cmxseed สังคมราตรี

Seed market => ปรึกษา ทุกปัญหาเรื่อง บ้านและที่ดิน => ข้อความที่เริ่มโดย: etatae333 ที่ 30 กรกฎาคม 2014, 16:04:40

หัวข้อ: ลุยรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ
เริ่มหัวข้อโดย: etatae333 ที่ 30 กรกฎาคม 2014, 16:04:40
ลุยรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ

คสช.ไฟเขียวโรดแมปคมนาคม ลุยรถไฟทางคู่ 6 สาย 899 กม. เชื่อมการค้าขนส่ง "ประยุทธ์" นั่งบอร์ด สวล.
ดัน 2 สาย "จิระ-ขอนแก่น" กับ "ประจวบฯ-ชุมพร" เปิดประมูลปีนี้ ปรับสเป็ก เพิ่มความเร็ว 160 กม./ชม.
สั่งรื้อระบบรางรับรถไฟ 2 ระบบ 1 เมตร กับ 1.435 เมตร ความเร็ว 200 กม. ผ่านด่านเชียงของ-หนองคาย
ทะลุจีน ย่นเวลาเดินทาง 30%


นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เตรียมจะพิจารณาแผนยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน
คมนาคมขนส่งของไทย ในวันที่ 29 ก.ค.นี้ จากเดิมจะพิจารณาเมื่อวันที่ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยหารือร่วมกับ
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้า คสช.ฝ่ายเศรษฐกิจ เรียบร้อยแล้ว หากที่ประชุมเห็นชอบ
กระทรวงจะเดินหน้าลงทุนโครงการใหญ่ต่อไปทันที ภายใต้งบประมาณปี 2558

ปรับยุทธศาสตร์ระบบราง


แหล่งข่าวจากกระทางคมนาคมเปิดเผยว่า ยุทธศาสตร์ตามแผนงานจะเน้นพัฒนา 5 ด้านในเวลา 8 ปี (2558-2565)
โครงการส่วนใหญ่จะเหมือนเดิม แต่ปรับระบบรางใหม่ให้สอดคล้องกับนโยบาย คสช. เพื่อเชื่อมการค้าชายแดนและ
ประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ ให้ศึกษาก่อสร้างรถไฟทางคู่ระบบราง 1.435 เมตร มาตรฐานเดียวกับ
ประเทศจีนและทั่วโลก

"ไฮไลต์คือระบบราง 1 เมตร หรือมิเตอร์เกจ สำหรับรถไฟทางคู่ 5 สาย และเพิ่มรางใหม่ขนาด 1.435 เมตร หรือ
สแตนดาร์ดเกจ เพื่อปรับความเร็วรถไฟ 2 สายทาง ที่เป็นเส้นยุทธศาสตร์เชื่อมจีนที่ด่านเชียงของ และหนองคาย
วงเงินลงทุนยังไม่ลงลึก ขั้นตอนคือขออนุมัติหัวหน้า คสช.ก่อน"


จากแนวคิดของปลัดคมนาคม อาจพิจารณาวงเงินลงทุนก่อสร้างโครงการเร่งด่วนใน 4 ปีแรกก่อน จากเดิมรวม 3 เฟส
เมื่อตัดรถไฟความเร็วสูงแล้ว จะเหลือวงเงินลงทุน 2.4 ล้านล้านบาท ซึ่งเฟสแรกพร้อมดำเนินการทันที รวมวงเงินลงทุน
721,152 ล้านบาท โดยปี 2558 จะใช้เงินลงทุน 193,009 ล้านบาท อาจแยกโครงการที่รัฐวิสาหกิจจะใช้เงินล
งทุนตัวเองออกไป ทำให้เงินลงทุนปรับลดลงอีกอยู่ที่ 1.2 ล้านล้านบาท


++เปิดโผยุทธศาสตร์ 5 ด้าน

แหล่งข่าวกล่าวว่า ยุทธศาสตร์และแผนงานการพัฒนาที่บรรจุในแผน 8 ปี มีทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศ 5 ด้าน ได้แก่

