-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์สัน (Hans Christian Andersen) เจ้าของนิยายเด็กสายดาร์ค  (อ่าน 846 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

  • Administrator
  • เทพเจ้าราตรี
  • *
  • กระทู้: 18233
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +9/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • cmxseed

ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์สัน (Hans Christian Andersen) เจ้าของนิยายเด็กสายดาร์ค

ความจริงแล้ว นักเขียนในหมวดเทพนิยายไม่ได้มีแค่ “กริมม์” เท่านั้น แต่ยังมีอีกคนที่โด่งดังพอๆ กัน นั่นก็คือ ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์สัน
ซึ่งหากเอ่ยชื่อแล้วยังไม่รู้จัก เราขอเพิ่มเติมว่า... นักเขียนชาวเดนมาร์กผู้นี้ขึ้นชื่อมากเรื่องผลงานสายดาร์คและดราม่า

มารู้จัก ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน



แอนเดอร์เซน เป็นผู้ที่เขียนหนังสือไว้มากมาย ทั้งบทละคร นวนิยาย หนังสือท่องเที่ยว แต่นิทานเทพนิยายของเค้าเป็นหนึ่งงานเขียน
ที่แปลบ่อยที่สุดในประวัติศาสตร์วรรณกรรม จริงๆแล้วกว่าจะก้าวมาสู่ตรงนี้ …

เค้าเกิดที่สลัมยากจน และพ่อเป็นช่างทำรองเท้าที่เสียไปตั้งแต่ยังเด็ก ว่ากันว่าเค้าหน้าตาขี้เหร่จึงถูกเพื่อนๆแกล้งอีก... นี้เป็นเหตุสินะ
ให้แอนเดอร์เซนเริ่มอยู่กับตัวเองและสร้างโลกจิตนาการของเค้าด้วยหุ่นชักในบ้าน …พอโตขึ้นมาหน่อย เค้าก็ออกไปแสวงโชคตามความฝัน
ด้วยการเขียนบท เล่นละคร เต้นรำ และความอยากเป็นอุปรากรที่กรุงโคเปนเฮเกน แต่ก็ต้องผิดหวังเพราะไม่มีใครยอมรับเค้า ทั้งด้วยหน้าตา
และประสบการณ์... แต่ฟ้าก็มีตาเมื่อ โจนาส คอลลิน ผู้กำกับและรัฐมนตรีกระทรวงการคลังซึ่งเห็นแววการแต่งบทละครของเค้า
จึงรับเลี้ยงและส่งเสียเรียนจนจบ ทว่าตอนเข้าเรียนเค้าต้องไปเรียนกับเด็กเล็ก จนถูกใครๆล้ออีกกกก สร้างรอยเจ็บช้ำในวัยเยาว์
แต่กระนั้นเค้าก็อดทนจนจบมหาวิทยาลัยมาได้




แอนเดอร์เซนมุ่งหน้าทำในสิ่งที่ชอบในฐานะนักเขียนบทละคร หลายเรื่องหลายราว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ กอปรกับหนังสือรวมนวนิยาย
เล่มแรกโดนวิจารณ์ไปทางลบ เค้าก็ยอมรับผล แต่ก็ชอกช้ำรำกำใจ อ่อนไหวเหมือนกันกับคำวิพากย์วิจารณ์ที่จิกกัดแบบโหดร้าย…
แต่ถึงอย่างไรเค้าก็ไม่หยุดสร้างนิทานสำหรับเด็ก

สำหรับนิทานนั้น เค้านำเรื่องพื้นบ้านมาเล่าใหม่ด้วยสำนวนการเขียนที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน คือการใช้ภาษาพูดมาบรรยายถึงจินตนาการ
ที่ฝังไปด้วยคุณธรรม ความเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์ นั้นก็คือแอนเดอร์เซนเลือกที่จะยืนฝั่งเดียวกับผู้ที่อ่อนแอและอับโชคทั้งปวง
ไม่แปลกเลยเพราะนั่นมาจากประสบการณ์ของเค้าเอง ทำให้ผู้อ่านรู้สึกมีความเมตตา จิตใจอ่อนละมุนมากขึ้น อีกทั้งยังได้เข้าใจและ
ทำความดีต่อผู้ที่ด้อยโอกาส

