antalya escort bayan escort antalya antalya bayan escort
free hd porn
freier porno porno gratis
mengen escort bartin escort erzincan escort erzincan escort esenler masaj salonu erzincan masaj salonu goksun masaj salonu esenler masaj salonu biga masaj salonu erzincan masaj salonu ezine masaj salonu can escort
แสดงกระทู้ - galumdok
-->

แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - galumdok

หน้า: [1]
1
วันนี้ก้อเอาบทความมาฝากให้พี่ๆน้องๆ อีกสักเรื่องละกันครับ โรคใกล้ตัวเผื่อจะเอาไปสังเกตถ้าเกิดความผิดปกติขึ้นกับเรา จะได้รักษาและป้องกันได้ทันนะครับ บทความเหล่านี้ ในยุคสัมยนี้หาง่ายครับ เนื้อหาไม่ค่อยต่างกันขึ้นกับว่า การเรียบเรียกจะทำให้อ่านง่ายหรือยากเท่านั้น  ส่วนการรักษา ผมไม่ขอยกมานะครับ เนื่องด้วยการรักษาในปัจจุบันมีการอัพเดตอยู่ตลอดเวลาอีกทั้ง เกรงว่าเมื่อบอกไปจะนำไปสู่การรักษาที่ไม่ถูกต้อง ถ้ามีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามวิธีการรักษา PM มาละกันครับ เผื่อเป็นแนว


ซิฟิลิส Syphilis
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Treponema pallidum เชื้อนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อเมือกเช่น ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ปาก เยื่อบุตา หรือทางผิวหนังที่มีแผล เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะเข้ากระแสเลือด และไปจับตามอวัยวะต่างๆทำให้เกิดโรคตามอวัยวะ โรคนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะได้แก่
•   primary
•   secondary
•   latent
•   tertiary (or late)

คนเราติดเชื้อโรคนี้ได้อย่างไร

ทางเพศสัมพันธ์
•   เชื้อโรคสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยผ่านทางเยื่อบุช่องคลอด ท่อปัสสาวะ
•   เชื้อโรคจะติดต่อได้บ่อยในระยะ primary เนื่องจากระยะนี้จะไม่มีอาการ
•   ในระยะ secondary จะมีหูดระยะนี้จะมีเชื้อโรคปริมาณมากหากสัมผัสอาจจะทำให้เกิดการติดต่อ

การติดต่อทางอื่น
•   เชื้อจะอ่อนแอตายง่ายดังนั้นการสัมผัสมือหรือการนั่งโถส้วมจะไม่ติดต่อ
•   หากผิวหนังที่มีแผลสัมผัสกับแผลที่มีเชื้อก็ทำให้เกิดการติดเชื้อ

จากแม่ไปลูก
•   เชื้อสามารถติดจากแม่ไปลูกขณะตั้งครรภ์และขณะคลอด

อาการของโรค

Primary Syphilis
ในระยะ primary รอยโรคจะปรากฏเป็นแผลริมแข็ง Chancre ซึ่งจะมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
•   หลังจากได้รับเชื้อ 10-90 วันจะมีตุ่มแดงแตกออกเป็นแผลที่อวัยวะเพศตรงบริเวณที่เชื้อเข้า
•   แผลมักจะเป็นแผลเดียว ไม่เจ็บ ขอบนูน ต่อมน้ำเหลืองจะโตกดไม่เจ็บ
•   ตำแหน่งที่พบได้บ่อยได้แก่ อวัยวะเพศชาย อัณฑะ ทวารหนัก ช่องคลอด ริมฝีปาก
•   แผลจะอยู่ 1-5สัปดาห์แผลจะหายไปเอง
•   แม้ว่าแผลจะหายไปแต่ยังคงมีเชื้ออยู่ในกระแสเลือด
•   สำหรับผู้ที่เป็นโรคเอดส์ และมีขนาดใหญ่และมีอาการเจ็บมาก
•   การตรวจเลือกในช่วงนี้อาจจะให้ผลลบได้ร้อยละ30

Secondary Syphilis
•   ระยะนี้จะเกิดหลังได้รับเชื้อ 17วัน- 6 เดือน
•   ผู้ป่วยจะมีอาการอยู่ประมาณ 2-6 สัปดาห์แล้วจะหายไปแม้ว่าจะไม่ได้รับการรักษา
•   ต่อมน้ำเหลืองโต
•   ปวดตามข้อเนื่องจากข้ออักเสบ
อาการที่สำคัญมีดังนี้
•   มีผื่นสีแดงน้ำตาลที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ไม่คัน
•   ผื่นนี้สามารถพบได้ทั่วตัว
•   จะพบหูด Condylomata lata บริเวณที่อับชื้น เช่นรักแร้ ทวารหนัก ขาหนีบ
•   จะพบผื่นสีเทาในปาก คอ และปากมดลูก
•   ผมร่วงเป็นหย่อมๆ
•   ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สบาย
•   อาการเหล่านี้จะอยู่ได้ 1-3 เดือนหายไปได้เอง และอาจจะกลับเป็นซ้ำ
•   การตรวจเลือดในช่วงนี้จะให้ผลบวก

Latent Stage ระยะแฝง
•   ช่วงนี้ผู้ป่วยไม่มีอาการของโรค ช่วงนี้กินเวลา 2-30 ปีหลังจากได้รับเชื้อ
•   ในช่วงนี้จะทราบได้โดยการเจาะเลือดตรวจ
•   ในระยะนี้อาจจะเกิดผื่นเหมือนในระยะ Secondary Syphilis
•   ในระยะนี้หากตั้งครรภ์ เชื้อสามารถติดไปยังลูกได้

Late Stage (Tertiary)
•   ระยะนี้จะกินเวลา 2-30 ปีหลังได้รับเชื้อ
•   ระยะนี้เชื้อโรคจะทำลายอวัยวะต่างๆเช่น หัวใจและหลอดเลือด สมองทำให้อ่อนแรงหรืออาจจะตาบอด กระดูกหักง่าย
•   หากไม่รักษาให้ทัน อวัยวะต่างๆจะถูกทำลายโดยที่ไม่สามารถกลับเป็นปกติ
•   การตรวจเลือดอาจจะให้ผลลบได้ร้อยละ30

Congenital Syphilis
หมายถึงทารกที่ติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เด็กจะมีอาการดังนี้
•   เด็กจะมีอาการหลังคลอด 3-8 สัปดาห์
•   อาการอาจจะมีเล็กน้อยจนไม่ทันสังเกตเห็น ทำให้ไม่ได้รับการรักษา
•   เด็กโตขึ้นจะกลายเป็นระยะ Late Stage (Tertiary)

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นซิฟิลิส
การตรวจวินิจฉัยโรคนี้สามารถทำได้โดยการนำหนองจากแผล หรือเลือดไปตรวจหาตัวเชื้อ การตรวจเชื้อทำได้โดย

