cmxseed สังคมราตรี

หมวดหมู่ทั่วไป => ลี้ลับ ประวัติศาสตร์ ตำนานโลก => ข้อความที่เริ่มโดย: etatae333 ที่ 18 สิงหาคม 2017, 15:09:07

หัวข้อ: แอนน์ แฟรงก์ : เด็กสาวชาวยิวผู้เป็นเหยื่อสงคราม
เริ่มหัวข้อโดย: etatae333 ที่ 18 สิงหาคม 2017, 15:09:07
แอนน์ แฟรงก์ : เด็กสาวชาวยิวผู้เป็นเหยื่อสงคราม
cr. พี่น้ำผึ้ง@dek-d /sarakadee.com/bbc.com

แอนน์ แฟรงค์ (Annelies Marie “Anne” Frank อ่านตามภาษาเยอรมันว่า อันเนอ ฟรังค์)
เด็กหญิงชาวเยอรมันเชื้อสายยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดเมื่อ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2472
ที่เมืองแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี


(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1503119470-1771.jpeg)

ในปี 2467 พรรคนาซีเยอรมันเริ่มมีอำนาจ เธอและครอบครัวจึงย้ายไปยังเมืองอัมส์เตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
ในปี 2485 กองทัพนาซีเยอรมันเข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์ เธอและครอบครัวต้องหลบซ่อนในที่พักลับ ๆ
ภายหลังถูกจับตัวได้และถูกส่งไปยังค่ายกักกันแบรกเกิล-เบลเซน (Bergen-Belsen) ซึ่งคุมขังผู้หญิง
ชาวยิวไว้กว่า 8 พันคน ในช่วงเดือนมีนาคม 2488 ได้เกิดโรคไทฟอยระบาด เธอและแม่จึงเสียชีวิตที่นี่
ไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรจะเข้ามายึดค่ายแห่งนี้ได้

ในระหว่างที่หลบซ่อนในที่พักลับนั่นเอง เธอได้รับสมุดบันทึกสีขาว-แดงเป็นของขวัญวันเกิด 13 ปี และ
ต่อมาได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ หลายภาษา ตีพิมพ์มากกว่า 25 ล้านเล่ม ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์
ครั้งแรกในปี 2502 ในชื่อ The Diary of Anne Frank ประสบความสำเร็จทั้งรายได้และเสียงวิพากษ์วิจารณ์
นับเป็นบทบันทึกความรู้สึกและความทุกข์ยากในค่ายกักกันของเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง ที่สร้างความสะเทือนใจ
ให้กับคนทั่วโลก

เรื่องราวที่นำมาฝากในวันนี้นั้น คือสิ่งที่ไม่เคยปรากฏในการตีพิมพ์ไดอารี่ของเธอเลย!!! เพราะเมื่อไม่นานมานี้
มีงานวิจัยจากสถาบันวิจัย Oxford Centre for Hebrew and Jewish Studies ที่ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับ
บันทึกลับของแอนน์ แฟรงก์ว่า ยังมีอีก 7 เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับแอนน์ แฟรงก์
 

บันทึกที่โด่งดังตลอดกาล

(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1503119470-1921.jpeg)

จริงๆ แล้วบันทึกก้องโลกเล่มนี้นั้นเขียนด้วยภาษาดัชต์ เพราะแอนน์ แฟรงก์เป็นชาวเนเธอร์แลนด์
และบันทึกนี้ก็ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ประเทศบ้านเกิดของเธอในปี1974 ภายใต้ชื่อว่า


“Het Achterhuis: Dagboekbrieven 12 Juni 1942–1 Augustus 1944
(The Secret Annexe: Diary-Letters 12 June 1942–1 August 1944)”


หรือภาษาไทยก็คือ... ความลับของแอนน์ : บันทึกวันที่ 12 มิถุนายน 1942 - 1 สิงหาคม 1944
บันทึกนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกเพียงแค่ 1,500 ฉบับ แต่แล้วอยู่ๆ ก็ดันบูมขึ้นมาจนกลายเป็นคลื่นลูกใหม่ในสมัยนั้น
บันทึกของเธอได้รับการแปลมากกว่า 60 ภาษาทั่วโลก ตั้งแต่ภาษาแอลเบเนียจนถึงภาษาเวลส์
แถมในปี ค.ศ. 2009 บันทึกลับของแอนน์แฟรงก์นี้ยังได้ขึ้นทะเบียนเป็นหนึ่งในความทรงจำแห่งโลก
(Memory of the World) ด้วย
 




