-->

ผู้เขียน หัวข้อ: แอนน์ แฟรงก์ : เด็กสาวชาวยิวผู้เป็นเหยื่อสงคราม  (อ่าน 661 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

  • Administrator
  • เทพเจ้าราตรี
  • *
  • กระทู้: 18150
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +9/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • cmxseed

แอนน์ แฟรงก์ : เด็กสาวชาวยิวผู้เป็นเหยื่อสงคราม
cr. พี่น้ำผึ้ง@dek-d /sarakadee.com/bbc.com

แอนน์ แฟรงค์ (Annelies Marie “Anne” Frank อ่านตามภาษาเยอรมันว่า อันเนอ ฟรังค์)
เด็กหญิงชาวเยอรมันเชื้อสายยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดเมื่อ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2472
ที่เมืองแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี




ในปี 2467 พรรคนาซีเยอรมันเริ่มมีอำนาจ เธอและครอบครัวจึงย้ายไปยังเมืองอัมส์เตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
ในปี 2485 กองทัพนาซีเยอรมันเข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์ เธอและครอบครัวต้องหลบซ่อนในที่พักลับ ๆ
ภายหลังถูกจับตัวได้และถูกส่งไปยังค่ายกักกันแบรกเกิล-เบลเซน (Bergen-Belsen) ซึ่งคุมขังผู้หญิง
ชาวยิวไว้กว่า 8 พันคน ในช่วงเดือนมีนาคม 2488 ได้เกิดโรคไทฟอยระบาด เธอและแม่จึงเสียชีวิตที่นี่
ไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรจะเข้ามายึดค่ายแห่งนี้ได้


ในระหว่างที่หลบซ่อนในที่พักลับนั่นเอง เธอได้รับสมุดบันทึกสีขาว-แดงเป็นของขวัญวันเกิด 13 ปี และ
ต่อมาได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ หลายภาษา ตีพิมพ์มากกว่า 25 ล้านเล่ม ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์
ครั้งแรกในปี 2502 ในชื่อ The Diary of Anne Frank ประสบความสำเร็จทั้งรายได้และเสียงวิพากษ์วิจารณ์
นับเป็นบทบันทึกความรู้สึกและความทุกข์ยากในค่ายกักกันของเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง ที่สร้างความสะเทือนใจ
ให้กับคนทั่วโลก

เรื่องราวที่นำมาฝากในวันนี้นั้น คือสิ่งที่ไม่เคยปรากฏในการตีพิมพ์ไดอารี่ของเธอเลย!!! เพราะเมื่อไม่นานมานี้
มีงานวิจัยจากสถาบันวิจัย Oxford Centre for Hebrew and Jewish Studies ที่ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับ
บันทึกลับของแอนน์ แฟรงก์ว่า ยังมีอีก 7 เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับแอนน์ แฟรงก์

 

บันทึกที่โด่งดังตลอดกาล



จริงๆ แล้วบันทึกก้องโลกเล่มนี้นั้นเขียนด้วยภาษาดัชต์ เพราะแอนน์ แฟรงก์เป็นชาวเนเธอร์แลนด์
และบันทึกนี้ก็ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ประเทศบ้านเกิดของเธอในปี1974 ภายใต้ชื่อว่า


“Het Achterhuis: Dagboekbrieven 12 Juni 1942–1 Augustus 1944
(The Secret Annexe: Diary-Letters 12 June 1942–1 August 1944)”


หรือภาษาไทยก็คือ... ความลับของแอนน์ : บันทึกวันที่ 12 มิถุนายน 1942 - 1 สิงหาคม 1944
บันทึกนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกเพียงแค่ 1,500 ฉบับ แต่แล้วอยู่ๆ ก็ดันบูมขึ้นมาจนกลายเป็นคลื่นลูกใหม่ในสมัยนั้น
บันทึกของเธอได้รับการแปลมากกว่า 60 ภาษาทั่วโลก ตั้งแต่ภาษาแอลเบเนียจนถึงภาษาเวลส์
แถมในปี ค.ศ. 2009 บันทึกลับของแอนน์แฟรงก์นี้ยังได้ขึ้นทะเบียนเป็นหนึ่งในความทรงจำแห่งโลก
(Memory of the World) ด้วย

 




บ้านของแอนน์ แฟรงก์ในอัมสเตอร์ดัม



แน่นอนว่าที่ซ่อนตัวของแอนน์ แฟรงก์ในเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์นั้นได้กลายเป็นหนึ่งใน
สถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตที่ไม่ควรพลาด แล้วแถมตัวแอนน์ แฟรงก์เนี่ยยังมีเฟสบุ๊ค แฟนเพจด้วยนะ!!