>>>>Darkfield Exam<<<<
•   การตรวจทำไดโดยการน้ำเหลืองจากแผลหรือผื่นที่สงสัยไปตรวจ
•   นำน้ำเหลืองนั้นไปส่องกล้องเพื่อหาตัวเชื้อ
•   การตรวจนี้สามารถวินิจฉัยได้ทั้งระยะ Primary Syphilis และ Secondary Syphilis

>>>>การตรวจเลือด<<<<
•   การเจาะเลือดตรวจหาภูมิต่อเชื้อซิฟิลิสทำได้ 2วิธีคือ
•   การเจาะเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันซึ่งไม่เฉพาะเจาะจงต่อเชื้อซิฟิลิส ได้แก่การเจาะ VDRL (Venereal Disease Research Laboratory) หรือ RPR (Rapid Plasma Reagent) หากให้ผลบวกต้องเจาะเลือดอีกเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
•   การเจาะเลือดเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโดยการเจาะ FTA-ABS (Fluorescent Treponemal Antibody Absorption Test) หรือ MHA-TP (Microhemagglutination-Treponema Pallidum)

ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่เคยเป็นซิฟิลิสมาก่อนอาจจะให้ผลบวกหลอกโดยที่ไม่เป็นโรค
•   Cerebrospinal Fluid Test การตรวจน้ำไขสันหลังจะทำในรายสงสัยว่าจะมีการติดเชื้อในระบบประสาท

2
Clinic สุด Seed / โรคทั่วไป +++ มะเร็งลำไส้
« เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2012, 22:06:32 »
 eta20 eta20 eta20 eta20 eta20
เมื่อก่อน มะเร็งสำหรับวัยหนุ่มๆ สาวๆ อาจจะเห็นเป็นเรื่องไกลตัวครับ แต่สมัยนี้อย่างว่า มลพิษ มันเยอะ โรคก้อแยะขึ้นทุกที  อีกทั้งมะเร็ง ในปัจจุบัน ก้อไม่ไกลอย่างที่คิด  ปัจจุบันพบว่า คนอายุ ยี่สิบกว่าๆ ก้อเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้ โอกาส ความเสี่ยง ขึ้นกับหลายปััจจัย ทั้งทางตรง คือ กรรมพันธ์ ทางอ้อม คือการปฏิบัติตัวครับ วันนี้ผมจะมานำเสนอเกี่ยวกับโรค ใกล้ตัวกันหน่อย โรคนี้ พบเจอบ่อยมาก และเป็นเคสที่อายุยังน้อยด้วย ล่าสุดผมเจอที่อายุ 31 ปี กว่าจะรู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งก้อ ระยะสุดท้ายละครับ รักษาไม่ทัน สุดท้ายก้อต้องจบชีวิตลง แต่.......... ไม่ใช่ว่า มะเร็งจะไม่มีอาการแสดงออกที่ผิดปกติ นะครับ แต่บางที่เราอาจจะละเลยจุดสังเกตนั้นไป วันนี้จึง ได้มาบอกกล่าวกับ พี่ๆ น้องๆ ครับ


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้

เป็นมะเร็งของผู้ใหญ่ พบบ่อยเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งทั้งหมดทั้งในเพศชายและเพศหญิงทั่วโลก พบมากในประเทศแถบอเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ยุโรปเหนือ และยุโรปตะวันตก สำหรับในประเทศไทย พบว่าเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 4 ของมะเร็งทั้งหมดทั้งในเพศชายและเพศหญิงและมากกว่าร้อยละ 90 มักพบในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปโดยจะพบเพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย

ปัจจัยเสี่ยง

1. การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงและมีกากหรือไฟเบอร์น้อย
2. ประวัติการมีเนื้องอกหรือภาวะที่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อลำไส้ใหญ่ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีโอกาสเพิ่มการเกิด
มะเร็งลำไส้มากขึ้น
3. ประวัติการมีมะเร็งลำไส้ในครอบครัว หรือมะเร็งอื่นๆ เช่น มะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก และมะเร็งเต้านม
พบว่ามีโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้มากกว่าคนทั่วไป

อาการและอาการแสดง

อาการของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของโรค โดยทั่วไปอาการที่พบบ่อยที่สุดคือ ปวดท้อง ส่วนอาการอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย ได้แก่ การมีประวัติท้องผูกสลับท้องเสีย (change in bowel habit), คลื่นไส้อาเจียน, ท้องอืด, ถ่ายเป็นเลือด, อ่อนเพลียเบื่ออาหารหรือน้ำหนักลด และอาจพบก้อนในท้อง

การตรวจเพื่อวินิจฉัย

1. ซักประวัติและตรวจร่างกาย
2. เมื่อสงสัยมะเร็งลำไส้ แพทย์อาจตรวจเพิ่มเติมด้วยการเอกซเรย์สวนแป้งทางทวาร รวมทั้งการส่องกล้อง
เพื่อประเมินขนาด ตำแหน่ง และลักษณะของรอยโรค การตัดชิ้นเนื้อเพื่อยืนยันสามารถทำได้ในระหว่างการส่องกล้อง มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการวินิจฉัยนอกจากนั้น การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เพื่อหาระยะของโรค
3. การตรวจเอ็กเซร์ปอด การอัลตราซาวน์ตับ เพื่อดูการแพร่กระจายของโรค
4. การตรวจเลือด ดูการทำงานของไขกระดูก ตับ ไตการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ ในผู้ป่วยแต่ละรายแตกต่างการ ทั้งนี้จะเป็นไปตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

ระยะของโรค

มะเร็งลำไส้ แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1  – ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็ก ยังอยู่เฉพาะในตัวลำไส้ใหญ่
ระยะที่ 2  – ก้อนมะเร็งลุกลามออกมาทะลุเนื้อเยื่อของลำไส้ใหญ่ แต่ยังไม่มีการลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
ระยะที่ 3  – ก้อนมะเร็งอาจลุกลามออกมาทะลุเนื้อเยื่อของลำไส้หรือไม่ก็ได้ แต่มีการลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
ระยะที่ 4  – ก้อนมะเร็งลุกลามเข้าอวัยวะใกล้เคียง หรือมีการกระจายไปต่อมน้ำเหลืองไกลๆ หรือกระจายไปยัง
อวัยวะอื่นๆที่อยู่ไกลออกได้ ได้แก่ ปอด ตับ เป็นต้น