บ้านของแอนน์ แฟรงก์ในอัมสเตอร์ดัม

(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1503119470-1456.jpeg)

แน่นอนว่าที่ซ่อนตัวของแอนน์ แฟรงก์ในเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์นั้นได้กลายเป็นหนึ่งใน
สถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตที่ไม่ควรพลาด แล้วแถมตัวแอนน์ แฟรงก์เนี่ยยังมีเฟสบุ๊ค แฟนเพจด้วยนะ!!

แต่ไม่ใช่แฟนเพจแบบเป็นทางการ และที่สำคัญก็คือเด็กๆ ทั่วโลกต่างพากันส่งจดหมายมาให้แอนน์ แฟรงก์
ที่บ้านหลังนี้อย่างต่อเนื่อง ราวกับว่าแอนน์คือเพื่อนของพวกเขา

เพราะสำหรับพวกเขา... แอนน์ยังคงเป็นเด็กชั่วนิจนิรันดร์

 
แอนน์ แฟรงก์และครอบครัว
 
(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1503119470-4198.jpeg)

แอนน์ แฟรงก์เกิดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1929 ในเมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี ซึ่งทุกๆ วันนี้
ก็จะมีการจัดกิจกรรมมอบโล่อนุสรณ์ที่บ้านของเธอค่ะ อย่างที่เรารู้กันดีว่าแอนน์ แฟรงก์เกิดในครอบครัวชาวยิว
เธอมีพี่สาวที่อายุมากกว่าเธอ 3 ปีชื่อ มาร์ก็อต เบ็ตตี้ แฟรงก์ เพื่อนในโรงเรียนของมาร์ก็อตบอกว่าจริงๆ
แล้วมาร์ก็อตเป็นคนขยันขันแข็งมากกว่าแอนน์ แฟรงก์ 

หลังจากที่ฮิตเลอร์เริ่มกวาดล้างชาวยิวในปีค.ศ. 1933 ครอบครัวแฟรงก์ได้หนีไปยังเมืองอัมสเตอร์ดัม
และนี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของบันทึกลับชื่อก้องโลก... แอนน์ เเฟรงก์ แต่คุณอาจยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว มาร์ก็อตเอง
ก็เขียนไดอารี่เช่นกัน แต่น่าเสียดายนะคะที่ไม่มีใครพบบันทึกของพี่สาวเธอเลย

สำหรับสมุดไดอารี่ที่แอนน์เลือกใช้นั้นเป็นสมุดสีแดง-ขาว ลายตารางหมากรุก อันเป็นของขวัญวันคล้ายวันเกิด
ที่เธอได้รับตอนอายุครบ 13 ปี ซึ่งเป็นของขวัญชิ้นสุดท้ายที่เธอได้รับก่อนจะถูกไล่ล่าและหนีตาย และในวันคล้าย
วันเกิดปีที่ 13 ของแอนน์ แฟรงก์ แม่ของเธอก็ทำคุกกี้เพื่อให้เธอนำไปฝากเพื่อนๆ ที่โรงเรียน และในตอนกลางคืน
ก็มีปาร์ตี้เล็กๆ ที่เต็มไปด้วยพายสตอเบอร์รี่และดอกไม้

แต่น่าเสียดาย... ที่วันนั้นเป็นวันสุดท้ายที่ได้ฉลองวันเกิดอย่างมีความสุขของเธอ




ซ่อนตัว (Hidden)

(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1503119470-3359.jpeg)

วันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 ครอบครัวแฟรงก์อันประกอบด้วยพ่อแม่ พี่สาวและตัวของเธอได้หลบหนีการจับกุมชาวยิว
ไปซ่อนตัวที่เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์โดยทิ้งแมวสุดที่รักของเธอเอาไว้ที่เยอรมนี ซึ่งในการหนีครั้งนี้นั้น
ไปพร้อมกับเพื่อนชาวยิวอีก 4 คน หนึ่งในนั้นมีปีเตอร์ เด็กหนุ่มที่เธอแอบรัก