แต่ไม่ใช่แฟนเพจแบบเป็นทางการ และที่สำคัญก็คือเด็กๆ ทั่วโลกต่างพากันส่งจดหมายมาให้แอนน์ แฟรงก์
ที่บ้านหลังนี้อย่างต่อเนื่อง ราวกับว่าแอนน์คือเพื่อนของพวกเขา

เพราะสำหรับพวกเขา... แอนน์ยังคงเป็นเด็กชั่วนิจนิรันดร์

 
แอนน์ แฟรงก์และครอบครัว
 


แอนน์ แฟรงก์เกิดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1929 ในเมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี ซึ่งทุกๆ วันนี้
ก็จะมีการจัดกิจกรรมมอบโล่อนุสรณ์ที่บ้านของเธอค่ะ อย่างที่เรารู้กันดีว่าแอนน์ แฟรงก์เกิดในครอบครัวชาวยิว
เธอมีพี่สาวที่อายุมากกว่าเธอ 3 ปีชื่อ มาร์ก็อต เบ็ตตี้ แฟรงก์ เพื่อนในโรงเรียนของมาร์ก็อตบอกว่าจริงๆ
แล้วมาร์ก็อตเป็นคนขยันขันแข็งมากกว่าแอนน์ แฟรงก์ 

หลังจากที่ฮิตเลอร์เริ่มกวาดล้างชาวยิวในปีค.ศ. 1933 ครอบครัวแฟรงก์ได้หนีไปยังเมืองอัมสเตอร์ดัม
และนี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของบันทึกลับชื่อก้องโลก... แอนน์ เเฟรงก์ แต่คุณอาจยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว มาร์ก็อตเอง
ก็เขียนไดอารี่เช่นกัน แต่น่าเสียดายนะคะที่ไม่มีใครพบบันทึกของพี่สาวเธอเลย


สำหรับสมุดไดอารี่ที่แอนน์เลือกใช้นั้นเป็นสมุดสีแดง-ขาว ลายตารางหมากรุก อันเป็นของขวัญวันคล้ายวันเกิด
ที่เธอได้รับตอนอายุครบ 13 ปี ซึ่งเป็นของขวัญชิ้นสุดท้ายที่เธอได้รับก่อนจะถูกไล่ล่าและหนีตาย และในวันคล้าย
วันเกิดปีที่ 13 ของแอนน์ แฟรงก์ แม่ของเธอก็ทำคุกกี้เพื่อให้เธอนำไปฝากเพื่อนๆ ที่โรงเรียน และในตอนกลางคืน
ก็มีปาร์ตี้เล็กๆ ที่เต็มไปด้วยพายสตอเบอร์รี่และดอกไม้

แต่น่าเสียดาย... ที่วันนั้นเป็นวันสุดท้ายที่ได้ฉลองวันเกิดอย่างมีความสุขของเธอ




ซ่อนตัว (Hidden)



วันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 ครอบครัวแฟรงก์อันประกอบด้วยพ่อแม่ พี่สาวและตัวของเธอได้หลบหนีการจับกุมชาวยิว
ไปซ่อนตัวที่เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์โดยทิ้งแมวสุดที่รักของเธอเอาไว้ที่เยอรมนี ซึ่งในการหนีครั้งนี้นั้น
ไปพร้อมกับเพื่อนชาวยิวอีก 4 คน หนึ่งในนั้นมีปีเตอร์ เด็กหนุ่มที่เธอแอบรัก


