-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ลิม่า ซินโดรม โรคประจำตัวพระเอกนิยายตบจูบ!  (อ่าน 569 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

  • Administrator
  • เทพเจ้าราตรี
  • *
  • กระทู้: 18128
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +9/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • cmxseed

ลิม่า ซินโดรม โรคประจำตัวพระเอกนิยายตบจูบ!
credit :: พี่น้ำผึ้ง@dek-d.com



เมื่อครั้งที่แล้วเราได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ ‘สต็อกโฮล์ม ซินโดรม โรคประจำตัวนางเอกตบจูบ’ ที่นางเอก (ในที่นี้คือตัวประกัน)
ตกหลุมรักพระเอก (ในที่นี้คือคนร้าย) วันนี้ได้ฤกษ์มารู้จักโรคประจำตัวพระเอกนิยายตบจูบกันซะที (เกือบลืม)

เราคงคุ้นเคยนิยายละครไทยแนวพระเอกทำร้ายร่างกายนางเอก แล้วอยู่ๆ พระเอกก็ดันตกหลุมรักนางเอกซะงั้น
ซึงจริงๆ แล้ว อาการนี้เข้าข่ายลิม่า ซินโดรมเลยหละ ซึ่งเป็นโรคที่มีลักษณะตรงข้ามกับสต็อกโฮล์ม ซินโดรม
ที่นำเสนอไปเมื่อครั้งก่อน
 
โรคลิม่า ซินโดรมคือโรคที่ผู้ลักพาตัวตกหลุมรักตัวประกัน (จริงๆ ก็ไม่เชิงตกหลุมรักซะทีเดียวค่ะ แต่ออกแนวเห็นอกเห็นใจตัวประกันมากกว่า)
ฟังแล้วคุ้นๆ เนอะ เหมือนพล็อตนิยายไทยเลย ที่อยู่ๆ ก็ลักพาตัวนางเอกมา ใช้งานเยี่ยงทาส ด่าทอสารพัด แล้ววันดีคืนดี
ก็เกิดเห็นอกเห็นใจขึ้นมาซะงั้น ชัดเลยค่ะ นี่คือลักษณะหนึ่งของโรคลิม่า ซินโดรมนั่นเอง
 

กำเนิดลิม่า ซินโดรม



วันหนึ่งในปี ค.ศ. 1996 ณ เมืองลิม่า ประเทศเปรู กลุ่มปฏิวัติ MRTA ได้บุกเข้าโจมตีสถานทูตญี่ปุ่นและจับทุกคนเอาไว้หมด
แต่หลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมง กลุ่มปฏิวัติก็ปล่อยตัวประกันเกือบทั้งหมดออกมา ซึ่งเป็นผู้หญิง เด็กและคนแก่ราวๆ 259 คน
รวมทั้งบุคคลสำคัญอันดับหนึ่งในสถานทูตด้วย แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังเหลือตัวประกันอีก 72 คนที่ไม่ถูกปล่อยตัวออกมา

 
ความจริงแล้วที่ทางกลุ่มปฏิวัติทำอย่างนี้ก็เพราะต้องการให้ปล่อยตัวแกนนำกลุ่มเขาที่ถูกจับกุมตัวออกมา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น
ทางรัฐบาลเปรูก็ได้ปฏิเสธไม่ทำตามในสิ่งที่คนร้ายร้องขอ เลยเป็นเหตุให้การจับกุมตัวประกันยาวนานถึงสี่เดือน จนกระทั่ง
ทหารตัดสินใจเข้าจู่โจมคนร้ายเพื่อช่วยเหลือตัวประกันออกมา ซึ่งทำให้หัวหน้ากลุ่มปฏิวัติเสียชีวิตลง

จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้เป็นที่มาของชื่อ ลิม่า ซินโดรมขึ้นมา มีการกล่าวถึงสาเหตุของการปล่อยตัวประกันร่วมสองร้อยชีวิต
ว่า อาจเป็นเพราะวาทศิลป์ในการพูดของนักการทูต

 


ลักษณะของลิม่า ซินโดรม

คนร้ายจะเริ่มมีความรู้สึกผิดกับเหยื่อ ไม่กล้าลงมือทำร้ายเหยื่ออย่างจริงจัง รวมทั้งรู้สึกสงสารและเห็นใจเหยื่อ
อาจเป็นเพราะเหยื่อเป็นเด็ก เป็นคนท้อง เป็นผู้หญิงหรือเป็นคนแก่ แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม หากคนร้ายเริ่ม
สงสารเห็นใจก็เลยทำให้ปล่อยตัวประกันออกมา
 
สาเหตุของลิม่า ซินโดรม

สาเหตุของโรคนี้ไม่แน่ชัด แต่ก็มีนักจิตวิทยาบางท่านได้แจกแจงสาเหตุคร่าวๆ ไว้ 5 ข้อดังนี้

ไม่ต้องการทำร้ายผู้บริสุทธิ์
นับว่าเป็นโชคดีของเหยื่อเหลือเกินที่อยู่ๆ คนร้ายก็มีความรู้สึกผิด มีคุณธรรมถึงได้นึกเห็นใจตัวประกันขึ้นมา
หรืออาจเป็นเพราะว่าคนร้ายยังเป็นมือใหม่ด้วยค่ะ ก็เลยทำให้ไม่ต้องการทำร้ายเหยื่อนั่นเอง

คอยดูแลตัวประกัน
แนวๆ นี้จะมาแบบอยู่ด้วยกันกับตัวประกันสองต่อสอง ความใกล้ชิดสนิทสนมและได้ดูแลเหยื่อ ไม่ว่าจะเป็น
หาข้าวหาน้ำให้เหยื่อ ทำแผลให้เหยื่อเป็นสาเหตุหนึ่งของความเห็นอกเห็นใจที่เกิดขึ้นในใจคนร้าย
มาแนวละครไทยเลย ยิ่งใกล้กันยิ่งหวั่นไหว งั้นขอไม่ทำร้ายตัวประกันดีกว่า

