cmxseed สังคมราตรี

หมวดหมู่ทั่วไป => ลี้ลับ ประวัติศาสตร์ ตำนานโลก => ข้อความที่เริ่มโดย: etatae333 ที่ 10 มกราคม 2019, 13:28:59

หัวข้อ: "ครุฑยุดนาค" ตำนานลึกลับที่ ครุฑทำไมต้องจับนาคกิน ?
เริ่มหัวข้อโดย: etatae333 ที่ 10 มกราคม 2019, 13:28:59
"ครุฑยุดนาค" ตำนานลึกลับที่ ครุฑทำไมต้องจับนาคกิน ?
cr. komkid.com

(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1547198542-5186.jpeg)

หากจะเล่าถึงเหตุที่ครุฑกับนาคไม่ถูกกันแล้ว คงจะต้องเล่าย้อนไปถึงรุ่นแม่ของพญาทั้งสองกันก่อน ครุฑ และ นาคนั้น
ร่วมบิดาเดียวกัน คือพระกัศยปะมุนีเทพบิดร แต่ต่างมารดา ครุฑเป็นลูกของนางวินตา (Vinta) ส่วนนาคเป็นลูก
ของนางกัทรุ (Kadru) ซึ่งนางทั้งสองเป็นพี่น้องกันแต่ไม่ค่อยจะลงรอยกันนัก

(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1547198542-4964.jpeg)

นางกัทรุได้ขอพรให้นางมีบุตรมากมาย ล้วนด้วยอิทธิฤทธิ์ นางจึงได้กำเนิดไข่ 1000 ฟอง และได้กลายเป็นพญานาค
ส่วนนางวินตานั้น ขอพรให้มีบุตรแค่สองคน แต่ขอให้มีอิทธิฤทธิ์มากกว่านางกัทรุทั้งหมด นางจึงได้คลอดไข่มาสองฟอง
นางเฝ้ารอไข่ของนางถึง 500 ปี ก็ไม่มีทีท่าจะฟักซักที นางจึงรอไม่ไหว จึงทุบไข่ออกมาฟองหนึ่ง


ปรากฏว่าเป็นเทพบุตรที่มีกายแค่ครึ่งท่อนบนชื่อ อรุณเทพบุตร

อรุณเทพบุตร โกรธมารดาของตน ที่ทำให้ตนออกจากไข่ก่อนกำหนด จึงสาปให้มารดาของตนเป็นทาส นางกัทรุ และให้บุตรคนที่สอง
ของนางเป็นผู้ช่วยนางให้พ้นจากความเป็นทาส จากนั้นจึงขึ้นไปเป็นสารถีให้กับพระอาทิตย์หรือสุริยเทพ นางวินตาจึงไม่กล้าทุบไข่
ฟองที่สองออกมาดู คงรอให้ถึงกำหนดที่บุตรคนที่สองซึ่งก็คือ พญาครุฑ นั้นเอง

(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1547198578-2901.jpeg)

หลังจากนั้นอีกห้าร้อยปี ไข่ใบที่สองก็แตกออกมาเป็นบุตรผู้มีกำลังมหาศาล ร่างกายขยายตัวออกใหญ่โตจนจรดฟ้า มีรัศมีทองสว่างไสว
กว่าพระอาทิตย์นับร้อยเท่า รัศมีที่พวยพุ่งออกจากกายมีลักษณะดั่งไฟไหม้ทั่วสี่ทิศ ดวงตาเมื่อกะพริบเหมือนฟ้าแล มีศีรษะจงอยปาก
และปีกเหมือนนกอินทรี เวลาขยับปีกทีใดขุนเขาก็จะตกใจหนีหายไปพร้อมพระพาย แต่ร่างกายและแขนขาเหมือนมนุษย์
มีนามว่า “เวนไตย” (แปลว่า เกิดจากนางวินตา)

ในกาลต่อมา นางกัทรุ และ นางวินตา ได้พนันกันถึงสีของม้าอุไฉศรพที่เกิดคราวกวนเกษียรสมุทร และเป็นสมบัติของพระอินทร์
โดยพนันว่าใครแพ้ต้องเป็นทาสอีกฝ่ายห้าร้อยปี นางวินตาทายว่า ม้าสีขาว ส่วนนางกัทรุทายว่า สีดำ ความจริงม้าเป็นสีขาวดังที่
นางวินตาทาย แต่นางกัทรุใช้อุบายให้นาคลูกของตนแปลงเป็นขนสีดำไปแซมอยู่เต็มตัวม้า (บางตำนานว่าให้นาคพ่นพิษใส่ม้าจนเป็นสีดำ)
นางวินตาไม่ทราบในอุบายเลยยอมแพ้ ต้องเป็นทาสของนางกัทรุถึงห้าร้อยปี


