-->

ผู้เขียน หัวข้อ: สุดยอดความโน..? ที่พบบ่อยที่สุดในความคิดของมนุษย์  (อ่าน 454 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

  • Administrator
  • เทพเจ้าราตรี
  • *
  • กระทู้: 18122
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +9/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • cmxseed

สุดยอดความโน..? ที่พบบ่อยที่สุดในความคิดของมนุษย์

จิตใจของมนุษย์นั่นเป็นสิ่งยอดเยี่ยม ความคิดการกระทำหรือกระบวนการคิดช่วยให้เราสามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก
ในเวลาที่รวดเร็ว ตัวอย่างตามองเห็นสิ่งเร้าบางอย่าง สมองของคุณก็ประมวลผลว่าสิ่งนั้นคืออะไรและควรทำอย่างไร

แต่น่าเสียดายที่บางกรณีความรู้ของเราไม่เพียงพอไม่สมบูรณ์แบบทำให้เกิดข้อผิดพลาดการประมวลผลได้ ในด้านจิตวิทยา
มนุษย์ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอสมองจะประมวลผลทำให้เรามีความเชื่อแบบมีอคติ เช่นเห็นสิ่งมีชีวิตไม่รู้จักมากก่อน สมองก็คิดว่า
เป็นสัตว์ประหลาดไดโนเสาร์เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เกิดโดยไม่คำนึงถึงเพศ, การศึกษา, ปัญญา หรือปัจจัยอื่นๆ


 
10.Gambler's Fallacy
           


“ความหลงผิดของนักพนัน” เป็นอาการของพวกหลงใหลได้ปลื้มจากการพนัน ที่ได้สร้างหายนะ
แก่นักพนันมาแล้วนับไม่ถ้วน โดยเชื่อว่าเกมการพนันมีโอกาสแพ้ชนะอยู่ในอัตราส่วน 50 ต่อ 50
หากมีประสบการณ์มาก่อนแล้ว ย่อมทำให้เรียนรู้ข้อผิดพลาดจากครั้งก่อนๆ ได้ ทำให้เพิ่มโอกาสชนะ
ในระดับ 51:49 โดยความเชื่อที่ว่า ยิ่งเล่นยิ่งมีประสบการณ์ แล้วจะยิ่งชนะมากขึ้น ถือว่าเป็นวิชาสถิต
ที่ผิดพลาด


เพราะผลจากการวิจัยยืนยันแล้วว่า กฎโอกาสการพนันดังกล่าวไม่เคยเปลี่ยนแปลงตามความเชื่อของใครทั้งสิ้น 
กลับกันยิ่งเล่นการพนันมากเท่าไหร่ พนันเท่าใด โอกาสที่จะชนะของนักการพนันนั้นจะลดต่ำลงเรื่อยเหลือแค่
20:80 เท่านั้นเอง ตัวอย่างเช่น...

รูเล็ต หนึ่งในเครื่องพนันที่ได้รับความนิยมที่สุดในวงการพนัน ที่เรามักเห็นหนังหนังเจมส์บอนด์ เนื่องจากกฎของเกมจะ
ตรงไปตรงมาและเข้าใจง่าย คือให้แทงว่าบอลของรูเล็ตจะตกในช่องแดงหรือดำ ถ้าทายถูกได้เงินสองเท่าของที่พนันไว้

แม้ว่ามันอาจจะเป็นเกมที่ง่าย และน่าจะเป็นเกมส์ที่น่าจะได้เงินจากการพนันมากที่สุด เพราะเราเชื่อว่าอัตราประมาณ
50 ต่อ 50 เพราะแทงแค่ดำหรือแดง เหมือนหนึ่งเราโยนหัวโยนก้อย หลายคนคงคิดว่าถ้าครั้งนี้มันออกสีดำครั้งหน้า
อาจเป็นสีแดง (50 %)ใช่หรือไม่..?

