-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ว่ากันด้วยเรื่อง : ยาคุมกำเนิด  (อ่าน 988 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

galumdok

  • คนธรรมดาๆ
  • เด็กหัดเสียว
  • **
  • กระทู้: 296
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ว่ากันด้วยเรื่อง : ยาคุมกำเนิด
« เมื่อ: 24 ตุลาคม 2011, 03:07:07 »

1.การคุมกำเนิดมีกี่วิธี และมีวิธีอะไรบ้าง
-วิธีคุมกำเนิด มีอยู่ 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ

1.1การคุมกำเนิดแบบถาวร ได้แก่ การทำหมัน โดยการตัดและผูกหลอดนำอสุจิในเพศชาย หรือท่อนำไข่ ในเพศหญิง
1.2การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว เป็นวิธีที่ใช้ป้องกันการตั้งครรภ์เมื่อยังไม่พร้อม เพื่อเว้นระยะการมีบุตร เมื่อเลิกใช้สามารถมีบุตรได้อีก ได้แก่ ยาเม็ดคุมกำเนิด,ยาฉีดคุมกำเนิด,ถุงยางอนามัย,ห่วงอนามัย (Intrauterine device, IUD), การนับระยะปลอดภัย (rhythm), การหลั่งน้ำกามภายนอก (coitus interrupts ) การสวนล้างช่องคลอดภายหลังร่วมเพศ (douche)
การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นวิธีการคุมกำเนิดชั่วคราวที่นิยมใช้มากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่าย ราคาถูก ผลการป้องกันการตั้งครรภ์สูง

2.ยาเม็ดคุมกำเนิดถึงสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างไร
-ยาเม็ดคุมกำเนิดป้องกันการตั้งครรภ์โดยกลไกดังนี้คือ
1.ป้องกันไม่ให้ไข่สุก ระงับการตกไข่ โดยกดการหลั่งของ follicle stimulating hormone (FSH) และ luteinizing hormone (LH) จากต่อมใต้สมอง
2.ทำให้มูกบริเวณปากมดลูกเหนียวข้น ตัวอสุจิจึงผ่านได้ยาก
3.ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เหมาะสมกับการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสมแล้ว โดยทำให้ต่อมและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ต่อมบวมและต่อมมีลักษณะฝ่อ (atrophic)

3.ในยาเม็ดคุมกำเนิดประกอบด้วย
-โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงยาเม็ดคุมกำเนิดมักจะหมายถึง ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ซึ่งประกอบด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ 2 ชนิดคือ
1.ฮอร์โมนเอสโตเจน (estrogen) ได้แก่ Ethinyl estradiol, Mestranol
2.ฮอร์โมนโปรเจสโตเจน(progestogen) ได้แก่Norethisterone,     Norethindrone,Levonorgestrel,Norgestrel,Desogestrel,Gestodene,Cyproterone acetate

4.ยาเม็ดคุมกำเนิดสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 3 ชนิด
1.1 ชนิดฮอร์โมนระดับเดียว (monophasic) ชนิดนี้นิยมใช้กันแพร่หลาย ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดนี้ ประกอบด้วย ฮอร์โมนเอสโตรเจน และ โปรเจสโตเจน ในขนาดคงที่เท่ากันทุกเม็ด โดยใน 1 แผงจะมี 21 เม็ด บางแบบอาจมี 28 เม็ด โดยเป็นฮอร์โมน 21 เม็ด และสารที่ไม่ใช่ฮอร์โมนเช่น ธาตุเหล็ก แป้ง อีก 7 เม็ด

1.2 ชนิดฮอร์โมนสองระดับ (biphasic) เป็นยาคุมกำเนิดที่ประกอบด้วยฮอร์โมนแตกต่างกัน 2 ระดับ ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย

1.3 ชนิดฮอร์โมนสามระดับ( triphasic) ยาเม็ดคุมกำเนิดนี้จะประกอบด้วยฮอร์โมนต่างกัน 3 ระดับเพื่อเลียนแบบการขึ้นลงของฮอร์โมนเอสโตเจน และ โปรเจสโตเจน ในร่างกาย และทำให้ปริมาณฮอร์โมนรวมทั้งแผงลดลงอย่างไรก็ตาม ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดนี้ทำให้เกิดความสับสนในการใช้ได้ง่ายและมีอุบัติการของการเกิดเลือดออกกะปริดกะปรอยได้มากกว่าชนิด monophasic

 2. ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีเฉพาะโปรเจสโตเจน (minipills)
ชนิดนี้ประกอบด้วย โปรเจสโตเจนอย่างเดียวในปริมาณต่ำเท่าๆกันทุกเม็ด โดยใน 1 แผงจะมี 35 เม็ด ชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในระยะให้นมบุตร หรือผู้ที่แพ้ฮอร์โมนเอสโตเจน

3. ยาเม็ดคุมกำเนิดหลังร่วมเพศ
ชนิดนี้เหมาะสำหรับป้องกันการตั้งครรภ์ในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น เช่นกรณีถูกขมขืน หรือถุงยางอนามัยฉีกขาด ไม่ควรใช้พร่ำพรือโดยไม่จำเป็นเพราะมีผลข้างเคียงสูง

5. เนื่องจากที่ได้กล่าวมายาเม็ดคุมกำเนิดมีหลายชนิด ควรจะเลือกใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดไหน จะซื้อมารับประทานเองได้หรือไม่
ตอบ โดยทั่วไปแล้วจะแนะนำให้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมระดับเดียว ถึงแม้ว่ายาคุมกำเนิดจะซื้อหาได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป แต่ไม่ควรซื้อมากินเองโดยเฉพาะผู้เริ่มใช้ยาครั้งแรก ควรจะได้รับคำปรึกษาและแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรเสียก่อน เพราะการเลือกใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดนั้น ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสุขภาพร่างกายของแต่ละคน ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดหนึ่งอาจเหมาะสมกับคนๆนั้น แต่ไม่เหมาะสมสำหรับอีกคนหนึ่งก็ได้ ต้องพิจารณาถึงปริมาณและชนิดของฮอร์โมนในยาเม็ดคุมกำเนิด

6. มีผู้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นครั้งแรกส่วนมากได้รับคำแนะนำในการรับประทานมา แต่ยังคงเกิดความสับสนในการรับประทานจึงอยากจะให้แนะนำวิธีรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่เข้าใจง่าย ๆ

คำแนะนำในการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด
1. เริ่มรับประทานยาเม็ดแรกในวันที่ 1 – 5 ของรอบเดือน สำหรับยาเม็ดคุมกำเนิดที่มี Ethinyl estradiol (EE) 20 ไมโครกรัม ควรเริ่มตั้งแต่วันแรกของรอบเดือน
2. รับประทานยาวันละเม็ดทุกวันในเวลาเดียวกัน เช่น หลังอาหารเย็นหรือก่อนนอน และทุกเช้าต้องตรวจว่าลืมรับประทานยาหรือไม่
3. สำหรับยาแผง 21 เม็ด รับประทานยาเรียงตามลูกศรชี้จนหมดชุดแล้วเว้น 7 วัน จึงเริ่มรับประทานยาแผงต่อไป
4. ถ้าเป็นยาแผง 28 เม็ด ก็ให้รับประทานยาติดต่อกันโดยไม่ต้องหยุดยา
5. ถ้ารับประทานยาอย่างถูกต้องไม่จำเป็นต้องใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วยในระยะแรก ๆ เพราะการใช้วิธีอื่นร่วมด้วยจะก่อให้เกิดความสับสนยุ่งยากและเพิ่มค่าใช้จ่าย

 

7. หากเกิดลืมรับประทานยาขึ้นมา จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

