-->

ผู้เขียน หัวข้อ: 4 คนในโลกจริง ที่อาจเป็นตัวละครต้นแบบในเทพนิยาย!  (อ่าน 1202 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

  • Administrator
  • เทพเจ้าราตรี
  • *
  • กระทู้: 18221
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +9/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • cmxseed

4 คนในโลกจริง ที่อาจเป็นตัวละครต้นแบบในเทพนิยาย!

4 คนจริงๆ ที่อาจเป็นต้นแบบของเทพนิยาย บางที นี่อาจเป็นที่มาของคำว่า
“ชีวิตคนเรายิ่งกว่า (เทพ) นิยาย”

 
หลายคนเชื่อกันว่า... เทพนิยายและตำนานต่างๆ ที่เราได้พบเห็นหรือได้อ่านกัน... มีเค้าโครงมาจากเรื่องจริง
หรือชีวิตจริงของ ‘คนบางคน’ ในยุคนั้นๆ เมื่อนักเขียนผ่านไปเห็นเข้า มีโอกาสได้รับรู้ใกล้ชิด หรือว่าอาจจะอ่านเจอ
ก็เกิดความประทับใจ และนำมาแต่งเป็นเรื่องราวให้คนรุ่นหลังได้อ่านกัน


วันนี้เราขอชวนทุกคนมาทำความรู้จักบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ ที่วิถีชีวิตราวกับเทพนิยาย จนทำให้เราแทบจะเชื่อจริงๆ ว่า...
คำกล่าวที่ว่า “ชีวิตคนนี่ ยิ่งกว่า (เทพ) นิยาย” นั้น เป็นความจริง 
 


 
Conomor (ชีวิตเหมือน Bluebeard)




"La Barbe bleue" หรือจ้าวเคราน้ำเงิน เป็นผลงานของนักเขียน ชาร์ลส์ เปโรลต์ (ผู้เขียนเรื่องซินเดอเรลล่า) เนื้อหา พูดถึง
หญิงสาวคนหนึ่ง ซึ่งได้สมรสกับชายหนุ่มฐานะดี ที่ผ่านการแต่งงานมาหลายต่อหลายครั้ง วันหนึ่ง เขาต้องออกเดินทางไปไกล
จึงบอกเจ้าสาวหมาดๆ ว่า จะเปิดประตูห้องไหนในปราสาทก็ได้ ยกเว้นประตูเล็กๆ ที่อยู่ริมสุด ด้วยความอยากรู้อยากเห็น
เจ้าสาวมือใหม่แอบเปิดประตูเข้าไปดู และพบศพของบรรดาภรรยาคนก่อนหน้าแขวนอยู่เต็มห้อง โชคร้าย สามีสุดโหดกลับมาพอดี
เขาพุ่งเข้าจะฆาตกรรมเธออีกคน แต่ว่า พี่ชายของหญิงสาวมาช่วยเธอไว้ได้ทัน   

 
เรื่องราวของจ้าวเคราน้ำเงิน มีรูปแบบการนำเสนอที่คล้ายคลึงกับตำนานกามเทพหนุ่มและไซคี (กามเทพและไซคีอยู่กินกันเป็นเวลานาน
แต่เขาจะมาหาไซคีตอนกลางคืนเท่านั้น วันหนึ่ง เธออยากเห็นหน้าผู้เป็นสามี จึงจุดเทียน น้ำตาเทียนหยดลงบนท่อนแขนของกามเทพ
ทำให้ความรักร้าวสลาย) นั่นคือ ความอยากรู้อยากเห็นของฝ่ายหญิง ทำให้ความรักล้มเหลว



ทว่า จากการสืบค้น พบว่า... มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พูดถึง Conomor ผู้ปกครองแคว้น Brittany ในช่วงยุคกลาง ข้อมูลระบุว่า
Conomor สมรสกับหญิงสาวนามว่า Tréphine ซึ่งเป็นบุตรสาวของ Waroch ท่านเคานท์แห่ง Vannes ทว่าไม่นานหลังจากนั้น
เขากลับฆ่าเธอและลูกชาย 
 
เรื่องเล่า (ที่ออกจะเกินจริงสักหน่อย) ที่ใครๆ แอบพูดกันคือ... ก่อนที่จะมาแต่งงานกับ Tréphine นั้น Conomor มีภรรยามาหลาย
ต่อหลายคน ต่อมา เมื่อ Tréphine หลงเข้าไปในห้องเก็บอัฐิของบรรดาภรรยาเก่า ก็ได้พบกับวิญญาณของพวกนาง ซึ่งมาส่งสารเตือนว่า
Conomor จะฆ่าเธอทันทีที่ตั้งครรภ์ ซึ่งคำพูดนี้ กลายเป็นความจริงในเวลาต่อมา เมื่อ Tréphine ตั้งครรภ์ Conomor ก็ไล่ล่าและตัดศีรษะ
ของเธอออก แต่ว่านักบุญ St.Gildas เมตตา ช่วยให้เธอสามารถคลอดบุตรชายชื่อ Trémeur ได้สำเร็จ เพื่อเด็กน้อยจะเสียชีวิตภายใต้
คมดาบของ Conomor ผู้เป็นพ่อ
 