แอนน์ แฟรงก์หลบซ่อนตัวอยู่ใน “ห้องลับ” นานถึง 2 ปีกับอีก 35 วัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ฟังดูหดหู่มาก เพราะการอยู่
ในห้องลับก็เปรียบเสมือนกับการอยู่ในคุกดีๆ นันเอง แอนน์ไม่เคยเห็นทั้งเดือนทั้งตะวัน ไม่เห็นท้องฟ้า ไม่ได้สัมผัสกับ
พื้นหญ้าหรือสัมผัสกับน้ำฝนเลยแม้แต่น้อย

(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1503119470-4676.jpeg)

เธอใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ยุโรปและอ่านงานวรรณกรรม แต่ถึงอย่างนั้น เราอย่าลืมว่า
แอนน์ แฟรงก์เป็นเด็กผู้หญิง เธอก็เลยไม่ลืมที่จะหัดม้วนผมและทาเล็บด้วยค่ะ ซึ่งเธอยังได้เขียนเอาไว้ในบันทึก
ของวันพุธที่ 7 ตุลาคม 1942 อีกว่า ถ้าหากเธอได้รับอิสระ เธอจะไปซื้อ

“ลิปสติก, ดินสอเขียนคิ้ว, เกลือขัดผิว, ผงอาบน้ำ, โคโลญ, สบู่ และแป้งพัฟ”

 



บ้านที่แอนน์ แฟรงก์และครอบครัวซ่อนตัว

(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1503119470-1552.jpeg)

ขณะที่หลบซ่อนตัว แอนน์ แฟรงก์ยังคงมีความหวังอยู่เสมอว่าตัวเองจะได้กลับไปเรียน ไปเจอเพื่อนๆ แล้วเธอ
ก็จะแต่งตัวสวยๆ ไปเที่ยวปารีสกับลอนดอน เธอต้องการศึกษาประวัติศาสตร์ของศิลปะ ต้องการพูดได้หลายภาษา
และต้องการทำกิจกรรมที่น่าตื่นเต้นเช่นปีนเขา และท้ายสุดแล้ว เธอก็อยากเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์และนักเขียน

แต่น่าเสียดายที่ความฝันของเธอก็เป็นเพียงแค่ความฝัน เพราะแอนน์ แฟรงก์ถูกจับตัวเข้าไปค่ายกักกันเสียก่อน...
กลับมาคิดดูอีกที ถ้าทหารนาซีตามหาครอบครัวเธอไม่เจอ ป่านนี้เธอก็คงทำความฝันของเธอสำเร็จแล้วว่าไหม?

 


เขียนใหม่อีกครั้ง (A Rewrite)

(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1503119470-8193.jpeg)

วันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1944 แอนน์ แฟรงก์และครอบครัวได้ฟังรายการหนึ่งทางวิทยุคลื่น BBC ชื่อรายการ Oranje
จัดโดยรัฐบาลดัชต์พลัดถิ่น ซึ่งนายเกอริตต์ โบลค์สไตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาธิการ, วัฒนธรรม,
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเนเธอร์แลนด์ที่ถูกเนรเทศไปยังลอนดอน

ประเทศอังกฤษนั้นได้กล่าวไว้ในรายการนี้ว่า หลังจากสงครามจบ เขาต้องการรวบรวมรายชื่อชาวดัชต์ที่ตกอยู่
ใต้อำนาจของเยอรมันเพื่อถามถึงประสบการณ์ และทันทีที่แอนน์ แฟรงก์ได้ยินอย่างนั้น เธอก็รีบรีไรท์ไดอารี่
ที่เขียนถึงอนาคตที่วาดฝันไว้ซะใหม่ และเก็บอันเก่าเอาไว้ในที่ที่ปลอดภัย

 



ความล้มเหลวของการปลดปล่อย (The Failure of Liberation)

การถ่ายทอดสดรายการ Oranje ผ่านทางวิทยุนั้นทำให้นายอ็อตโต แฟรงก์ พ่อของแอนน์ แฟรงก์ใจชื้นขึ้นมาหน่อย
เพราะว่าเขาสามารถติดตามความคืบหน้าของกองกำลังสัมพันธมิตรได้ง่ายขึ้น ซึ่งกองกำลังสัมพันธมิตรนั้นประกอบไปด้วย
ทหารจากหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศสเสรี และโปแลนด์ และกองกำลังสัมพันธมิตรเอง
นี่แหละที่เป็นคู่ขัดแย้งของกองทัพอักษะจากเยอรมนีที่กำลังกวาดล้างชาวยิว