แอนน์ แฟรงก์หลบซ่อนตัวอยู่ใน “ห้องลับ” นานถึง 2 ปีกับอีก 35 วัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ฟังดูหดหู่มาก เพราะการอยู่
ในห้องลับก็เปรียบเสมือนกับการอยู่ในคุกดีๆ นันเอง แอนน์ไม่เคยเห็นทั้งเดือนทั้งตะวัน ไม่เห็นท้องฟ้า ไม่ได้สัมผัสกับ
พื้นหญ้าหรือสัมผัสกับน้ำฝนเลยแม้แต่น้อย



เธอใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ยุโรปและอ่านงานวรรณกรรม แต่ถึงอย่างนั้น เราอย่าลืมว่า
แอนน์ แฟรงก์เป็นเด็กผู้หญิง เธอก็เลยไม่ลืมที่จะหัดม้วนผมและทาเล็บด้วยค่ะ ซึ่งเธอยังได้เขียนเอาไว้ในบันทึก
ของวันพุธที่ 7 ตุลาคม 1942 อีกว่า ถ้าหากเธอได้รับอิสระ เธอจะไปซื้อ

“ลิปสติก, ดินสอเขียนคิ้ว, เกลือขัดผิว, ผงอาบน้ำ, โคโลญ, สบู่ และแป้งพัฟ”

 



บ้านที่แอนน์ แฟรงก์และครอบครัวซ่อนตัว



ขณะที่หลบซ่อนตัว แอนน์ แฟรงก์ยังคงมีความหวังอยู่เสมอว่าตัวเองจะได้กลับไปเรียน ไปเจอเพื่อนๆ แล้วเธอ
ก็จะแต่งตัวสวยๆ ไปเที่ยวปารีสกับลอนดอน เธอต้องการศึกษาประวัติศาสตร์ของศิลปะ ต้องการพูดได้หลายภาษา
และต้องการทำกิจกรรมที่น่าตื่นเต้นเช่นปีนเขา และท้ายสุดแล้ว เธอก็อยากเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์และนักเขียน

แต่น่าเสียดายที่ความฝันของเธอก็เป็นเพียงแค่ความฝัน เพราะแอนน์ แฟรงก์ถูกจับตัวเข้าไปค่ายกักกันเสียก่อน...
กลับมาคิดดูอีกที ถ้าทหารนาซีตามหาครอบครัวเธอไม่เจอ ป่านนี้เธอก็คงทำความฝันของเธอสำเร็จแล้วว่าไหม?

 


เขียนใหม่อีกครั้ง (A Rewrite)



วันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1944 แอนน์ แฟรงก์และครอบครัวได้ฟังรายการหนึ่งทางวิทยุคลื่น BBC ชื่อรายการ Oranje
จัดโดยรัฐบาลดัชต์พลัดถิ่น ซึ่งนายเกอริตต์ โบลค์สไตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาธิการ, วัฒนธรรม,
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเนเธอร์แลนด์ที่ถูกเนรเทศไปยังลอนดอน


ประเทศอังกฤษนั้นได้กล่าวไว้ในรายการนี้ว่า หลังจากสงครามจบ เขาต้องการรวบรวมรายชื่อชาวดัชต์ที่ตกอยู่
ใต้อำนาจของเยอรมันเพื่อถามถึงประสบการณ์ และทันทีที่แอนน์ แฟรงก์ได้ยินอย่างนั้น เธอก็รีบรีไรท์ไดอารี่
ที่เขียนถึงอนาคตที่วาดฝันไว้ซะใหม่ และเก็บอันเก่าเอาไว้ในที่ที่ปลอดภัย

 



ความล้มเหลวของการปลดปล่อย (The Failure of Liberation)

การถ่ายทอดสดรายการ Oranje ผ่านทางวิทยุนั้นทำให้นายอ็อตโต แฟรงก์ พ่อของแอนน์ แฟรงก์ใจชื้นขึ้นมาหน่อย
เพราะว่าเขาสามารถติดตามความคืบหน้าของกองกำลังสัมพันธมิตรได้ง่ายขึ้น ซึ่งกองกำลังสัมพันธมิตรนั้นประกอบไปด้วย
ทหารจากหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศสเสรี และโปแลนด์ และกองกำลังสัมพันธมิตรเอง
นี่แหละที่เป็นคู่ขัดแย้งของกองทัพอักษะจากเยอรมนีที่กำลังกวาดล้างชาวยิว