 
 

Margaretha von Waldeck (ชีวิตเหมือนสโนไวท์) 




ปี ค.ศ. 1994 นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมัน Eckhard Sander ได้ตีพิมพ์บทความชื่อ Schneewittchen: Marchen oder Wahrheit?
(ภาษาอังกฤษคือ Snow White: Is It a Fairy Tale?) เนื้อหาระบุว่า... เขาพบบุคคลที่น่าจะเป็นแรงบันดาลใจของเทพนิยายเรื่องนี้
ในบทความพูดถึง Margaretha บุตรสาวจากภรรยาคนที่สองของท่านเคานท์ฟิลิปที่ 4 แห่ง Waldeck ความงามของ Margaretha
ส่งให้เธอได้ถวายตัวให้กับพระเจ้าฟิลิปที่สองแห่งสเปน พระองค์ทรงโปรดปรานเธอมาก ทว่าน่าเสียดาย Margaretha ล้มป่วยและเสียชีวิต
ในวัยเพียงแค่ 21 ปี ในจดหมายสั่งเสียก่อนตาย เธอเขียนชี้แจงไว้ว่า ถูกวางยาพิษโดยแม่เลี้ยง! ทว่า เป็นเรื่องแปลกมากที่แม่เลี้ยงของเธอ
เสียชีวิตไปเมื่อ 8 ปีก่อนหน้า 

 
ในส่วนของเรื่องแอปเปิ้ลอาบยาพิษ แซนเดอร์ระบุว่า... สาเหตุที่มันมาปรากฎในเทพนิยายก็เพราะในอดีต มีหลักฐานที่ระบุว่า... ชายคนหนึ่ง
ถูกจับกุมตัว เพราะแจกแอปเปิ้ลอาบยาพิษให้กับเด็กๆ คดีนี้โด่งดังมาก จนอาจเป็นแรงบันดาลใจให้นักเขียนนำข้อมูลมาผสมผสานกับเรื่อง
เล่าของนาง Margaretha และกลายเป็นเทพนิยายเรื่องสโนไวท์ในที่สุด


 
นอกจากประวัติของ Margaretha แล้ว ก็ยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับกระจกวิเศษ ตามที่พี่ตินเคยนำเสนอไว้ในบทความ 5 เหตุการณ์ (ที่ไม่น่าเป็นไปได้)
จากเทพนิยายที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง นั่นคือเรื่องราวของ Maria Sophia Margaretha Catherina von Erthal (ชื่อ Margaretha
เหมือนกันเลย แปลกมาก) เจ้าหญิงชาวเยอรมันผู้ถือกำเนิดในปี ค.ศ. 1725 หลังจากพระมารดาของมาเรีย โซเฟีย เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1741
เจ้าชายฟิลิปป์ พระบิดา อภิเษกสมรสใหม่กับ Claudia Elisabeth von Reichenstein แม่เลี้ยงคนงามที่สนใจความสวยความงามมากเป็นพิเศษ
และรักลูกของตัวเองมากกว่าลูกเลี้ยง ต่อมา เจ้าชายได้มอบกระจก อันเป็นผลผลิตของ Lohr Mirror Manufacture (Kurmainzische
Spiegelmanufaktur)ให้กับแม่เลี้ยงสาวผู้นี้ โดยกระจกมีความพิเศษคือ สามารถโต้ตอบได้ แต่จะเป็นการพูดซ้ำๆ ที่ถูกบันทึกเอาไว้
ตัวกระจกถูกเรียกว่า “กระจกพูดได้” และเป็นของขวัญที่ได้รับความนิยมกันมากในหมู่ชนชั้นสูงในยุคนั้น
 
200 ปีต่อมา เชื่อกันว่า พี่น้องกริมม์ ได้มีโอกาสพบเห็นกระจกบานนี้ ในปราสาทของเจ้าชายหรือที่เรียกกันว่าปราสาท von Erthal ซึ่ง
ณ ตอนนั้นถูกนำมาปรับเป็นพิพิธภัณฑ์ในชื่อ Spessart Museum ประวัติเล็กๆ น้อยๆ ของกระจก และเรื่องเล่าที่น่าสนใจของแม่เลี้ยงสาว
ผู้หลงใหลความสวยความงาม น่าจะทำให้พี่น้องกริมม์เกิดแรงบันดาลใจ และเป็นที่มาของเรื่องสโนว์ไวท์ในเวลาต่อมา
 
 