นอกจากนี้เพื่อเป็นการเพิ่มความลุ้น พ่อของแอนน์ แฟรงก์ยังได้มีแผนที่ของอ่าวนอร์ม็องดี อันเป็นเส้นทางที่ทหาร
จากกองกำลังสัมพันธมิตรเข้ามาเพื่อต่อสู้กับกองทัพอักษะอีกด้วย ซึ่งแผนที่นั้นถูกแขวนอยู่บนฝาผนังของที่ซ่อน
พร้อมกับปักหมุดสีแดงไว้ตามจุดต่างๆ ด้วย

ในวันที่ 6 มิถุนายน แอนน์ แฟรงก์ได้เขียนข้อความลงในสมุดบันทึกของเธออย่างตื่นเต้นว่า
"หรือนี่จะเป็นจุดเริ่มต้นที่แท้จริงของการปลดปล่อยที่เธอรอคอยมาอย่างยาวนาน?"

แต่น่าสงสารเหลือเกินที่ข้อความที่ว่านั้นไม่เป็นจริง... เพราะ 2 เดือนหลังจากที่กองกำลังสัมพันธมิตร
บุกเขามายังอ่าวนอร์ม็องดี ตำรวจก็พบที่ซ่อนของตระกูลแฟรงก์แล้ว...



จับกุม (Capture)

(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1503119470-1226.png)

สามวันสุดท้ายของการเขียนไดอารี่ของแอนน์ตรงกับวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1944 พวกนาซีได้จับตัวเธอ
พร้อมครอบครัวและคนอื่นๆ ที่หลบซ่อนตัวอยู่ ซึ่งที่จริงแล้วที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่ามีใครบางคนที่รู้ว่า
"ยังมีกลุ่มชาวยิวที่ซ่อนตัวอยู่ตรงนี้นะ" เเจ้งข่าวไปบอกเจ้าหน้าที่เยอรมันนั่นเอง


แอนน์ถูกส่งตัวไปยังค่ายในแว็สเตอร์บอร์ก (Westerbork) เพื่อรอการส่งตัวไปยังค่ายกักกันเอาท์วิชซ์ (Auschwitz)
ต่อไป โดยชาวยิวที่ถูกส่งมาอยู่ที่แว็สเตอร์บอร์กนั้นจะเป็นพวกที่โดนจับได้ขณะหลบนี้ ซ้ำร้ายยังถูกกล่าวโทษว่า
เป็นอาชญากรอีกด้วย ที่ค่ายกักกันเอาท์วิชซ์นั้นมีชาวยิวประมาณ 1.1 ล้านคน หรือคิดเป็นประมาณ 90%
มีทั้งหมดเลยไม่ว่าจะเป็นทั้งเด็ก คนแก่ ผู้ชายหรือผู้หญิง โดยส่วนมากนักโทษชาวยิวก็มักจะตายกันที่นี่

แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ แอนน์ แฟรงก์และมาร์ก็อตนั้นรอดชีวิตจากค่ายนี้!!

(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1503119470-4253.jpeg)

แต่ไม่รู้จะเรียกว่าเป็นโชคดีได้หรือเปล่า เพราะไม่นานนักพวกเธอก็ได้ถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกันเเบร์เกน-เบลเซิน
(Bergen-Belsen) ก่อนจะเสียชีวิตลงที่นั่นเพราะโรคไข้รากสากใหญ่ที่ระบาดในค่ายกักกัน และหลังจากนั้นไม่นานนัก
กองทัพทหารอังกฤษก็บุกเข้ามาปลดปล่อยชาวยิวที่เหลือรอด ก่อนจะเผาค่ายกักกันแห่งนี้เพื่อเป็นการยับยั้งโรคระบาด
ในวันที่ 14 เมษายน ค.ศ.1945 ซึ่งตอนที่เสียชีวิตนั้น มาร์ก็อตมีอายุ 19 ปี และแอนน์มีอายุเพียงแค่ 15 ปี...
นับว่าเป็นการจบปิดตำนานบันทึกของแอนน์ แฟรงก์


(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1503119470-3133.jpeg)

