-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ภาษาอังกฤษพื้นฐานเพื่อการส่งออก  (อ่าน 230377 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

don

  • บุคคลทั่วไป
ภาษาอังกฤษพื้นฐานเพื่อการส่งออก
« เมื่อ: 09 มกราคม 2008, 23:32:27 »

ภาษาอังกฤษพื้นฐานเพื่อการส่งออก

เรียบเรียงโดย  ณตชา โตศุกลวรรณ์

ประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการเติบโตและพัฒนา โดยเฉพาะในช่วงปีหลังๆมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและได้รับแรงสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านธุรกิจโดยเฉพาะการส่งออก นอกจากเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย การตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐานแล้ว ภาษาอังกฤษจัดได้ว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากในการติดต่อกับลูกค้าชาวต่างชาติ และมีความสำคัญในการติดต่อสื่อสารโต้ตอบเมื่อชาวต่างประเทศสนใจในสินค้าของประเทศไทยหรือติดต่อกับผู้ประกอบการคนไทย
ดังนั้นเพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการทำการค้าส่งออกผู้ประกอบการจึงควรเล็งเห็นถึงความสำคัญและเรียนรู้ภาษาอังกฤษพื้นฐานสำหรับการสื่อสารและการทำธุรกิจกับชาวต่างชาติเพื่อการส่งออก
การทักทายและการตอบรับ/ปฏิเสธแบบสั้นๆ
การทักทาย (Greetings)
     สำนวนที่เรามักจะเห็นกันมากในการพบปะสนทนาทักทายก็จะมีดังต่อไปนี้
1. Good morning/ afternoon/ evening/ night
2. Hello/ Hi  ใช้ทักทายในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ
3. Good bye/ See you again/ So long / See you / Bye ใช้เมื่อลาจากกัน
4. How do you do? ใช้เมื่อเจอกันครั้งแรกต้องตอบว่า How do you do.
5. How are you/ have you been?/ are you doing?/ are things?/ is it going?
เป็นการถามทุกข์สุข
 วิธีตอบก็เช่น Fine (Thank you/ Thanks)/ Very well/ Good/ All right/ So-so/ Okay/ Not bad
    นอกจากนี้ก็ยังมีคำอวยพรสั้น   เช่น
1. Have a nice trip. (ขอให้ได้รับความสนุกในการเดินทาง)
2. Bon Voyage.(ภาษาฝรั่งเศส อ่าน "บง-โว-ยาจ" แปล ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ)
3. Have a nice day/ weekend.(วันนี้/สุดสัปดาห์นี้ ขอให้ได้รับความสุขสนุกสนาน)
4. Give my regard to your mother/father.(เรียนคุณแม่/คุณพ่อ ว่าผมกราบเคารพและระลึกถึง)
5. Remember me to your parents. ( เรียนคุณพ่อคุณแม่ของคุณด้วยว่าผมกราบเคารพ ระลึกถึง)
6. Take care.(ดูแลตัวเองด้วยนะ)
คำตอบรับหรือปฏิเสธแบบสั้นๆ
     ปกติที่เรามักจะเห็นบ่อยมากคงหนีไม่พ้น Yes, No ใช่ไหม แต่เราพูดแบบอื่นได้อีก เช่น
1. Certainly. (แน่นอน) ตรงข้ามกับ Certainly not. (ไม่......แน่นอน)
2. Of course. (แน่ล่ะ) ตรงข้ามกับ Of course not. (ไม่.....แน่ล่ะ )
3. I hope so. (หวังว่าคงเป็นเช่นนั้น) ตรงข้ามกับ I hope not. (หวังว่าคงไม่เป็นเช่นนั้น)
4. Perhaps so. (บางทีอาจเป็นเช่นนั้น) ตรงข้ามกับ Perhaps not. (บางทีอาจไม่เป็นเช่นนั้น)
5. I think so. (ฉันก็คิดว่าอย่างนั้นแหละ) ตรงข้ามกับ I don't think so. (ฉันไม่คิดว่าอย่างนั้น)
6. By all means.(ได้แน่, ไม่มีปัญหา)
7. That's right. (ถูกแล้ว )
8. Not at all. (ไม่เป็นไรเลย)
9. That's it. (อย่างงั้นสิ )
10. Not yet. (ยังเลย )
11. That's true. (จริงๆ )
12. Very likely. (น่าจะเป็นเช่นนั้น )
13. I see. (อ้อ! เข้าใจละ )
การแนะนำตัว, การแนะนำผู้อื่น
   การแนะนำตัว ( Introductions )
1. I'd like to introduce myself.   (ฉันขอแนะนำตัวเอง)
2. I'm / My name is ................. . (ฉันชื่อ?...)
3. Hello / Hi, my name is ............... . (ชื่อของฉันคือ......)
4. Call me ................. . (กรุณาเรียกฉันว่า?..)
5. I'm ................ . (ฉันชื่อ?..)
              การแนะนำคนอื่น ( Introducing Others )
1. Let me introduce ( you to ) ................ . (ขอแนะนำให้รู้จักคุณ.......)
2. I'd like to introduce ( you to ) ............... . (ขอแนะนำให้รู้จักคุณ.......)
3. I'd like you to meet ................ . (ขอแนะนำให้พบกับคุณ.......)
4. Meet ................ . (เชิญพบกับ........)
5. This is ................. . (นี่คือคุณ......)
   เวลาตอบนั้น เราอาจตอบว่า Nice to meet you. Glad to meet you. (ยินดี/ดีใจที่ได้รู้จัก) หรือ How do you do. ก็ได้

