-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ทางเลือกเพื่อทางรอด  (อ่าน 384 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

don

  • บุคคลทั่วไป
ทางเลือกเพื่อทางรอด
« เมื่อ: 10 ธันวาคม 2008, 05:06:07 »

ปีนี้ผมคิดว่านักธุรกิจและนักการตลาดส่วนใหญ่คงไม่ได้หวังที่จะเติบโตแบบก้าวกระโดดแบบ 2-3 เท่าเหมือนที่เคยทำได้ เพราะเห็นๆกันอยู่ว่าสภาพแวดล้อมแบบนี้ แค่ประคองตัวให้อยู่รอดได้ก็นับว่ายากพอสมควรแล้ว

การปรับตัวเพื่อเอาตัวรอดของแต่ละธุรกิจจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่สุดครับ ซึ่งผมมีตัวอย่างของการปรับตัวมาเล่าสู่กันฟังกับผู้อ่าน ?บิสิเนสไทย? ทุกท่านในวันนี้ อย่างน้อยก็เพื่อให้เห็นแนวว่าในโลกธุรกิจและการตลาดนั้นเขาเอาตัวรอดกันอย่างไร
 
เริ่มด้วยการ สร้างดัชนีใหม่ ดูได้จากธุรกิจโฆษณาที่ซบเซาลงในทุกแขนง จนทำให้หลายๆคนหวั่นไหวในภาวะเศรษฐกิจเพราะคนคุ้นเคยกับการดูดัชนีความคึกคักของธุรกิจผ่านเม็ดเงินที่ใช้ในการโฆษณากันมายาวนาน หากโฆษณามากก็น่าจะหมายความว่าสินค้าขายดี การตลาดคึกคัก
 
แต่ในวันนี้ โฆษณาไม่ดี ก็ไม่ได้หมายความว่าตลาดซบเซาเสมอไป เพราะทุกวันนี้เจ้าของสินค้าหันไปใช้การตลาดในรูปแบบ Event Marketing มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Promotion, Roadshow, Exhibition ฯลฯ
 
อาจเป็นเพราะแต่ละเจ้า พุ่งเป้าไปที่ลูกค้าโดยตรง และต้องการความมั่นใจว่าเม็ดเงินที่ใช้จะต้องได้ผลสูงสุด คือกระตุ้นให้เกิดกำลังซื้อได้อย่างทันที  ซึ่งต้องยอมรับว่าไม่มีอะไรดีไปกว่าการใช้กิจกรรมที่เล่นกับผู้บริโภคโดยตรง
 
ต่อมาคือการ สร้างมิติใหม่ให้แตกต่างจากเดิม เช่นในธุรกิจคอมพิวเตอร์ ที่คนไทยใน 100 คน มีแค่ 20 คนเท่านั้นที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ มุมมองที่แตกต่างก็คือ 80 คนที่เหลือนี้นั่นเองว่าจะหาทางขยายตลาดได้อย่างไรให้โดนใจคนกลุ่มนี้
 
ตลาดคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่มากๆในวันนี้จึงเป็นของมือใหม่ ที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์มาก่อน อาจเป็นเพราะยังไม่มีโอกาสใช้ ก็ต้องคิดหาทางทำอย่างไร ให้เขาได้ลองใช้ ซึ่งหลังจากได้ลองแล้ว โอกาสในการขายก็เป็นเรื่องง่ายขึ้น ทุกวันนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่จะเห็นทุกเจ้าบุกตลาดต่างจังหวัดกันเป็นหลัก เพราะนั่นคือตลาด80% ที่ยังว่างอยู่
 
อีกทางหนึ่งก็คือการหาทางยกระดับสินค้าขึ้นไป เพื่อสร้างความต่างแม้จะเป็นสินค้าชนิดเดียวกันก็ตาม เช่นคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่คงไม่มีทางปรับเปลี่ยนตัวเองให้เป็นอย่างอื่นไปได้ แต่ Acer หันไปจับมือกับ Ferrari ที่ชึ้นชื่อในเรื่องรถสปอร์ต
 
ผลพวงที่ได้จึงกลายเป็นโน้ตบุ้คที่ขึ้นชื่อในเรื่องความเร็ว เช่นเดียวกับ Asus ที่จับคู่กับ Lamborgini หรือจะเป็นโลกของแฟชั่นที่ Prada จับคู่กับ LG สร้างความต่างในตลาดมือถือ เช่นเดียวกับ iPhone ของ Apple ที่สร้างตลาดสินค้าไฮเทคแฟชั่นขึ้นมาใหม่
 
อีกแนวทางที่ได้ผลไม่แพ้กันก็คือการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงลูกค้า เช่นสินค้าไอที ที่เราเคยคิดว่าจะต้องใช้ Dealer หรือผ่านทางห้างไอทีเท่านั้น แต่ในวันนี้สินค้าเหล่านี้มียอดขายสูงมากผ่านทางซุปเปอร์สโตร์ที่ขายสินค้าในชีวิตประจำวันเป็นหลัก
 
ช่องทางการจำหน่ายที่เราเคยมองข้าม จึงอาจมีความหมายได้เสมอ เราจึงต้องจับตาดูพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป และต้องกล้าบุกเบิกเข้าไปในช่องทางต่างๆเหล่านี้เสมอ รวมถึงช่องทางขายตรงที่เราคุ้นเคยมานานแล้วก็ตาม
 
ข้อที่สามคือ จับตาเม็ดเงินภาครัฐ เพราะนับจากปีงบประมาณใหม่คือหลังจากเดือนตุลาคม 2550 เป็นต้นไป จะเริ่มเห็นการใช้เงินของรัฐบาลผ่านโครงการต่างๆมากขึ้น ซึ่งเราเองก็ต้องดูความพร้อมภายในด้วยว่ารับโครงการเหล่านี้ได้ไหม
 
การรับโครงการของรัฐ เรื่องสำคัญที่สุดก็คือกระบวนการบริหารที่ดีเช่น กลยุทธ์การขายต้องดี มี clash flow ที่ดี มีการเงินดี มีความเชื่อมั่นจากธนาคารต่างๆ ที่จะมี Financial Facility ให้เรา บริหารค่าใช้จ่าย บริหารคลังสินค้า และบริหารพนักงาน ให้มุ่งไปทางเดียวกันทั้งหมด
 
สำหรับผมแล้ว1 ปีที่ผ่านมา และในอีก 1 ปีข้างหน้า เหมือนเส้นทางการเดินทาง บางครั้งต้องเจอภูเขา เจอทะเล มีอุปสรรคต่างๆมากมาย เป็นปกติ ซึ่งสถานการณ์ในวันนี้ เหมือนการเดินทางถึงจุดหนึ่งแล้วเจอแม่น้ำ ถ้าไม่มีสะพาน เราก็ต้องสร้างสะพานขึ้นเอง
 
แต่สำคัญที่เราจะชวนให้คนอื่นมาร่วมสร้างได้ไหม ซึ่งแน่นอนว่าถ้าทุกคนคิดไปในทางเดียวกับเรา แล้วมาช่วยกันสร้าง โอกาสที่เราจะข้ามแม่น้ำนี้ไปได้ก็คงไม่นานเกินไป