1.การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง เช่น รถไฟทางคู่เชื่อมระหว่างเมืองและในอาเซียน ผ่านด่านชายแดนเชียงของ
นครพนม จะเริ่มสร้างก่อนคือสายจิระขอนแก่น และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร โดยปรับปรุงทาง จัดซื้อหัวรถจักรและโบกี้ใหม่

2.พัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯและปริมณฑล เช่น รถไฟฟ้า 10 สาย เริ่มประมูลปีนี้
มีสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ปี 2558 สีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) สีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสีเหลือง
(ลาดพร้าว-สำโรง) และจัดซื้อรถเมล์ใหม่ 3,183 คัน เพิ่มโครงข่ายถนนและสะพาน เช่น ถนนต่อเชื่อมราชพฤกษ์ตัดใหม่

3.เพิ่มขีดความสามารถทางหลวงที่เชื่อมโยงพื้นที่สู่อาเซียน เช่น สร้างถนนลาดยาง ขยายถนน 4 เลน บูรณะถนนสาย
หลักระหว่างภาค มอเตอร์เวย์ เริ่มเวนคืนสายแรกคือพัทยา-มาบตาพุด 4.พัฒนาโครงข่ายขนส่งทางน้ำ ขุดลอกแม่น้ำป่าสัก
และสร้างท่าเรือแห่งใหม่ที่ชุมพร ปากบารา 5.เพิ่มขีดความสามารถด้านบริการขนส่งทางอากาศ ขยายสนามบินสุวรรณภูมิ
เฟส 2 สนามบินดอนเมือง สนามบินเบตง ฯลฯ

"ทั้งหมดคือภาพรวมระยะยาว แต่จะเน้นโครงการที่จะแล้วเสร็จใน 4 ปี โดยเริ่มได้ในปี 2558 คือ ถนน 4 เลน ซ่อม
ทางเก่า เวนคืนรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า และมอเตอร์เวย์ ซึ่งสำนักงบประมาณให้งบฯรวมอยู่ในงบฯปี 2558 ที่กระทรวงได้รับ
ทั้งหมด 146,781 ล้านบาท บางส่วนต้องใช้เงินกู้ เช่น รถไฟฟ้า ทางคู่"



++บิ๊กตู่เร่งทางคู่-เพิ่มราง


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. กล่าวว่า จะเร่งรัดสร้างรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย จัดหาหัวรถจักรใหม่
รถเมล์ใหม่ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนทบทวน จะหาข้อสรุปโดยเร็ว โดยมอบหมายให้รองหัวหน้า คสช.ฝ่ายเศรษฐกิจ และส่วน
ราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เร็วที่สุด

"รถไฟทางคู่นั้นให้พิจารณาถึงอนาคตที่จะต้องรองรับการเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านในอาเซียนไปถึงประเทศจีนที่ต้องใช้
เทคโนโลยีใหม่ ด้วยขนาดราง 1.435 เมตร ทั้งนี้เพื่อรองรับขบวนรถที่มีความเร็วสูง 160-180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง"

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวและว่า

รวมถึงพัฒนาจุดเชื่อมต่อและทางลอดให้ขบวนรถไฟวิ่งได้ต่อเนื่องและปลอดภัย เนื่องจากระบบรางของไทยกว้าง 1 เมตร
รองรับการวิ่งด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งในอนาคตจะมีปัญหาเรื่องจัดหาอะไหล่ ซ่อมบำรุง เพราะทั่วโลก
มีแนวโน้มใช้งานระบบราง 1.435 เมตร ระยะแรกให้วางรางขนาด 1 เมตรเพิ่มเติม ในเส้นทางจราจรหนาแน่น และเป็น
เส้นหลักด้านขนส่งสินค้า ปัจจุบันคมนาคมมีแผนสร้าง 6 เส้นทาง คือ ฉะเชิงเทราคลอง 19-แก่งคอย, ลพบุรี-ปากน้ำโพ,
มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ, ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น, นครปฐม-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร


++ทางคู่เฟสแรกลุย 6 สาย

แหล่งข่าวกล่าวว่า นโยบาย คสช.จะเร่งงานรถไฟทางคู่ 2 ระบบ โดยระบบราง 1 เมตร จะเริ่ม 6 สาย
ระยะทาง 899 กิโลเมตร เงินลงทุน 129,383 ล้านบาท เริ่มปี 2557-2562 ได้แก่ ฉะเชิงเทรา-คลอง 19-แก่งคอย
ระยะทาง 106 กิโลเมตร วงเงิน 11,348 ล้านบาท ชุมทางถนนจิระขอนแก่น 184 กิโลเมตร 26,007 ล้านบาท
ลพบุรี-ปากน้ำโพ 143 กิโลเมตร 24,842 ล้านบาท มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 134 กิโลเมตร 29,855 ล้านบาท
นครปฐมหัวหิน 165 กิโลเมตร 20,038 ล้านบาท และ ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร 17,293 ล้านบาท

ส่วนระบบราง 1.435 เมตรเป็นเฟสต่อไป เริ่ม 2 สายทาง ระยะทาง 1,500 กิโลเมตร ลงทุน 715,139 ล้านบาท คือ
1.สายเชียงของ-แหลมฉบัง 900 กิโลเมตร เชื่อมรถไฟทางคู่ของจีนที่ด่านเชียงของผ่านห้วยทราย จะก่อสร้างขนานแนวเดิม
จากแหลมฉบังไปตามทางรถไฟสายเหนือถึงเด่นชัย จากนั้นจะเป็นแนวเส้นทางใหม่ 324 กิโลเมตร จากเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ

2.สายหนองคาย-ชุมทางบ้านภาชี กว่า 600 กิโลเมตร สร้างขนานไปกับแนวรถไฟเดิมจากชุมทางบ้านภาชี ไปทางสายอีสาน
ถึงหนองคาย เชื่อมรถไฟทางคู่ของจีนที่นครเวียงจันทน์ ช่วงบ้านภาชี-แหลมฉบัง จะใช้ทางร่วมกับสายเชียงของ-แหลมฉบัง
ทั้งนี้เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเชื่อมโยงเศรษฐกิจการค้าการลงทุนกับจีน

ซึ่ง คสช.ประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษ 5 พื้นที่จาก 12 พื้นที่ ได้แก่
1.อ.แม่สอด จ.ตาก
2.พื้นที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
3.อ.คลองลึก จ.ตราด
4.อ.เมือง จ.มุกดาหาร
5.อ.สะเดา จ.สงขลา


+++เร่งบอร์ด สวล.ไฟเขียว

"หาก คสช.เห็นชอบ คาดว่าโครงการทั้งหมดจะแล้วเสร็จได้ในปี 2565 ซึ่งจะรองรับย่นเวลาเดินทางได้ 30%
และแก้ปัญหาจุดตัดรถไฟด้วย"


พร้อมเสนอว่า หากต้องสร้างรถไฟทางคู่ขนาดราง 1.435 เมตร จะแยกงานก่อสร้างออกมาต่างหาก จากแนวรถไฟเดิม
เป็นการลดความซ้ำซ้อน ถ้าจะรื้อระบบราง 1 เมตร เป็น 1.435 เมตร อีกทั้งระบบรางใหม่ใช้ความเร็วมากกว่า
200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 23 ก.ค. พล.อ.ประยุทธ์จะเป็นประธานประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นครั้ง
แรก คาดว่าจะมีการพิจารณาอนุมัติโครงการรถไฟทางคู่ 2 สายที่ค้างมานาน

และวันที่ 21 ก.ค.ที่ผ่านมา คสช.มีคำสั่งโยก นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่ง
และจราจร (สนข.) เป็นอธิบดีกรมเจ้าท่า พร้อมแต่งตั้ง นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รอง ผอ.สนข. ขึ้นเป็น ผอ.สนข.คนใหม่