ประโยคที่ใช้กันบ่อยๆ ทาง E- mail

ประโยคซักถามเกี่ยวกับสินค้า- การสั่งซื้อ เช่น
1.   How many you have available in each variety?(มีสินค้าอยู่เท่าไหร่ กี่ชิ้นในแต่ละรายการ)
2.   I intend to purchase some plants. Please send your availability list.(ฉันต้องการซื้อต้นไม้บางต้น   กรุณาส่งรายการสินค้ามาให้ดูหน่อย)
3.   Kindly give me a catalogue for the mentioned address. (ช่วยส่งแคตตาล็อก มายังที่อยู่ดังกล่าวหน่อย)

ขั้นการเสนอราคา
1.   When can I expect the merchandise?(ฉันจะได้รับของเมื่อไหร่)
2.   Could you please let me know the price of this item?(สินค้าชิ้นนี้ราคาเท่าไหร่)
3.   Please find attached list of items I would like to order.(กรุณาอ่านดูรายการตามที่ได้แนบมา  ฉันต้องการสั่งซื้อ)
4.   I have visited your web site and seen your current price list. I would like to place an order with your company.(ฉันได้เข้าไปดูเวปไซต์และเห็นราคาสินค้าของคุณ  ก็เลยอยากจะสั่งซื้อสินค้าจากทางคุณ)

ขั้นการส่งของ
1.   I have requested the flight on this coming Friday to Orlando.(ทางเราได้จองเที่ยวบินไปยัง Orlando ไว้แล้ว เที่ยวบินในวันศุกร์ที่จะถึงนี้)
2.   We have just received confirmation of your first order.(ทางเราเพิ่งได้รับการยืนยันคำสั่งซื้อครั้งแรกจากคุณแล้ว)
3.   What medium of transportation will you use?(คุณจะใช้การขนส่งทางไหนดี)
4.   Please give me the status on this shipment.(ช่วยบอกด้วยว่าตอนนี้เรื่องการส่งสินค้าไปถึงไหนแล้ว)
5.   The shipment will arrive Airport destination at 15:00 hrs. on April 9, 2003.(สินค้าจะถึงสนามบินปลายทาง ในวันที่ 9 เมษายน  ค.ศ. 2003 นี้ เวลา  15.00 น.)

คำศัพท์ทางการส่งของ
1.   F.O.B = Free on board  ราคาสินค้าที่ไม่รวมค่าการขนส่งสินค้าหรือค่าประกันความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้า
2.   Import Permit = ใบอนุญาตนำเข้าสินค้า
3.   Air Fright charge = ค่าส่งสินค้าทางสายการบิน
4.   C & F = Cost and Freight = ราคาสินค้ารวมกับค่าส่งสินค้า
5.   CIF ? cost, insurance, freight - ราคาสินค้ารวมค่าประกันและค่าระวางในการขนส่ง
6.   Ex works/ ex factory ? ราคาโรงงาน
7.   ETA ? expected time of arrival ? วัน เวลา ที่คาดว่าสินค้าจะมาถึง
8.   ETD ? expected time of delivery ? วันเวลาที่คาดว่าจะส่งออกสินค้า
9.   B/L ? bill of lading ? ใบตราส่ง

ประโยคทั่วไปที่ใช้กันเสมอ
1.   I will keep you informed.(แล้วฉันจะคอยแจ้งให้คุณทราบ)
2.   I look forward to your reply.(ฉันรอคำตอบจากคุณอยู่)
3.   Sorry for your inconvenience.(ขอโทษสำหรับความไม่สะดวกของคุณ)
4.   I have been waiting for your contact for long time. I understand that you might be busy with your company.(ฉันรอการติดต่อกลับจากคุณมาเป็นเวลานาน  ฉันเข้าใจดีว่าคุณอาจจะกำลังไม่ว่าง ยุ่งกับบริษัทของคุณ)
5.   Thank you for your quick reply.(ขอบคุณสำหรับการตอบกลับอย่างรวดเร็ว)
4.   Thanks for your patience.(ขอบคุณสำหรับความอดทนรอ)
5.   I am sure I will cooperate with you in the future.(ฉันมั่นใจว่า ฉันสามารถจะร่วมงานกันคุณได้ในภายหน้า)

