-->

ผู้เขียน หัวข้อ: เลือกผู้นำ  (อ่าน 395 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

don

  • บุคคลทั่วไป
เลือกผู้นำ
« เมื่อ: 10 ธันวาคม 2008, 05:03:52 »

เกริ่นไว้ใน ?บิสิเนสไทย? ฉบับที่แล้วถึงปัญหาสารพัดของไต้หวันที่ดูแล้วหนักหนาสาหัสกว่าบ้านเราอยู่มาก แต่เอาเข้าจริงๆ แล้ว ภาคเอกชนของเขากลับไม่รอช้าและไม่หวังพึ่งรัฐบาลเพียงอย่างเดียว เศรษฐกิจถึงเดินหน้าต่อไปได้


แต่ถึงอย่างไรก็ตาม หากภาคเอกชนแข็งแรง และมีภาครัฐบาลที่แข็งแกร่งคอยสนับสนุน ก็แน่นอน ว่าเศรษฐกิจของไต้หวันคงไปได้ไกลกว่านี้ ทั้งบ้านเราและไต้หวันเองจึงมีความหวังที่จะได้เลือกเฟ้นผู้นำผ่านการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นเร็วๆนี้
 
โจทย์ใหญ่ที่ทั้งไทยและไต้หวัน มีให้กับว่าที่ผู้นำใหม่เหมือนๆกันก็คือเรื่องของความสมานฉันท์ สร้างสังคมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเข้าใจความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งผมสรุปเป็นคุณสมบัติเบื้องต้น 4 ข้อมาคุยกับผู้อ่านทุกท่านใน ?บิสิเนสไทย? ฉบับนี้
 
ข้อแรก ต้องเป็นส่วนหนึ่งของมวลชน ถ้ามวลชนรู้สึกว่าเรากับ เขาเป็นหนึ่งเดียวกันพลังของผู้นำจะเกิด บางครั้งข้อผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ เช่น จอร์จ บุช มักจะมีการพูดผิดเสมอในการพูดต่อหน้าประชาชน ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเขาเหมือนเรา จึงลดช่องว่างลงได้มากโข
 
นั่นรวมถึงไลฟ์สไตล์ต่าง ทั้งการแต่งกาย การใช้ชีวิต ล้วนทำให้เข้าถึงคนได้ง่ายขึ้นทั้งนั้น เช่นการที่เขาชอบใส่กางเกงยีนส์ ซึ่งคนอเมริกาส่วนใหญ่ก็ชอบใส่ยีนส์ สุดท้ายแล้ว บุช ก็ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีต่อมาอีกสมัยทั้งที่ไม่มีผลงานอะไรมากมายนัก
 
ผู้นำเมื่อเข้าไปในมวลชน และเป็นหนึ่งเดียวกับเขา จะทำให้เกิดพลัง เกิดความเชื่อ แต่การบริหารองค์กรส่วนใหญ่มักให้น้ำหนักไปที่ตัวผู้นำมากกว่าพนักงานส่วนใหญ่ ทำให้พนักงานรู้สึกว่าเมื่อทำได้ ผู้นำก็ได้คนเดียว ความร่วมมือจึงไม่เกิด
 
ข้อสอง การเป็นผู้นำที่ดีต้องเป็นส่วนหนึ่งของประชาชน ต้องกล้าเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และต้องมีความยุติธรรมกับทุกคน เช่นที่อินเดีย มหาตมะคานธี ลำบากทั้งชีวิต แม้ว่าช่วงหลัง ความพยายามของเขาสำเร็จแล้ว เขาก็ยังใช้ชีวิตร่วมกับคนอินเดียส่วนใหญ่ตามเดิม
 
ในเวลาเดียวกันก็ต้องมีความเสมอต้นเสมอปลาย เช่นเดียวกับออง ซาน ซูจี เขาทำให้คนส่วนใหญ่รู้สึกว่าเขาเหมือนเรา ประชาชนลำบากเขาก็ลำบากด้วย ทำให้เกิดความยุติธรรมในความรู้สึกของคน ส่งให้เขาเป็นผู้นำของคนพม่ามาตลอด
 
