-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติศาสตร์ของน้ำตาล : ความหวานสร้างโลก  (อ่าน 5740 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

  • Administrator
  • เทพเจ้าราตรี
  • *
  • กระทู้: 18236
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +9/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • cmxseed

ประวัติศาสตร์ของน้ำตาล : ความหวานสร้างโลก



ภาพของน้ำตาลในความรู้สึกของผู้คนทั่วไปคือความหวานสดชื่นแต่หากย้อนดูไปในประวัติศาสตร์โลก หลังจากที่โลกค้นพบความหวาน
จากน้ำตาลแทนน้ำผึ้ง น้ำตาลก็กลายเป็นความหวานที่มีอานุภาพรุนแรงมากกว่าที่เคยรู้มา


เครื่องปรุงรสในครัวเรือนนั้นมีมากมายหลากหลายชนิดแต่เครื่องปรุงรสหวานที่แพร่หลายมากที่สุดในโลกยุคปัจจุบันคงเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจาก
สสารเกล็ดละเอียดสีขาว น้ำตาล นั่นเอง น้ำตาลที่บรรจุอยู่ในโถตามครัวเรือนหรือร้านค้ารอคอยเวลาที่จะถูกนำมาปรุงเป็นอาหาร ขนมหวาน
และเครื่องดื่มรสอร่อย ความที่น้ำตาลมีอยู่มากมายเดื่อนดาษดุจเม็ดทรายและซื้อหาง่ายราคาถูกทำให้คนยุคสมัยใหม่เข้าใจว่าเจ้าเกล็ดความหวาน
เหล่านี้เป็นเครื่องปรุงรสอันแสนจะธรรมดา

ทว่าที่จริงแล้วกว่าน้ำตาลจะเดินทางมาอยู่ในโหลเครื่องปรุงตามบ้านของเราในแบบปัจจุบันนั้น มันได้ก้าวผ่านประวัติศาตร์อันยาวนาน
และวัฒนธรรมของผู้คนหลากยุคหลากสมัย ประวัติศาสตร์ของน้ำตาลจึงพิเศษและน่าหลงใหลไม่แพ้รสชาติของมันเลย



เมื่อน้ำตาลเดินทางรอบโลก



ต้นกำเนิดของน้ำตาลนั้นมาจากพืชชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดบนหมู่เกาะปาปัวนิวกินี พืชชนิดนั้นคือ ต้นอ้อยหรือต้นน้ำตาล(sugar cane) 
ชาวโพลีนีเซียนเป็นคนกลุ่มแรกที่รู้จักรสหวานจากน้ำตาลอ้อยและเพาะปลูกต้นอ้อยเมื่อราวๆ 8,000 ปีก่อนคริสตกาล จากนั้นต้นอ้อย
ก็ได้แพร่กระจายผ่านหมู่เกาะโซโลมอนไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไปจรดยังอินเดีย ชาวอินเดียเป็นคนชนชาติแรกที่ค้นพบกรรมวิธี
ในการทำให้น้ำหวานของอ้อยตกผลึกเป็นน้ำตาลเกล็ดในสมัยราชวงศ์คุปตะ ดังนั้นในน้ำตาลจึงถูกเรียกว่า sugar ซึ่งมาจากรากภาษาสันสกฤต
ว่า sarkar ที่หมายถึง เกล็ด,เม็ดเล็กๆ(grain) และสูตรลับนี้ยังได้เผยแพร่ไปยังแผ่นดินจีนในสมัยราชวงศ์ถังโดยผ่านทางนักจาริค
แสวงบุญชาวพุทธด้วย


เมื่อพระเจ้าดาริอุสแห่งเปอร์เซียได้เข้ารุกรานอินเดียเมื่อ 510ก่อนคริสตกาล พระองค์ได้ค้นพบพืชชนิดหนึ่ง ‘ที่สามารถมอบรสหวานปานน้ำผึ้งโดยปราศจากรวงรัง’
และแน่นอนพระองค์ก็ได้นำเจ้าต้นไม้พิเศษนี้กลับไปยังอาณาจักรของพระองค์ด้วย ต้นอ้อยและกรรมวิธีผลิตน้ำตาลที่พระองค์พบในอินเดียถูกเก็บ
เป็นความลับอย่างยาวนานในหมู่คนชนชั้นสูงที่มักสงวนของดีไว้กับตัวเอง