การรักษา

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ การรักษาหลักในกรณีที่โรคยังไม่แพร่กระจาย คือ การผ่าตัด
การผ่าตัดเป็นการตัดเอาก้อนมะเร็งออกและลำไส้บางส่วนร่วมกับต่อมน้ำเหลืองในบริเวณนั้นออก
การฉายรังสี  และ/หรือยาเคมีบำบัด  นิยมใช้เป็นการรักษาเสริม เพื่อเพิ่มผลการรักษาในดียิ่งขึ้น ปัจจุบันมีหลายลักษณะซึ่งอาจจะให้ก่อนหรือหลังการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์คำนึงจากระยะของโรคและผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป
สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ในระยะที่ 4 ไม่สามารถผ่าตัดได้หรือมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ จุดมุ่งหมายในการ
รักษาจะเป็นการประคับประคองอาการ  มักจะเริ่มด้วยการในยาเคมีบำบัด สำหรับการฉายรังสีอาจจะช่วยได้ในกรณี
การรักษาเพื่อบรรเทาอาการจากเจ็บเวลาถ่าย ปวดทวารหนักจากตัวก้อน หรืออาการปวดของการกระจายของมะเร็ง ไปยังอวัยวะอื่นๆ

การติดตามการรักษา

เมื่อได้รับการรักษาครบเรียบร้อยแล้ว โดยทั่วไปแพทย์จะนัดติดตามอาการ โดยในช่วง 1-2 ปีแรก หลังการรักษา
อาจนัดติดตามอาการทุก 1-2 เดือน ปีที่ 3-5 หลังการรักษา อาจนัดตรวจทุก 2-3 เดือน ในปีที่ 5 อาจนัดตรวจทุก6-12 เดือน

credit :  chulacancer

ขอสงสัยเพิ่มเติม pm ได้ครับ ตอบได้ก้อจะตอบ ถ้าไม่ได้จะไปหามาเพิ่มเติมครับ fdgdfdf fdgdfdf fdgdfdf

3
Clinic สุด Seed / โรคที่มากับเพศสัมพันธ์ ++ เริม
« เมื่อ: 02 พฤษภาคม 2012, 23:48:04 »
เริ่ม Herpes simplex
เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อ herpes virus [HSV] โดยโรคเริมที่่ริมฝีปาก และโรคเริมที่อวัยวะเพศจะเกิดจากเชื้อตัวเดียวกันแต่คนละ type ลักษณะของผื่นจะเหมือนกัน

เริม Herpes simplex
การติดเชื้อ herpes simplex
เชื้อ herpes virus [HSV]เป็นสาเหตุที่สำคับของการติดเชื้อเริมที่ผิวหนัง ริมฝีปาก และอวัยวะเพศและอาจจะติดเชื้อที่ส่วนอื่นของร่างกาย และอาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ลักษณะผื่นของโรค herpes จะเหมือนกันไม่ว่าเกิดที่ไหน จะเป็นตุ่มน้ำเล็กๆบนผิวหนังที่อักเสบสีแดง

เชื้อ herpes มีสองชนิดคือ
•   Herpes simplex virus 1 (HSV-1) มักเกิดบริเวณปากและผิวหนังเหนือสะดือขึ้นไปเกิดที่ปากเรียก Herpes labialis โรคนี้ไม่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จำง่ายๆ ปาก มี 1 type นี้ไม่ค่อยอันตราย

•   Herpes simplex virus 2 (HSV-2) เชื้อมักเกิดบริเวณอวัยวะเพศ และติดต่อโดยเพศสัมพันธ์เรียก Herpes genitalis  จำง่ายๆ type 2  ไข่มี 2 ลูก ซึ่งเกี่ยวกับเพศสมัพันธ์ type นี้อันตราย

เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายและอยู่ในชั้นของผิวหนังเชื้อจะแบ่งตัว ทำให้ผิวหนังเกิดอาการบวมเป็นตุ่มน้ำและเกิดการอักเสบ หลังจากนั้นเชื้อจะเคลื่อนย้ายเข้าสู่ปมประสาท ganglia เป็นเวลานานโดยที่ไม่มีการแบ่งตัวถ้า หากปัจจัยแวดล้อมเหมาะสมเชื้อก็เกิดการแบ่งตัว ทำให้เกิดอาการเป็นซ้ำผู้ป่วยที่เป็นเริมที่ริมฝีปากจะมีอัตราการเกิดซ้ำประมาณร้อยละ 20-40 สำหรับเริมที่อวัยวะเพศจะมีอัตราการเกิดเป็นซ้ำประมาณร้อยละ 80 ปัจจัยที่กระตุ้นไม่แน่นชัดเชื่อว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับแสงแดด ไข้ การมีประจำเดือน ความเครียด การเกิดเป็นซ้ำจะมีอาการน้อยกว่าและหายเร็วกว่าการเกิดเป็นครั้งแรก

อาการของการติดเชื้อ herpes simplex
อาการเริมต้นจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนตำแหน่งที่ได้รับเชื้ออาการของการติดเชื้อที่ปาก และที่อวัยวะเพศจะเหมือนๆกันเพียงแต่ขึ้นกันคนละที่อาการจะแบ่งเป็น การเป็นครั้งแรก Primary Infection ระยะปลอดอาการ Latency and Shedding และอาการกลับเป็นซ้ำ Recurring Infections

•   การเป็นครั้งแรก Primary Infection เริ่มด้วยอาการปวดแสบร้อน ต่อมาจะมีอาการบวม และอีก 2-3 วันจะมีตุ่มน้ำใสเกิดบนฐานสีแดงตุ่มน้ำแตกออกใน 24 ชั่วโมงและตกสะเก็ด ตุ่มอาจจะรวมเป็นกลุ่มใหญ่และเป็นแผลกว้างทำให้ปวดมาก แผลจะหายใน 2-3 สัปดาห์ ตำแหน่งที่พบได้บ่อยได้แก่ ปาก ริมฝีปาก ตา เมื่อแผลแห้งแล้วจะไม่ติดต่อระหว่างที่เป็นผื่นต่อมน้ำเหลืองใกล้ๆ อาจจะโต และอาจจะมีไข้ปวดเมื่อยตามตัว
•   ระยะปลอดอาการ Latency and Shedding ช่วงนี้เชื้ออยู่ในร่างกายโดยที่ไม่เกิดอาการอะไร เชื้ออาจจะแบ่งตัวและสามารถติดต่อได้โดยเฉพาะเชื้อที่อวัยวะเพศแม้ว่าจะไม่มีผื่น
•   อาการกลับเป็นซ้ำ Recurring Infections มีอาการน้อยกว่า และเป็นพื้นที่น้อยกว่าไม่ค่อยมีไข้ และมักเป็นบริเวณใกล้กับที่เดิม โดยเฉพาะที่อวัยวะเพศอาจจะกลับเป็นซ้ำได้ 5 ครั้งต่อปี


การรักษา เริมนั้น ยังไม่มีการรักษาที่หายขาด การใช้ยาในการรักษาในปัจจุบัน เป็นเพียงแค่การรักษา เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น ส่วนท่านที่เคยเป็นมาแล้ว ไม่ต้องกลัวครับ มันจะอยู่กับท่านไปจนตาย ส่วนวิธีป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ มีครับ โดยปฏิบัติตนคร่าวๆ ดังต่อไปนี้
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- งดเครื่องดื่ม หรือการสังสรรค์ ติดต่อกันหลายวัน
- ทานอาหารที่มีประโยชน์
- รักษาสุขภาพ ไม่ให้เจ็บป่วยบ่อย