ข้อสาม ต้องสร้างตัวเองให้เกิดการเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อเข้าไปในมวลชน ก็ต้องเป็นส่วนหนึ่งกับเขาอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งการเป็นผู้นำที่มีประสิทธภาพต้องทำในสิ่งที่คิดว่าเราควรทำที่สุด นโยบายต้องเป็นนโยบายที่มีมาจากความเชื่อของประชาชน ความสำเร็จก็จะเกิดขึ้น
 
เช่น อับบราฮัม ลินคอนน์ พยายามสร้างความเสมอภาค ปลดปล่อยทาสคืนความเสมอภาค โดยทำให้ทุกคนรู้สึกเห็นด้วย ซึ่งจะผลักดันให้เกิดความร่วมมือกันให้ สู้เพื่อเขา และเขาก็ทำให้สังคมอเมริกาเป็นสังคมที่มีความเสมอภาค ปลดปล่อยทาสได้สำเร็จ
 
ข้อสุดท้าย การพูดไม่พอ แต่ต้องดูที่การกระทำ แม้ผู้นำมีเทคนิคแค่ไหน ก็ไม่สามารถทำได้คนเดียว ผู้นำที่อยู่บนยอดปิรามิด ต้องนั่งอยู่บนฐาน ซึ่งก็คือคนที่เชื่อมั่นในตัวเขา และ คนที่ร่วมมือ คนที่สนับสนุนเขา
 
ผู้นำ จึงต้องมีผู้ตามที่ดี จึงต้องทำให้ทุกคนมีความหวัง และมีความฝัน จนกลายเป็นความเชื่อ และมีความฝันร่วมกันได้ เพราะถ้ามีฝันและศรัทธา ก็จะทำให้ทุกคนเชื่อเหมือนเชื่อศาสนา ฝันก็จะสำเร็จได้ ประเทศก็จะเจริญ
 
ประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ มีผู้นำที่เผด็จการ ถ้าคุณไม่เชื่อเขาก็จะทำโทษ ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยจะมีความยุติธรรม เอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ประโยชน์ส่วนตัวเป็นรอง ประเทศก็จะเจริญ เช่นเดียวกันถ้าเราเป็นพนักงานบริษัท องค์กรก็จะเจริญ

คนที่จะเป็นผู้นำไม่ว่าระดับไหน ต้องกล้าเผชิญกับคนส่วนใหญ่ เพื่อลดช่องว่างที่มีอยู่ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ประโยชน์ที่เราจะได้ คือการเป็นหนึ่งเดียวกันหมด หมายความว่าการสร้างผู้นำ กับผู้ตามต้องเป็นเหรียญเดียวกันแต่อยู่คนละหน้าเท่านั้นเอง
 
การสร้างประเทศ ประเทศนี้ทุกคนเป็นเจ้าของ ซึ่งจะเป็นการเลือกตัวแทน เงินทุกบาทที่เขาจะใช้เป็นเงินภาษีของเรา ความรู้สึกของประชาชนหรือความเป็นเจ้าของเงินนั้น ถ้าใครมีความสามารถที่จะใช้เงินเราสร้างประโยชน์กลับมาให้เราสูงสุด เราก็ย่อมรู้สึกดี

เพราะฉะนั้นในการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้ เราจึงไม่ได้คิดเพียงแค่จะเลือกพรรคไหน แต่เรากำลังเป็นเจ้าของที่จะหาผู้จัดการมาบริหารประเทศให้เราเพราะเราเป็นเจ้าของเงิน วิธีการจะเลือกจึงขึ้นอยู่กับตัวเราเท่านั้น ไม่ใช่บุญคุณ กระแสสังคม หรือค่านิยมอื่นๆ