-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ประโยชน์จากการแผ่เมตตา  (อ่าน 1445 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

lonely boy

  • บุคคลทั่วไป
ประโยชน์จากการแผ่เมตตา
« เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2011, 20:01:26 »

--------------------------------------------------------------------------------

แ ผ่ เ ม ต ต า

คุณลักษณะของคนที่ชอบทำบุญ มีอยู่ประการหนึ่ง ที่เหมือน ๆ กัน ก็คือ หลังจากไปสร้างคุณงามความดี หรือไปอิ่มบุญมาด้วยการบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ จะด้วยวิธีใด และที่แห่งหนตำบลใดมาแล้วก็ตาม สิ่งที่ลงเอยเหมือนกันคือ คนที่เขาใจบุญจริง ๆ เขามักไม่เก็บบุญ หรือขี้เหนียวบุญไว้เชยชมเพียงผู้เดียว แต่เขาจะมีวิธีการขยายบุญหรือดับเบิลบุญให้มากทวีคูณยิ่งขึ้น ในที่นี้ขอเรียกว่า "แผ่เมตตา"
การแผ่เมตตามีวิธีทำอย่างไร ?
มีขอบเขตแค่ไหนเพียงไร ?
และมีประโยชน์กี่มากน้อย ?

ตรงนี้มีคำตอบ ครับคำตอบก็คือ พระพุทธเจ้าตอบ(ตรัส)ว่า เบื้องต้นเลย เราต้องตั้งใจ(จิต)ปรารถนาให้ผู้อื่น สัตว์อื่นให้มีความสุข ไม่ว่าเป็นเชื้อชาติ ลัทธิ ศาสนาใดก็ตาม หรือไม่ว่าคนๆ นั้น สัตว์นั้น จะเคยทำให้เราพอใจหรือไม่ก็ตามเถอะ เราควรจะมีจิตดวงเดียวแผ่เมตตา ให้ความรัก ความเอ็นดูจากดวงจิตอันใสสะอาด อย่างเท่าเทียมกัน เสมือนหนึ่งเป็นพ่อแม่ เป็นคนรักของเรา ถึงแม้คนที่เราเคยอาฆาตพยาบาทว่าชาตินี้ทั้งชาติหรือจะชาติไหน ๆ จะต้องล้างแค้นให้ได้ก็ตามที พระองค์บอกว่า ...ควรแผ่เมตตาให้เสมอภาค กระผมเชื่อว่าตรงนี้เป็นเรื่องยากสำหรับคู่กรณีบางท่าน แต่ถ้าเราทุกคนเชื่อในคำสอนพระพุทธเจ้าก็ทำไปเถอะครับ เพราะทำไปแล้วชีวิตนี้มีแต่ได้กับได้ ไม่เห็นมีทางเสียเลย

ส่วนคำแผ่เมตตามีอยู่หลายบท ทั้งแบบสั้น และแบบยาว ด้วยเนื้อที่จำกัดจึงขอแบบสั้น ๆ เท่านั้น

คำแผ่เมตตาที่ใช้ในวงกว้าง


"สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ" แปลว่า

ขอสัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้น
จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย,
จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย,
จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์(ลำบาก)ใจเลย
จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
ท่านทั้งหลายที่ได้ทุกข์ ขอให้พ้นจากทุกข์ ท่านทั้งหลายที่ได้สุข ขอให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป


คำแผ่เมตตาที่ระบุชื่อวงจำกัดเช่นบิดามารดา ญาติ ครู อุปัชฌาอาจารย์ พระภูมิเจ้าที่และอื่นๆ ตัวอย่างเช่น.

1. อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร แปลว่า ขอบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข


2. อิทัง โน (เม) ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหตุ ญาตะโย แปลว่า ขอบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงเป็นสุข ๆ เถิด

3. อิทัง เม คะรุปัชฌายาจะริยา นัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คะรุปัชฌายาจริยา ฯ แปลว่า ขอบุญนี้ จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า จงมีความสุข


4. อิทัง เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ เทวะตาโย ฯ แปลว่า ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลาย ขอให้เทวดาทั้งหลาย จงมีความสุข


5. อิทัง เปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ เปตาฯ แปลว่า ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จ แก่เปตรทั้งหลาย ขอให้เปรตทั้งหลาย จงมีความสุข


6. อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรีฯ แปลว่า ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงมีความสุข


ครับผมได้นำตัวอย่างการแผ่เมตตาแบบสั้น ๆ มาฝากให้อ่านเล่น ๆ กันแล้วหวังว่าท่านจะหยิบ
ไปใช้ในโอกาสที่อำนวยกันบ้างนะครับ
__________________