โรคนี้คล้ายกับโรคหวัด คือมาจากเชื้อไวรัสเหมือนกัน ดังนั้น มันสามารถหายเองได้ แต่จะรำคาญตอนเป็น เฉยๆ การทานยาเพียงแค่ลดระยะเวลาการดำเนินของโรค ไม่ทำให้หายนะจ๊ะ

 lowwww

4
เราได้รับเชื้อหนองในเทียมได้อย่างไร
คนติดเชื้อหนองในเทียมจากการมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะทางทวาร ปาก หรือทางช่องคลอด นอกจากนั้นก็มีโรคที่ทำให้เกิดหนองในเทียมเช่น
•   การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
•   การอักเสบของต่อมลูกหมาก
•   ท่อปัสสาวะตีบ urethral stricture
•   การอักเสบของหนังหุ้มอวัยวะเพศ
•   การใส่สายสวนปัสสาวะ

อาการของผู้ที่เป็นหนองในเทียม
ผู้ชาย
•   หนองไหลออกจากอวัยวะเพศ
•   ปวดแสบร้อนเวลาปัสสาวะ
•   คันหรือระคายเคืองท่อปัสสาวะ
•   ปวดหน่วงบริเวณอวัยวะเพศ
ผู้หญิง
•   ตกขาว
•   ปัสสาวะขัด
•   ปวดท้องน้อย มีเลือดออกขณะร่วมเพศ

การวินิจฉัยโรคต้องทำอย่างไร
•   การวินิจฉัยทำโดยการน้ำหนองหรือสารคัดหลั่งจากช่องคลอด หรืออวัยวะเพศมาเพาะเชื้อ หรือส่องกล้องตรวจ
•   เมื่อย้อมจะพบเม็ดเลือดขาวมากกว่า 5 เซลล์
การป้องกัน
•   วิธีดีที่สุดคือการงดเพศสัมพันธ์
•   ใช้ถุงยางอนามัย
•   มีสามีหรือภรรยาคนเดียว
•   หากต้องการมีคู่นอนคนใหม่ต้องตรวจเช็คก่อนทุกครั้ง
•   หากคุณเป็นโรคหนองในเทียมให้งดการมีเพศสัมพันธ์
•   ให้รักษาทั้งตัวคุณเองและคู่ครอง

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ
หากท่านเป็นโรคหนองในเทียมโดยที่มีหรือไม่มีอาการแล้วไม่ได้รักษาท่านอาจจะมีโรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือ

ในผู้ชาย
•   การอักเสบของอัณฑะ Epididymitis ซึ่งหากไม่รักษาอาจจะทำให้เป็นหมัน
•   ข้ออักเสบ Reiter's syndrome (arthritis)
•   เยื่อบุตาอักเสบ Conjunctivitis
•   ผื่นที่ผิวหนัง Skin lesions
•   หนองไหล Discharge

ในผู้หญิง
•   อุ้งเชิงกรานอักเสบPelvic Inflammatory Disease (PID)ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก
•   ปวดท้องน้อยเรื้อรัง Recurrent PID ซึ่งอาจจะทำให้เป็นหมัน
•   ท่อปัสสาวะอักเสบ Urethritis
•   ช่องคลอดอักเสบ Vaginitis
•   แท้ง Spontaneous abortion (miscarriage)


ส่วนด้านการรักษา ด้วยยานั้น ถ้าอยากทราบขออนุญาตตอบทาง PM นะครับ

ส่วนโรคอื่นๆ จะอัพ ตามมาเรื่อยๆ ครับ ไหนๆก้อมีห้องเฉพาะแล้ว ขอแบ่งปัน ให้เพื่อนๆ เผื่อจะได้พึงระวังกันครับ

 eta08 eta08 eta08 eta08 eta08

5
xseed คลิป / +++ สาบานได้ ผม กำลัง หัด นับ 1-10 +++
« เมื่อ: 08 ธันวาคม 2011, 23:40:04 »
<a href="http://www.youtube.com/v/7G9niILGkgE&amp;feature=share" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/7G9niILGkgE&amp;feature=share</a>


มานับกะผม ม่ะ

6
เป็นเรื่องที่ ผู้หญิงทุกคนควรจะรู้และเข้าใจ นอกจากจะเข้าใจแล้ว ยังต้องใช้ให้ถูกวิธีอีกด้วย เพราะ ยาคุมฉุกเฉินมีทั้งด้านดีและโทษ ส่วนผู้ชายนั้น ต้องด้วยเช่นกัน เพราะ ปฏิบัติกิจร่วมกันก้อต้องมีส่วน ร่วมด้วย อิอิ kjhg

ผมไปเจอบทความนึงเข้า  ด้วยความที่เคยเรียนมา แล้วจำคับคล้ายคับครา ว่ายาคุมแบบธรรมดาแบบ 21/28 เม็ดก้อใช้เป็นยาคุมฉุกเฉินด้วยเช่นกัน เลยไปเจอบทความนี้เข้า

เริ่มกันเลยนะครับ  ยาวหน่อย

ยาคุมฉุกเฉินมีข้อบ่งใช้อย่างไร
ยาคุมฉุกเฉินมีข้อบ่งใช้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในกรณีฉุกเฉิน ขอย้ำว่าใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น
คำว่า “ฉุกเฉิน” ในที่นี้หมายความถึง การมีเพศสัมพันธ์ในคู่สามีภรรยาที่มีการวางแผนครอบครัวและทำ
การป้องกันการตั้งครรภ์ แต่เกิดความผิดพลาดจากวิธีคุมกำเนิดที่ใช้ เช่น การรั่วหรือฉีกขาดของถุงยาง
อนามัย การลืมรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดตั้งแต่ 2 เม็ดขึ้นไป เป็นต้น หรือใช้ในกรณีผู้หญิงที่ถูกข่มขืน