 
Rhodopis (ชีวิตเหมือนซินเดอเรลล่า)



จากประวัติศาสตร์แล้ว Rhodopis ซึ่งเป็นต้นฉบับของซินเดอเรลล่านั้น
มีต้นกำเนิดตั้งแต่ช่วงก่อนคริสตกาลเสียอีก จากบันทึกของ Herodotus
ระบุว่า... Rhodopis คือทาสกรีกที่สวยสดงดงาม Charaxus พี่ชายของกวี Sappho ตกหลุมรักนาง และช่วยไถ่อิสรภาพให้ แต่ว่านางก็ยังคง
ทำงานเป็นโสเภณีต่อมาอีกหลายปี จนกระทั่งมีฐานะร่ำรวย



 
นอกจากเรื่องราวที่ Herodotus บันทึกไว้ ก็ยังมีเรื่องราวของ Strabo ซึ่งเนื้อหาค่อนข้างน่าตื่นเต้นมากกว่า และน่าจะเป็นต้นแบบของเทพนิยาย
ซินเดอเรลล่าได้มากกว่า ในเรื่องนี้ Rhodopis (Strabo บอกว่าชื่อจริงของเธอคือ Doricha) คือทาสสาวชาวอียิปต์ Charaxus ตกหลุมรักเธอ
และช่วยซื้ออิสรภาพให้ วันหนึ่ง นกพิราบได้ขโมยรองเท้าของ Rhodopis หนีไป แล้วไปทิ้งมันไว้ต่อหน้าพระพักตร์ขององค์ราชา ต่อมา พระองค์
ขอให้ตามหาเจ้าของรองเท้า และเมื่อพบกัน พระองค์ก็ขอเธอแต่งงาน (เรื่องของ Rhodopis ก็คือซินเดอเรลล่าฉบับอียิปต์ ที่เคยรวบรวมเอาไว้
ในบทความ เชิญเสพ! 9 เวอร์ชั่น ซินเดอเรลล่าทั่วโลก
 
 
 
Jenny Lind (ชีวิตเหมือนนกไนติงเกล)



The Nightingale เป็นผลงานของ ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์สัน นักเขียนคนนี้ มีผลงานเยอะมาก และเจ้าตัวเองก็บอกว่า เขามักจะนำเรื่องเล่าเก่าๆ
ที่เคยได้ยินสมัยเป็นเด็ก มาเป็นแรงบันดาลใจ ในการสร้างสรรค์ผลงาน หนึ่งในนั้น คือเรื่องราวของนักร้องโอเปร่าเจ้าของชื่อ Johanna Marie "Jenny" Lind
เมื่อสมัยศตวรรษที่ 19 เธอคนนี้โด่งดังระดับซูเปอร์สตาร์ เดินสายร้องเพลงไปทั่วยุโรปและอเมริกา ด้วยเสียงที่ไพเราะสดใส ราวกับนกไนติงเกล

 
แอนเดอร์สันชื่นชอบลินด์มาก และต่อมา ทั้งคู่คบหาเป็นเพื่อนรักกัน เขาเขียนถึงหญิงสาวคนนี้ว่า “เจนนี่ ลินด์ ทำให้ผมเข้าใจความหมายของศิลปะ
ไม่มีใครบนโลกนี้ ที่มีอิทธิพลต่อผมมากเกินเจนนี่ ลินด์อีกแล้ว” และหนึ่งในผลงานของเขา ที่กล่าวถึงเจนนี่ ลินด์ คือเรื่อง “นกไนติงเกล” อันโด่งดัง
พูดถึงจักรพรรดิชาวจีน ผู้หลงใหลในเสียงอันไพเราะของนกไนติงเกล แต่ว่าต่อมา... กลับหลงผิดสูญสิ้นความสนใจ เพียงเพราะได้รับนกจักรกลเป็น
ของขวัญ เจ้านกไนติงเกลเสียใจ จึงหนีออกจากวัง จักรพรรดิจึงได้รู้ว่า... ตัวเองเสียอะไรไปบ้าง พระองค์ทรงประชวรอย่างหนัก นกไนติงเกลรู้เข้า
จึงกลับมาขับขานเสียงเพลง และทำให้พระองค์ฟื้นจากอาการป่วยในที่สุด


 
หลังจากนิทานเรื่องนี้ ออกวางขาย เจนนี่ ลินด์ ยิ่งโด่งดังมากขึ้น เธอได้ฉายาใหม่คือ “นกไนติงเกลแห่งสวีเดน” นอกจากเรื่องนกไนติงเกลแล้ว
อีกเรื่องที่เชื่อกันว่า... แอนเดอร์สันเขียนให้กับเธอก็คือ ลูกเป็ดขี้เหร่ นั่นเอง



credit :: พี่อติน @ dek-d.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 มกราคม 2016, 15:56:01 โดย etatae333 »
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่