แต่ความจริงแล้วนี้คือความคิดที่ผิดพลาด  อัตราความน่าจะเป็นสีแดงยังคงเป็น 47.37% (มาจากช่องสีแดง 18 ช่อง
หารด้วยช่องของรูเล็ตทั้งหมด 38 ช่อง) ส่งผลทำให้เราหมดตัวเร็วกว่าที่คิด นี้คืออคติที่เกิดขึ้นของนักพนันที่เสียเงิน
เพราะคิดว่ามันน่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

 



9. Reactivity
   


ปฏิกิริยา เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับบุคคล หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพวกเขาหากได้รับการจับตาดูแบบใกล้ชิด
โดยการเปลี่ยนแปลงอาจจะเป็นบวกหรือลบขึ้นอยู่กับสถานการณ์


ในปี ค.ศ. 1920 โรงงาน Hawthorne Works ได้ศึกษาระดับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน พบว่าหากได้รับ
ความเอาใจใส่ต่อพนักงาน จะทำให้ผลการทำงานเพิ่มขึ้น สาเหตุเนื่องจากพนักงานคิดว่าตนเป็นคนสำคัญมีแรงจูงใจ
และพยายามทำตัวให้ดูดีขึ้น

แต่หากกลับกันเมื่อมีการลดการเอาใจใส่พนักงานปรากฏว่าระดับการผลิตลดลงอยู่ที่ระดับปกติ



8. Pareidolia


   
Pareidolia เป็นปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับความคลุมเครือและการสุ่มกระตุ้น(มักจะเป็นภาพและเสียง)
โดยมนุษย์มีแนวโน้มที่จะมองเห็นอะไรต่อมิอะไร ออกมาคลับคล้ายเป็นคน สัตว์ สิ่งของ ที่ตนเองคุ้นเคยอยู่ โดยสมอง
ของคนเราตีความแสงและเงาจากสิ่งต่างๆผิดพลาด ผลที่ได้จึงเป็นภาพมายาที่สมองมนุษย์ปรุงแต่งวาดให้เข้ากับตัวตน
จากสิ่งที่ตนเองคุ้นเคย เช่น ใบหน้าบนดวงจันทร์ กระต่ายบนดวงจันทร์ ขนมปังหน้าคนที่มีรอยไหม้เหมือนภาพบุคคลดัง
การได้ยินข้อความที่ซ่อนอยู่ในเสียง ทั้งๆที่พอแยกส่วนประกอบออกมาแล้ว ก็ไม่เกี่ยวอะไรเลยก็ได้


นอกจากนี้ pareidolia ถูกนำมาใช้อธิบายถึงเหตุการณ์ การเห็นยูเอฟโอ บิ๊กฟูต ล็อคเนส เป็นต้น

ทางจิตวิทยานำขบวนการนี้มาใช้ในการทดสอบทางจิตที่เรียกว่า  Rorschach inkblot test  โดยวิธีการเหล่านี้คิดโดย
เฮอร์แมน โรลช๊อค เป็นจิตแพทย์ชาวสวิสเที่ะออกแบบการทดสอบหยดหมึก ในปี 1918 โดยแสดงภาพหยดหมึกแบบ
ไม่ตั้งใจหลายภาพ ให้ผู้ป่วยแล้วถามว่า "มันน่าจะเป็นอะไร"

การทดสอบโรลช๊อคเป็นพื้นฐานของการโน้มเอียงของมนุษย์ ในโครงการแปลความและความรู้สึกไปยังสิ่งกระตุ้นกำกวม
ถือว่าการตอบสนองประสาทสัมผัสของคนกับหยดหมึกสามารถไขปัญหาความโน้มเอียงของบุคลิกภาพได้


 
7. Self-fulfilling prophecy
 


ความสมปรารถนาแห่งการทำนาย เป็นพฤติกรรมการกระทำที่คนเรามักทำโดยมีอิทธิพลทัศนคติตามความเชื่อของตน
ว่ามันจะต้องเป็นจริงและจะทำตามความเชื่อนี้จนถึงที่สุด และผลส่วนมากที่ออกมาก็จะเป็นไปตามนั้น

โดยแนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ฝังตัวอยู่ในความคิดของมนุษยชาติมานานแล้ว เช่น การปฏิบัติตามคำพยากรณ์
- กษัตริย์ได้รับคำทำนายว่าโอรสจะมาฆ่า กษัตริย์จึงต้องฆ่าโอรสนั้นเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม
- หรือจะเป็นกรณีของหมอผีวูดูที่หลายคนเชื่อว่า มีพลังอำนาจมากเวลาที่เขายกไม้ชี้ไปที่ใครคนหนึ่งคนหนึ่ง
ทันใดนั้นเขาจะกรีดร้อง ล้มลงบิดตัวที่พื้นอย่างรุนแรง ไม่กี่นาทีต่อมาคนนั่นก็ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
เอาแต่นั่งเฉย ไม่ยอมกิน ไม่ยอมนอน จนกว่าหมอผีจะยกเลิกคำสาป