ความลับของกรรมวิธีผลิตน้ำตาลพึ่งมาแตกดังโพละเอาเมื่อกองทัพของชาวอาหรับแผ่ขยายอำนาจในสมัยศตวรรษที่ 7 ชาวมุสลิมได้ค้นพบกรรมวิธี
การปลูกอ้อยและผลิตน้ำตาล พวกเขาได้ริเริ่มปลูกอ้อยและทำน้ำตาลในแผ่นดินที่พวกเขายึดครองมาได้ซึ่งปัจจุบันคือสเปนและแอฟริกาเหนือ
ต่อมาเมื่อชาวมุสลิมต้องรบรากับชาวคริสต์ในยุโรปในยุคสงครามครูเสดเมื่อศตวรรษที่ 11 แม้สงครามจะนำมาซึ่งความสูญเสียและความขมขื่น
แต่นั่นก็ได้ทำให้อารยธรรมธรรมยุโรปได้แลกเปลี่ยนความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆจากอารยธรรมอิสลามและหนึ่งในของใหม่ๆ ที่นักรบครูเสดชาวยุโรป
นำกลับบ้านมาด้วยก็คือ ‘เครื่องเทศ’แสนพิเศษชนิดหนึ่งที่ให้ความหวานหอมอย่างที่พวกเขาไม่เคยสัมผัสมาก่อน และศตวรรษต่อมาหลังจากนั้นคือ
การเจริญขึ้นของการค้าขายระหว่างชาวยุโรปกับชาวตะวันออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเข้าน้ำตาลสู่ยุโรปและรวมถึงการเสาะแสวงหาดินแดนใหม่
เพื่อปลูกอ้อยและผลิตน้ำตาลป้อนตลาดที่มีความต้องการมหาศาลซึ่งนั่นจะหมายถึงการล่าอาณานิคมในศตวรรษต่อๆมา 
     


เมื่อน้ำตาลเท่ากับความหรูหรา



น้ำตาลได้เดินทางเข้าสู่เกาะอังกฤษครั้งแรกในปี ค.ศ.1099 ในช่วงแรกๆ น้ำตาลหนึ่งปอนด์มีมูลค่าเท่ากับสองชิลลิ่ง ปัจจุบันเราอาจคิดว่าถูก
แต่ในอังกฤษสมัยปี ค.ศ. 1319 ราคาขนาดนี้เท่ากับค่าจ้างที่กรรมกรคนหนึ่งสามารถอยู่ได้ถึงสองสามเดือนเลยทีเดียว ดังนั้นน้ำตาลจึงไม่ใช่
ของปกติสำหรับตาสีตาสาทั่วๆไปจะสามารถหาซื้อได้ แต่ความหรูหรานี้มีไว้เฉพาะสำหรับคนชนชั้นสูงและกระฎุมพีผู้ร่ำรวยเท่านั้น


ธรรมเนียมบนโต๊ะอาหารของคนชนชั้นสูงและร่ำรวยมักจะรับประทานเฉยๆ ไม่เป็นแต่ต้องมีการอวดโอ้แสดงความหรูหราของตนเองแก่ผู้ร่วมโต๊ะ
เมื่อพระเจ้าเฮนรี่ที่สี่แห่งฝรั่งเศสเสด็จนครเวนิส พระองค์ต้องประทับใจกับงานเลี้ยงโต๊ะอาหารที่สมพระเกียรติของพระองค์ซึ่งประดับตกแต่งโต๊ะ
ด้วยเครื่องเงินอย่างดีและไฮไลต์ของงานก็คือผ้าพับที่ทำจากสายไหม(น้ำตาลปั่น) นอกจากนี้คนร่ำรวยสมัยก่อนยังชอบประดับประดาโต๊ะอาหาร
ของพวกเขาด้วยศิลปะน้ำตาลแกะสลักรูปแบบต่างๆ อีกด้วย



