-->

ผู้เขียน หัวข้อ: Dr. John Bodkin Adams บุญหรือบาป!?  (อ่าน 625 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

  • Administrator
  • เทพเจ้าราตรี
  • *
  • กระทู้: 18230
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +9/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • cmxseed
Dr. John Bodkin Adams บุญหรือบาป!?
« เมื่อ: 05 สิงหาคม 2016, 17:23:51 »

Dr. John Bodkin Adams บุญหรือบาป!?



เรื่องราวของดอกเตอร์ จอห์น บ็อดคิน อดัมส์ ยังเป็นเรื่องพิศวง ที่เต็มไปด้วยเงื่อมงำที่ยังเป็นที่ถกเถียงจนถึงบัดนี้
ว่าเขาเป็นฆาตกรต่อเนื่องจริงหรือไม่ หรือเขาเป็นการุณยฆาตที่ส่งผู้ป่วยทั้งหลายของเขาให้พ้นทุกข์อย่างเมตตา


ไม่รู้ว่าเรื่องจริงเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่รู้คือเขาอยู่เบื้องหลังผู้ป่วยกว่า 160 ที่เสียชีวิตอย่างมีเงื่อมงำ และเขาเป็นหนึ่งใน
ผู้รับผลประโยชน์ในพินัยกรรมผู้ป่วยกว่า 132 ราย และที่สำคัญเขาไม่เคยตัดสินในคดีฆาตกรรม แม้ว่าจะถูกตัดข้อหา
คดีฆาตกรรมผู้ป่วยรายหนึ่งในปี 1957 หากแต่คดีถูกถอนในที่สุด จนข่าวดังกล่าวกลายเป็นข่าวพาดหัวไปทั่วโลก
และต่อมากลายเป็นการพิจารณาคดีฆาตกรรมแห่งศตวรรษไปในที่สุด


ในประวัติศาสตร์ฆาตกรต่อเนืองที่เป็นแพทย์นั้นยังเป็นสิ่งน่าสะพรึงกลัวทุกยุคทุกสมัย พวกเขาสามารถฆ่าเหยื่อได้อย่างง่ายดาย
โดยไร้ซึ้งหลักฐาน ซึ่งถือว่าอาชีพแพทย์นั้นเป็นอาชีพที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับการก่อคดีฆาตกรรมต่อเนื่อง เหยื่อเองก็ไม่สงสัย
หรือดิ้นรนเพราะพวกเขาเชื่อใจแพทย์ที่มารักษาตน แต่ความไว้เนื้อเชื่อใจกับเป็นจุดเริ่มต้นของการฆาตกรรมที่เลือดเย็นในเวลาต่อมา

ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของฆาตกรต่อเนื่องที่เป็นแพทย์นั้นมีจำนวนมากมาย และที่น่าพิศวงคือเพราะเหตุใดอาชีพแพทย์อาชีพที่มี
หน้าตาสังคม ถือว่าเป็นอาชีพที่ประสบความสำเร็จในชีวิตถึงได้ก่อคดีเลือดเย็นถึงเพียงนี้

และกรณีของด็อกเตอร์ จอห์น บ็อดคิน อดัมส์เป็นเหมือนกับฆาตกรต่อเนื่องที่เป็นแพทย์แบบคนอื่นๆ หรือไม่

เรื่องนี้ไม่มีใครตอบ....
 

 



ด็อกเตอร์ จอห์น บ็อดคิน อดัมส์ (Dr. John Bodkin Adams)


 
ด็อกเตอร์ จอห์น บ็อดคิน อดัมส์ เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม 1899 เป็นชาวไอริชเกิดในเคาน์ตีแอนทริม ชนบทในไอร์แลนด์
ครอบครัวของเขาเป็นครอบครัวที่เคร่งศาสนา พลีมัธ เบรธริน (ศาสนาคริสต์นิกายหนึ่งที่มีความเห็นว่า ไม่ต้องมีพระหรือโบสถ์)
โปรเตสแตนต์ที่เคร่งครัด ซึ่งเขายังคงเป็นสมาชิกตราบวันตาย กล่าวกันว่าสมาชิกครอบครัวจะลงโทษเด็กชายอย่างรุนแรง
หากพบว่าทำผิดถือว่าเป็นบาป ด้วยการกลัวถูกลงโทษทำให้อดัมส์พยายามปกป้องตนเองด้วยการโกหกหลอกลวง
จนกลายเป็นคนขี้โกหกในที่สุด


