-->

ผู้เขียน หัวข้อ: สร้างคนเก่งได้ใน 3 ขั้นตอน  (อ่าน 457 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

don

  • บุคคลทั่วไป
สร้างคนเก่งได้ใน 3 ขั้นตอน
« เมื่อ: 10 ธันวาคม 2008, 04:51:40 »

ถึงเราจะอยู่ในโลกที่ดูไม่ค่อยจะเสมอภาคกันสักเท่าไรนัก เพราะความแตกต่างของคนรวยกับคนจนและประเทศร่ำรวยกับประเทศยากจน ที่มีมากขึ้นทุกวันๆ ทำให้ความเสมอภาคดูลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ แต่ผมก็ยังเชื่อว่าความเสมอภาคนั้นมีอยู่จริงๆ ครับ
 


ลองคิดดูว่าหากพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก ก็น่าจะเฉลี่ยคนไปสู่ประเทศต่างๆ ได้ใกล้เคียงกัน ทั้งคนเก่ง คนไม่เก่ง คนดี คนไม่ดี ซึ่งแต่ละประเทศก็น่าจะมีอัตราส่วนของคนเก่งต่อคนปกติธรรมดาใกล้เคียงกัน
 
ซึ่งดูแล้วก็น่าจะจริง เพราะคนที่เก่งในระดับอัจฉริยะเทียบกับคนปกติ ในแต่ละประเทศก็มีจำนวนแตกต่างกันไม่มากนัก ซึ่งประเทศขนาดใหญ่ที่มีประชากรเยอะน่าจะได้เปรียบกว่า แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วก็น่าจะมีแต่อเมริกาประเทศเดียวเท่านั้นที่ได้เปรียบ
 
ในขณะที่ประเทศใหญ่ ประเทศอื่นเช่น จีน อินเดีย กลับไม่ได้อานิสงส์จากความใหญ่ของประเทศตัวเองสักเท่าไรนัก เพราะจำนวนคนเก่งที่มี แม้จะมากกว่าประเทศเล็ก แต่ก็อาจใช้เป็นข้อได้เปรียบในการสร้างชาติไม่ได้
 
ใน ?บิสิเนสไทย? ฉบับที่แล้วผมเขียนไว้ถึงเรื่อง Groupware Knowledge ที่เน้นการสร้างระบบให้บริษัทสามารถสร้างคนเก่งๆ ออกมาได้มากที่สุด ซึ่งจะขยายไปจนถึงระดับประเทศก็ไม่ใช่เรื่องยาก
 
ในวันนี้ ผมคงต้องขอสรุปประเด็นในเรื่องนี้อีกสักครั้ง เพราะทุกวันนี้เราคงเห็นแล้วว่าการมีคนเก่งมาร่วมงานด้วยนั้นไม่ได้รับประกันถึงความสำเร็จใดๆ หากเราไม่สามารถต่อยอดให้คนเก่งนั้นได้แสดงฝีมือ และสร้างคนเก่งรุ่นใหม่ๆเข้ามาให้บริษัทได้
 
หัวใจสำคัญของการสร้าง Groupware Knowledge ก็คือการสร้างขั้นตอนต่างๆ ระบบ ระเบียบ หรือกระบวนการทำงานที่เป็นขั้นเป็นตอน ที่ได้จากการบ่มเพาะประสบการณ์และฐานความรู้ของบริษัท ที่ช่วยให้พนักงานธรรมดาๆก็สามารถทำงานได้เก่งเหมือนกับหัวกะทิของบริษัท
 
วิธีนี้ก็เหมือนกับการโคลนนิ่งคนเก่งออกมาให้มากที่สุด เพื่อจะได้มีคนช่วยคิด วิเคราะห์ วางแผน และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ป้อนให้กับตลาดได้อย่างต่อเนื่อง แทนที่จะรอแต่คนเก่งๆ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่คนเท่านั้น
 
และเมื่อคนธรรมดาๆ ถูกยกระดับขึ้นมาได้ สุดท้ายบริษัทก็จะมีแต่คนเก่งๆ เข้ามาร่วมงาน  จนบุคลิกของพนักงานรุ่นใหม่ที่เต็มไปด้วยเก่ง ความเฉลียวฉลาด ก็ค่อยๆ ผสมกลมกลืนกันจนสะท้อนเป็นบุคลิกของบริษัทไปในที่สุด
 
โดยสรุปแล้ว การสร้างคนเก่งให้กับบริษัทได้ ก็มีแนวทางง่ายอยู่ 3 ทางเท่านั้น คือทางแรกการสร้างกลไกในการโคลนนิ่งคนเก่งด้วยวิธีต่างๆ ข้างต้น เปรียบเสมือนการยกระดับให้คนปกติธรรมดาเลื่อนชั้นขึ้นมาเป็นกำลังสำคัญให้กับบริษัทได้
 
ทางที่สองคือ การหาเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ มาเสริมให้คนทั่วไปมีขีดความสามารถสูงขึ้น ซึ่งในฉบับที่แล้วผมยกตัวอย่างเครื่องนับเหรียญที่ช่วยให้คนธรรมดานับเหรียญทอนให้ลูกค้าได้เร็วและถูกต้องไม่แพ้คนเก่งที่มีหัวทางการคำนวณที่ดีกว่า
 
แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีเครื่องไม้เครื่องมืออันทันสมัยอีกมากในทุกวันนี้ที่ทำให้คนทั่วไปทำงานได้ถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร ฯลฯ ทำให้คนธรรมดาๆ กลายเป็นคนเก่งได้ง่ายๆในพริบตา
 
ข้อสุดท้าย คือการสร้างเวทีให้คนเก่งได้ต่อยอดความเก่งของตัวเองให้ออกมามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเวทีทางความคิดที่เปิดโอกาสให้ได้ลองทำอะไรใหม่ๆ หรือจะเป็นคนถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆให้กับพนักงานอื่นก็ตาม
 
การสร้างคนเก่งจึงไม่ได้เป็นภาระหน้าที่ในระดับชาติแต่เพียงอย่างเดียว เพราะเราก็มีบทบาทและหน้าที่ในการสร้างคนเก่งให้กับบริษัท ซึ่งสุดท้ายแล้วก็จะกลายเป็นกำลังสำคัญของประเทศได้นั่นเอง
 

 

 ijn uhbgv