รับประทานยาคุมฉุกเฉินอย่างไร
ผลิตภัณฑ์ยาคุมฉุกเฉินที่จำหน่ายในประเทศไทย จำหน่ายเป็นกล่อง มียากล่องละ 1 แผง และแต่ละ
แผงมียาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ด แต่ละเม็ดประกอบด้วยตัวยาที่เป็นฮอร์โมนขนาดสูง คือ ลีโวนอร์เจสเตรล
(levonorgestrel) เม็ดละ 750 ไมโครกรัม การรับประทานยาที่ถูกต้องคือ รับประทานยาเม็ดแรกให้เร็วที่สุด
หลังจากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน โดยไม่ควรเกิน 72 ชั่วโมง และจะต้องรับประทานยาเม็ดที่สองหลังจาก
รับประทานยาเม็ดแรกไม่เกิน 12 ชั่วโมง หากมีการอาเจียนภายใน 2 ชั่วโมงหลังรับประทานยาแต่ละเม็ด
ต้องรับประทานยาใหม่ และไม่แนะนำให้รับประทานยาเกิน 4 เม็ด หรือ 2 กล่อง ต่อเดือน
การรับประทานยาเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์ดังกล่าวตามด้วยยาเม็ดที่สองจะ
ให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 75% แต่หากเริ่มยาภายใน 24 ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์
จะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นเป็น 85% ดังนั้นจึงควรรับประทานยาเม็ดแรกหลังการ
มีเพศสัมพันธ์ให้เร็วที่สุด
มีคำแนะนำด้วยว่า สามารถรับประทานยาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ด พร้อมกันในครั้งเดียวได้ โดยที่
ประสิทธิภาพและความปลอดภัยไม่แตกต่างจากการแบ่งรับประทานเป็น 2 ครั้ง ซึ่งในสหรัฐอเมริกานิยม
รูปแบบการรับประทานในครั้งเดียว และมีผลิตภัณฑ์จำหน่ายในรูปแบบยาที่มีความแรงเป็น 2 เท่า คือมีตัว
ยาลีโวนอร์เจสเตรลเม็ดละ 1.5 มิลลิกรัม การรับประทานเพียงครั้งเดียวจะทำให้เกิดความสะดวกมากกว่า
การแบ่งยารับประทาน อย่างไรก็ตามในบางรายอาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการรับประทานยาเพียง
ครั้งเดียวมากกว่าการแบ่งรับประทาน 2 ครั้ง

ความเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับยาคุมฉุกเฉิน
มีความเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับยาคุมฉุกเฉินหลายประการ ซึ่งขออธิบาย ดังนี้
• มีความเข้าใจว่า ใช้ยาคุมฉุกเฉินเพื่อคุมกำเนิดระยะยาวได้ ความเข้าใจนี้ไม่ถูกต้อง หากสามี
ภรรยาที่ยังไม่พร้อมมีบุตรแต่ต้องการคุมกำเนิดในระยะยาว มีวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมและมี
ประสิทธิภาพมากกว่าเช่น การรับประทานยาคุมกำเนิดแบบปกติชนิดเม็ด โดยรับประทานทุกวันวัน
ละ 1 เม็ด นอกจากนี้ การรับประทานยาคุมฉุกเฉินเป็นประจำจะพบอาการข้างเคียงสูง เช่น ปวด
ศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เลือดออกกะปริดกะปรอย รวมทั้งพบความเสี่ยงในการเกิดอุบัติการณ์การ
ตั้งครรภ์นอกมดลูกเพิ่มขึ้น

7
1.การคุมกำเนิดมีกี่วิธี และมีวิธีอะไรบ้าง
-วิธีคุมกำเนิด มีอยู่ 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ

1.1การคุมกำเนิดแบบถาวร ได้แก่ การทำหมัน โดยการตัดและผูกหลอดนำอสุจิในเพศชาย หรือท่อนำไข่ ในเพศหญิง
1.2การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว เป็นวิธีที่ใช้ป้องกันการตั้งครรภ์เมื่อยังไม่พร้อม เพื่อเว้นระยะการมีบุตร เมื่อเลิกใช้สามารถมีบุตรได้อีก ได้แก่ ยาเม็ดคุมกำเนิด,ยาฉีดคุมกำเนิด,ถุงยางอนามัย,ห่วงอนามัย (Intrauterine device, IUD), การนับระยะปลอดภัย (rhythm), การหลั่งน้ำกามภายนอก (coitus interrupts ) การสวนล้างช่องคลอดภายหลังร่วมเพศ (douche)
การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นวิธีการคุมกำเนิดชั่วคราวที่นิยมใช้มากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่าย ราคาถูก ผลการป้องกันการตั้งครรภ์สูง

2.ยาเม็ดคุมกำเนิดถึงสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างไร
-ยาเม็ดคุมกำเนิดป้องกันการตั้งครรภ์โดยกลไกดังนี้คือ
1.ป้องกันไม่ให้ไข่สุก ระงับการตกไข่ โดยกดการหลั่งของ follicle stimulating hormone (FSH) และ luteinizing hormone (LH) จากต่อมใต้สมอง
2.ทำให้มูกบริเวณปากมดลูกเหนียวข้น ตัวอสุจิจึงผ่านได้ยาก
3.ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เหมาะสมกับการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสมแล้ว โดยทำให้ต่อมและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ต่อมบวมและต่อมมีลักษณะฝ่อ (atrophic)

3.ในยาเม็ดคุมกำเนิดประกอบด้วย
-โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงยาเม็ดคุมกำเนิดมักจะหมายถึง ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ซึ่งประกอบด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ 2 ชนิดคือ
1.ฮอร์โมนเอสโตเจน (estrogen) ได้แก่ Ethinyl estradiol, Mestranol
2.ฮอร์โมนโปรเจสโตเจน(progestogen) ได้แก่Norethisterone,     Norethindrone,Levonorgestrel,Norgestrel,Desogestrel,Gestodene,Cyproterone acetate

4.ยาเม็ดคุมกำเนิดสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 3 ชนิด
1.1 ชนิดฮอร์โมนระดับเดียว (monophasic) ชนิดนี้นิยมใช้กันแพร่หลาย ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดนี้ ประกอบด้วย ฮอร์โมนเอสโตรเจน และ โปรเจสโตเจน ในขนาดคงที่เท่ากันทุกเม็ด โดยใน 1 แผงจะมี 21 เม็ด บางแบบอาจมี 28 เม็ด โดยเป็นฮอร์โมน 21 เม็ด และสารที่ไม่ใช่ฮอร์โมนเช่น ธาตุเหล็ก แป้ง อีก 7 เม็ด

1.2 ชนิดฮอร์โมนสองระดับ (biphasic) เป็นยาคุมกำเนิดที่ประกอบด้วยฮอร์โมนแตกต่างกัน 2 ระดับ ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย

1.3 ชนิดฮอร์โมนสามระดับ( triphasic) ยาเม็ดคุมกำเนิดนี้จะประกอบด้วยฮอร์โมนต่างกัน 3 ระดับเพื่อเลียนแบบการขึ้นลงของฮอร์โมนเอสโตเจน และ โปรเจสโตเจน ในร่างกาย และทำให้ปริมาณฮอร์โมนรวมทั้งแผงลดลงอย่างไรก็ตาม ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดนี้ทำให้เกิดความสับสนในการใช้ได้ง่ายและมีอุบัติการของการเกิดเลือดออกกะปริดกะปรอยได้มากกว่าชนิด monophasic

 2. ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีเฉพาะโปรเจสโตเจน (minipills)
ชนิดนี้ประกอบด้วย โปรเจสโตเจนอย่างเดียวในปริมาณต่ำเท่าๆกันทุกเม็ด โดยใน 1 แผงจะมี 35 เม็ด ชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในระยะให้นมบุตร หรือผู้ที่แพ้ฮอร์โมนเอสโตเจน

