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งอาจจะเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกับธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง  ความเข้าใจแหล่งเงินทุนแหล่งต่าง  ๆ  และความเชื่อถือได้สำหรับธุรกิจเป็นกุญแจนำไปสู่การก่อให้เกิดเงินทุนและการบริหารการเงินที่ประสบความสำเร็จการจัดหาเงินทุนที่สำคัญสองประเภท คือ  การจัดหาเงินโดยการก่อหนี้และการจัดหาเงินจากส่วนของเจ้าของ
         
 
กรณีศึกษา

บริษัท ไทยวินิเทค (2002) จำกัด
คุณสุพัศชัย วิรัตกพันธ์ กรรมการผู้จัดการ โทรศัพท์02-639-6699 มือถือ 01-840-2967

บริษัท ไทยวินิเทค (2002) จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2545 เป็นโรงงานผลิตเกี่ยวกับท่อพลาสติก PVC, อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับท่อ, ข้อต่อ และข้องอต่าง ๆ ที่ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม ISO 9200 และเครื่องหมายการค้า 3 ด้าน

ลูกค้าซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายของบริษัทฯ ส่วนใหญ่อยู่แถบภาคอีสาน และตามหน่วยงานราชการต่าง ๆ เนื่องจากโรงงานผลิตอยู่โคราช นิคมอุตสาหกรรมสุรนารี ตั้งอยู่เลขที่ 319 หมู่ 6 ถ.ราชสีมาโชคชัย ต.หนองระเวียง เขตอำเภอเมือง จ.นครราชสีมา

บริษัท ไทยวินิเทค (2002) จำกัด ใช้คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมสำเร็จรูปในการบันทึกเก็บข้อมูลทางบัญชีและการเงิน ทุกอย่างทั้งการซื้อ-ขาย บัญชีเงินเดือน บัญชีสินค้าคงคลัง จำนวนวัตถุดิบ การผลิต ตลอดจนบัญชีแยกประเภท ลูกหนี้ เจ้าหนี้ ฯลฯ ซึ่งบัญชีเหล่านี้จัดทำไว้อย่างเป็นระบบ ระเบียบ ง่ายและสะดวกต่อการตรวจสอบข้อมูล จากทั้งภายในบริษัทเองหรือจากภายนอก (เช่น สรรพากร, หุ้นส่วน ฯลฯ) ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ก็มีราคาไม่สูงมากนัก อยู่ที่ประมาณ 4-5 หมื่นบาท

นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนการลงทุนทั้งทางด้านปริมาณ ต้นทุนการผลิต ความสามารถทางการทำกำไร และใช้วิเคราะห์ข้อมูลระหว่างการดำเนินการด้วยเช่นกัน คือเมื่อดำเนินการผลิตไปแล้วก็สามารถวิเคราะห์ได้ตลอดเวลา

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน บริษัทฯ มีการวางแผนที่จะจัดหาเงินทุนมาใช้หมุนเวียนในธุรกิจโดยขอกู้จาก SMEs Bank ซึ่งเราได้วางแผนไว้ตั้งแต่ก่อนขอกู้แล้วว่าจะนำเงินมาทำอะไรบ้าง ซึ่งมีทั้งสินเชื่อระยะยาว 6 ปี ประมาณ 70 ล้านบาท ซึ่งกู้มาซื้อเครื่องจักร สร้างโรงงาน สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ส่วนสินเชื่อระยะสั้นวางแผนไว้สำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียน ประมาณ 20 ล้านบาท เช่น การผลิต ตลอดจนการซื้อ การขาย ซึ่งเป็นเงินทุนหมุนเวียนเมื่อเริ่มดำเนินการผลิตไปแล้ว