สิ่งเหล่านี้อธิบายได้ว่า การที่เหยื่อที่ถูกสาปนั้น ความจริงแล้วเป็นอาการความสมปรารถนาแห่งการทำนาย โดยเหยื่อ
มีเชื่อถือศรัทธาในนักบวชมาก เมื่อโดนสาปจึงตกใจมาก หดหู่มาก เขาเชื่ออย่างหมดใจว่า ชะตาชีวิตของเขา
ถูกควบคุมไว้แล้วโดยนักบวชผู้นั้น

หรือแม้แต่ปัจจุบันเวลาเราฟังคำนายวันโลกแตกหรือจำพวกหมอดูเรามักเชื่อคำทำนายเหล่านั้น ทั้งที่ตามหลัก
วิทยาศาสตร์นั้นมันไม่มีทางเป็นจริงเลยสักนิด

นอกจากนี้คำศัพท์นี้สามารถใช้ได้หลายวงการ เช่นในสังคม เมื่อบุคคลหนึ่งคาดหวังผิดไปจากความจริง ต่ออีกบุคคล
เป้าหมายหนึ่ง โดยบุคคลนั่นจะแสดงพฤติกรรมต่อบุคคลเป้าหมายตามความคาดหวังที่ไม่ตรงนั้น ในที่สุดบุคคล
เป้าหมายจะเป็นไปตามการคาดหวังอย่างผิดๆ ต่อบุคคลที่คาดหวัง เช่น ผู้ปกครองคาดหวังว่าลูกเราสติปัญญาดี
(ความจริงอาจจะแค่สติปัญญาพอใช้) แล้วเราได้ปฏิบัติต่อเขาอย่างคนฉลาดมาก ในที่สุดเขาจะเป็นคนฉลาดมาก
ขึ้นกว่าเดิม  ตัวอย่างนี้มีการทดลองมาแล้วให้เห็นจริงๆ เช่น


นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เคยนำข้อสอบวัดเชาวน์ปัญญาเข้าไปสอบเด็กในโรงเรียนประถมแห่งหนึ่ง
เมื่อเสร็จเขาก็แล้วสุ่มรายชื่อเด็กที่ทำข้อสอบแล้วมาบอกกับครูประจำชั้นว่าเด็กเป็นคนหัวดีมีเชาวน์ปัญญามาก
(ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วเด็กมีเชาวน์ปัญญาปานกลาง) และเมื่อผ่านไปหลายเดือน พวกเขากลับมาวัดเชาวน์ปัญญา
เด็กกลุ่มเดิมอีก ผลปรากฏออกมาน่าฉงนว่า เด็กที่ได้รับเลือกดังกล่าว ที่ได้บอกรายชื่อแก่ครูไปกลับได้คะแนน
เฉลี่ยสูงกว่าเดิม กลายเป็นว่าเด็กปานกลางที่เลือกชื่อแบบส่งเดชเกิดเก่งขึ้นมาจริง ๆ



ในวงการเศรษฐกิจความสมปรารถนาแห่งการทำนาย ก็ถูกนำมาใช้ในทฤษฏีต่างๆ มากมาย เช่น เศรษฐกิจถดถอย
เนื่องจากต้องดำเนินตามคำทำนาย เช่น ทฤษฎีจุดดับบนดวงอาทิตย์ (sunspot theory) ที่ระบุว่าการขึ้นลงของ
เศรษฐกิจว่ามีความสัมพันธ์กับการสังเกตเห็นจุดดับบนดวงอาทิตย์ โดยอธิบายว่าจุดดับบนดวงอาทิตย์มีผลกระทบ
ต่อสภาวะอากาศ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเปลี่ยนแปลงในที่สุดในช่วงระยะหนึ่งนั้น


ทฤษฎีจุดดับบนดวงอาทิตย์มีผู้เชื่อถือจำนวนมาก จนทำให้ดัชนีตลาดหุ้นเกิดความผันผวนเพราะการสังเกตเห็นจุดดับ
ดวงอาทิตย์ แม้ว่าความจริงแล้วระดับผลผลิตการเกษตรไม่ได้เปลี่ยนแปลงเสียสักนิด หรือจะเป็นการเมือง เช่น
บางประเทศ(ไหนก็ไม่รู้)ที่หมอดูบางคนบอกว่าจะมีรัฐประหารเกิดขึ้น ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วไม่มีเลย แต่คำทำนายนี้
ทำให้หลายฝ่ายกดดันและเกิดรัฐประหารเกิดขึ้น
 