เหตุผลที่น้ำตาลนั้นกลายเป็นของหายากและสูงค่าก็เนื่องจากจำนวนที่น้ำตาลผลิตออกมามีจำกัดเมื่อเทียบกับจำนวนความต้องการมหาศาลของชาวยุโรป
แต่เพราะราคาสูงอันล่อตาล่อใจนี้เองที่ทำให้เหล่านายทุนชาวยุโรปและคนชนชั้นสูงผู้มีอำนาจต้องออกเสาะแสวงหาน้ำตาลและนั่นคือจุดเริ่มต้นของการ
ล่าอาณานิคมเพื่อสร้างอุตสาหกรรมน้ำตาลที่ต้องแลกมาด้วยเลือดเนื้อของทาสชาวแอฟริกันและชนพื้นเมืองท้องถิ่นจำนวนมาก เพื่อให้ได้มาซึ่ง
‘เกล็ดทองคำขาว’ อันสูงค่าสำหรับชายามบ่ายของชาวยุโรปผู้มีอันจะกิน


 

เมื่อน้ำตาลกลายเป็นอุตสาหกรรม : ความหวานบนเลือดเนื้อและน้ำตาของทาส




ในศตวรรษที่ 15-16 ชาวยุโรปได้คิดค้นประดิษฐกรรมเครื่องมือชิ้นหนึ่งขึ้น นั่นคือ ‘ลัทธิล่าอาณานิคม’ และด้วยเครื่องมืออันยอดเยี่ยมนี้บวกกับกองทัพ
อันทรงอานุภาพและทันสมัย พวกเขาจึงแผ่ขยายอำนาจยึดครองทั่วทั้งแอฟริกา อเมริกา เอเชีย ตลอดจนหมู่เกาะในแอตแลนติกและตักตวงทรัพยากรต่างๆ
จากแผ่นดินเหล่านั้นในนามของชาวผิวขาวผู้มีอารยธรรมเหนือกว่า




ยุโรปเป็นแผ่นดินที่มีพื้นที่ในการทำเกษตรกรรมได้น้อย ในสมัยโบราณจึงมักเกิดการต่อสู้แย่งชิงที่ดินทำกินเป็นประจำ ขณะที่แผ่นดินของอาณานิคม
ที่ยึดครองนั้นมีพื้นที่เหลือเฟือและบริบูรณ์ด้วยทรัพยากร ชาวยุโรปจึงตักตวงจากผืนดินของประเทศอาณานิคมอย่างเต็มที่ด้วยการปลูกพืชที่ตลาดยุโรป
ต้องการทั้งใบชา ฝ้าย กาแฟ โกโก้ พริกไทย และอ้อยสำหรับผลิตน้ำตาลอย่างเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ น้ำตาลแต่เดิมที่ซื้อหายากราคาแพง
แต่ด้วยการผลิตจำนวนมากแบบอุตสาหกรรม น้ำตาลปริมาณมหาศาลก็ออกสู่ท้องตลาด มีราคาถูกลงและสามารถซื้อหาได้ง่ายในหมู่คนทั่วไป
และวิธีการง่ายๆที่จะประหยัดต้นทุนในการผลิตก็ไม่มีวิธีใดที่จะมีประสิทธิภาพดีเยี่ยมและสะดวกไปกว่า ‘การใช้แรงงานทาส’




การใช้แรงงานทาสในกระบวนการผลิตน้ำตาลนั้นมีขึ้นมานมนานก่อนยุคล่าอาณานิคม ในศตวรรษที่ 14 ไซรัป (หรือน้ำเชื่อม) ผลิตขึ้นจากแรงงานทาส
ชาวอาหรับและซีเรีย เมื่อโปรตุเกสและสเปนได้เข้ายึดครองดินแดนอาณานิคมในแถบแอตแลนติคพวกเขาก็ได้วางรากฐานอุตสาหกรรมน้ำตาลและระบบ
การค้าทาสควบคู่ไปพร้อมๆกัน คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสผู้โด่งดังเองก็เป็นหนึ่งในผู้คนที่เติบโตมาจากคาราวานค้าน้ำตาลใน Madaira หมู่เกาะในมหาสมุทร
แอตแลนติค และด้วยความสำเร็จของมัน โคลัมบัสจึงได้นำเอาประสบการณ์นี้ไปเผยแพร่ยังโลกใหม่ด้วย ซึ่งต่อมาก็บังเกิดอุตสาหกรรมน้ำตาลขึ้นใน
ทั้งซานตา โดมิงโก, คิวบา, เปอร์โตริโก ตลอดจนถึงบราซิล