นอกจากนี้เพื่อเป็นการเพิ่มความลุ้น พ่อของแอนน์ แฟรงก์ยังได้มีแผนที่ของอ่าวนอร์ม็องดี อันเป็นเส้นทางที่ทหาร
จากกองกำลังสัมพันธมิตรเข้ามาเพื่อต่อสู้กับกองทัพอักษะอีกด้วย ซึ่งแผนที่นั้นถูกแขวนอยู่บนฝาผนังของที่ซ่อน
พร้อมกับปักหมุดสีแดงไว้ตามจุดต่างๆ ด้วย

ในวันที่ 6 มิถุนายน แอนน์ แฟรงก์ได้เขียนข้อความลงในสมุดบันทึกของเธออย่างตื่นเต้นว่า
"หรือนี่จะเป็นจุดเริ่มต้นที่แท้จริงของการปลดปล่อยที่เธอรอคอยมาอย่างยาวนาน?"

แต่น่าสงสารเหลือเกินที่ข้อความที่ว่านั้นไม่เป็นจริง... เพราะ 2 เดือนหลังจากที่กองกำลังสัมพันธมิตร
บุกเขามายังอ่าวนอร์ม็องดี ตำรวจก็พบที่ซ่อนของตระกูลแฟรงก์แล้ว...




จับกุม (Capture)



สามวันสุดท้ายของการเขียนไดอารี่ของแอนน์ตรงกับวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1944 พวกนาซีได้จับตัวเธอ
พร้อมครอบครัวและคนอื่นๆ ที่หลบซ่อนตัวอยู่ ซึ่งที่จริงแล้วที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่ามีใครบางคนที่รู้ว่า
"ยังมีกลุ่มชาวยิวที่ซ่อนตัวอยู่ตรงนี้นะ" เเจ้งข่าวไปบอกเจ้าหน้าที่เยอรมันนั่นเอง


แอนน์ถูกส่งตัวไปยังค่ายในแว็สเตอร์บอร์ก (Westerbork) เพื่อรอการส่งตัวไปยังค่ายกักกันเอาท์วิชซ์ (Auschwitz)
ต่อไป โดยชาวยิวที่ถูกส่งมาอยู่ที่แว็สเตอร์บอร์กนั้นจะเป็นพวกที่โดนจับได้ขณะหลบนี้ ซ้ำร้ายยังถูกกล่าวโทษว่า
เป็นอาชญากรอีกด้วย ที่ค่ายกักกันเอาท์วิชซ์นั้นมีชาวยิวประมาณ 1.1 ล้านคน หรือคิดเป็นประมาณ 90%
มีทั้งหมดเลยไม่ว่าจะเป็นทั้งเด็ก คนแก่ ผู้ชายหรือผู้หญิง โดยส่วนมากนักโทษชาวยิวก็มักจะตายกันที่นี่

แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ แอนน์ แฟรงก์และมาร์ก็อตนั้นรอดชีวิตจากค่ายนี้!!



แต่ไม่รู้จะเรียกว่าเป็นโชคดีได้หรือเปล่า เพราะไม่นานนักพวกเธอก็ได้ถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกันเเบร์เกน-เบลเซิน
(Bergen-Belsen) ก่อนจะเสียชีวิตลงที่นั่นเพราะโรคไข้รากสากใหญ่ที่ระบาดในค่ายกักกัน และหลังจากนั้นไม่นานนัก
กองทัพทหารอังกฤษก็บุกเข้ามาปลดปล่อยชาวยิวที่เหลือรอด ก่อนจะเผาค่ายกักกันแห่งนี้เพื่อเป็นการยับยั้งโรคระบาด
ในวันที่ 14 เมษายน ค.ศ.1945 ซึ่งตอนที่เสียชีวิตนั้น มาร์ก็อตมีอายุ 19 ปี และแอนน์มีอายุเพียงแค่ 15 ปี...
นับว่าเป็นการจบปิดตำนานบันทึกของแอนน์ แฟรงก์