มีการเปิดเผยผลวิจัยเอกสารทางประวัติศาสตร์ชิ้นใหม่ซึ่งชี้ว่า ที่หลบซ่อนของ "แอนน์ แฟรงค์" เด็กสาวชาวยิว
ผู้เขียนบันทึกสมัยสงครามที่โด่งดังไปทั่วโลก ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 263 ถนนปรินเซนกรัคต์ในกรุงอัมสเตอร์ดัม
ไม่ได้ถูกเปิดเผยกับตำรวจเอสดีของนาซีด้วยฝีมือคนใกล้ชิด แต่ที่ซ่อนดังกล่าวน่าจะถูกพบเข้าโดยบังเอิญ
ระหว่างมีการสืบสวนกรณีฉ้อโกงคูปองปันส่วนอาหาร

งานวิจัยซึ่งจัดทำโดยพิพิธภัณฑ์บ้านแอนน์ แฟรงค์ในเนเธอร์แลนด์ระบุว่า ข้อมูลเก่าที่ชี้ว่ามีผู้ไม่เปิดเผยชื่อ
ได้โทรศัพท์แจ้งถึงที่ซ่อนลับของชาวยิว 8 คน รวมทั้งตัวแอนน์ แฟรงค์และครอบครัวแก่ตำรวจ จนทั้งหมด
ถูกนำตัวไปยังค่ายกักกันและเสียชีวิตลงในที่สุดนั้น ไม่น่าจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง โดยผลการศึกษารายละเอียด
ในบันทึกฉบับเต็มของแอนน์ แฟรงก์ รวมทั้งเอกสารของตำรวจและเอกสารทางกฎหมายอื่น ๆ ชี้ว่า

การฉ้อโกงคูปองปันส่วนอาหารและการลักลอบทำงานที่บ้านเลขที่ดังกล่าว น่าจะทำให้ตำรวจที่กำลังสืบสวนคดีมาพบ
ที่ซ่อนเข้าโดยบังเอิญมากกว่า

(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1503119470-5246.jpeg)
มีผู้ไปวางดอกไม้และภาพถ่ายเพื่อไว้อาลัยแก่แอนน์ แฟรงค์ ที่ป้ายหลุมศพของเธอและพี่สาวที่ค่ายกักกันเบอร์เกน-เบล
บันทึกของแอนน์ แฟรงก์ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 1944 เป็นต้นมา ได้เขียนถึงชายสองคนที่ใช้ชื่อย่อว่า บี และ ดี
โดยทั้งสองเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าให้กับบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 263 ถนนปรินเซนกรัคต์
ซึ่งแอนน์ แฟรงก์ซ่อนตัวอยู่ โดยในวันที่ 14 มีนาคม 1944 แอนน์ แฟรงค์ ระบุในบันทึกว่า บี และ ดี ถูกตำรวจจับกุม
ครอบครัวของเธอและผู้ร่วมหลบซ่อนจึงไม่มีคูปองปันส่วนอาหารเหลืออยู่ ซึ่งข้อความนี้แสดงว่าพวกเขา
ได้คูปองอาหารจากชายสองคนนี้อย่างลับ ๆ มาโดยตลอด

เอกสารของตำรวจนาซียังระบุว่า ตำรวจที่จับกุมชาวยิวทั้ง 8 คน รวมทั้งแอนน์ แฟรงค์ จากที่ซ่อนลับนั้น
ไม่ได้เป็นผู้มีหน้าที่ตามจับชาวยิวที่หลบหนีหรือหลบซ่อนโดยตรง แต่มีหน้าที่สืบสวนคดีทางเศรษฐกิจมากกว่า
โดยได้เข้าค้นบ้านที่เป็นแหล่งหลบซ่อนตัวเป็นเวลานานถึงสองชั่วโมง ก่อนจะมีการจับกุมเกิดขึ้น ซึ่งแสดงว่า
ตำรวจนาซีไม่ทราบถึงแหล่งซ่อนตัวดังกล่าวมาก่อน



ขอขอบคุณ
www.annefrank.org
BBC History Magazine
Das Tagebuch der Anne Frank
หัวข้อ: Re: แอนน์ แฟรงก์ : เด็กสาวชาวยิวผู้เป็นเหยื่อสงคราม
เริ่มหัวข้อโดย: น้ำขิง ที่ 24 สิงหาคม 2017, 22:09:42
อยากอ่านค่ะ