(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1547198733-1368.png)

ภายหลังเมื่อครุฑเติบโตขึ้น  ได้ทราบสาเหตุที่มารดาต้องตกเป็นทาสของกัทรุเพราะแพ้อุบาย จึงขอไถ่ตัวนางวินตาจากเหล่านาค
พวกนาคก็ยินยอม โดยมีข้อแม้ว่า พญาเวนไตยต้องไปเอาน้ำอมฤตที่พระอินทร์เก็บรักษาไว้บนสวรรค์มาให้พวกตน จึงจะให้นางวินตา
เป็นอิสระ

พญาเวนไตยตกลง โดยก่อนออกเดินทางได้ขอพรจากมารดา ซึ่งนางวินตาบอกว่า ระหว่างทางหากหิว ให้กินเฉพาะ
คนป่าเถื่อน (นิษาท) และห้ามทำอันตรายพวกพราหมณ์โดยเด็ดขาด พญาเวนไตยก็รับคำมารดา

ในระหว่างทางเมื่อเกิดความหิวก็จับพวกนิษาทกินเป็นอาหารแต่ก็ไม่อิ่ม จึงไปจับเต่า (วิภาวสุ) และช้าง (สุประตึกะ)
ซึ่งเดิมเป็นอสูรพี่น้อง แต่เกิดความโลภแย่งสมบัติกัน ต่างฝ่ายต่างสาปให้กลายเป็นเต่าและช้างที่มีขนาดใหญ่โตมาก
พญาเวนไตยเอาปากคาบสัตว์ทั้งคู่บินไปเกาะกิ่งไทรที่มีความยาวถึงหนึ่งร้อยโยชน์ แต่กิ่งไทรทานน้ำหนักไม่ไหว
หักลงมา พญาเวนไตยแลเห็นว่าบนกิ่งไทรมีพวกฤาษีแคระซึ่งเรียกว่า “พาลขิยะ” มีขนาดเท่านิ้วมือ จึงเอาเท้า
จับกิ่งไทรบินพาไปวางไว้ที่เขาเหมกูฏ

(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1547198757-5885.jpeg)

พวกฤๅษีเห็นว่าพญานกตนนี้มีจิตใจงดงาม จึงให้ชื่อว่า “ครุฑ” (Garuda ภาษาเดิมอ่านว่า คะ-รุ-ทะ) แปลว่า
ผู้รับภาระอันหนัก ทั้งยังให้พรว่า ไม่ว่าจะทำสิ่งใดให้สำเร็จตามประสงค์ และให้มีพละกำลังมหาศาล ไม่มีผู้ใดต้านทานได้

จากนั้น พญาครุฑก็บินไปยังสวรรค์ เพื่อนำน้ำอมฤตซึ่งอยู่กับพระจันทร์ออกมา แล้วคว้าพระจันทร์มาซ่อนไว้ใต้ปีก
แต่ถูกพระอินทร์และทวยเทพติดตามมา และเกิดต่อสู้กันขึ้น

พระวิษณุหรือพระนารายณ์เสด็จมาพบเข้าจึงจู่โจมเข้าหากัน แต่ฝ่ายเทวดานั้นไม่อาจเอาชนะได้ โดยเมื่อพระอินทร์
ใช้วัชระโจมตีครุฑนั้น ครุฑไม่ได้รับบาดเจ็บแม้แต่น้อย แต่ครุฑก็จำได้ว่าวัชระเป็นอาวุธที่พระอิศวรประทานให้แก่พระอินทร์
จึงสลัดขนของตนให้หล่นลงไปเส้นหนึ่ง เพื่อแสดงความเคารพต่อวัชระ และรักษาเกียรติของพระอินทร์ผู้ป็นหัวหน้า
ของเหล่าเทพ ในที่สุดทั้งสองจึงทำความตกลงยุติศึกต่อกัน

(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1547198776-719.jpeg)

