-->

ผู้เขียน หัวข้อ: หูดหงอนไก่ในลำคอ  (อ่าน 778 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

แบดบอย

  • เด็กทะลึ่ง
  • ****
  • กระทู้: 72
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด
หูดหงอนไก่ในลำคอ
« เมื่อ: 28 ตุลาคม 2015, 12:31:26 »

หูดหงอนไก่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ติดกันง่ายมาก พบมากถึงร้อยละ 1 ในประชากร โดยเฉพาะในคนวัย 20-24 ปี ร้อยละ 90 เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีชนิดที่ 6 และ 11 โรคนี้จากการตรวจเชื้อพบว่าผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย แต่พบว่าผู้ชายออกหูดหงอนไก่มากกว่าผู้หญิง นั่นหมายความว่าคนติดเชื้ออาจจะไม่ออกหูดก็เป็นไปได้ นอกจากพบหูดหงอนไก่ที่ปากมดลูก      ช่องคลอด อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก รอบๆ ทวารหนัก ในหญิงที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีเชื้อหูดหงอนไก่แล้ว ยังพบหูดหงอนไก่ที่รอบๆ ทวารหนัก และในทวารหนักในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางประตูหลังกับคนที่เป็นหูดหงอนไก่ นอกจากนั้นยังพบหูดหงอนไก่ที่ริมฝีปาก ช่องปาก ต่อมทอนซิล ลำคอ กล่องเสียงและหลอดลม ในคนที่ทำรักด้วยปากกับคนที่มีเชื้อ และในทารกที่คลอดทางธรรมชาติจากมารดาที่เป็นหูดหงอนไก่
หลังจากสัมผัสหูดหงอนไก่ผ่านเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะติดโดยการแนบผิวหนังต่อผิวหนัง หรือติดจากเชื้อหูดหงอนไก่ที่อยู่ในน้ำเมือกของช่องคลอดหรือน้ำอสุจิ หูดหงอนไก่จะแทรกซึมเข้าไปในผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณที่ชื้นและเยื่อบุ มันจะฝังตัวอยู่ในนั้น นานเป็นเดือนเป็นปีหรือหลายๆ ปี ร้อยละ 70 ของคนที่สัมผัสเชื้อหูดหงอนไก่ จึงมีอาการของหูดหงอนไก่
การวินิจฉัยหูดหงอนไก่ ต้องไปพบแพทย์ ในบางรายอาจไม่มีอาการใดๆ ในบางรายอาจคัน เจ็บ มีเลือดออก คลำเจอหูด ฯลฯ หากสงสัยว่าเป็นหูดหงอนไก่เป็นในลำคอ ควรไปพบแพทย์หูคอจมูก แพทย์สามารถวินิจฉัยจากลักษณะของหูดหงอนไก่ซึ่งอาจจะเป็นแฉกๆ ขรุขระขึ้นเป็นชั้นๆ เหมือนหงอนไก่หรือกะหล่ำดอก หรือเป็นหูดหงอนไก่ชนิดแบนราบ สีของหูดหงอนไก่นั้นส่วนใหญ่สีชมพู แดง ดำ หรือสีเนื้อ หากมองไม่เห็นชัดการใช้ 5% น้ำส้มสายชูทา จะเห็นหูดหงอนไก่เป็นสีขาวเด่นชัด หากลักษณะของก้อนเนื้อที่เห็นไม่สามารถวินิจฉัยว่าเป็นหูดหงอนไก่ แพทย์อาจตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจยืนยันทางพยาธิวิทยา
หากเป็นหูดหงอนไก่ในช่องปาก ต่อมทอนซิล ลำคอ กล่องเสียง หลอดลม ในลำไส้ส่วนทวารหนัก อาจใช้การผ่าตัด หรือจี้ทำลายหูดหงอนไก่ด้วยความร้อนหรือความเย็น