3. ยาเม็ดคุมกำเนิดหลังร่วมเพศ
ชนิดนี้เหมาะสำหรับป้องกันการตั้งครรภ์ในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น เช่นกรณีถูกขมขืน หรือถุงยางอนามัยฉีกขาด ไม่ควรใช้พร่ำพรือโดยไม่จำเป็นเพราะมีผลข้างเคียงสูง

5. เนื่องจากที่ได้กล่าวมายาเม็ดคุมกำเนิดมีหลายชนิด ควรจะเลือกใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดไหน จะซื้อมารับประทานเองได้หรือไม่
ตอบ โดยทั่วไปแล้วจะแนะนำให้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมระดับเดียว ถึงแม้ว่ายาคุมกำเนิดจะซื้อหาได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป แต่ไม่ควรซื้อมากินเองโดยเฉพาะผู้เริ่มใช้ยาครั้งแรก ควรจะได้รับคำปรึกษาและแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรเสียก่อน เพราะการเลือกใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดนั้น ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสุขภาพร่างกายของแต่ละคน ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดหนึ่งอาจเหมาะสมกับคนๆนั้น แต่ไม่เหมาะสมสำหรับอีกคนหนึ่งก็ได้ ต้องพิจารณาถึงปริมาณและชนิดของฮอร์โมนในยาเม็ดคุมกำเนิด

6. มีผู้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นครั้งแรกส่วนมากได้รับคำแนะนำในการรับประทานมา แต่ยังคงเกิดความสับสนในการรับประทานจึงอยากจะให้แนะนำวิธีรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่เข้าใจง่าย ๆ

คำแนะนำในการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด
1. เริ่มรับประทานยาเม็ดแรกในวันที่ 1 – 5 ของรอบเดือน สำหรับยาเม็ดคุมกำเนิดที่มี Ethinyl estradiol (EE) 20 ไมโครกรัม ควรเริ่มตั้งแต่วันแรกของรอบเดือน
2. รับประทานยาวันละเม็ดทุกวันในเวลาเดียวกัน เช่น หลังอาหารเย็นหรือก่อนนอน และทุกเช้าต้องตรวจว่าลืมรับประทานยาหรือไม่
3. สำหรับยาแผง 21 เม็ด รับประทานยาเรียงตามลูกศรชี้จนหมดชุดแล้วเว้น 7 วัน จึงเริ่มรับประทานยาแผงต่อไป
4. ถ้าเป็นยาแผง 28 เม็ด ก็ให้รับประทานยาติดต่อกันโดยไม่ต้องหยุดยา
5. ถ้ารับประทานยาอย่างถูกต้องไม่จำเป็นต้องใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วยในระยะแรก ๆ เพราะการใช้วิธีอื่นร่วมด้วยจะก่อให้เกิดความสับสนยุ่งยากและเพิ่มค่าใช้จ่าย

 

7. หากเกิดลืมรับประทานยาขึ้นมา จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

1. ถ้าลืมรับประทานยาฮอร์โมน 1 เม็ด ให้รับประทานทันทีที่นึกได้แล้วรับประทานต่อไปในเวลาเดิม
2. ถ้าลืมรับประทานยาตั้งแต่ 2 เม็ดขึ้นไป ภายใน 14 เม็ดแรกของแผงซึ่งเป็นยาฮอร์โมน ให้รับประทาน 1 เม็ดทันทีที่นึกได้ และรับประทานเม็ดที่เหลือต่อไปตามปกติจนหมดแผง
3. ถ้าลืมรับประทานตั้งแต่ 2 เม็ดขึ้นไป ภายในเม็ดที่ 15-21 ของแผงซึ่งเป็นยาฮอร์โมนให้รับประทาน 1 เม็ดทันทีที่นึกได้และรับประทานยาฮอร์โมนที่เหลือจนหมด 21 เม็ดและเริ่มรับประทานยาฮอร์โมนเม็ดแรกของแผงใหม่ติดต่อกันไปโดยไม่ต้องเว้นระยะ 7 วัน กรณีที่เป็นยาชนิดแผงละ 28 เม็ดให้ทิ้งยาหลอก 7 เม็ดไป
4. กรณีที่ลืมรับประทานยาฮอร์โมนตั้งแต่ 2 เม็ดขึ้นไป ต้องใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย
5. ถ้าลืมรับประทานยาหลอก ให้ทิ้งเม็ดยาที่ลืมไปและรับประทานเม็ดที่เหลือตามปกติจนหมดแผง และเริ่มแผงใหม่ต่อไป

8.ระยะเวลายาเม็ดคุมกำเนิดสามารถใช้ได้นานติดต่อกัน

สตรีที่สุขภาพแข็งแรงดีสามารถใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน โดยไม่ต้องเว้นระยะพักแต่อย่างใด แต่ควรไดัรับการตรวจสุขภาพเป็นระยะๆทุก6-12เดือน ซึ่งจะทราบว่ามีปัญหาสุขภาพหรือไม่ถ้าหากมีสามารถหยุดยาได้เลย

 
9.ถ้าเพิ่งรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด จะมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้อาเจียน
กรณีคลื่นใส้ อาเจียน เวียนศรีษะ อาการนี้เกิดจากการใช้ยาที่มี estrogen สูง หรือผู้รับบริการมีปฏิกิริยาไวต่อออร์โมนสังเคราะห์ estrogen ที่เพิ่มขึ้นในร่างกาย ส่วนมากจะเกิดในช่วง 2 – 3 เดือนแรกแล้วค่อย ๆ หายไป
   - การป้องกัน
      - ให้คำปรึกษาแนะนำก่อนใช้ยาว่า อาจเกิดอาการได้ในระยะแรก ๆ
      -เริ่มใช้ยาที่มี estrogen น้อย
      - รับประทานยาหลังอาหารเย็นหรือหลังดื่มนม อาจช่วยลดอาการได้
   -การรักษา
      -ให้คำปรึกษาและอธิบายซ้ำ เพื่อให้คลายความวิตกกังวล
      -หาสาเหตุอื่นที่ทำให้คลื่นไส้อาเจียน
      - ถ้าใช้ยาที่มี estrogen สูง เปลี่ยนมาใช้ยาที่มี estrogen ต่ำ
 