พระนารายณ์ทรงจึงทรงให้พรตามที่พญาครุฑต้องการ พญาครุฑขอพรสองประการคือ ขอเป็นพาหนะให้พระวิษณุ
ในเวลาเสด็จไปยังที่ต่างๆ แต่ในยามปกติขออยู่เหนือพระวิษณุ และขอให้มีความเป็นอมตะแม้จะไม่ได้ดื่มน้ำอมฤตก็ตาม
พระวิษณุก็ทรงให้พรตามที่ขอ และยังทรงอนุญาตให้สามารถจับนาคกินเป็นอาหารได้ ยกเว้น “เศษะนาค” และ
“นาควาสุกรี” ซึ่งเป็นผู้เคารพในพระองค์

ด้วยเหตุดังกล่าว พญาครุฑจึงเป็นเทพพาหนะของพระวิษณุ ในยามที่เสด็จไปยังที่ต่างๆ ส่วนในยามปกติพญาครุฑ
จะอยู่บนเสาธงนำขบวนของพระวิษณุ เรียกว่า “ครุฑธวัช”

(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1547198820-8298.jpeg)

จากนั้น พญาครุฑก็นำหม้อน้ำอมฤตลงมา ทว่าพระอินทร์ได้ตามมาขอคืน พญาครุฑก็บอกว่าตนจำต้องรักษาสัตย์
ที่จะนำไปให้เหล่านาคเพื่อไถ่มารดาให้พ้นจากการเป็นทาส และให้พระอินทร์ตามไปเอาคืนเอง จากนั้นครุฑ
ได้เอาน้ำอมฤต ไปให้นาคโดยวางไว้บนหญ้าคา และได้ทำน้ำอมฤตหยดบนหญ้าคา 2-3 หยด

(ด้วยเหตุนี้ หญ้าคาจึงถือเป็นสิ่งมงคลในทางศาสนาพราหมณ์)

ส่วนนาคเมื่อเห็นน้ำอมฤตก็ยินดี จึงยอมปล่อยนางวินตาให้เป็นอิสระ

ขณะที่เหล่านาคพากันไปสรงน้ำชำระกายเพื่อเตรียมมาดื่มน้ำอมฤตนั่นเอง พระอินทร์ก็รีบมานำหม้อน้ำอมฤตกลับไป ทำให้พวกนาคไม่ได้กิน
พวกนาคจึงเลียที่ใบหญ้าคา ด้วยเชื่อว่าอาจมีหยดน้ำอมฤตหลงเหลืออยู่ ทำให้ใบหญ้าคาบาดกลางลิ้นเป็นทางยาว
(เรื่องนี้กลายเป็นที่มาว่าทำไมงูจึงมีลิ้นเป็นสองแฉกสืบมาจนทุกวันนี้)

(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1547198857-8329.jpeg)

แม้ว่าจะไถ่ตัวมารดากลับมาได้แล้ว แต่พญาครุฑยังแค้นใจที่พวกนาคใช้เล่ห์กล จนมารดาของตนต้องตกเป็นทาส ทำให้พญาครุฑ และ
เหล่าลูกหลานรุ่นต่อมา ตั้งตนเป็นศัตรูกับพวกนาค โดยเหล่าครุฑจะโฉบลงมายังมหาสมุทรและโฉบนาคไปฉีกท้องจิกกินมันเปลวและทิ้งร่าง
ไร้ชีวิตของนาคตกลงมหานที

ข้างฝ่ายพวกนาคนั้น แม้จะพยายามต่อสู้แต่ก็ไม่อาจสู้ไหวจึงพากันเลื้อยหนีไปหลบภัยยังสะดือทะเล แต่ก็ถูกครุฑใช้ปีกโบกสะบัดจนน้ำลดแห้ง
และจับนาคไปฉีกท้องกิน เหล่านาคจึงพยายามกลืนหินใหญ่ลงท้องเพื่อถ่วงตัวให้หนัก ครุฑตนใดไม่รู้อุบายเวลาโฉบลงจับนาคก็ถูกหินที่
นาคกลืนลงไปถ่วงน้ำหนักจนบินขึ้นไม่ไหว และ จมน้ำตายส่วนครุฑที่รู้อุบายนี้ก็จะจับนาคทางหางและเขย่าจนนาคต้องคายหินออกมา

ต่อมานางวินตา และนางกัทรุแข่งพนันทายสีม้าเทียมรถทรงของพระอาทิตย์ โดยมีข้อแม้ว่าหากผู้ใดแพ้ต้องยอมเป็นทาสของ

และนี่เองคือเรื่องราวความพยาบาทของพญาครุฑและพญานาค สองเผ่าพันธุ์สัตว์เทพเจ้าในตำนาน