1. ถ้าลืมรับประทานยาฮอร์โมน 1 เม็ด ให้รับประทานทันทีที่นึกได้แล้วรับประทานต่อไปในเวลาเดิม
2. ถ้าลืมรับประทานยาตั้งแต่ 2 เม็ดขึ้นไป ภายใน 14 เม็ดแรกของแผงซึ่งเป็นยาฮอร์โมน ให้รับประทาน 1 เม็ดทันทีที่นึกได้ และรับประทานเม็ดที่เหลือต่อไปตามปกติจนหมดแผง
3. ถ้าลืมรับประทานตั้งแต่ 2 เม็ดขึ้นไป ภายในเม็ดที่ 15-21 ของแผงซึ่งเป็นยาฮอร์โมนให้รับประทาน 1 เม็ดทันทีที่นึกได้และรับประทานยาฮอร์โมนที่เหลือจนหมด 21 เม็ดและเริ่มรับประทานยาฮอร์โมนเม็ดแรกของแผงใหม่ติดต่อกันไปโดยไม่ต้องเว้นระยะ 7 วัน กรณีที่เป็นยาชนิดแผงละ 28 เม็ดให้ทิ้งยาหลอก 7 เม็ดไป
4. กรณีที่ลืมรับประทานยาฮอร์โมนตั้งแต่ 2 เม็ดขึ้นไป ต้องใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย
5. ถ้าลืมรับประทานยาหลอก ให้ทิ้งเม็ดยาที่ลืมไปและรับประทานเม็ดที่เหลือตามปกติจนหมดแผง และเริ่มแผงใหม่ต่อไป

8.ระยะเวลายาเม็ดคุมกำเนิดสามารถใช้ได้นานติดต่อกัน

สตรีที่สุขภาพแข็งแรงดีสามารถใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน โดยไม่ต้องเว้นระยะพักแต่อย่างใด แต่ควรไดัรับการตรวจสุขภาพเป็นระยะๆทุก6-12เดือน ซึ่งจะทราบว่ามีปัญหาสุขภาพหรือไม่ถ้าหากมีสามารถหยุดยาได้เลย

 
9.ถ้าเพิ่งรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด จะมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้อาเจียน
กรณีคลื่นใส้ อาเจียน เวียนศรีษะ อาการนี้เกิดจากการใช้ยาที่มี estrogen สูง หรือผู้รับบริการมีปฏิกิริยาไวต่อออร์โมนสังเคราะห์ estrogen ที่เพิ่มขึ้นในร่างกาย ส่วนมากจะเกิดในช่วง 2 – 3 เดือนแรกแล้วค่อย ๆ หายไป
   - การป้องกัน
      - ให้คำปรึกษาแนะนำก่อนใช้ยาว่า อาจเกิดอาการได้ในระยะแรก ๆ
      -เริ่มใช้ยาที่มี estrogen น้อย
      - รับประทานยาหลังอาหารเย็นหรือหลังดื่มนม อาจช่วยลดอาการได้
   -การรักษา
      -ให้คำปรึกษาและอธิบายซ้ำ เพื่อให้คลายความวิตกกังวล
      -หาสาเหตุอื่นที่ทำให้คลื่นไส้อาเจียน
      - ถ้าใช้ยาที่มี estrogen สูง เปลี่ยนมาใช้ยาที่มี estrogen ต่ำ
 