และซ้ำหนักไปอีกเมื่อว่ากันว่าเค้าไม่เคยสมหวังในความรักเลยแม้ซักครั้ง ไม่ว่าจะหลงรักหญิงคนใดๆ ทำให้ดูเหมือนชีวิตเค้าจะอับโชคเสียจริงๆ
แต่ตรงนี้ฉันก็ยกย่องแอนเดอร์เซนที่มีจิตใจอ่อนไหวแต่เข้มแข็ง ถึงชะตาชีวิตไม่สู้ดีนัก แต่ก็ไม่เลือกทางผิดประชดชีวิตที่ระทมทุกข์ กลับหันมา
เลือกทางออกที่ถูกให้ตัวเองด้วยการใส่ใจในการเรื่องงานเขียนมากขึ้น ทำให้งานเขียนของเค้าเป็นที่ประจักษ์ขึ้นมาทั้งยังแฝงไปด้วยความรู้สึก
ที่ถ่ายทอดผ่านแง่คิดของเรื่องเล่าเหล่านี้



เรื่องราวชีวิตของเค้าทำให้เค้าเป็นคนที่เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ทำให้นิทานของเค้าล้วนโดนใจผู้อ่าน แถมยังเปิดมุมมองอีกด้าน
ที่ผู้อ่านไม่คาดคิด เพราะไม่เคยมีประสบการณ์ร่วม... และเค้านี้ยังเป็นสื่อแทนผู้ด้อยโอกาสทุกคน เพื่อให้ได้รับความเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
สิ่งที่สำคัญคือ นิทานนี้เป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งที่ตั้งใจปลูกฝังความคิดที่ดีแก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัย ไม่ให้เติบใหญ่ไปทำร้ายความรู้สึกของผู้อื่น
และในระหว่างนั้นก็สะท้อนให้ผู้อ่านรุ่นใหญ่ได้รับรู้เช่นกัน เพราะนิทานของเค้าก็เป็นนิทานที่เหมาะสำหรับผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน ให้ผู้ใหญ่อ่านไป
สะอึกไป ถ้าคนนั้นมีพฤติกรรมที่ออกไปทางตรงข้าม ให้คิดกลับมาสำรวจตัวเองใหม่ซะ ก่อนจะออกไปสอนเด็ก





แอนเดอร์เซนหยุดเขียนหนังสือในปี ค.ศ. 1872 เนื่องจากสุขภาพทรุดโทรม เขาถึงแก่กรรมในอีก 3 ปีต่อมาด้วยโรคมะเร็ง
ตลอดชีวิตแอนเดอร์เสนสร้างผลงานเทพนิยายกว่า 160 เรื่อง ผลงานที่ได้รับความนิยมได้แก่


"ลูกเป็ดขี้เหร่" (The Ugly Duckling) "เงือกน้อย" (The Little Mermaid), "ฉลองพระองค์ใหม่ของพระราชา"
(The Emperor’s New Clothes) และ "เด็กหญิงไม้ขีดไฟ" (The Little Match Girl)  เป็นต้น






ส่วนใครสงสัยว่านิยายเขามันจะดาร์กยังไง ลองมาอ่านผลงานเขากันซักนิดแล้วตัดสินใจกันดู


ฉลองพระองค์ใหม่ของพระราชา (The Emperor’s New Clothes)



เป็นเรื่องราวของพระราชาที่สนใจแต่ความงามของตัวเอง เอาแต่หาอาภรณ์ที่สวยสวมใส่ทุกวัน จนถูกนักต้มตุ๋นสองคน
ใช้ความหน้าใหญ่และไม่อยากเสียหน้าของเหล่าขุนนาง หลอกได้ว่า สิ่งที่พวกเค้าเสนอนั้นเป็นเสื้อที่สวยที่สุด แต่เสื้อนี้จะเห็นเฉพาะคน
ที่มีความเก่งกล้าสามารถเท่านั้นถึงเห็นเส้นไหมวิเศษนี้ได้ และด้วยเหล่าขุนนางไม่อยากถูกครหาว่าโง่ จึงขาดความสัตย์ บอกว่าเห็นเส้นไหม
ที่ไม่มีอยู่จริงนี้เป็นผ้าที่สวยงาม... แม้กระทั่งพระราชาเองก็ด้วย จนตัวเองต้องแสร้งเดินแก้ผ้าออกไปอวดประชาชน ออกไปด้วยความเชื่อว่า
ใส่เสื้อวิเศษนี้อยู่ตลอด แต่แท้จริงแล้วนั้น...ทุกคนล้วนไม่มีใครเห็นเสื้อผ้าชุดนี้เลย จนมีเด็กไม่รู้ประสาตะโกนล้อพระราชาว่าแก้ผ้า
ให้คนดู พระราชาจึงได้สติขึ้นมา