ในยุคศตวรรษที่ 16-17 การใช้แรงงานทาสเป็นสิ่งถูกกฏหมาย ทาสส่วนใหญ่มักจะมาจากขบวนการค้าทาส ที่รู้จักกันในชื่อ สามเหลี่ยมการค้าทาส
ในแอตแลนติค(Atlantic triangular slave trade) ซึ่งทาสที่ถูกจับมาส่วนใหญ่เป็นชาวแอฟริกันผิวดำ พวกเขาจะถูกส่งตัวไปใช้แรงงานอย่างหนัก
ในไร่อ้อย รวมถึงไร่ยาสูบ ไร้ฝ้ายเพื่อผลิตสินค้าให้ชาวยุโรปใช้




ตลอดช่วงเวลาสองร้อยปีที่การค้าทาสเฟื่องฟูอย่างน่าอดสูนี้ มีการสันนิษฐานว่าน่าจะมีชาวแอฟริกันมากกว่า 9,500 คนต่อปี ถูกจับเป็นทาสและขนส่ง
จากแอฟริกาไปยังหมู่เกาะแอตแลนติค คาริบเบียนและอเมริกา ผ่านทางเรือบรรทุกสัญชาติยุโรปเพื่อไปทำงานในโรงงานน้ำตาลในอาณานิคม
ชาวแอฟริกันผิวดำนับล้านชีวิตต้องผ่านประสบการณ์อันทุกข์ทรมานอยู่บนเรือขนส่งและหลายคนต้องตายอย่างทารุณ
 
ทาสจะถูกจับล่ามตรวนทั้งคอและข้อเท้าเป็นกลุ่มหกคนแออัดยัดทะนานอยู่ใต้กราบเรือ(เพื่อผลกำไรสูงสุดตามหลักการของทุนนิยม)
นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าน้ำหนักหนึ่งในสี่ของของที่บรรทุกในเรือลำหนึ่งคือน้ำหนักของทาส
(คิดดูสิว่าจะเป็นจำนวนทาสกี่คนที่ต้องเบียดเสียดอยู่ใต้กราบแคบๆนั่น)   




สภาพการณ์ในนั้นยิ่งเลวร้ายกว่าเพราะอากาศที่พอหายใจมีน้อย ร้อนและอับ ขาดทั้งน้ำและอาหาร ทาสมากมายต้องทุกข์ทรมานกับความเจ็บป่วย
และกองอาเจียนจากการเมาเรือ นรกบนเรือที่เต็มไปด้วยเชื้อของโรคท้องร่วง ไทฟอยด์ ไข้เหลืองและฝีดาษ อัตราการตายของทาสบนเรืออาจจะสูงถึง
10-30 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว อย่างไรก็ดีทาสที่รอดชีวิตใช้ว่าก็จะโชคดีกว่า ทาสรายหลายที่ยังไม่มีคนซื้อต้องตายกลายเป็นผีจากการถูกทิ้ง
หรือใช้งานอย่างหนักจนตาย บางคนป่วยเป็นโรคจิตหวาดกลัวชาวยุโรปอย่างรุนแรง ตัวอย่างความกลัวของพวกเขาก็เช่น พวกเขากลัวว่าจะถูก
ชาวยุโรปนำไปกิน หรือถูกนำไปฆ่าเพื่อผลิตน้ำมันหรือผงดินปืน ทาสหลายคนยังเชื่อว่าพวกเขาจะถูกฆ่าเพื่อเอาเลือดไปใช้ทาในสีของธงชาติสเปน

นั่นคือการกดขี่และเหยียบย่ำศักดิ์ศรีของมนุษย์โดยมนุษย์ด้วยกันเองเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำตาลซึ่งมีมูลค่าราวกับทอง (และแน่นอนที่สุดมากกว่าชีวิต
มนุษย์บางพวกด้วยซ้ำ) ความจริงที่น่าเศร้าก็คือเพราะการกระทำอันโหดเหี้ยมเช่นนี้เองที่ทำให้น้ำตาลได้เข้ามาสู่ครัวเรือนของคนทุกชนชั้น
และศตวรรษต่อมามันก็ได้กลายเป็นของจำเป็นอันขาดไปไม่ได้เสียแล้วสำหรับชาวตะวันตกทุกหลังคาเรือน