พ่อของเขาชื่อซามูเอล เป็นนักบวชและเป็นอาชีพช่างซ่อมนาฬิกาอีกทั้งยังมีความรักสนใจในรถยนต์ ส่งผลทำให้เขามีนิสัยรักรถไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ไอร์แลนด์ที่เขาเติบโตในขณะนั้นเต็มไปด้วยความขัดแย้งที่รุนแรงที่ยังไม่ยุติ สมรภูมิรบเริ่มเกิดขึ้นไปทั่วยุโรป 
ตัวเองเองก็พยายามฝึกเป็นหมอ ในช่วงวัยรุ่นพ่อของเขาเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดในสมอง น้องชายของเขาและเพื่อนสนิท
ก็ตายหลังจากตกเป็นเหยื่อของการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สเปน 1918 อันเป็นผลพวงจากสงครามโลกครั้งที่ 1

เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้เด็กและผู้สูงอายุในประเทศตายจำนวนมาก ทำให้เขาถูกทิ้งให้อยู่คนเดียวอยู่กับแม่

หลังจากนั้นอดัมส์ก็เข้าเรียนสถาบัน Coleraine Academical และใช้เวลาหลายปีในการศึกาในหมาวิทยาลัยควีนเบนฟาส
ตั้งแต่อายุ 17 ปี ที่นั่นเขามองว่าเป็นหมาป่าโดดเดี่ยว เพราะเขาไม่ได้สนิทกับใคร อีกทั้งยังมีอาการเจ็บป่วย (อาจเป็นวัณโรค)
ทำให้เรียนช้ากว่าคนอื่นและดร็อปบางครั้ง ซึ่งเขาจบการศึกษาในปี 1921 แต่ไม่ได้เกียรตินิยมเพราะคุณสมบัติไม่เพียงพอ

ต่อมาเขาชักชวนเป็นผู้ช่วยในโรงพยาบาล Bristol Royal Infirmary อย่างไรก็ตามหนึ่งปีผ่านไปผลงานของอดัมส์ในการทำงาน
เป็นผู้ช่วยไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก คำแนะนำของเขามีเพียงแค่ว่าให้เป็นผู้ประกอบการทั่วไปจะดีกว่า

อดัมส์ได้ย้ายไปอยู่อีสท์บอร์น ซัสเซ็กส์ อาศัยอยู่กับแม่สักพักหนึ่ง ซึ่งต่อมาเขาได้เริ่มต้นรักษาอัสท์บอร์นเป็นการทหาร
ซึ่งเมืองนี้มีคนชราหลายคนมาใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายและค่อนข้าง หลังจากนั้นในปี 1929 เขาขอยืมเงิน 2,000 ปอนด์
จากผู้ป่วยของเขาชื่อวิลเลี่ยม มาวฮูนั้นเป็นพ่อค้าเหล็กผู้มั่งคั่ง อีกทั้งเป็นเพื่อนกับหมออดัมส์เพื่อซื้อบ้าน 18 ห้อง

แม้ว่าอดัมส์นั้นจะเป็นคนที่หน้าตาน่าเกลียด จนดูไม่เหมือนหมอเลยแม้แต่น้อย เขาสูงแค่ 1.7 เมตร แต่หนักถึง 114 กิโลกรัม
หน้ากลมไข่อมสีชมพูตลอดเวลา ดวงตาเล็กและปากบาง คางเป็นลอนลอย แต่ด้วย วิลเลี่ยมเลยให้อดัมส์ยืมเงินความเป็นคนที่ดูน่ารัก
เวลากุมมือคนไข้เขาก็กุมมือคนไข้อ่อนโยนอีกทั้งบางโอกาสก็ช่วยหวีผมผู้ป่วยด้วย


ด้วยความไว้ใจเห็นว่าเป็นหมอ วิลเลี่ยมเลยให้ยืมเงิน หากแต่สำหรับภรรยาของวิลเลี่ยมแล้วเธอเกลียอดหมออดัมส์มาก
ซึ่งภายหลังเธอให้การกับตำรวจว่า “อย่างกับขอทาน” เนื่องจากหมอดัมส์มีนิสัยน่ารังเกลียด มีอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อวิลเลี่ยมเสียชีวิตในปี 1949
อดัมส์ได้มาเยี่ยมเธอโดยไม่รับเชิญ แถมเอาปากกาทองคำ 22 กะรัตจากห้องของเธอในขณะที่เธอแต่งตัวด้วย ทำให้เธอโกรธ
และไล่เขาออกจากบ้าน หลังจากนั้นก็หมออดัมส์ก็ไม่มาหาเธออีกเลย
 
