-->

ผู้เขียน หัวข้อ: เริมและงูสวัด ต่างกันอย่างไร  (อ่าน 686 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

แบดบอย

  • เด็กทะลึ่ง
  • ****
  • กระทู้: 72
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด
เริมและงูสวัด ต่างกันอย่างไร
« เมื่อ: 17 พฤศจิกายน 2015, 15:51:46 »

เริมและงูสวัด ต่างกันอย่างไร

ส่วนใหญ่คงจะเคยได้ยินคำว่า "โรคเริม" "โรคงูสวัด" กันบ้างพอสมควร และส่วนมาก จะค่อนข้างรู้จัก หรือเคยได้พบ ได้เห็น คนที่เป็นโรคเริม มากกว่าเคยเห็น โรคงูสวัด ความรู้สึกของคนทั่วไป จะค่อนข้างกลัวต่อการเป็นโรคงูสวัด มากกว่า เพราะบางท่านอาจจะเคยได้ยินคนสมัยก่อน เขาพูดกันว่า ให้ระวังให้ดีนะถ้าเกิดเป็นโรคงูสวัด แล้วพันครบรอบเอวขึ้นมาเมื่อไร ละก้อ ให้เตรียมตัวจองวัดได้เลย ความจริงเป็นเช่นนั้นหรือไม่

น่ากลัวหรือไม่
ส่วนท่านที่เคยเป็นโรคเริม หรือมีญาติพี่น้องเป็นโรคเริม คงจะค่อนข้าง เบื่อหน่ายกับการ กลับเป็นซ้ำได้อีกของโรคเริมนี้ บางท่านเป็นผื่น ตุ่มใส ไปซื้อยาทาที่ร้านขายยา ให้แพทย์ตี๋จัดยาให้ แพทย์ตี๋บาง ร้านบอกว่า คุณเป็นโรคเริม แต่บางร้านบอกว่า คุณเป็นโรคงูสวัด อย่า กระนั้นเลยเรามาดูรายละเอียดกันดีกว่านะคะ ว่าโรคเริม และโรคงูสวัด นี้ มีหน้าตาเป็นอย่างไรและแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

โรคเริม (Herpes simplex)
โรคเริมเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อ"H. simplex" ซึ่งเชื้อ ไวรัสตัวนี้มีอยู่ 2 ชนิด
ลักษณะผื่น --จะพบกลุ่มของตุ่มน้ำใสอยู่บนผิวหนังที่มีสีค่อนข้างแดง ประมาณ 1-2 วัน จากนั้นตุ่มน้ำใสนี้ จะแตกออก และตกสะเก็ดแต่บาง รายอาจเป็นนานกว่านั้นเกือบถึง 1 สัปดาห์

อาการ -- ระยะแรก จะรู้สึกเจ็บเล็กน้อย จากนั้นจึงพบกลุ่มของ ตุ่มน้ำใสดังกล่าว ต่อมาจะรู้สึกเจ็บแสบร้อนคันเล็กน้อย ตำแหน่งที่พบ

ชนิดที่ 1 มักจะพบที่บริเวณริมฝีปาก ทั้งบนและล่าง หรือมุมปาก พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
ชนิดที่ 2 มักจะพบที่บริเวณอวัยวะเพศ พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก

การติดต่อ --เริมทั้ง 2 ชนิดนี้ ติดต่อกันได้ ทางการสัมผัส โดยตรง (direct contact) เช่น การใช้แก้วน้ำร่วมกัน การจูบกัน และติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ เป็นต้น

ปัญหาที่เกิดขึ้น -- เชื้อไวรัสเริมนี้อาจเกิดเป็นซ้ำได้อีก ไม่มีทาง หายขาดได้ เนื่องจากเชื้อไวรัสเริมนี้จะเข้าไปหลบซ่อนตัวอยู่ ในปมประสาท (ganglion) ของคุณ วันดีคืนดีก็จะคืบคลานออกมาทำ ให้คุณกลับเป็นเริมซ้ำได้อีก และมักจะเป็นเริมซ้ำที่บริเวณเดิม หรือ ใกล้เคียงกับตำแหน่งเดิมเสมอ

เมื่อใดจะเกิดเป็นเริมซ้ำได้อีก
1. การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
2. ความเครียด วิตกกังวล เช่น ทำงานหนัก ใกล้สอบ เป็นต้น
3. ความเจ็บป่วย ช่วงที่สุขภาพอ่อนแอ ทรุดโทรม ไม่ค่อยสบาย จะกลับเป็นเริมได้อีก
4. อากาศร้อน