เมื่อน้ำตาลต้องปันส่วน



จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากว่าจู่ๆ น้ำตาลเกิดขาดแคลน? มนุษย์หลายคนคงปริ่มขาดใจตายถ้าหากขาดเสียซึ่งช็อกโกแลต เค้ก คุ๊กกี้และขนมหวานอื่นๆ
อันที่จริงแล้วความรู้สึกนั้นก็แทบไม่ต่างอะไรกับเด็กๆชาวอเมริกันหลายคนที่ต้องงดมื้อของหวาน แต่กระนั้นครอบครัวพวกเขาก็แทบจะมีน้ำตาล
ไม่พอกิน ซึ่งนั่นเป็นปรกติสำหรับห้วงช่วงเวลาแห่งสงคราม สภาวการณ์ที่ไม่ว่าอะไรๆก็หายากและแพงไปเสียหมด




ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 1942 ซึ่งฟิลิปปินส์นั้นเป็นแหล่งน้ำตาลแหล่งสำคัญของอเมริกา
น้ำตาลซึ่งเป็นยุทธปัจจัยสำคัญยิ่งของกองทัพ ผู้ผลิตและการดำรงชีวิตของประชาชนจึงมีจำกัด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ น้ำตาลจึงเป็นสินค้าชนิดแรก
ที่ถูกปันส่วน


หนึ่งอาทิตย์ก่อนการปันส่วน น้ำตาลจะถูกหยุดการจำหน่าย ครอบครัวของชาวอเมริกันจะต้องไปลงทะเบียนเพื่อขอรับสมุดปันส่วนของรัฐ สมาชิก
ทุกคนจะถูกขอให้แจงข้อมูลจำนวนน้ำตาลที่พวกเขากักตุนไว้ทั้งหมดเพื่อนำไปหักจากแสตมป์ปันส่วน ในช่วงแรกแสตมป์ปันส่วนหนึ่งใบจะสามารถ
แลกได้น้ำตาลหนึ่งปอนด์สำหรับใช้ไปสองสัปดาห์ แต่นานวันเข้าเมื่อสินค้าอื่นอย่างกาแฟและรองเท้าก็ต้องถูกปันส่วน แสตมป์หนึ่งใบก็ต้องใช้
แลกน้ำตาลสองปอนด์สำหรับสี่สัปดาห์แทน

ในระหว่างสงครามรัฐบาลได้พยายามส่งเสริมให้ชาวอเมริกันถนอมอาหารบรรจุขวดไว้กิน กระนั้นการถนอมอาหารก็จำเป็นต้องใช้น้ำตาล ดังนั้น
ในปีค.ศ. 1944 รัฐก็ได้ออกสมุดปันส่วนพิเศษสำหรับน้ำตาลที่นำไปใช้เพื่อการถนอมอาหาร แต่มันกลับสร้างความสับสนให้แก่ผู้คนว่าสามารถ
ใช้บัตรนี้แทนแสตมป์น้ำตาลสำหรับบริโภคได้ด้วย




กระนั้นการมีแสตมป์ปันส่วนไม่ได้หมายความว่าจะมีน้ำตาลให้เสมอไป ในช่วงต้นปีค.ศ. 1945 สภาวะขาดแคลนน้ำตาลมาถึงขั้นวิกฤติเมื่อยุโรป
ถูกรุกรานโดนนาซีเยอรมัน สหรัฐอเมริกาต้องรับภาระใหญ่ยักษ์ในการผลิตอาหารเลี้ยงปากท้องประเทศที่ถูกยึดครองเหล่านั้น นั่นทำให้น้ำตาล
ต้องถูกตัดทอนลงไปอีกจนเหลือ 15 ปอนด์ต่อปีสำหรับครัวเรือน หรือก็คือชาวอเมริกันมีน้ำตาลไว้กินไว้ใช้แค่ 8 ออนซ์(ประมาณ 230 กรัม)
ต่อหนึ่งอาทิตย์ ทั้งน้ำตาลยังเป็นสินค้าชนิดสุดท้ายที่ถูกยกเลิกการปันส่วน