 
 
ประมาณช่วงกลางทศวรรษที่ 1930 เสียงซุบซิบก็เริ่มหนาหูมากขึ้น ถึงวิธีพิเศษที่หมออดัมส์ใช้รักษาคนไข้ของเขา
ด้วยการประเคนเฮโรอีนและมอร์ฟีนให้ จนคนไข้ติดยาและขาดเขาไม่ได้ กล่าวกันว่าหมอได้พยายามกล่อมคนไข้ชราให้เปลี่ยน
พินัยกรรมให้หมอได้รับผลประโยชน์ด้วย ซึ่งในปี 1935 เขาก็ได้มรดกกว่า 7385 ปอนด์จากคนไข้ชื่อนางอลิซ วิตตัน
ท่ามกลางเสียงต่อต้านบรรดาญาติๆ ของของคนไข้เอง โดยเฉพาะหลานของเธอพยายามคัดค้านเรื่องไปถึงศาล
แต่หมออดัมส์ก็ชนะได้เงินไป


ดูเหมือนว่าวิธีการหน้าด้านของหมออดัมส์จะเป็นวิธีที่ค่อยเป็นค่อยไป ไม่รีบร้อนกระโตกกระตาก และที่น่าสังเกตคือทันทีที่คนไข้
เซ็นพินัยกรรมแก้ไขให้เขาได้รับผลประโยชน์ คนไข้จะอาการทรุดเร็วผิดปกติ จากการสอบสวนของสกอตแลนด์ยาร์ดพบว่าคนไข้
ที่หมออดัมส์ลงชื่อในมรณบัตรกว่า 68 เปอร์เซ็นต์จะตายด้วยสาเหตุสองอย่าง ไม่เส้นเลือดในสมองแตกหรือเลือดคั่งในสมอง
คนใกล้ตัวที่รู้จักหมออดัมส์ดีบอกว่าหมออดัมส์ชอบนำสิ่งสองสิ่งติดตัวเขาเสมอ ในขณะไปรักษาคนไข้คือขวดมอร์ฟีน
และใบมอบอำนาจที่ยังไม่ลงชื่อ


 
อาชีพอดัมประสบผลสำเร็จเป็นอย่างใหญ่หลวง เขาได้กลายเป็นคนร่ำรวยและมีชื่อเสียงคนหนึ่งของอังกฤษ แต่หลังจากนั้นหลายปี
ที่ผ่านมาเขากลับมีข่าวลือด้านลบ เมื่อเขามีชื่อในพินัยกรรมของผู้ป่วยกว่า 132 ราย ว่าเขาเป็นผู้รับประโยชน์ และเมื่อวันที่
23 กรกฏาคม 1956 ตำรวจได้เริ่มต้นสืบสวนเรื่องไม่ชอบมาพากของหมออดัมจากการเสียชีวิตของนาง บ๊อบบี ฮัลเล็ต


นางบ๊อบบีนั้นมีสามีคนหนึ่งชื่อ “แจ๊ค” เขาได้เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 1956 ในขณะอายุ 71 ปี แต่ในช่วงที่เขาป่วยนั้นเขาได้ให้
หมออดัมส์ช่วยดูแลรักษา แต่ในวันที่ใกล้จะเสียชีวิตเขาก็ได้ฉีดมอร์ฟีนจากหมออดัมและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ซึ่งการตาย
ของแจ๊คหมออดัมได้เงิน 500 ปอนด์ในพินัยกรรม

ต่อมาบ๊อบบีมีอาการซึมเศร้าจากการเศร้าต่อการจากไปของสามี เธอล้มป่วย และให้หมออดัมส์มารักษา เธอเคยพูดหมออดัมส์บ่อยๆ
ว่าเธออยากจะฆ่าตัวตาย วันที่ 17 กรกฏาคม 1956 บ๊อบบีเขียนเช็คให้อดัมส์ให้จำนวน 1000 ปอนด์ หลังจากนั้นหมออดัมส์
ก็ได้ให้ยานอนหลับเพื่อช่วยให้เธอหลับสบายมากขึ้น หากแต่เช้าวันต่อไปก็มีคนพบเธอในสภาพโคม่า และเสียชีวิตในที่สุด