6. Halo Effect


   
เฮโล เอฟเฟค  หรือ รัศมีที่เปล่งประกาย หรือ กระบวนการคิดเชิงเทิดทูน หมายถึงเป็นปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา
ที่มนุษย์เกิดกระบวนการคิดเชิงลำเอียง (Cognitive bias) โดยมนุษย์มักจะเหมาสรุปทุกอย่างจากสิ่งเดียวที่เห็น
เช่น ถ้าเราเห็นคนหน้าตาดี เราก็จะสรุปไปโดยไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเขาเป็นคนดี มีความสามารถ ถึงทำอะไรผิด
หรือไม่ดีไปบ้างแต่เราก็มักจะให้อภัย หรือถ้าเราเห็นคนหน้าตาขี้เหร่ แต่งกายไม่เรียบร้อย รกรุงรัง เรามักคิดว่า
เขาเป็นขอทาน ไม่ก็ขี้ยา สติปัญญาทึบ


เฮโล เอฟเฟค  มักจะเป็นศัพท์ที่ใช้บ่อยในแผนกจัดหาบุคคลกร ที่หมายถึงความลำเอียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับ
ผู้สัมภาษณ์ที่เมื่อเห็นบุคลิกภาพทางบวก ของผู้ถูกสัมภาษณ์แล้วก็จะมองข้ามบุคลิกภาพทางลบ หรือลดความสนใจ
ที่จะแสวงหาบุคลิกภาพทางลบ หรือ ในกรณีตรงกันข้าม โดยมนุษย์มักใช้จุดนี้มาทำประโยชน์ต่างๆ เช่น
เวลาโฆษณาก็เอาผู้มีชื่อเสียงมาโฆษณาสินค้า ทั้งๆ ที่ผู้ดูไม่รู้สินค้านี้ดีหรือไม่  หรือเวลาช่วงเลือกตั้งเรามักเห็น
นักการเมืองชอบช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ทำให้เรามักคิดว่าเป็นนักการเมืองที่สะอาดบริสุทธิ์ไม่โกงกิน

Halo effect นั้น ไม่เพียงแต่จะเกิดขึ้นกับการพิจารณาบุคคล แต่ยังรวมไปถึงผลิตภัณฑ์สินค้า สิ่งของ กลุ่ม
หรือคณะบุคคล หรือแม้แต่องค์การด้วย เช่น เวลาเราเห็นผลิตภัณฑ์อาหารชนิดหนึ่งที่บรรจุหีบห่อสวยงาม ราคาแพง
เรามักคิดว่าทันจะอร่อยหรูเลิศ ทั้งที่อาหารชนิดหนึ่งรสชาติไม่แตกต่างกันกับอาหานิดเดียวกันที่มีราคาถูกเลย

ในอดีตเคยมีการทดลองแล้วโดยเอาเค้กสองก้อน ที่ทั้งสองก้อนนั้นมีกระบวนการทำเหมือนกันหมด(ตั้งแต่ชนิด
วัตถุดิบไปจนถึงวิธีการทำ) มาตั้งราคาต่างกัน คือแบบราคาถูก และราคาแพง และเมื่อให้คนทดลองได้ชิม
ผลปรากฏว่าคนทดลองบอกว่าเค้กแบบแพงอร่อยกว่าทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วเค้กสองก้อนไม่แตกต่างกันเลย





5. Herd Mentality
   


Herd Mentality หรือ เฮโลคิดกันไปตามฝูงชน หรือวิธีคิดที่ทำอะไรตามกันเป็นกลุ่ม เป็นแนวโน้นที่ทำให้เรา
มีความคิดเห็นและปฏิบัติตามพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ เพื่อให้รู้สึกปลอดภัยขึ้นและลดความขัดแย้ง ไม่สามารถ
เป็นตัวของตัวเองได้ เราจำเป็นต้องทำตามพฤติกรรมของกลุ่มทั้งที่สิ่งที่เราทำตามนั้นไม่ชอบเลย ไม่ว่าจะเป็น
การแต่งตัว, รถยนต์, งานอดิเรก, รูปแบบ, แฟชั่น


Herd Mentality ยังถูกนำมาใช้กับตัวอย่างที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ทางการเมือง เช่น ม๊อบเสื้อสีต่างบางประเทศ
ที่เฮโลกันตามฝูง  หรือจะเป็นเศรษฐศาสตร์ที่ลงทุนเรื่องอสังหาริมทรัพย์เมื่อบ้าน ที่ดิน หุ้น มีราคาพุ่งสูงขึ้น (ฟองสบู่)
มนุษย์ส่วนใหญ่จะโน้มน้าวตัวเองให้เชื่อว่ามัน จะขึ้นไปเรื่อยๆโดยไม่หยุด