ในช่วงเวลาแห่งความขัดสนน้ำตาลนี้ นิตยสารคุณแม่บ้านเองก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเสนอสูตรการทำอาหารให้แก่เหล่าแม่บ้าน  เช่น
สูตรอาหารที่ใช้น้ำตาลน้อยหรือพลิกแพลงหันไปใช้สารให้ความหวานชนิดอื่นๆ แทน เช่น ขัณฑสกร คอร์นไซรัป กระนั้นเองคงยากที่จะมีอะไร
มาทดแทนน้ำตาลและความรักอันล้นหลามที่เรามีต่อมันกันได้ง่ายๆ ในยุคปัจจุบันชาวอเมริกันก็ยังชื่นชอบสวาปามน้ำตาลอยู่ดี และการบริโภค
น้ำตาลมากๆ ก็คงยากที่จะหลีกเลี่ยงเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บและไขมัน ‘ส่วนเกิน’ ในร่างกาย


 
เมื่อน้ำตาลก่อโรค : ความหวานกลายเป็นความขมขื่น



ในยุคปัจจุบันที่วิทยาการด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้า เราสามารถลิสต์รายชื่อยาวเหยียดของโรคภัยไข้เจ็บที่น้ำตาลก่อขึ้น
ทั้งเบาหวาน หัวใจ โรคอ้วน โรคไฮเปอร์ ไขข้อ ความดัน ไขมันอุดตัน ฯลฯ หลายคนชักจะแหยงและมองน้ำตาลไม่สู้จะดีนัก น้ำตาลคือตัวก่อโรค
ทำให้ร่างกายเราทรุดโทรมเสียโฉม แต่จะมีใครทราบไหมว่าครั้งหนึ่งนั้น น้ำตาลได้ถือเป็นตัวยาสำคัญในการแพทย์แผนโบราณของวัฒนธรรมต่างๆ


ในตำรับการแพทย์อายุรเวทของอินเดียโบราณมีการใช้รากและลำต้นของน้ำตาลในการรักษาโรคที่หลากหลายครอบจักรวาล เช่น โรคผิวหนัง
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โลหิตจาง ความดันต่ำ โรคเกี่ยวกับหัวใจ ท้องผูกไม่มีแรง อาการสะอึก โรคหลอดลมอักเสบและไอ รวมถึงมารดา
ที่ไม่มีน้ำนมด้วย



โดยส่วนใหญ่แล้วน้ำตาลมักถูกใช้เป็นตัวประกอบตัวยาหลักเพราะน้ำตาลมีคุณสมบัติทำให้ตัวยาออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น น้ำตาลถูกใช้เป็นส่วนประกอบ
ในยาแก้โรคเกี่ยวกับจมูก โรคคอ เช่น อาการไอ ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นลูกอมแก้เจ็บคอที่มีรสชุ่มชื่นและหวานอร่อยอย่างในปัจจุบันนั่นเอง
นอกจากนี้การผลิตยาบางตัวในปัจจุบันก็ยังมีการเติมน้ำตาลเพื่อให้กลบรสขมของยาและรับประทานง่ายขึ้นอีกด้วย

อย่างไรก็ดีกระแสของคนยุคสมัยใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพและรักษาหุ่นก็ยังแขยงน้ำตาลเนื่องจากมันเป็นสารในหมวดคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานมาก
กระนั้นรสหวานก็เป็นรสที่ขาดไปเสียไม่ได้อยู่ดีดังนั้นพวกเขาจึงได้หันไปพึ่งพิงสิ่งทดแทนที่ให้ความหวานเช่นน้ำตาลแต่ไร้แคลลอรี่และไม่ก่อโรค


 

เมื่อความหวานแทนกันได้



เมื่อความหวานของน้ำตาลทำพิษ คนจำนวนมากจึงหันไปพึ่งสารให้ความหวานสังเคราะห์ (Artificial sweetener) แทน สารให้ความหวาน
สังเคราะห์หรือที่รู้จักกันในชื่อน้ำตาลเทียม (Sugar substitute) นี้เป็นสสารที่สังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการณ์ทางวิทยาศาสตร์ แต่จะด้วย
เหตุผลกลใดไม่ทราบสารให้ความหวานเหล่านี้มักถูกค้นพบโดยความบังเอิญทั้งสิ้น