วิธีการรักษา
1.ยาทากลุ่มอะไซโคลเวีย (acyclovir)
2. ยากินกลุ่มอะไซโคลเวีย
3. หายเองได้ ถ้านอนหลับพักผ่อนเพียงพอ อาจหายเองได้ใน 2-3 วัน

โรคงูสวัด (Herpes zoster)
โรคงูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ "วีแซดวี" (varicella-zoster virus) เป็นคนละโรคกับโรคเริม คนที่เป็นโรคงูสวัด ะต้องเคยเป็นอีสุกอีใส มาก่อน เมื่อภูมิต้านทานอ่อนแอลง จึงกลายเป็นโรคงูสวัด และโรคงูสวัดจะเป็นเพียงครั้งเดียวเท่านั้นในชีวิตนี้ ซึ่งต่างกับโรคเริมที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้อีก (ยกเว้น ผู้ที่มีความต้านทานต่ำมาก ๆ เช่น เอดส์ ฯลฯ อาจกลับมาเป็นโรคงูสวัดซ้ำได้อีก)
ลักษณะผื่น ระยะแรกจะรู้สึกปวดแสบ ปวดร้อน หรือคันบริเวณที่เป็น ต่อมา 1-2 วัน จะเห็นมีกลุ่มของตุ่มน้ำใสเกิดขึ้น อยู่บนพื้นผิวหนังที่ มีสีแดง และกลุ่มของตุ่มน้ำใสนี้จะวางเรียงตัวกันเป็นเส้นตามแนวของ เส้นประสาทที่ผิวหนัง (ตามแนว dermatome) เพราะฉะนั้น จะเห็นเป็น ขวางตามลำตัวด้านหน้า ด้านหลัง รอบเอว ตามแนวเส้นประสาทตาม ยาวที่แขนและขา รือตามแนวเส้นประสาทที่บริเวณใบหน้า นัยน์ตา หู ศีรษะ เป็นต้น

งูสวัด ไม่สามารถจะพันตัวเรา จนครบรอบเอว ได้เพราะแนวเส้นประสาทของตัวเรา จะมาสิ้นสุดที่บริเวณกึ่ง กลางลำตัวเท่านั้น ในคนธรรมดาที่มีภูมิต้านทานปกติงูสวัดจะไม่ ลุกลามเข้ามาแนวกึ่งกลางลำตัวไปอีกซีกหนึ่ง ของร่างกาย (ยกเว้นในกรณีที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น โรคเอดส์ เป็นต้น

ถ้าเกิดเป็นงูสวัด ก็อาจเป็นข้ามแนวกึ่งกลางลำตัวไปอีกซีกหนึ่งของ ร่างกายได้ หรือเป็นงูสวัดทั่วร่างกายได้]

อาการ
จะมีอาการ ปวดมาก เจ็บแสบร้อน บางคนคันร่วมด้วย เป็นไข้ได้ บางคนปวดจนทรมานมาก นอนไม่หลับ กลุ่มของตุ่มน้ำในนี้ จะเริ่มแห้ง และตกสะเก็ดจางหายไปใช้ระยะเวลาประมาณ 7-14 วัน

ปัญหาที่เกิดขึ้น

ที่สำคัญได้แก่ อาการปวดตามแนวเส้นประสาทระยะจากที่โรคงูสวัด หายแล้ว (post herpetic neuralgia) คืออาการปวดเจ็บแสบร้อนตาม แนวเส้นประสาทนี้ ถึงแม้ว่า ผื่นงูสวัดหายไปแล้ว แต่ก็ยังคงมีอาการ ปวดแสบร้อนอยู่ บางท่านเป็นอยู่หลายเดือนทำให้ทรมานพอสมควร มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป

วิธีรักษาโรคงูสวัด
1. รักษาตามอาการ คือ กินยาระงับอาการปวด อาการคัน เช่น ยาพาราเซตามอล ยาไอคาแรค ยาพอนสแตน ยาคลอเฟนนิรามีน ฯลฯ
2. ยากินกลุ่มฆ่าเชื้อไวรัส ซึ่งราคาค่อนข้างแพงมาก ควรอยู่ใน ดุลพินิจของแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง แต่ได้ผลดีมาก ช่วยระงับอาการได้รวดเร็ว และทำให้ระยะเวลา ของโรคสั้นลง เช่น กลุ่มยาอะไซโคลเวีย โซวิแรกซ์ วาลเทรกซ์ แฟมเวีย ไวลิม ไวโรแรกซ์ เป็นต้น
3. ยาทากลุ่มฆ่าเชื้อไวรัส เป็นกลุ่มยาอะไซโคลเวีย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก   the-than.com/health
Report by www.livcapsule.com