มีการเปิดเผยผลวิจัยเอกสารทางประวัติศาสตร์ชิ้นใหม่ซึ่งชี้ว่า ที่หลบซ่อนของ "แอนน์ แฟรงค์" เด็กสาวชาวยิว
ผู้เขียนบันทึกสมัยสงครามที่โด่งดังไปทั่วโลก ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 263 ถนนปรินเซนกรัคต์ในกรุงอัมสเตอร์ดัม
ไม่ได้ถูกเปิดเผยกับตำรวจเอสดีของนาซีด้วยฝีมือคนใกล้ชิด แต่ที่ซ่อนดังกล่าวน่าจะถูกพบเข้าโดยบังเอิญ
ระหว่างมีการสืบสวนกรณีฉ้อโกงคูปองปันส่วนอาหาร

งานวิจัยซึ่งจัดทำโดยพิพิธภัณฑ์บ้านแอนน์ แฟรงค์ในเนเธอร์แลนด์ระบุว่า ข้อมูลเก่าที่ชี้ว่ามีผู้ไม่เปิดเผยชื่อ
ได้โทรศัพท์แจ้งถึงที่ซ่อนลับของชาวยิว 8 คน รวมทั้งตัวแอนน์ แฟรงค์และครอบครัวแก่ตำรวจ จนทั้งหมด
ถูกนำตัวไปยังค่ายกักกันและเสียชีวิตลงในที่สุดนั้น ไม่น่าจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง โดยผลการศึกษารายละเอียด
ในบันทึกฉบับเต็มของแอนน์ แฟรงก์ รวมทั้งเอกสารของตำรวจและเอกสารทางกฎหมายอื่น ๆ ชี้ว่า

การฉ้อโกงคูปองปันส่วนอาหารและการลักลอบทำงานที่บ้านเลขที่ดังกล่าว น่าจะทำให้ตำรวจที่กำลังสืบสวนคดีมาพบ
ที่ซ่อนเข้าโดยบังเอิญมากกว่า


มีผู้ไปวางดอกไม้และภาพถ่ายเพื่อไว้อาลัยแก่แอนน์ แฟรงค์ ที่ป้ายหลุมศพของเธอและพี่สาวที่ค่ายกักกันเบอร์เกน-เบล
บันทึกของแอนน์ แฟรงก์ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 1944 เป็นต้นมา ได้เขียนถึงชายสองคนที่ใช้ชื่อย่อว่า บี และ ดี
โดยทั้งสองเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าให้กับบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 263 ถนนปรินเซนกรัคต์
ซึ่งแอนน์ แฟรงก์ซ่อนตัวอยู่ โดยในวันที่ 14 มีนาคม 1944 แอนน์ แฟรงค์ ระบุในบันทึกว่า บี และ ดี ถูกตำรวจจับกุม
ครอบครัวของเธอและผู้ร่วมหลบซ่อนจึงไม่มีคูปองปันส่วนอาหารเหลืออยู่ ซึ่งข้อความนี้แสดงว่าพวกเขา
ได้คูปองอาหารจากชายสองคนนี้อย่างลับ ๆ มาโดยตลอด

เอกสารของตำรวจนาซียังระบุว่า ตำรวจที่จับกุมชาวยิวทั้ง 8 คน รวมทั้งแอนน์ แฟรงค์ จากที่ซ่อนลับนั้น
ไม่ได้เป็นผู้มีหน้าที่ตามจับชาวยิวที่หลบหนีหรือหลบซ่อนโดยตรง แต่มีหน้าที่สืบสวนคดีทางเศรษฐกิจมากกว่า
โดยได้เข้าค้นบ้านที่เป็นแหล่งหลบซ่อนตัวเป็นเวลานานถึงสองชั่วโมง ก่อนจะมีการจับกุมเกิดขึ้น ซึ่งแสดงว่า
ตำรวจนาซีไม่ทราบถึงแหล่งซ่อนตัวดังกล่าวมาก่อน



ขอขอบคุณ
www.annefrank.org
BBC History Magazine
Das Tagebuch der Anne Frank
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 สิงหาคม 2017, 12:16:27 โดย etatae333 »
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่

น้ำขิง

  • เด็กหัดเสียว
  • **
  • กระทู้: 462
  • Country: 00
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด

อยากอ่านค่ะ