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่จิกกัดผู้ใหญ่ได้ดี สำหรับผู้ที่ขาดความสัตย์ ที่ทำได้ทุกอย่างไม่ยอมให้ตนเองเสียหน้าแก่ผู้อื่น เหมือนสังคมที่ใส่แต่เปลือก
เข้าหากัน มีเพียงเด็กเท่านั้นที่บอกจะบอกเรื่องราวได้ตรงไปตรงมา บางทีเป็นเด็กยังดีกว่าเป็นผู้ใหญ่ หรือบางทีเด็กก็ช่วยเตือนสติผู้ใหญ่ด้วยซ้ำ
แอนเดอร์เซนจึงแฝงความจริงของสังคมจอมปลอมแทรกเป็นข้อคิดให้เด็กอย่าได้เดินตาม และให้ผู้ใหญ่ได้ย้อนดูตัวเอง




 
เอลฟ์แห่งกุหลาบ (The Rose Elf)



จากการรวบรวมข้อมูล พบว่า แอนเดอร์สัน เป็นนักเขียนคนแรกๆ ที่บันทึกเรื่องราวของเอลฟ์เอาไว้ เทพนิยายของเขาเรื่องนี้ใช้ชื่อว่า...
เอลฟ์แห่งกุหลาบ เนื้อหาคร่าวๆ คือ เอลฟ์นั้นมีขนาดตัวเล็กมากจนใช้ดอกกุหลาบเป็นบ้านได้ ปีกของเอลฟ์ยาวจากไหล่จรดปลายเท้า
นอกจากนี้ แอนเดอร์สันได้เขียนถึงเอลฟ์ไว้ในเทพนิยายอีกเรื่อง ชื่อว่า The Elfin Hill ทว่าในเรื่องหลัง เอลฟ์ของเขาจะไปคล้ายคลึง
กับเอลฟ์ในนิทานพื้นบ้านเก่าแก่ของเดนมาร์ก คือเป็นสตรีสาวผู้สวยงาม อาศัยอยู่ตามเนินเขาและภูเขา ถ้าบุรุษหนุ่มคนไหนพลาดไป
พบนางเข้า ก็อาจจะถูกสาปให้ต้องเต้นรำกับนางไปจนสิ้นชีวิต
 
มาต่อกันที่ตำนานเรื่องเอลฟ์แห่งกุหลาบ เนื้อหาในเรื่องนี้ทั้งรุนแรงและหนักหน่วง โดยแอนเดอร์สันพูดถึงความสัมพันธ์พี่น้อง การฆาตกรรม
การตัดหัว การแก้แค้น และที่เลวร้ายที่สุดคือ ความสัมพันธ์กับศพ!! นักวิจารณ์หนังสือมองว่า เหตุผลเดียวที่เรื่องนี้ถูกยกให้เป็นเทพนิยาย
ก็เพราะมันใช้เอลฟ์เป็นตัวดำเนินเรื่อง ซึ่งถ้าไม่มีเอลฟ์ พวกเขาอยากจัดผลงานเรื่องนี้ไว้ในหมวดนิยายสยองขวัญด้วยซ้ำไป
 
เนื้อเรื่องพูดถึงคนรักของเด็กสาวคนหนึ่ง ที่ถูกฆาตกรรมโดยพี่ชายจอมหวงโหดของเธอ หลังจ้วงแทงและตัดหัวแบบหฤโหด พี่ชายได้ฝังศพ
คนรักของน้องสาวไว้ ระหว่างนั้นเอง ใบไม้แห้งได้ตกลงบนศีรษะของเขา และเอลฟ์ตนหนึ่ง ก็ได้เป็นพยานในเหตุการณ์นี้