10.ถ้าเลือดออกกะปริดกะปรอย หรือเกิดฝ้า ขึ้นมา
     - ส่วนมากเกิดในช่วงรับประทานยาใหม่ ๆ โดยเฉพาะการใช้ยาที่มี estrogen ต่ำ หรือเกิดจากการเปลี่ยนชนิดของยาเม็ดคุม    กำเนิดที่มีฮอร์โมนสูงมาใช้ชนิดที่มีฮอร์โมนต่ำกว่า นอกจากนี้อาจเกิดจากการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดไม่ตรงเวลาหรือลืมรับประทาน
    - การป้องกัน
      - ให้คำปรึกษาแนะนำอย่างละเอียดก่อนใช้ยาว่าอาจเกิดอาการนี้ได้ใน 2 – 3 เดือนแรก
      - แนะนำให้รับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน เพื่อไม่ลืม และทำให้ระดับของฮอร์โมนในร่างกายไม่เปลี่ยนแปลงมาก
      - ผู้รับบริการที่ใช้ยาอื่น ๆ ร่วมด้วย อาจมีผลให้ประสิทธิภาพของยาไม่ดี และอาจมีเลือดออกกะปริดกะปรอยได้
    - การรักษา
      - ให้คำปรึกษา เพื่อลดความวิตกกังวล
      - หาสาเหตุอื่นที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เลือดออกกะปริดกระปรอย
      - ถ้ารับประทานยาไม่ถูกต้อง อธิบายแนะนำซ้ำจนเข้าใจดี
      - การเปลี่ยนชนิดและขนาดของฮอร์โมนสังเคราะห์
        - เลือดออกกระปริดกระปรอย ส่วนมากเกิดจากยาเม็ดคุมกำเนิดที่มี estrogen ปริมาณต่ำ มีผู้แนะนำให้เพิ่มเป็นรับ      ประทานยาวันละ 2 เม็ดไปจนกว่าอาการหายไปแล้วกลับไปรับประทานยาวันละ 1 เม็ดอย่างเดิม ซึ่งอาจเกิดเลือดออกกะปริดกะปรอยซ้ำอีก ดังนั้นถ้าอธิบายให้ผู้รับบริการเข้าใจและอาการไม่มากอาการจะค่อย ๆ หายไป แต่ถ้าผู้รับบริการวิตกกังวลหรือรำคาญ ก็พิจารณาเปลี่ยนเป็นยาที่มี estrogen จาก 20 เป็น 30 หรือจาก 30 เป็น 50 ไมโครกรัม อาการนี้ก็จะหายไป

        - ยาเม็ดคุมกำเนิดที่ประกอบด้วย norethisterone จะพบอุบัติการเลือดระดูออกผิดปกติจนเป็นสาเหตุของการเลิกใช้ยาคุมกำเนิดได้มากกว่าตัวยาที่ประกอบด้วย levonorgestrel ฉะนั้นถ้าผู้รับบริการใช้ยาที่มี norethisterone อยู่อาจเปลี่ยนเป็นยาที่ประกอบด้วย levonorgestrel


- กรณีหน้าเป็นฝ้า
หน้าเป็นฝ้า เป็นอาการที่เกิดจากการใช้ยาที่มีปริมาณ estrogen สูง ซึ่งกระตุ้นการทำงานของเซลล์ที่สร้างสี จะเกิดขึ้นง่ายแก่ผู้ที่มีประวัติหน้าเป็นฝ้าขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกลางแดด

    - การป้องกัน
      - ควรอธิบายว่าเป็นอาการเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีหน้าเป็นฝ้าขณะตั้งครรภ์หรือผู้ทำงานกลางแดด
      - เลือกใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มี estrogen น้อย ๆ บางรายงานแนะนำให้เริ่มใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีเฉพาะโปรเจสโตเจน (minipills)
      - หลีกเลี่ยงการได้รับแสงแดดโดยไม่จำเป็นหรือป้องกันไว้ก่อน
    - การรักษา
      - ชี้แจงและอธิบายซ้ำ เกี่ยวกับการใช้ยา
      - หาสาเหตุอื่นที่ทำให้ผิวคล้ำผิดปกติ เช่น โรคของต่อมหมวกไต
      - ควรเปลี่ยนยาเป็นชนิดมี estrogen เพียง 20 ไมโครกรัม ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้หยุดยา อาการจะค่อย ๆ หายไป
      - เปลี่ยนไปใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีเฉพาะโปรเจสโตเจน หรือวิธีคุมกำเนิดอื่น ๆ โดยต้องพิจารณาถึงข้อดี ข้อเสียเป็นอย่างดี


****ถ้ากำลังให้นมบุตรอยู่ และจำเป็นจะต้องใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด แนะนำให้ใช้เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดที่ไม่มี estrogen เป็นส่วนประกอบ มีเพียง progestogen ในปริมาณต่ำเท่านั้น(ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีเฉพาะโปรเจสโตเจน , minipills)****

ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดนี้ที่มีในประเทศไทยประกอบด้วย lynestrenol 0.5 มิลลิกรัมเหมาะสมที่จะใช้ในสตรีที่เลี้ยงบุตรด้วยนมตัวเอง เพราะไม่มีผลต่อปริมาณน้ำนม และการให้นมบุตรจะช่วยเสริมให้ ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีเฉพาะโปรเจสโตเจน มีประสิทธิภาพสูงขึ้นจนเกือบร้อยละ 100

 reference
: ผศ.ภก.วันชัย ตรียะประเสริฐ และ ภก.สิงห์ พฤกษเศรษฐ รายการวิทยุคลินิค 101.5
เดว มาต่อ เรื่อง อาการ ข้างเคียงอีกหน่อย ขอหาข้อมูลแปปนึง

8
ไหนๆก้อเรียนมาด้านสุขภาพ  เลยขอเอามาแชร์กับพี่น้องในweb
เผื่อจะมีประโยชน์ในการเฝ้าระวัง และสังเกตกับอาการผิดปกติ ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง

ผมจะ ลงเป็นโรคๆไป นะครับ
ออกตัวไว้ก่อน ว่า ข้อมูล ดังกล่าว เป็นขอมูลที่ใช้สังเกตอาการ ไม่สามารถฟันธงได้ทุกกรณี
อีกทั้งแนวทางการรักษา ก้อต้องขึ้นกับ โรคด้วย การรักษา ยาที่ได้รับอาจจะไม่ตายตัว ขึ้นแนวทางของแต่ละคน

สรุป คร่าวๆ ละกันเนาะ  ถ้ามีข้อสงสัยเพิ่มเติม หลังไมค์ได้ครับ

โรคหนองใน (Gonorrhea)

เป็นโรคติดเชื้อที่สามารถแพร่จากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้จากการมีเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อหนองใน (Neisseria gonorrhoeae) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เจริญได้ดีในที่ชื้น และที่อบอุ่นของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ ตั้งแต่ปากมดลูก มดลูก ปีกมดลูก ท่อปัสสาวะ (ทั้งหญิงและชาย) นอก จากนี้ยังสามารถเจริญในที่อื่นๆได้ เช่น เยื่อบุช่องปาก คอ ตา ทวารหนัก เป็นต้น

ติดโรคหนองในได้อย่างไร? ใครมีปัจจัยเสี่ยง?

โรคหนองใน เกิดได้จากการสัมผัสเยื่อบุช่องคลอด ช่องปาก ทวารหนัก องคชาต (อวัยวะเพศชาย) โดยอาจมี หรือไม่มีการหลั่งน้ำอสุจิก็ได้ นอกจากนี้ ยังอาจติดจากมารดาสู่ทารกในระหว่างการคลอดได้
ผู้ที่เป็นโรคหนองใน หลังจากได้รับการรักษาแล้ว หากสัมผัสโรคอีก ก็เป็นโรคซ้ำได้
อนึ่ง ปัจจัยเสี่ยงของโรคหนองใน คือ คนที่มีเคยมีเพศสัมพันธ์แล้วจะมีความเสี่ยง หรือมีโอกาสที่จะเป็นโรคได้ นอกจากนั้น
จะมีความเสี่ยงสูงในกลุ่มวัยรุ่น คนที่มีคู่นอนมากกว่าหนึ่งคน เคยเป็นโรคนี้มาแล้ว และ/หรือ เคยเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นๆมาแล้ว เช่น โรคซิฟิลิส (Syphilis) ไม่มีการใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์

อาการของโรค
อาการของโรคหนองในที่พบได้บ่อย คือ
=ในชาย บางคนอาจไม่มีอาการ หากมีอาการมักจะปรากฏใน 1-14 วัน หลัง จากสัมผัสคนที่เป็นโรค (ระยะฟักตัวของโรค) โดยจะมีอาการปัสสาวะแสบขัด มีหนองไหลจากปลายองคชาต บางรายมีอาการปวด และบวมของถุงอัณฑะ
=ในหญิง มักไม่มีอาการได้เช่นกัน หรืออาการไม่มาก โดยอาจมีปัสสาวะแสบขัด ตกขาว มีเลือดออกทางช่องคลอดระหว่างรอบเดือน หรือประจำเดือน แต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) จากการติดเชื้อที่รุนแรงมากกว่าชาย ไม่ว่าจะมีอาการติดเชื้อมากหรือน้อยก็ตาม
ทั้งในชาย และหญิง หากติดเชื้อในทวารหนัก อาจมีอาการคัน ปวด โดย เฉพาะเวลาขับถ่าย หากติดเชื้อในช่องคอ อาจมีอาการเจ็บคอ อย่างไรก็ตามการติดเชื้อในตำแน่งใดๆก็ตาม อาจไม่มีอาการเลยก็ได้

การวินิจฉัยของแพทย์
แพทย์วินิจฉัยโรคหนองในได้จาก ประวัติทางการแพทย์ต่างๆ เช่น อาการต่างๆ เรื่องคู่นอน เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ การตรวจร่างกาย การตรวจบริเวณอวัยวะเพศ การตรวจภายใน (ในผู้หญิง) การส่งตรวจหาเชื้อที่ป้ายจากแผล หรือ จากปากมดลูก ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก และ/หรือ ช่องคอ

ด้านการรักษา
การรักษาโรคหนองใน คือ การใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งใช้ได้ผลดี แต่ในหลายพื้นที่อาจมีเชื้อดื้อยาได้ ดังนั้น หลังการรักษา ถ้ายังคงมีอาการ จึงควรต้องกลับมาปรึกษาแพทย์อีกครั้ง
นอกจากนั้น จำเป็นต้องตรวจหาการติดเชื้อที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆที่อาจพบร่วมด้วยโดยเฉพาะ เชื้อ เอชไอวี (HIV) หรือ โรคเอดส์
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายาปฏิชีวนะจะรักษาโรคให้หายแล้ว แต่ยาปฏิชีวนะไม่สามารถซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย ซึ่งเกิดจากภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวไปแล้วได้ นอกจากนั้น หากยังไปสัมผัสโรคอีก ก็กลับมาเป็นโรคอีกได้

ยาที่มักจะได้รับในการรักษา ทั้ง แท้/เทียม
การรักษา หนองในแท้ แนะนำให้ใช้ Cefixime 400 mg กินครั้งเดียว หรือ Azithromycin 2 g กินครั้งเดียว
ขณะที่ หนองในเทียม แนะนำให้ใช้ Azithromycin 1 g กินครั้งเดียว หรือ Doxycycline 100 mg กนวันละ 2 ครั้ง 7 วัน

ส่วนใหญ่ การรักษาหนองในนั้นจะรักษาควบคู่กัน ทั้งแท้และเทียม เนื่องด้วยเหตุผล เช่นการแยกโรคนั้น ต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูง จึงทานยารักษาทั้งคู่เลยดีกว่า จบปัญหา

ควรดูแลตนเองอย่างไร
=สามารถหลีกเลี่ยงการติดโรคหนองในนี้ได้ด้วย การมีคู่นอนเพียงคนเดียว และจะแน่นอนยิ่งขึ้น หากคู่นอนได้รับการตรวจแล้วว่าไม่ติดเชื้อ นอกจากนี้การใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอ ก็ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
=และที่สำคัญช่วงที่รักษา "อย่าลืมใส่ถุงยาอนามัย"หรือ"งด" มีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่รักษา และอีกอย่าง แนะนำให้ "พาคู่นอนไปรักษา"

reference:
- รพ.กรุงเทพ
- เภสัชชุมชน

9
<a href="http://www.youtube.com/v/IvkqhTQQnDM&amp;feature=related" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/IvkqhTQQnDM&amp;feature=related</a>




ลอกข้อสอบขั้นเทพ kjhg

10
<a href="http://www.youtube.com/v/ngMnLC93z5E" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/ngMnLC93z5E</a>

11
xseed คลิป / คลายเครียด ด้วยความฮา ในสนาม
« เมื่อ: 22 ตุลาคม 2011, 00:49:39 »
<a href="http://www.youtube.com/v/es0lZBdFs8Q" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/es0lZBdFs8Q</a>

12
<a href="http://www.youtube.com/v/HNMq8XS4LhE" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/HNMq8XS4LhE</a>

13
ไม่รู้เคยเล่นกันรึยัง  เอามาจากfacebook อีกที

สำหรับผมมัน ออกมาตรงแหะ

ใครพอจะอธิบาย ความซับซ้อนได้มั้งครับ ผมงงๆ  ปล. อาจจะใช้เครื่องคิดเลขช่วยหน่อย

ตามนี้เลยครับ

1.นำเลขเบอร์โทรของคุณ 3 ตัวแรก (ไม่นับเลขรหัส 3 ตัวแรกนะ^^)
2.คูณด้วย 80
3.บวก 1
4.คูณด้วย 250
5.บวกเบอร์โทร 4 ตัวหลัง......
6.บวกเบอร์โทร 4 ตัวหลังอีกที
7.ลบ 250
8.หารด้วย 2....................นี่เบอร์โทรศัพท์คุณใช่เปล่า????/

ลองกันดูนะครับ

หน้า: [1]