การตายของบ็อบบี้นั้นมีเงื่อนงำ อีกทั้งเธอยังเป็นเพื่อนสนิทของเลสลี แฮนสันเป็นนักแสดงตลกที่มีชื่อเสียงได้สังเกตพิรุธเหล่านี้
จึงขอร้องให้ตำรวจสืบสวน

 
 
หมออดัมส์ผู้ไม่กลัวความผิด


 
หลังการตายของบ๊อบบี ตำรวจได้เริ่มหาร่องรอยจากการโทรศัพท์สองสามวันก่อนหน้า และได้พบว่าสองวันก่อนบ็อบบีเข้าขั้นโคม่า
ไม่ฟื้นขึ้นมาอีกเลย เธอเซ็นเซ็คให้อดัมส์ 1,000 ปอนด์ หมอขับรถไปทันทีเหมือนกับรีบร้อนถอนเงินมากขนาดนั้น

นอกจากนี้จากการตรวจสอบพบว่าอีกว่าใบมรณบัตรของบ็อบบี้ ที่หมออดัมส์เขียนมีข้อพิรุธหลายข้อเป็นต้นว่า ไม่มีการให้ผู้ป่วย
ช่วยค้นประวัติแพ้ยาของผู้ป่วยเลย ไม่มีการจัดเวรคนไข้ตอนกลางวัน ไม่ส่งคนไข้ไปห้องพักฟื้น สาเหตุการตายมีอย่างเดียว
เพียงแค่ได้รับความเสียหายของสมองทั้งๆ ที่การชันสูตรพบว่าผู้ป่วยตายเพราะวางยาพิษ

หมออดัมส์เพียงแค่ตอบว่า “ผมทำสิ่งที่ผมคิดว่าดีที่สุดสำหรับเธอ”




บรรดาคนไข้ของหมออดัมส์ไม่เคยมีรายไหนรอด และที่น่าแปลกคือที่แล้วมาเขาฆ่าคนไข้มากมายโดยไม่มีใครไม่สงสัยแม้แต่น้อย
ทั้งๆ ที่พินัยกรรมคนไข้เหล่านั้นไม่มีชื่อหมออดัมส์เหมอ  เป็นต้นว่า....


คนไข้คนหนึ่งชื่อ จูเลีย แบรดนัม หญิงชราอายุ 82 ปีที่แข็งแรงสดใส หากแต่วันหนึ่งเธอปวดท้อง หมออดัมส์มาดูอาการของเธอ
เขาอยู่ในห้องจูเลีย 5 นาที หลังจากนั้น 10 นาทีต่อมาเธอก็ตาย ศพของจูเลียไม่มีการชันสูตร มีเพียงใบมรณบัตรนว่าเส้นเลือด
ในสมองแตกตายเท่านั้น และหลังเธอตายร่างพินัยกรรมฉบับของจูเลียก็มีชื่อของหมออดัมส์

รายต่อมา แฮเรียต มอด ฮิวส์ อายุ 66 ปี หมออดัมส์เริ่มรักษาเพียง 3 เดือนก่อนเธอจะตายด้วยสาเหตุเลือดคั่งในสมอง ซึ่งก่อนตาย
เธอเอ่ยเปลี่ยนผู้รับผลประโยชน์ในพินัยกรรมมีชื่อหมออดัมส์ด้วย

อีดิส มอร์เรล เป็นเศรษฐีม่ม่ายที่ทุกข์ทรมานจากโรคสมองตีบ ซึ่งเป็นอัมพาตบางส่วนที่เธออยู่ภายใต้การรักษาของอดัมส์
ในวันที่เธอตายนั้นมีการกำหนดมอร์ฟีนที่เธอให้ควรอยู่ในรระดับ ¼ แกรมเพื่อลดอาการเจ็บปวด แต่หมออดัมส์กับเพิ่ม
จำนวนมอร์ฟีนในปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ และเพิ่มเฮโรอีนจนเธอติดยาเสพติด และหลังเธอตายไม่มีการพิสูจน์ศพ
ซึ่งหลังจากที่เธอเสียชีวิต หมออดัมส์ได้เงินมรดกบางส่วน

ต้องยอมรับว่าพฤติกรรมของหมออดัมส์ไม่ผิดอะไรกับกับซาตานในคราบนักบุตร จงใจฆ่าเพื่อให้ได้มาซึ่งทรีพย์ขอคนไข้
และเหยื่อเขามีมากมายจนแทบไม่น่าเชื่อ