เหยื่อสวย!
ข้อนี้พีคจริงอะไจริง แต่เหตุผลนี้ไม่ได้มาเล่นๆนะ ยิ่งถ้าคนร้ายเป็นผู้ชาย แล้วตัวประกันเป็นผู้หญิง (และสวย)
แล้วล่ะก็ โอกาสที่อยู่ๆ คนร้ายจะเห็นอกเห็นใจตัวประกันก็เพิ่มขึ้นด้วย (หน้าตาดีมีโอกาสรอดกตายสูงสินะ)

วาทศิลป์ของตัวประกัน
ตัวประกันอาจจะพูดโน้มน้าวจิตใจหรือพูดอะไรบางอย่างที่สะกิดต่อมคุณธรรมของคนร้าย คนร้ายก็เลยเห็นใจ
และปล่อยตัวมาในที่สุด

หนึ่งในทีมคนร้ายไม่เห็นด้วย
ข้อนี้เห็นจะเป็นไปได้มากที่สุดแล้ว โดยเฉพาะกับคนร้ายที่มากันเป็นทีม หากมีใครสักคนไม่เห็นด้วยกับแผนการ
ที่วางไว้ ก็มีความเป็นไปได้มากที่จะเกิดการโต้เถียงหรือโน้มน้าวให้ยกเลิกแผนกัน



ผลกระทบจากลิม่า ซินโดรม

เขาจะเริ่มสงสารเหยื่อ
ไม่ต้องมีคำอธิบายใดๆ กับข้อนี้ เพราะเขาจะเริ่มคิดว่าเหยื่อเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขาทำอยู่เลย
น่าสงสารชะมัด อะไรประมาณนี้

ตัวประกันไม่ใช่ศัตรู
ปกติคนร้ายมักจะมองตัวประกันเป็นศัตรูและพร้อมจะทำร้ายพวกเขาได้ทุกเมื่อ (ตามสเต็ปนิยายไทยเลย)
แต่พอเวลาผ่านไปเขาก็จะเริ่มเปลี่ยนความคิดนี้ และมองตัวประกันในฐานะใหม่ อาจเป็นฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

ลดการข่มขู่หรือทำร้ายตัวประกัน
ล้อมาจากข้อที่แล้วเลยค่ะ เมื่อไม่เห็นว่าอีกฝ่ายเป็นศัตรูก็ย่อมเกิดความไว้วางใจตัวประกันมากขึ้น
รวมทั้งยังลดพฤติกรรมไม่ดีกับตัวประกัน สุดท้ายแล้วอาจนำไปสู่การที่ทำให้ตัวประกันเห็นใจเขาได้นะ



จากพฤติกรรมลิม่า ซินโดรมที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบกับตัวประกันดังนี้

ถูกปล่อยตัว
เมื่อเห็นใจตัวประกันมากๆ แน่นอนว่าอาจทำให้มีโอกาสที่คนร้ายจะปล่อยตัวสูง

เกลี้ยกล่อมเพื่อนคนร้าย
หากคนร้ายเริ่มรู้สึกเห็นใจตัวประกัน พวกเขาอาจจะเกลี้ยกล่อมเพื่อนร่วมอุดมการณ์คนอื่นๆ ให้เห็นด้วยไปกับเขา
ไม่ว่าจะเป็นล้มเลิกแผนการ หรือแม้กระทั่งปล่อยตัวประกัน

ปกป้องตัวประกัน
อย่างที่พูดไปแล้วว่านี่คือหนึ่งในอาการของคนเป็นโรคลิม่า ซินโดรม คนร้ายจะเริ่มดูแลเอาใจใส่ตัวประกัน
รวมถึงปกป้องตัวประกันด้วย

ตกหลุมรัก
นี่ไม่ได้เรื่องอำกันเล่นๆ เพราะเคยเป็นเรื่องจริงมาก่อนค่ะ ย้อนไปเมื่อปี 1974 ในประเทศสหรัฐอเมริกา
หญิงสาวผู้เป็นลูกของมหาเศรษฐีอย่าง แพทริเซีย เฮิร์สท์ ถูกลักพาตัวไปเรียกค่าไถ่โดยกลุ่ม SLA
แต่สุดท้ายกลับกลายเป็นว่าเธอตกหลุมรักหัวหน้ากลุ่มและหันหัวเรือไปเข้าร่วมกับคนร้ายด้วย
โอ้โห อะไรจะพีคจริงจังขนาดนั้น ยิ่งกว่าละครไทยอีกนะเนี่ย

สต็อกโฮล์ม ซินโดรม
ยิ่งคนร้ายทำดีด้วยเท่าไร ยิ่งมีโอกาสที่ตัวประกันจะรู้สึกเห็นอกเห็นใจคนร้ายมากขึ้น กลายเป็นว่านอกจาก
คนร้ายจะเป็นลิม่า ซินโดรมแล้ว ตัวประกันยังเป็นโรคสต็อกโฮล์ม ซินโดรมอีก นิยายจากเรื่องจริงเลยนะนั้น




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://tvtropes.org/pmwiki/pmwiki.php/Main/LimaSyndrome
http://allday.com/post/3736-captive-for-years-famous-cases-of-stockholm-syndrome/
http://www.ipsnews.net/1996/07/peru-tale-of-a-kidnapping-from-stockholm-to-lima-syndrome/
http://strangesyndromes.blogspot.com/2013/09/27-lima-syndrome.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ตุลาคม 2017, 14:39:34 โดย etatae333 »
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่