ข้อมูลที่สำคัญสำหรับบุคคลที่มีเพศสัมพันธ์ทางปาก
 ทุกคนสามารถประเมินความเสี่ยงของตนเอง โดยใช้หลักการของการติดเชื้อเอชไอวี ทั้งหมด 4 ประการ ซึ่งการติดเชื่อจะต้องมีครบทุกองค์ประกอบดังนี้
 
1.   ทางออก : เชื้อเอชไอวีต้องออกจากร่างกายของผู้ที่ติดเชื้ออยู่แล้ว โดยทั่วไปผ่านทาง เลือด น้ำอสุจิ หรือของเหลวในช่องคลอด
2.   การอยู่รอด : ร่างกายมีสภาวะเหมาะสมสำหรับเชื้อ แต่เมื่อออกจากร่างกายเชื้อจะไม่ สามารถอยู่รอดได้ในระยะเวลานาน
3.   ปริมาณ : จะต้องมีปริมาณเชื้อที่มากพอที่จะก่อให้เกิดการติดเชื้อ
4.   ทางเข้า : เชื้อเอชไอวีจะต้องมีทางเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อก่อให้เกิดการติดเชื้อ
 
การใช้ปากกับอวัยวะเพศชายโดยไม่สวมถุงยาง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสี่ยงหรือไม่?
ฝ่ายที่ใส่อวัยวะเพศเข้าไปในปากของอีกฝ่ายหนึ่งไม่มีความเสี่ยง ฝ่ายที่ใช้ปากมีความเสี่ยงต่ำถึงเสี่ยงปานกลางต่อการติดเชื้อเอชไอวี
 
   ฝ่ายที่ใส่อวัยวะเพศเข้าไปในปากของอีกฝ่ายหนึ่ง
ทางออก: เชื้อเอชไอวีสามารถออกมากับน้ำลายของฝ่ายที่ใช้ปากให้
เพียงพอ: ปริมาณเชื้อเอชไอวีในน้ำลายไม่เพียงพอที่จะทำให้ติดเชื้อได้
อยู่รอด: เชื้อเอชไอวีสามารถอยู่รอดได้ในช่วงเวลาหนึ่ง
ทางเข้า: อาจไม่มีทางให้เชื้อเอชไอวีเข้าสู่กระแสเลือดถ้าไม่มีแผลที่อวัยวะเพศ
 
   ฝ่ายที่ใช้ปาก
ทางออก: เชื้อเอชไอวีสามารถออกมากับน้ำหล่อลื่นและน้ำอสุจิของฝ่ายที่เอาอวัยวะเพศ
ใส่เข้าไปในปากของอีกฝ่ายหนึ่ง
เพียงพอ: ปริมาณเชื้อเอชไอวีเพียงพอที่จะทำให้ติดเชื้อได้
อยู่รอด: เชื้อเอชไอวีสามารถอยู่รอดได้ในช่วงเวลาหนึ่งหากมีปริมาณมากพอ แต่หากมีปริมาณน้อยก็อาจจะถูกน้ำลายของอีกฝ่ายหนึ่งทำลายไปจนหมด
ทางเข้า: อาจไม่มีทางให้เชื้อเอชไอวีเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรงแต่อาจเข้าได้หากมี แผลในปาก (เหงือกและเยื่อบุ)
อาจเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่อไปนี้
1.   หนองในแท้
2.   หนองในเทียม
3.   เริมที่อวัยวะเพศหรือปาก
4.   หูดหงอนไก่ (เชื้อไวรัส HPV)
5.   หูดข้าวสุก
6.   ซิฟิลิส
 
   สำหรับฝ่ายที่ใส่อวัยวะเพศ
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ดังกล่าวสามารถอยู่รอดได้ในลำคอ หรือที่ริมฝีปาก ก็เป็นไปได้ที่จะติดเชื้อเหล่านี้จากฝ่ายกระทำ      (ฝ่ายที่ใช้ปากให้)
 
