-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ถูกเปลี่ยน หรือจะเปลี่ยนให้ถูก  (อ่าน 393 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

don

  • บุคคลทั่วไป
ถูกเปลี่ยน หรือจะเปลี่ยนให้ถูก
« เมื่อ: 10 ธันวาคม 2008, 04:58:40 »

ถึงจะผ่านปีใหม่มานานจนจะครบไตรมาสแรกอยู่แล้ว แต่ถึงวันนี้ดูๆ ไปแล้ว นักธุรกิจและผู้บริหารส่วนใหญ่ ก็ยังไม่มั่นใจนักว่าเศรษฐกิจบ้านเราจะไปทางไหนกันแน่ ที่ดีหน่อยก็บอกว่าน่าจะไปต่อได้ แต่ที่เหลือดูจะไม่มั่นใจสักเท่าไร


เจอะเจอใคร ก็มักจะถามกันเป็นปกติ ว่าเศรษฐกิจปีนี้จะเป็นอย่างไรกันแน่ แต่หากมีใครถามผมก็จะตอบว่าขึ้นอยู่กับตัวแปรทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งต่างประเทศเราควบคุมไม่ได้ เราจึงกำหนดไม่ได้ว่าเศรษฐกิจโลกต้องดี

ส่วนบ้านเราเอง จะเติบโตแค่ไหน มั่นคงเพียงใด ก็ใช่ว่าจะควบคุมได้เหมือนกัน เพราะมีเรื่องอื่นเกี่ยวข้องอีกมากมาย ทั้งกระแสโลกไร้พรมแดน ตลาดใหม่ คู่แข่งใหม่ หรือจะเป็นตลาดเก่า คู่แข่งเก่า ฯลฯ เอาแน่อะไรไม่ได้เหมือนกัน เพราะโลกเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง

สรุปสั้นๆ ได้ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับ ?การเปลี่ยนแปลง? นี่เอง ซึ่งไม่ว่า เราจะอยู่ส่วนไหน ทั้งระดับประเทศ หรือระดับอุตสาหกรรม ความแน่นอนเดียวที่มีอยู่ก็คือ ?ความไม่แน่นอน? และความไม่แน่นอนมาจากการเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลงในระดับบริษัท ความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงคือ ทันทีที่พูดว่าจะเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งก็คือข้อแก้ตัว หรือเหตุผลมาอ้างว่าไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งเหมือนกันหมดทุกบริษัทเมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงให้บริษัทดีขึ้น

ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดา แต่อันตรายมาก เพราะกลายเป็นว่าทุกคนพยายามสรรหาเหตุผลมาบอกว่าทำไมไม่อยากเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ลูกค้าอยากให้เราเปลี่ยนไปเป็นอย่างที่เขาต้องการ ไม่ใช่ให้เราหาเหตุผลเพื่อที่จะไม่ทำ

ที่น่ากลัวก็คือ การหาข้อแก้ตัวหรือเหตุผลที่จะไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กลายเป็นนิสัยปกติของคนทำงานทุกวันนี้ไปแล้ว กลายเป็นสิ่งปกติธรรมดาที่ทุกคนต้องทำอย่างนั้น สุดท้ายแล้วก็จะไม่มีอะไรดีขึ้น

สิ่งที่ต้องทำคือต้องสร้างนิสัย หรือต้องสร้างความเข้าใจ ต้องไม่ยอมรับในเหตุผลของการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบ เพราะหากทุกคนไม่พยายามเข้าใจ และคิดว่าสิ่งที่หาเหตุผลมาอ้าง ว่าทำไม่ได้ หรือเป็นเรื่องปกติธรรมดา การเปลี่ยนแปลงก็จะไม่มีวันเกิดขึ้น

ผู้บริหารที่ฉลาด จะต้องไม่หาเหตุผลมาแก้ตัว และพยายามปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงจนเป็นนิสัย ซึ่งต้องเริ่มต้นจากคำถามง่ายๆว่าจะจัดการกับตัวเองอย่างไร ซึ่งหลายๆ ครั้งอาจมีตัวอย่างจากคนอื่นๆ ที่เคยเจอกับปัญหาหรือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นคล้ายๆ กันให้ได้ศึกษา

เราจึงต้องศึกษาให้รู้ว่าอะไรจริง อะไรไม่จริง อะไรที่สำคัญที่สุด ซึ่งทั้งหมดจะเกิดความท้าทายกับตัวเองว่าจะจัดการอย่างไร ในสภาวการณ์ที่แตกต่างไปจากเดิม โดยธรรมชาติของคนมักใช้ประสบการณ์ของอดีตมาตัดสินใจ แต่เป็นการตัดสินใจผิดไปโดยไม่นำสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันมาเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจ

สิ่งที่ต้องแก้คือ แก้นิสัยนี้ ต้องถามว่าเรื่องมีเหตุผลอะไรบ้าง ฐานของเหตุผลมีอะไรเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ และทางเลือกของเราคืออะไร ต้องมีการวิเคราะห์ว่าที่มาของเรื่องคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนี้ มีอะไรที่ดีกว่านี้หรือไม่ การเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้น

สุดท้ายต้องกลับมาที่กลยุทธ์การแก้ปัญหา เพราะจะทำให้เราคิดว่ามิติของการแก้ปัญหามีสิ่งใหม่มาเสมอ เพราะสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป ถ้าไม่ฝึกตัวเองให้เป็นเช่นนี้ สุดท้ายเราก็จะไม่ต่างอะไรกับเครื่องจักรที่ล้าสมัย

ผมเชื่อว่าผู้อ่าน ?บิสิเนสไทย? ทุกท่าน คงไม่มีใครอยากตกอยู่ในสภาวะดังกล่าว แต่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทุกวัน และเกือบจะทุกนาที จึงไม่มีคำว่า ?สายเกินไป? หรือครับ เพราะหากตั้งใจจริง จะเปลี่ยนตัวเองเสียในอีก 1 นาทีข้างหน้าก็คงไม่ช้าเกินไป
 ujn ujn