-->

ผู้เขียน หัวข้อ: สะพานเชื่อมความสำเร็จ  (อ่าน 513 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

don

  • บุคคลทั่วไป
สะพานเชื่อมความสำเร็จ
« เมื่อ: 10 ธันวาคม 2008, 05:01:27 »

ดูๆไปแล้วอดคิดไม่ได้ว่าหน่วยงานอื่นๆ ที่อาจไม่ได้พูดถึงจะน้อยใจหรือไม่ เพราะเบื้องหลังธุรกิจ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าอะไร ก็ล้วนมีองค์ประกอบหลักๆไม่แตกต่างกันเลย และแต่ละส่วนก็มีความสำคัญไม่แพ้กันเสียด้วย

เปรียบเทียบระหว่าง ?นก? กับ ?ช้าง? ต้องยอมรับว่า นกไม่ว่าจะตัวเล็กแค่ไหน และช้างไม่ว่าจะตัวใหญ่แค่ไหน ก็มีส่วนประกอบใกล้เคียงมาก คือมีจมูก ปาก เท้า กระเพาะ ฯลฯ ประกอบกันครบองค์ประกอบจึงเป็นสัตว์ชนิดนั้นที่สมบูรณ์ได้

เช่นเดียวกับบริษัท ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กก็ต้องเหมือนกัน บริษัทใหญ่จะมีหลายๆแผนกและมีคนมาก ส่วนบริษัทเล็กมีโอกาสที่จะมีแผนกเดียวแต่ทำได้หลายหน้าที่ ความสำเร็จจึงขึ้นอยู่กับว่าเรามีความสามารถที่จะผสมผสานกันในทั้งองค์กร ไม่ว่าแผนกใดก็แล้วแต่ให้กลมกลืนกันได้มากที่สุด

ถ้าเราอยู่ในแผนกขาย การตลาด เราก็คงจะบอกว่า ฝ่ายขาย คือขายสินค้า ฝ่ายการตลาด คือ

คิดกลยุทธ์ แต่ในความเป็นจริงนอกเหนือจากการขายแล้วนั้น ยังจะต้องรู้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของตลาด การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ต้องรู้ว่าหากชนะ ชนะเพราะอะไร ถ้าแพ้ แพ้เพราะอะไร แพ้ใคร และทั้งที่คิดว่าเราดี แต่ลูกค้าก็ยังต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุด ดังนั้นเมื่อเรายังไม่ดีที่สุด ต้องหาว่าทำไม

และในอีกทางหนึ่ง เราก็ต้องเข้าใจว่าไม่มีวันที่เราจะผลิตสินค้าได้ตรงกับความต้องการของลูกค้าถ้าไม่มีข้อมูลที่จะป้อนเข้าสู่ฝ่ายผลิต นั่นจึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายวิจัยพัฒนา เพราะฉะนั้นจึงไม่มีคำตอบว่าฝ่ายไหนจะสำคัญกว่ากันระหว่างฝ่ายขาย ฝ่ายวิจัยพัฒนา ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดซื้อ

เหมือนกับนก จะบอกว่า ตาสำคัญกว่า หรือหัวใจสำคัญกว่าซึ่งจะไม่มีคำว่าสำคัญกว่า เพราะถ้าไม่ครบองค์ประกอบนี้นกจะบินไม่ได้ เช่นเดียวกันในองค์กรถ้าไม่มีครบทุกแผนก ก็จะไม่มีวันประสบความสำเร็จ

สิ่งที่เราต้องคิดคือ อย่าคิดว่าตัวเองเป็นนกตัวเล็กๆ ในองค์กรซึ่งไม่มีประโยชน์ เพราะในวันนี้ถ้าทุกคนมีความสามารถที่จะเปลี่ยนทัศนคติ ความคิด พฤติกรรมของเรา ก็จะเปลี่ยนมาเป็นสะพานที่จะเชื่อมระหว่างหลายแผนก และเราก็จะเป็นอาวุธของมูลค่าเพิ่มขององค์กรได้
 
บ่อยครั้งเราคิดว่าองค์กรที่มีความสามารถที่จะทำมูลค่าให้องค์กรได้มากที่สุด ก็เพราะมีการวิจัยพัฒนาที่ดี มีสินค้าที่ดีค้นคว้าออกมาต้องขายได้ ซึ่งก็ถูกเพียงครึ่งหนึ่ง เช่นเดียวกับการมีฝ่ายขายที่เก่ง แผนกวางแผนที่เก่ง มีฝ่ายการตลาดที่เก่ง ก็จะประสบความสำเร็จซึ่งก็อาจจะ