ซัคคาริน(Saccharin)หรือขัณฑสกร เป็นสารให้ความหวานสังเคราะห์ที่เก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์สร้าง มันถูกค้นพบในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
ที่มหาวิทยาฮอปกินส์ในปี ค.ศ. 1878 โดยนายคอนสแตนติน ฟาห์เบิร์ก ระหว่างทำงานเขาได้บังเอิญทำสารเคมีตัวหนึ่งหกใส่มือ เมื่อเขากลับบ้าน
ฟาห์เบิร์กก็ 'ซกมก' พอที่จะลืมล้างมือก่อนรับประทานอาหารเย็น ผลคือเขารู้สึกว่าขนมปังที่กินคืนนั้นหวานกว่าปกติ หลังจากทดลองชิมหาร่องรอย
จากทั้งเสื้อ มือและสารเคมีในแล็ป (ซึ่งเป็นการกระทำที่ระห่ำพอตัว คนสติดีไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง) ในที่สุดฟาห์เบิร์กก็ค้นพบว่าความหวานปริศนานั้น
มาจากสารเคมีตัวหนึ่งที่หกใส่มือเขานั่นเอง เขาตั้งชื่อให้มันว่า ‘ซัคคาริน’




ซัคคารินถูกจัดประเภทว่าเป็นสารให้ความหวานที่ไร้แคลลอรี่ ดังนั้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ซัคคารินจึงถูกใช้แทนน้ำตาลในอุตสาหกรรมอาหาร
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและขยับขยายไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ ตามลำดับ เช่นอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม กำเนิดของซัคคารินได้เปิดตลาดใหม่ของสินค้า
ไร้น้ำตาลหรือแคลลอรี่ต่ำที่ในปัจจุบันได้เติบโตขยับขยายไปทั่วโลกและเป็นทางเลือกใหม่ของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพนอกจากนี้ในช่วงเวลา
ของสงครามซัคคารินเองก็ได้เข้ามากอบกู้เมนูอาหารของเหล่าผู้คนมากมายที่ขาดแคลนน้ำตาลในฐานะสารให้ความหวานทดแทนอีกด้วย

นับว่ามันมีคุนูปการแก่มนุษย์อย่างมาก อย่างไรก็ดีงานวิจัยมากมายหลังจากนั้นได้โจมตีซัคคารินว่าเป็นสารอันตรายก่อโรคร้าย เช่น
มะเร็ง จนทำให้ซัคคารินถูกแบนไประยะหนึ่ง แต่งานวิจัยระยะหลังก็ได้ยืนยันว่าซัคคารินนั้นปลอดภัยระดับหนึ่งสำหรับการบริโภค



หลังจากการค้นพบซัคคาริน สารทดแทนน้ำตาลอีกมากมายก็ได้ถูกค้นพบตามมาเป็นระยะๆ เช่น โซเดียม ไดคลาเมท ที่ถูกค้นพบในปีค.ศ. 1937
จากการที่ไมเคิล สเวดานักเคมีกำลังวิจัยยาลดไข้และเผลอเอาบุหรี่ไปแปะบนเก้าอี้ที่เปื้อนสารเคมี เมื่อนำมาสูบจึงพบว่ามันมีรสหวาน
หรือการค้นพบแอสปาแตม ในปีค.ศ. 1965 ที่เป็นผลจากการที่เจมส์ ชแลทเทอร์ เผลอเลียนิ้วก่อนพลิกหน้ากระดาษและค้นพบสาร
ให้ความหวานโดยบังเอิญ แต่ในรายที่น่าเหลือเชื่อที่สุดเห็นจะเป็นในรายของการค้นพบซูคลาโคส



ในปีค.ศ. 1976 บริษัทน้ำตาลสัญชาติอังกฤษ Tate & Lyle ได้ดำเนินการวิจัยเพื่อค้นหาวิธีในการรวมซูโคส(น้ำตาล) เข้ากับสารเคมี
ในห้องปฏิบัติการ หัวหน้าห้องปฏิบัติการในตอนนั้นคือ ศาสตราจารย์เลสลีย์ ฮูคห์ จากมหาวิทยาลัยควีนส์ ฮูคห์ได้สั่งให้ผู้ช่วยคือนักเคมีหนุ่ม
จบใหม่ชาวอินเดีย ศศิกานต์ ประดิษฐ์(Shashikant Phadnis)  ให้ทำการ 'ทดสอบ(test)' สารประกอบน้ำตาลคลอรีนในถ้วยทดลอง
แต่ด้วยความที่ต่างชาติต่างภาษาย่อมเข้าใจกันพลาดได้ ประดิษฐ์บังเอิญผิดสำเนียงของฮูคห์และคิดว่าหัวหน้าบอกให้เขา 'ชิม(taste)'
สารเคมีทดลองไปเสียซะงั้น ดังนั้นประดิษฐ์จึงซดสารเคมีแทนทดสอบ แต่ผลกลับเป็นว่านอกจากเขาจะไม่ซี้จากพฤติกรรมเสี่ยงๆ นั่นแล้ว
โลกยังได้ค้นพบสารทดแทนน้ำตาลตัวใหม่อีกต่างหาก