 
เมื่อพี่ชายกลับบ้าน ก็หัวเราะเยาะใส่น้องสาวผู้ไม่รู้เรื่อง ทันใดนั้น ใบไม้แห้งได้ร่วงลงบนเตียง และเอลฟ์น้อยก็กระซิบข้างหูเด็กสาว
เพื่อบอกให้รู้ว่าพี่ชายได้ฆ่าคนรักของเธอเสียแล้ว และศพของเขาถูกฝังอยู่ในป่า เด็กสาววิ่งเข้าไปในป่า ขุดศีรษะไร้ร่างของคนรักขึ้นมา
ปัดเศษดินเศษใบไม้ออกจากเส้นผม จุมพิตริมฝีปากของเขา เธอทิ้งร่างไว้ที่เดิมแต่นำศีรษะกลับมาด้วย และฝังมันไว้ในกระถางดอกไม้
จากนั้นก็ปลูกต้นมะลิไว้ในกระถางนั้น
 
เด็กสาวคอยรดน้ำต้นมะลิสม่ำเสมอ จนกระทั่งมันผลิดอกงดงาม แต่ถึงอย่างนั้น หัวใจของเธอก็ยังเต็มไปด้วยความเจ็บปวด และเจ้าเอลฟ์
ก็ยังคงคอยกระซิบย้ำให้เธอจดจำเหตุการณ์อันเลวร้าย ท้ายที่สุด เมื่อทนไม่ไหว เธอตรอมใจตาย พี่ชายผู้ใจร้ายนำกระถางดอกไม้ไปไว้
ในห้องของตัวเอง ด้วยตั้งใจจะเก็บไว้เป็นอนุสรณ์ของความสำเร็จ และในคืนนั้นเอง เมื่อนอนหลับ วิญญาณจากดอกไม้ได้ฆ่าเขา
เพื่อแก้แค้นให้แก่เด็กหนุ่มผู้เสียชีวิต

เรื่องจบลงแบบนั้นเอง ไม่แฮปปี้เอนดิ้งแต่อย่างใด

 


เงามรณะ (The Shadow)



เรื่องราวของนักเขียนจิตใจดีคนหนึ่ง ที่ตื่นมาพบว่าเงาของเขาหายไป หลังจากตามหาอยู่นานแล้วไม่พบ นักเขียนได้ถอดใจไปแล้ว แต่จู่ๆ วันหนึ่ง
คนแปลกหน้าแต่งกายด้วยเสื้อผ้าส่องสว่างก็มาปรากฎตัวที่หน้าบ้านของเขาและแนะนำว่า เขานี่แหละ ‘เงา’ ที่หายไป เงาบอกว่า ระหว่างที่ไม่อยู่
ได้เดินทางไปทั่วโลก และทำเสื้อผ้าใหม่ให้กับตัวเอง นักเขียนไม่ได้โกรธที่เงาหายไป แต่รับฟังเรื่องที่เงาเล่า และหลังจากนั้น เงาก็จากไปอีกครั้ง
 
หลายปีต่อมา เงากลับมาบ้าน คราวนี้มันอ้วนท้วนแข็งแรง ส่วนนักเขียนกลับผอมแห้งและซีดเซียว เงาเล่าเรื่องการเดินทางให้นักเขียนฟังอีกครั้ง
และครั้งนี้ มันได้ชักชวนให้นักเขียนออกเดินทางไปด้วยกัน เพื่อจะได้เห็นโลกและอะไรแปลกใหม่ แน่นอนว่านักเขียนตอบรับ
 
เงาพานักเขียนเดินทางไปเรื่อยๆ จุดหมายปลายทางของทั้งคู่คือ ‘เจ้าหญิง’ เงาตกลงกับนักเขียนว่าจะลองเล่าเรื่องโกหกให้เจ้าหญิงฟัง
เพื่อให้พระองค์ประทับใจ โดนมันหลอกเจ้าหญิงว่า นักเขียนคือเงาของมัน เจ้าหญิงเกิดความประทับใจกับเรื่องที่เงาเล่า และตกลงใจ
จะแต่งงานกับเงา นักเขียนรู้เข้าก็รู้สึกว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ ที่เงาจะแต่งงานกับมนุษย์ จึงตั้งใจว่าจะบอกความจริงกับเจ้าหญิง
แต่เงาตัดหน้าไปบอกเสียก่อนว่า... นักเขียนเป็นบ้า
 