แต่แค่สิ่งเหล่านี้ยังไม่เพียงพอในการสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จ เพราะความจริงแล้วทุกคนในองค์กรทั้งที่อยู่ภายใน และฝ่ายที่จะไปติดต่อภายนอกองค์กร ทุกคนย่อมมีลูกค้า เพียงแต่เป็นลูกค้าที่แตกต่างกัน

ถ้าเป็นฝ่ายที่ติดต่อภายนอกลูกค้าจะเป็นลูกค้าภายนอก แต่ส่วนสนับสนุนภายในลูกค้า คือคนภายใน เช่นฝ่ายจัดซื้อ ลูกค้าก็คือแผนกต่างๆ ที่ต้องการให้มีการจัดซื้อ ฝ่ายบุคคล ลูกค้าคือพนักงานทุกคน ถ้าทุกคนมีความสามารถรวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ ก็จะเกิดมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้

เช่น ฝ่ายจัดซื้อ โดยทั่วไปจะคิดว่าเป็นฝ่ายสนับสนุน ไม่ใช่ตัวบุก จะมีการซื้อของอะไร ก็ค่อยมาจัดซื้อ เช่นเครื่องมือต่างๆ วัตถุดิบ อะไหล่ ฯลฯ คือถ้าสามารถประหยัดเงิน ประหยัดต้นทุนให้บริษัทได้ก็ถือว่าตรงหน้าที่แล้ว

แต่ความจริงแล้วกระบวนการจัดซื้อถือเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการของกลยุทธ์ ต้องใช้ทั้งนวัตกรรม การวิจัยพัฒนา ฯลฯ คือฝ่ายจัดซื้อต้องออกจากออฟฟิศ ใช้ความเก่ง ความสามารถเพื่อที่จะเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของคนอื่น และเป็นส่วนเสริมสร้างลูกค้าของเขา ซึ่งคือหน่วยงานที่ติดต่อด้วยทั้งหมด

ตัวอย่างเช่น ซาร่า ซึ่งเป็นบริษัทผลิตสินค้าแฟชั่นชั้นนำในสเปน แต่มีสาขาทั่วโลก เวลาฝ่ายจัดซื้อของซาร่าจัดซื้อของมาแล้ว และเข้าสู่การออกแบบ ถ้าคนออกแบบไม่รู้จักวัตถุดิบ ก็จะออกแบบได้ไม่ดี

ดังนั้นนอกจากต้องแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายออกแบบแล้ว ก็ยังต้องคุยกับกับฝ่ายขายไปพร้อมๆกันด้วย เพราะฝ่ายขายจะรู้ว่าตอนนี้พฤติกรรมผู้บริโภคนิยมอะไร เวลาทำการจัดซื้อของจะต้องอยู่ในแนวเดียวกัน

ผลที่เกิดขึ้น คือใน 1 ปี ซาร่าสามารถออกแบบชุดใหม่ได้ถึง 16 ครั้ง คือในทุกเดือนมีการออกแบบรุ่นใหม่มากกว่า 1 ครั้ง ความกระตือรือร้นของซาร่าต้องการให้ลูกค้ารู้สึกว่า ต้องซื้อของชิ้นนี้ เพราะมีจำนวนจำกัด และมีเปลี่ยนแบบใหม่ไปเรื่อยๆ

กระบวนการของการจัดการภายในของซาร่า ไม่ว่าจากฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายออกแบบ ฝ่ายผลิต ฝ่ายขนส่ง ฯลฯ จึงต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เพราะถ้าไม่เป็นหนึ่งเดียวกันก็ไม่มีความสามารถที่จะประสบความสำเร็จได้มากขนาดนี้
 
จากตัวอย่างนี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะแผนกจัดซื้อ หรือเฉพาะซาร่าเท่านั้น หากแต่เป็นตัวอย่างที่น่าจะทำให้เราได้ฉุกคิดว่าตำแหน่งเล็กหรือใหญ่แค่ไหน ต้องมีช่องว่างที่จะทำตัวเองให้ดีขึ้นเสมอ และต้องสะท้อนถึงคุณค่าของตัวเองออกมา ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จขององค์กรที่จะเกิดขึ้นได้