หมออดัมส์ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 1956 โดยตำรวจได้รวบรวมหลักฐานคนไข้ของหมอ 4 รายที่ตายอย่างมีเงื่อนงำ
ประกอบไปด้วย ครารา นีส มิลเลอร์, จูเลีย แบรดนัม, อิดิสมอร์เรล และเกอร์ทรูด  ฮุลเล็ทท์ การรวบรวมหลักฐานส่วนใหญ่
เต็มไปด้วย ความยากลำบาก เพราะว่าศพของเหยื่อส่วนใหญ่นั้นถูกเผาหรือตายไปนานแล้ว ทำให้ไม่มีหลักฐานจะพิสูจน์ได้ว่า
หมออดัมส์มีจงใจฆ่าคนไข้ แต่โชคยังดีที่ศพของจูเลีย แบรดนัม นั้นได้ถูกขุดขึ้นมาตรวจสอบ ก็พบหลักฐานยืนยันว่าเธ
ไม่ได้ตายเพราะเอาการเส้นเลือดในสมองแตกอย่างที่หมออดัมส์แจ้งไว้ในมรณบัตร

ตำรวจคิดว่าพวกเขามีหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินคดีกับหมออดัมส์



อย่างไรก็ตามเมื่อเอาเข้าจริง ในวันพิจารณาคดีกับเป็นเรื่องยุ่งยาก และพิจารณาคดีกินยาวนาน จนถูกเรียกว่าเป็นการพิจารณา
คดีฆาตกรรมที่ยาวนานที่สุดในสหราชอาณาจักร พยานมากมายถูกให้มาให้การไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยา
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญการหย่าร้าง ไปจนคนใกล้ตัวของหมออดัมส์ การต่อสู้เต็มไปด้วยความเข้มข้นระหว่างอัยการ
และทนายของหมออดัมส์ ซึ่งหากหมออดัมส์มีความผิดจริงโทษของเขาที่ได้รับก็คือ จุดจบบนตะแลงแกงเท่านั้น


วันที่ 9 เมษายา 1957 คณะลูกจุนใช้เวลาประชุมนาน 44 นาทีเพื่อลงความเห็นว่าหมออดัมส์ไม่มีความผิด   
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่หมออดัมส์ถูกปล่อยตัวแล้ว เขาก็ยังคงมีคดีความเกี่ยวกับการปลอมหลักฐานสิทธิ
ในการสั่งยามากมาย รวมไปถึงมียาอันตรายไว้ครอบครองมากมาย

สุดท้ายเขาก็ถูกปรับเงินและถูกยึดใบอนุญาตแพทย์



วันที่ 22 พฤศจิกายน 1961 หมออดัมอายุ 62 ปีได้ไปสอบใบทะเบียนแพทย์ แม้จะช่วงนี้ข่าวของหมอจะชาจนไม่มีใครสนใจแล้ว
ซึ่งภายหลังหมออดัมกลับไปเปิดรักษาที่อีสบอร์นอีกครั้งเมื่อปี 1965 แม้จะไม่ใหญ่โตเหมือนแต่ก่อน แต่เขาก็มีชื่ออยู่ในพินัยกรรม
ของคนไข้ได้เงินหลายพันปอนด์เหมือนเดิม

ปี 1984 หมออดัมลื่มล้มจนขาและสะโพกหัก เขาถูกส่งตัวไปรักษาพยาบาล และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ขณะอายุ 84
ในบ้านพักหรูริมทะเลซัสเซ็ส อัสต์บรอน เขาทิ้งมรดกมากมาย ซึ่งเงินส่วยหเป็นเงินเพื่อการกุศล เป็นอันปิดฉากหมออื้อฉาว
แห่งศตวรรษในที่สุด


เรื่องราวของหมออดัมส์ยังเป็นที่ถกเถียงว่าเขาผิดจริงหรือไม่ หากเขาผิดจริง เขามีแรงจูงใจอะไรที่ฆ่าคนป่วย
บางทีเขาอาจต้องการให้คนชราตายอย่างไม่ทุกข์ทรมานจากโรคภัยไข้เจ็บเรื้อรังก็เป็นไปได้

 

อ้างอิง
http://en.wikipedia.org/wiki/John_Bodkin_Adams
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 สิงหาคม 2016, 11:43:54 โดย etatae333 »
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่