10.ถ้าเลือดออกกะปริดกะปรอย หรือเกิดฝ้า ขึ้นมา
     - ส่วนมากเกิดในช่วงรับประทานยาใหม่ ๆ โดยเฉพาะการใช้ยาที่มี estrogen ต่ำ หรือเกิดจากการเปลี่ยนชนิดของยาเม็ดคุม    กำเนิดที่มีฮอร์โมนสูงมาใช้ชนิดที่มีฮอร์โมนต่ำกว่า นอกจากนี้อาจเกิดจากการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดไม่ตรงเวลาหรือลืมรับประทาน
    - การป้องกัน
      - ให้คำปรึกษาแนะนำอย่างละเอียดก่อนใช้ยาว่าอาจเกิดอาการนี้ได้ใน 2 – 3 เดือนแรก
      - แนะนำให้รับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน เพื่อไม่ลืม และทำให้ระดับของฮอร์โมนในร่างกายไม่เปลี่ยนแปลงมาก
      - ผู้รับบริการที่ใช้ยาอื่น ๆ ร่วมด้วย อาจมีผลให้ประสิทธิภาพของยาไม่ดี และอาจมีเลือดออกกะปริดกะปรอยได้
    - การรักษา
      - ให้คำปรึกษา เพื่อลดความวิตกกังวล
      - หาสาเหตุอื่นที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เลือดออกกะปริดกระปรอย
      - ถ้ารับประทานยาไม่ถูกต้อง อธิบายแนะนำซ้ำจนเข้าใจดี
      - การเปลี่ยนชนิดและขนาดของฮอร์โมนสังเคราะห์
        - เลือดออกกระปริดกระปรอย ส่วนมากเกิดจากยาเม็ดคุมกำเนิดที่มี estrogen ปริมาณต่ำ มีผู้แนะนำให้เพิ่มเป็นรับ      ประทานยาวันละ 2 เม็ดไปจนกว่าอาการหายไปแล้วกลับไปรับประทานยาวันละ 1 เม็ดอย่างเดิม ซึ่งอาจเกิดเลือดออกกะปริดกะปรอยซ้ำอีก ดังนั้นถ้าอธิบายให้ผู้รับบริการเข้าใจและอาการไม่มากอาการจะค่อย ๆ หายไป แต่ถ้าผู้รับบริการวิตกกังวลหรือรำคาญ ก็พิจารณาเปลี่ยนเป็นยาที่มี estrogen จาก 20 เป็น 30 หรือจาก 30 เป็น 50 ไมโครกรัม อาการนี้ก็จะหายไป

        - ยาเม็ดคุมกำเนิดที่ประกอบด้วย norethisterone จะพบอุบัติการเลือดระดูออกผิดปกติจนเป็นสาเหตุของการเลิกใช้ยาคุมกำเนิดได้มากกว่าตัวยาที่ประกอบด้วย levonorgestrel ฉะนั้นถ้าผู้รับบริการใช้ยาที่มี norethisterone อยู่อาจเปลี่ยนเป็นยาที่ประกอบด้วย levonorgestrel


- กรณีหน้าเป็นฝ้า
หน้าเป็นฝ้า เป็นอาการที่เกิดจากการใช้ยาที่มีปริมาณ estrogen สูง ซึ่งกระตุ้นการทำงานของเซลล์ที่สร้างสี จะเกิดขึ้นง่ายแก่ผู้ที่มีประวัติหน้าเป็นฝ้าขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกลางแดด

    - การป้องกัน
      - ควรอธิบายว่าเป็นอาการเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีหน้าเป็นฝ้าขณะตั้งครรภ์หรือผู้ทำงานกลางแดด
      - เลือกใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มี estrogen น้อย ๆ บางรายงานแนะนำให้เริ่มใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีเฉพาะโปรเจสโตเจน (minipills)
      - หลีกเลี่ยงการได้รับแสงแดดโดยไม่จำเป็นหรือป้องกันไว้ก่อน
    - การรักษา
      - ชี้แจงและอธิบายซ้ำ เกี่ยวกับการใช้ยา
      - หาสาเหตุอื่นที่ทำให้ผิวคล้ำผิดปกติ เช่น โรคของต่อมหมวกไต
      - ควรเปลี่ยนยาเป็นชนิดมี estrogen เพียง 20 ไมโครกรัม ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้หยุดยา อาการจะค่อย ๆ หายไป
      - เปลี่ยนไปใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีเฉพาะโปรเจสโตเจน หรือวิธีคุมกำเนิดอื่น ๆ โดยต้องพิจารณาถึงข้อดี ข้อเสียเป็นอย่างดี


****ถ้ากำลังให้นมบุตรอยู่ และจำเป็นจะต้องใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด แนะนำให้ใช้เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดที่ไม่มี estrogen เป็นส่วนประกอบ มีเพียง progestogen ในปริมาณต่ำเท่านั้น(ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีเฉพาะโปรเจสโตเจน , minipills)****

ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดนี้ที่มีในประเทศไทยประกอบด้วย lynestrenol 0.5 มิลลิกรัมเหมาะสมที่จะใช้ในสตรีที่เลี้ยงบุตรด้วยนมตัวเอง เพราะไม่มีผลต่อปริมาณน้ำนม และการให้นมบุตรจะช่วยเสริมให้ ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีเฉพาะโปรเจสโตเจน มีประสิทธิภาพสูงขึ้นจนเกือบร้อยละ 100

 reference
: ผศ.ภก.วันชัย ตรียะประเสริฐ และ ภก.สิงห์ พฤกษเศรษฐ รายการวิทยุคลินิค 101.5
เดว มาต่อ เรื่อง อาการ ข้างเคียงอีกหน่อย ขอหาข้อมูลแปปนึง
สวยหล่อไม่เกี่ยว  อยู่ที่ซอยเปลี่ยว และ พละกำลัง

galumdok

  • คนธรรมดาๆ
  • เด็กหัดเสียว
  • **
  • กระทู้: 296
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
Re: ว่ากันด้วยเรื่อง : ยาคุมกำเนิด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 24 ตุลาคม 2011, 03:08:58 »

อาการข้างเคียงโดยทั่วไป ที่พบได้บ่อย พร้อมวิธีแก้ไข

1. คลื่นไส้อาเจียน เป็นผลจากฮอร์โมนเอสโตรเจน มักเกิดในช่วง 2-3 เดือนแรก แก้ไขโดยกินทันทีหลังอาหารเย็น
2. เลือดออกกระปริบกระปรอย แก้ไขโดยการกินยาเวลาใกล้เคียงกันที่สุดในทุกวัน แต่ถ้าใช้ยาคุมชนิดที่มีเอสโตรเจนต่ำอยู่ (เช่น 20 ไมโครกรัม) ให้เปลี่ยนเป็นแบบที่มีเอสโตรเจนมากขึ้น เช่น แบบ 30 ไมโครกรัม
3. น้ำหนักตัวเพิ่ม แก้ไขโดยการใช้ยาคุมชนิดเอสโตรเจนต่ำกว่า แต่ถ้าน้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่า 5 กิโลกรัม และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็คงต้องพิจารณาเปลี่ยนวิธีคุมกำเนิด
4. ความดันโลหิตสูงขึ้น แก้ไขโดยการลดปริมาณเอสโตรเจน จาก 30 ไมโครกรัม ให้เหลือแบบ 20 ไมโครกรัม และต้องหมั่นตรวจวัดความดันโลหิตบ่อยๆ
5. หน้าเป็นฝ้า ถ้าเริ่มเป็นฝ้า ก็คงต้องพิจารณาใช้ยาที่มีเอสโตรเจน 20 ไมโครกรัม พร้อมกับการรักษาฝ้า ยากันแดด หลีกเลี่ยงแดด และถ้ายังเป็นอยู่ ก็ต้องพิจารณาเปลี่ยนวิธีคุมกำเนิด
6. อาการปวดศีรษะ ถ้าปวดเล็กน้อยก็กินยาแก้ปวด แต่ถ้าเป็นการปวดแบบไมเกรน ที่มีอาการปวดหัวข้างเดียว ก็ต้องหยุดยา
7. รอบเดือนมากระปริบกระปรอย หรือขาดระดู มักเป็นกับคนที่ใช้ยาคุมแบบ 20 ไมโครกรัม ให้เปลี่ยนไปใช้แบบ 30 ไมโครกรัมแทน
8. การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่นอาการซึมเศร้า วิตกกังวล เป็นผลจากโปรเจสโตเจนสูง ถ้ามีอาการมาก คงต้องปรึกษาแพทย์
สวยหล่อไม่เกี่ยว  อยู่ที่ซอยเปลี่ยว และ พละกำลัง