ยิ่งมีคนจำนวนมากร่วมอยู่ในกิจกรรมด้วยยิ่งอบอุ่นใจว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นต้องเป็นจริง พอฟองสบู่แตกก็พินาศย่อยยับ
ยกฝูง เป็นต้น

 


4. Reactance


   
คุณเคยเห็นการ์ตูนไหมครับ เวลาพ่อหรือแม่เห็นลูกที่บ้าน ไม่ค่อยพูดคุยหรือทำปฏิกิริยาไม่พอใจเวลาพ่อแม่พูดอะไร
พ่อแม่มักอุทานว่า “ลูกคงถึงวัยต่อต้านแล้วสิน่ะ” ปฏิกิริยาต่อต้าน Reactance ในศัพท์จิตวิทยา หมายถึงปฏิกิริยา
ทางจิตที่ทำให้คุณทำสิ่งที่ตรงข้ามกับสิ่งที่บางคนต้องการให้คุณทำ แม้ว่าสิ่งที่คนนั่งสั่งคุณจะเป็นสิ่งที่ดีและถูกต้องก็ตาม
แต่คุณจะต่อต้านและทำสิ่งที่ตรงข้ามแทน

ทั้งนี้เป็นเพราะคนเราเกลียดการถูกบอกว่า “อย่า” มนุษย์เรานั้นไม่ชอบการถูกจำกัดเสรีภาพ และคิดว่าตนเองมีความคิด
ตัดสินเองอะไรได้ไม่ต้องมาสั่ง โดยปฏิริยาต่อต้านนี้มักพบในวัยรุ่นที่นิสัยดื้อรั้น ที่พยายามต่อต้านการข่มขู่หรือคำสั่งคำสอน
ที่ตนคิดว่ามันจะจัดกัดเสรีภาพ

เคยมีการศึกษาถึงอำนาจของความรู้สึกนี้ โดยให้คนชอบทำลายข้าวของคนหนึ่งนั่งในห้องรับแขก จากนั้น เจ้าหน้าที่คนแรก
เข้าไปบอกอย่างสุภาพว่า กรุณาละเว้นจากการขีดเขียนผนัง ส่วนเจ้าหน้าที่คนที่สองพูดว่า “อย่าขีดเขียนบนผนังเด็ดขาด”
เดาได้ไม่ยากใช่ไหมว่า คำพูดไหนก่อให้เกิดงานศิลปะบนผนังเต็มไปหมด



 
3. Hyperbolic Discounting



Hyperbolic Discounting เป็นศัพท์ในเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมเชิงลำเอียง ที่หมายถึง การผู้ต้องการผลตอบแทนเล็กน้อย
แต่รวดเร็ว มากกว่าที่จะได้ผลตอบแทนจำนวนมากแต่ล่าช้า ตัวอย่างเช่น คนส่วนใหญ่มักเลือกรับเงิน 20 ดอลลาร์ในวันนี้
แทนที่จะรอ 100 ดอลลาร์ในหนึ่งปี โดยปกติคนเราไม่ชอบการรอคอย มักมีความคิดรู้สึกว่าจำนวนเงินที่ได้รวดเร็วกว่าจะดีกว่า
อุ่นใจกว่าเงินที่ได้มาล่าช้า เรารู้สึกยินดีที่จะได้ทันทีแทนที่จะรอ 


บางกรณีก็มีหลายคนยอมเสียมาก เพื่อได้กำไรเล็กน้อยเช่น หนึ่งวันก่อนการสอบ นักเรียนจะยอมจ่ายเงินจำนวนสูงเพียงเพื่อ
เลื่อนการสอบไปอีกแค่วันเดียว แต่ถ้าเป็นกรณีวันสอบเป็นหนึ่งปีข้างหน้า ก็ไม่มีใครสนใจ

นอกจากนี้ยังเคยมีการทดลองกับสัตว์จำพวกนกพิราบที่มันจะได้รับปุ่มสองปุ่ม ปุ่มหนึ่งได้อาหารจำนวนน้อยแต่ได้รวดเร็ว
ส่วนปุ่มที่สองได้อาหารมากแต่ล่าช้า ผลคงไม่ต้องบอกน่ะว่านกพอใจกับปุ่มไหน



 