คำต่อว่า แสดงความผิดหวัง
1.   I am dissatisfied with your shipment. (ฉันรู้สึกผิดหวังกับการจัดส่งของคุณ)

การชำระเงิน
1.   I request you to settle all the payments.(ฉันขอให้คุณชำระเงินทั้งหมด)
2.   Payment will be done in cash during my visit.(ฉันจะจ่ายเงินสดให้เรียบร้อยเมื่อผมไปที่นั่น)
3.   Do you accept credit card as a medium of payment?(คุณรับการชำระเงินด้วยเครดิตการ์ดหรือไม่)

ประโยคลงท้ายก่อนจบการสนทนาในจดหมาย
1.   I hope that we can continue to do business.(ฉันหวังว่า เราคงได้ทำธุรกิจร่วมกันต่อไปอีกนะ)
2.   Hope to hear from you soon.(ฉันหวังว่าคงจะได้รับข่าวคราวจากทางคุณ โดยเร็ววัน)
3.   I will be waiting for your further information. (ฉันจะรอข่าวคราว ข้อมูลเพิ่มจากคุณ)
4.   Thank you.  (ขอบคุณ)

ถ้าผู้ประกอบการติดต่อกับลูกค้า ควรเขียนอีเมล์หรือส่งแฟกซ์กลับไปแจ้งยืนยันกับลูกค้าต่างชาติอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าการสื่อสารถูกต้องและเข้าใจตรงกัน
คำศัพท์ภาษาอังกฤษธุรกิจก็มีความสำคัญและอาจทำให้ผู้ประกอบการเกิดความสับสนได้ ดังนั้นผู้ประกอบการควรเรียนรู้และทำความเข้าใจด้วย เช่น
Quotation ? ใบเสนอราคา
Purchase of order ? ใบสั่งซื้อ
Extension of Credit ? การขยายเวลาการชำระหนี้

ผู้ประกอบการควรศึกษาถึงเอกสารที่จำเป็นต้องแนบไปเมื่อมีการส่งออกจากประเทศไทย หรือนำเข้าในประเทศอื่น เนื่องจากสินค้าบางประเภทจำเป็นที่จะต้องมีใบรับรองจากสำนักงานอาหารและยา เช่น เครื่องสำอางบางประเภท, ยา, และ สารสกัดจากพืช เป็นต้น คำศัพท์ของเอกสารรับรอง เช่น
Certificate of Origin - ใบรับรองแหล่งผลิต
Certificate of Free Sale - ใบรับรองอนุญาตให้ขายสินค้าภายในประเทศ
Packaging List ? ใบบรรทุกของ
Import licence - ใบอนุญาตนำเข้า

การใช้ภาษาอังกฤษนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการฝึกฝน หากผู้ประกอบการเรียนรู้และพยายามใช้ภาษาอังกฤษทุกครั้งเมื่อมีโอกาส ก็จะสามารถพัฒนาและสามารถนำภาษาอังกฤษมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อการค้าและการส่งออกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


กรณีศึกษา

บริษัทจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยทำกิจการส่งออกเกี่ยวกับเครื่องสำอางและอาหารเสริม โดยผลิตภัณฑ์จะมีส่วนประกอบจากสารสกัดธรรมชาติ กลุ่มเป้าหมายจะเป็นลูกค้าจากต่างประเทศ 99 % บริษัทจะเน้นการขายส่ง (whole sale) โดยที่ลูกค้าสามารถสั่งสินค้าภายใต้โลโก้สินค้าของลูกค้าเอง  กลุ่มลูกค้าในปัจจุบันจะอยู่ในแถบโซนเอเซีย ตะวันออกกลางและอเมริกา
ในการทำงานพนักงานบริษัทจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ ในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าต่างประเทศและ supplier ที่อยู่ในต่างประเทศ การสื่อสารจะทำผ่านทางอีเมล์เป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งแฟกส์และโทรศัพท์ ในการทำเอกสารการส่งออกและเอกสารต่างๆภายในต้องทำเป็นภาษาอังกฤษเพื่อความสะดวกของ CEO และการอ้างอิงภายหลังกับลูกค้า

บริษัท สมิทธ์แนเชอรัลจำกัด
90 อาคารฟิฟท์ตี้-ฟิฟท์พลาซ่า ซอยทองหล่อ 2
ถนนสุขุมวิท 55 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพ 10110
ประเภทของธุรกิจ ส่งออกเครื่องสำอางค์
Managing Director: คุณสมคิด พนมยงค์
CEO: Dr. I Sandford Schwartz
มีเยอะมากมายแค่ไหน