   ฝ่ายที่ใช้ปากให้
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถติดต่อได้จากน้ำหล่อลื่นหรือสารคัดหลั่งที่ไหลออกมา
จากอวัยวะเพศชายก่อนการหลั่ง หากสงสัยว่าคู่นอนของคุณอาจติดโรคและไม่ได้สวมถุงยางอนามัยในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ก็ควรใช้วิธีหลั่งข้างนอกแทน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้อย่างมาก
 นอกจากนี้ควรจะรักษาสุขภาพเหงือกและภายในปากให้ดีและระวังอย่าให้มีบาดแผลหรืออย่าให้มีเลือดออกและไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ทันทีหลังจากแปรงฟันหรือขัดฟันเพราะเหงือกกำลัง ระคายเคือง หากบริเวณอวัยวะเพศชายมีรอยโรคมีแผลเปิดหรือมีหนองไหลออกมาไม่ควรสอดใส่อวัยวะเพศชายเข้าไปในปากเพราะอาจจะติดโรคได้ การหลีกเลี่ยงโรคเริมที่อวัยวะเพศ หูดที่อวัยวะเพศ และหูดข้าวสุกอาจทำได้ยากเพราะโรคเหล่านี้มักไม่มีรอยโรคหรือมักมองไม่ค่อยเห็น เช่น หูดข้าวสุกมักเกิดขึ้นบริเวณหัวหน่าวและอาจถูกขนปกคลุมจนมองไม่เห็น หากปากไปสัมผัสกับหูดนี้ไม่ว่าจะมองเห็นได้ด้วยตาหรือไม่ก็ตามก็สามารถติดเชื้อได้
สรุปบทความหูดหงอนไก่
   การออรัลเช็กช์สามารถติดเชื้อหูดหงอนไก่ได้ไหม
ตอบ สามารถติดเชื้อได้
   การออรัลเช็กช์สามารถติดเชื้อหูดหงอนไก่บริเวณไหนได้บ้าง
ตอบ อาจติดเชื้อที่ริมฝีปาก ช่องปาก ต่อมทอนซิล ลำคอ กล่องเสียง และหลอดลม
   หูดหงอนไก่จะแสดงอาการออกมาหลังจากได้รับเชื้อมาตอนไหน
ตอบ หูดหงอนไก่มีระยะฟักตัว ประมาณ 1 ถึง 6 เดือน หลังรับเชื้อมาแล้ว บางราย 1 สัปดาห์ก็แสดงอาการ บางรายเป็นเดือน ค่อยแสดงอาการ แต่หลายรายก็ไม่แสดงอาการเลยก็มี
   หูดหงอนไก่มีลักษณะอย่างไร ในกรณีที่ขึ้นบริเวณช่องปาก และ ลำคอ
ตอบ ลักษณะอาจจะเป็นแฉกๆ ขรุขระขึ้นเป็นชั้นๆ เหมือนหงอนไก่หรือกะหล่ำดอก หรือเป็นหูดหงอนไก่ชนิดแบนราบ สีของหูดหงอนไก่นั้นส่วนใหญ่สีชมพู แดง ดำ หรือสีเนื้อ หากสงสัยว่าเป็นหูดหงอนไก่ในลำคอ ควรไปพบแพทย์หูคอจมูก แพทย์สามารถวินิจฉัยจากลักษณะของหูดหงอนไก่ได้
   การรักษาหูดหงอนไก่สามารถหายเองได้ไหม และการรักษาควรรักษาด้วยวิธีใด
ตอบ หูดหงอนไก่ในบางคนอาจหายไปเองได้แต่เป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่ต้องรักษาซึ่งมีหลายวิธี เช่น ใช้ยาทา สารเคมีจี้ ใช้ไฟฟ้าจี้ หรือผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษาโดยคำนึงถึงอาการของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก warts59.wordpress.com

Report by www.livcapsule.com