2. Escalation of Commitment


 
บางครั้งความมุ่งมั่นของคนอาจนำมาซึ่งผลเสียได้เหมือนกัน อย่างเช่น Escalation of Commitment หรือ
การขยายของการผูกมัด ซึ่งหมายความว่า การยืนกระต่ายขาเดียว  การตัดสินใจที่ยังคงยึดถืออยู่กับการตัดสินใจเดิม
เพื่อยืนยันว่าการตัดสินใจก่อนหน้านี้ถูกต้อง ทั้งๆที่มีหลักฐานว่าการตัดสินใจนั้นผิดตัวอย่าง เช่น


ผู้บริหารที่ตัดสินใจลงทุนโครงการใหม่ๆ แม้ว่าต่อมาตนเองรู้ว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด แต่ก็ยังดันทุรังลงทุน
ทุ่มเทเพิ่มขึ้นอีก เพื่อยืนยันว่าการตัดสินใจเริ่มแรกของตนถูกต้อง และป้องกันไม่ให้เสียหน้า

หรือสหรัฐใช้กองกำลังบุกอิรัก ทั้งที่หลายฝ่ายบอกว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิดแต่ผู้นำก็ยังยืนยันว่าถูกต้อง หรือ
พวกเสื้อสีต่างๆ บางประเทศที่เชื่อว่าอุดมการณ์ของตนถูกต้องแม้จะมีเหตุการณ์ร้ายแรงตามมาก็ตาม


 
1.Placebo Effect


 
มีผู้ป่วยคนหนึ่งเป็นโรคร้ายแรงที่รักษายังไงไม่หาย จนกระทั้งหมอได้ให้ยาชนิดหนึ่งแก่คนไข้โดยบอกว่าเป็นยาวิเศษ
และเมื่อผู้ป่วยได้กินยาก็พบว่าร่างกายเป็นปลิดทิ้ง ซึ่งความจริงแล้วยาวิเศษที่หมอว่าไว้นั้นความจริงแล้วเป็นแค่
แป้งธรรมดาเท่านั้นเองไม่ใช่ยาวิเศษวิโสที่ไหน แต่น่าเหลือเชื่อว่าทำไมมันถึงกลายเป็นยาวิเศษไปได้?


เราเรียกปรากฏการณ์เช่นนี้ว่า พลาสโบ เอฟเฟ็ค (Placebo Effect ) หรือ ผลกระทบของยาหลอก เป็นปรากฏการณ์
ทางจิตวิทยาที่เกิดจากการให้คนไข้กินยาหลอกหรือปลอม แต่บอกว่า เป็นยาจริง  แล้วทำให้คนไข้รู้สึกดีขึ้นหรือ
บรรเทาอาการเจ็บปวดลงไป โดยตัวยาหลอกปลอมนั้นเป็น แป้งหรือน้ำตาล หรือสารที่ไม่เกิดขบวนการในการรักษา

นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการรักษาการแพทย์ในรูปแบบต่างๆ เช่น การผ่าตัดที่ไม่ได้ผ่าตัดอวัยวะใดๆ หรือการ
ตรวจสภาพร่างกายแล้วพูดจาปลอดขวัญก็ถือว่าเป็นการให้ยาหลอกได้เหมือนกัน

โดยกรณีที่ยาหลอกที่ใช้กันบ่อยที่สุดในโลกคือ การให้วิตามินซีเมื่อเป็นหวัด (ซึ่งความจริงแล้ว มันไม่มีผลในการรักษา)
และปัจจุบันยาหลอกนั้นยังคงเป็นความลึกลับทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่รู้ว่าเกิดจากอะไรกันแน่ ในทางทฤษฏีบอกว่า
มันเกิดจากผลกระทบจากความคาดหวังซึ่งเกิดจากแรงใจของผู้ป่วยที่คิดว่ายาที่รักษาพวกเขาจะทำให้หาย

นอกเหนือจากนี้ ในหลายๆกรณี ที่เกี่ยวข้องกับ Placebo Effect  เช่น คำว่า Nocedo หมายถึงผลลัพท์ด้านลบ
จากยาหลอกที่ใช้ยาหลอกแล้วพบว่าผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้นหรือเป็นอันตราย และ คำว่า Money Effect การใช้ยาหลอก
หลอกลวงคนอื่นว่าเป็นยาวิเศษเพื่อเอาเงิน


 
อ้างอิง

http://listverse.com/2010/01/07/top-10-common-faults-in-human-thought/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 มิถุนายน 2018, 13:46:47 โดย etatae333 »
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่