ตอนจบของเรื่องน่ะหรือ นักเขียนถูกจับไปขังและประหารชีวิตในเวลาต่อมา ส่วนเงาและเจ้าหญิงได้อภิเษกสมรสกันในที่สุด...
เทพนิยายเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า... บางครั้งความชั่วร้ายก็เอาชนะความดีได้ ในแบบที่คาดไม่ถึงเสียด้วย

 


 
ตำนานนกกระสา (สายดาร์ค) (The Storks)



เราเชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยได้ยินเรื่องนกกระสาเป็นผู้นำเด็กมาส่งพ่อแม่ แต่ในเรื่องนกกระสาของแอนเดอร์สัน
กลับเต็มไปด้วยฆาตกรรมและเรื่องโหดร้าย เรื่องทั้งหมดเริ่มต้นจากแม่นกกระสาทำรังอยู่กับลูกๆ ทั้งสี่ ทุกวัน
เด็กเกเรในหมู่บ้านจะมากลั่นแกล้งเหล่านกกระสา ด้วยการร้องเพลงที่มีเนื้อความว่า

“ทุกๆ วัน พ่อนกกระสาบินออกจากรัง ยืนอยู่บนขาเดียว ทิ้งแม่นกไว้ตามลำพัง ระหว่างที่แม่นกเฝ้ารัง
เราแอบจับตัวที่หนึ่งมาแขวนคอ ตัวที่สองเอาไปทอด ตัวที่สามโดนยิงตาย และตัวสุดท้ายถูกอบในเตา”


ลูกๆ นกกระสาได้ยินเข้าก็หวาดกลัวแต่แม่นกปลอบโยนและพยายามเบนความสนใจลูกๆ ของนาง ขณะเดียวกัน
มีเด็กใจดีชื่อปีเตอร์ ได้ต่อว่าเด็กๆ ที่รังแกลูกนก ทำให้พวกเด็กร้ายกาจหยุดร้องเพลงลงได้ จนกระทั่งถึงวันที่
ต้องสอนบิน ลูกนกบอกแม่ว่า... ถ้าบินได้เมื่อไหร่ จะแก้แค้นพวกเด็กๆ ที่ชอบร้องเพลงขู่ด้วยการจิกลูกตา
พวกนั้นออกมา แต่แม่นกห้ามเอาไว้ และบอกว่าลูกๆ ควรหัดบินให้ได้เสียก่อน
 
ต่อมา ลูกนกทั้งหมดก็เติบใหญ่และบินได้แข็งแรง คราวนี้ แม่นกไม่ปฏิเสธ และอนุญาตให้ลูกๆ จัดการพวกเด็กร้ายกาจ
และเนื่องจากนกกระสาเป็นสัญลักษณ์ของการเกิด นางจึงวางแผนร้ายคือ คาบศพทารกที่เสียชีวิตถูกทิ้งอยู่ในน้ำ
ไปยังบ้านของเด็กที่ชอบร้องเพลงรังแกลูกๆ ของนาง

ดังนั้น แทนที่เขาจะได้น้องชาย ก็ได้ซากศพแทน ส่วนเด็กที่ตักเตือนเด็กไม่ดี ก็ได้รับน้องชายและน้องสาวสมบูรณ์แข็งแรง
และเพราะเขามีชื่อว่าปีเตอร์ แม่นกจึงนำชื่อของเขามาแทนชื่อนกกระสาทั้งหมดเพื่อเป็นเกียรติให้กับความดีของเขา
เป็นตำนานที่โหดร้ายจริงๆ



credit :: ทีมงานนักเขียนเด็กดี / pantae.com / sanook.com
 
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://hca.gilead.org.il/storks.html
http://hca.gilead.org.il/shadow.html
http://hca.gilead.org.il/elf_rose.html
http://freshgrads.sg/articles/lifestyle/read/2019-3-disturbing-fairy-tales-by-hans-christian-andersen
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กุมภาพันธ์ 2017, 10:41:18 โดย etatae333 »
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่

น้ำขิง

  • เด็กหัดเสียว
  • **
  • กระทู้: 462
  • Country: 00
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด