-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วยเรื่องของโรค : หนองใน  (อ่าน 1268 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

galumdok

  • คนธรรมดาๆ
  • เด็กหัดเสียว
  • **
  • กระทู้: 296
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ว่าด้วยเรื่องของโรค : หนองใน
« เมื่อ: 24 ตุลาคม 2011, 02:18:57 »

ไหนๆก้อเรียนมาด้านสุขภาพ  เลยขอเอามาแชร์กับพี่น้องในweb
เผื่อจะมีประโยชน์ในการเฝ้าระวัง และสังเกตกับอาการผิดปกติ ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง

ผมจะ ลงเป็นโรคๆไป นะครับ
ออกตัวไว้ก่อน ว่า ข้อมูล ดังกล่าว เป็นขอมูลที่ใช้สังเกตอาการ ไม่สามารถฟันธงได้ทุกกรณี
อีกทั้งแนวทางการรักษา ก้อต้องขึ้นกับ โรคด้วย การรักษา ยาที่ได้รับอาจจะไม่ตายตัว ขึ้นแนวทางของแต่ละคน

สรุป คร่าวๆ ละกันเนาะ  ถ้ามีข้อสงสัยเพิ่มเติม หลังไมค์ได้ครับ

โรคหนองใน (Gonorrhea)

เป็นโรคติดเชื้อที่สามารถแพร่จากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้จากการมีเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อหนองใน (Neisseria gonorrhoeae) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เจริญได้ดีในที่ชื้น และที่อบอุ่นของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ ตั้งแต่ปากมดลูก มดลูก ปีกมดลูก ท่อปัสสาวะ (ทั้งหญิงและชาย) นอก จากนี้ยังสามารถเจริญในที่อื่นๆได้ เช่น เยื่อบุช่องปาก คอ ตา ทวารหนัก เป็นต้น

ติดโรคหนองในได้อย่างไร? ใครมีปัจจัยเสี่ยง?

โรคหนองใน เกิดได้จากการสัมผัสเยื่อบุช่องคลอด ช่องปาก ทวารหนัก องคชาต (อวัยวะเพศชาย) โดยอาจมี หรือไม่มีการหลั่งน้ำอสุจิก็ได้ นอกจากนี้ ยังอาจติดจากมารดาสู่ทารกในระหว่างการคลอดได้
ผู้ที่เป็นโรคหนองใน หลังจากได้รับการรักษาแล้ว หากสัมผัสโรคอีก ก็เป็นโรคซ้ำได้
อนึ่ง ปัจจัยเสี่ยงของโรคหนองใน คือ คนที่มีเคยมีเพศสัมพันธ์แล้วจะมีความเสี่ยง หรือมีโอกาสที่จะเป็นโรคได้ นอกจากนั้น
จะมีความเสี่ยงสูงในกลุ่มวัยรุ่น คนที่มีคู่นอนมากกว่าหนึ่งคน เคยเป็นโรคนี้มาแล้ว และ/หรือ เคยเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นๆมาแล้ว เช่น โรคซิฟิลิส (Syphilis) ไม่มีการใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์

อาการของโรค
อาการของโรคหนองในที่พบได้บ่อย คือ
=ในชาย บางคนอาจไม่มีอาการ หากมีอาการมักจะปรากฏใน 1-14 วัน หลัง จากสัมผัสคนที่เป็นโรค (ระยะฟักตัวของโรค) โดยจะมีอาการปัสสาวะแสบขัด มีหนองไหลจากปลายองคชาต บางรายมีอาการปวด และบวมของถุงอัณฑะ
=ในหญิง มักไม่มีอาการได้เช่นกัน หรืออาการไม่มาก โดยอาจมีปัสสาวะแสบขัด ตกขาว มีเลือดออกทางช่องคลอดระหว่างรอบเดือน หรือประจำเดือน แต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) จากการติดเชื้อที่รุนแรงมากกว่าชาย ไม่ว่าจะมีอาการติดเชื้อมากหรือน้อยก็ตาม
ทั้งในชาย และหญิง หากติดเชื้อในทวารหนัก อาจมีอาการคัน ปวด โดย เฉพาะเวลาขับถ่าย หากติดเชื้อในช่องคอ อาจมีอาการเจ็บคอ อย่างไรก็ตามการติดเชื้อในตำแน่งใดๆก็ตาม อาจไม่มีอาการเลยก็ได้

การวินิจฉัยของแพทย์
แพทย์วินิจฉัยโรคหนองในได้จาก ประวัติทางการแพทย์ต่างๆ เช่น อาการต่างๆ เรื่องคู่นอน เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ การตรวจร่างกาย การตรวจบริเวณอวัยวะเพศ การตรวจภายใน (ในผู้หญิง) การส่งตรวจหาเชื้อที่ป้ายจากแผล หรือ จากปากมดลูก ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก และ/หรือ ช่องคอ

ด้านการรักษา
การรักษาโรคหนองใน คือ การใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งใช้ได้ผลดี แต่ในหลายพื้นที่อาจมีเชื้อดื้อยาได้ ดังนั้น หลังการรักษา ถ้ายังคงมีอาการ จึงควรต้องกลับมาปรึกษาแพทย์อีกครั้ง
นอกจากนั้น จำเป็นต้องตรวจหาการติดเชื้อที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆที่อาจพบร่วมด้วยโดยเฉพาะ เชื้อ เอชไอวี (HIV) หรือ โรคเอดส์
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายาปฏิชีวนะจะรักษาโรคให้หายแล้ว แต่ยาปฏิชีวนะไม่สามารถซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย ซึ่งเกิดจากภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวไปแล้วได้ นอกจากนั้น หากยังไปสัมผัสโรคอีก ก็กลับมาเป็นโรคอีกได้

ยาที่มักจะได้รับในการรักษา ทั้ง แท้/เทียม
การรักษา หนองในแท้ แนะนำให้ใช้ Cefixime 400 mg กินครั้งเดียว หรือ Azithromycin 2 g กินครั้งเดียว
ขณะที่ หนองในเทียม แนะนำให้ใช้ Azithromycin 1 g กินครั้งเดียว หรือ Doxycycline 100 mg กนวันละ 2 ครั้ง 7 วัน

ส่วนใหญ่ การรักษาหนองในนั้นจะรักษาควบคู่กัน ทั้งแท้และเทียม เนื่องด้วยเหตุผล เช่นการแยกโรคนั้น ต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูง จึงทานยารักษาทั้งคู่เลยดีกว่า จบปัญหา

ควรดูแลตนเองอย่างไร
=สามารถหลีกเลี่ยงการติดโรคหนองในนี้ได้ด้วย การมีคู่นอนเพียงคนเดียว และจะแน่นอนยิ่งขึ้น หากคู่นอนได้รับการตรวจแล้วว่าไม่ติดเชื้อ นอกจากนี้การใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอ ก็ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
=และที่สำคัญช่วงที่รักษา "อย่าลืมใส่ถุงยาอนามัย"หรือ"งด" มีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่รักษา และอีกอย่าง แนะนำให้ "พาคู่นอนไปรักษา"

reference:
- รพ.กรุงเทพ
- เภสัชชุมชน
สวยหล่อไม่เกี่ยว  อยู่ที่ซอยเปลี่ยว และ พละกำลัง