เพราะชีวิตขาดหวานไม่ได้



ปัจจุบันมีสินค้ามากมายตามห้างสรรพสินค้าที่ใช้สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล เช่น หมากฝรั่งไร้น้ำตาล น้ำตาลเทียม กาแฟลดน้ำหนัก ฯลฯ
เนื่องจากในยุคสมัยของความตื่นตัวในสุขภาพสินค้าเหล่านี้จึงขายได้เสมอ กระนั้นคนบางกลุ่มก็ชอบมากกว่าที่จะเลือกใช้สารให้ความหวานที่มีอยู่
ตามธรรมชาติปรุงอาหาร เช่น น้ำผึ้ง รสหวานจากพืชผักผลไม้ แต่ไม่ว่าใครจะว่าอย่างไรก็ตามคนจำนวนมากก็ยังชื่นชอบในน้ำตาล
ประวัติศาสตร์อันยาวนานของน้ำตาลเป็นตัวพิสูจน์ได้ดีว่ามันได้หยั่งรากลึกลงในรสสัมผัสและชีวิตสังคมของผู้คนอย่างเหนียวแน่นเพียงใด
โหลน้ำตาลไม่มีวันร้างไปจากตู้กับข้าวของเรา แน่นอนพอๆกับที่ความหวานเป็นรสชาติที่ขาดไปเสียไม่ได้จากชีวิตมนุษย์


credit :: ต่วยตูนส์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 กุมภาพันธ์ 2013, 09:46:53 โดย etatae333 »
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่

blitz

  • เด็กทะลึ่ง
  • ****
  • กระทู้: 98
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติศาสตร์ของน้ำตาล : ความหวานสร้างโลก
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2013, 07:59:53 »

         ประวัติยาวนาน ภาพประกอบสวย ขอบคุณสำหรับสาระดีๆครับ

Zalera

  • V.I.P.
  • เด็กหัดแอ่ว
  • *
  • กระทู้: 156
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +2/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติศาสตร์ของน้ำตาล : ความหวานสร้างโลก
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2013, 21:06:57 »

 eta08 ขอบคุณมากครับ ความรู้เน้นๆเลย

pheebar

  • X5 Club
  • อาชาคะนองศึก
  • *
  • กระทู้: 1435
  • Country: 00
  • คะแนนจิตพิสัย +1/-1
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติศาสตร์ของน้ำตาล : ความหวานสร้างโลก
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2013, 22:58:59 »

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ  eta08

lovely_pimnara

  • เด็กหัดแอ่ว
  • *
  • กระทู้: 184
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติศาสตร์ของน้ำตาล : ความหวานสร้างโลก
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 01 มีนาคม 2013, 06:54:43 »

อ่านจนหลับคาที่นอน แล้วตื่นมาอ่ืานต่อต่อนเช้า ขอบคุณสำหรับสาระดีก ๆ ครับ  pongz

unless

  • เด็กหัดแอ่ว
  • *
  • กระทู้: 101
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติศาสตร์ของน้ำตาล : ความหวานสร้างโลก
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 11 เมษายน 2013, 20:36:30 »

 dsgjsd มีสาระๆ

del38196

  • แอบหื่น
  • ***
  • กระทู้: 43
  • Country: 00
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติศาสตร์ของน้ำตาล : ความหวานสร้างโลก
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2013, 23:12:28 »

มีประโยชน์สุดๆ  pongz pongz
Post By Soccer Box Office SBO

OsamaB

  • เด็กหัดแอ่ว
  • *
  • กระทู้: 143
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติศาสตร์ของน้ำตาล : ความหวานสร้างโลก
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2013, 22:56:07 »

ชอบอ่านเรื่องเล่าแบบนี้มาก ๆ ครับ ถ้ามีโอกาสมาโพสอีกนะครับผม