-->

ผู้เขียน หัวข้อ: โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์-ในคอ  (อ่าน 791 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

แบดบอย

  • เด็กทะลึ่ง
  • ****
  • กระทู้: 72
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์-ในคอ
« เมื่อ: 22 ธันวาคม 2015, 12:33:55 »

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในคอ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน สาเหตุสำคัญคือการปฎิบัติเพศสัมพันธ์โดยใช้ปากสัมผัสอวัยวะเพศ ซึ่งนิยมกันในประเทศทางตะวันตกได้แพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศไทย ส่วนใหญ่ของปัญหานี้ จะเกิดจากการสัมผัสระหว่างช่องคอและอวัยวะเพศชาย จึงเป็นปัญหาที่พบบ่อย ในคน 2 กลุ่ม คือ
ก.ชายรักร่วมเพศ
ข.หญิงที่มีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปากสัมผัสอวัยวะเพศชายบ่อยๆ
สำหรับการติดต่อของโรคจากอวัยวะเพศหญิงไปสู่ช่องคอนั้นเกิดได้บ้าง แต่น้อยมาก สาเหตุของโรคทางเพศสัมพันธ์ในคอที่พบบ่อย ได้แก่
1. โรคหนองใน
2. โรคเริม
3. โรคหนองในเทียม
4. โรคอินเฟคเชียส โมโนนิวคลีโอสิส(Infectiousmononucleosis)
5. โรคติดเชื้อราแคนดิดา
โรคหนองในในคอ
โรคหนองในในคอ เป็นปัญหาสำคัญของชายรักร่วมเพศและหญิงโสเภณี ระยะฟักตัวของโรคตั้งแต่ได้รับเชื้อจนมีอาการนั้นไม่แน่นอน เนื่องจากอาการแสดงมีความแตกต่างกันได้มาก ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยจะมีเชื้อมานานโดยไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย ระคาย หรือเจ็บคอแต่เพียงเล็กน้อย มีน้อยรายที่จะพบอาการอักเสบและเจ็บคอมาก ถ้ามีอาการมากอาจคลำได้ต่อมน้ำเหลืองโตที่คอ ในบางรายอาจมีไข้ขึ้น
ตำแหน่งที่เป็นได้บ่อยที่สุดคือ ต่อมทอนซิลและคอหอย เนื่องจาก ส่วนมากของผู้ป่วยจะไม่มีอาการอยู่ได้นาน ๆ จึงสามารถแพร่โรคให้ผู้ที่ตนมี เพศสัมพันธ์ทางปากได้ และในหลายรายเชื้อที่คอจะแพร่ไปตามกระแสเลือด ทำให้เกิดโรคหนองในชนิดแพร่กระจาย มีไข้ขึ้น ปวดข้อ และผื่นตามผิวหนัง การวินิจฉัย
เนื่องจากการวินิจฉัยหนองในในคอโดยอาศัยอาการ หรือการตรวจดูเพียงอย่างเดียวนั้นมีความผิดพลาดสูง การตรวจเชื้อโดยวิธีการทาง ห้องปฏิบัติการจึงมีความสำคัญมาก การตรวจเชื้อทำได้ 2 วิธีคือ
1 . การย้อมเชื้อ การย้อมเชื้อจากต่อมทอนซิลและคอหอยนั้นจะแปรผล ยากมาก แม้จะมีความชำนาญในการตรวจมาก ก็ยังมีความแม่นยำน้อยกว่า 50% ทั้งนี้เพราะอาจมีเชื้อน้อยจนตรวจไม่พบ และในช่องคอจะมีเชื้อแบคทีเรียตามธรรมชาติอยู่มาก และบางชนิดรูปร่างจะเหมือนกับเชื้อหนองในจนแยกไม่ออก
2. การเพาะเชื้อ การเพาะเชื้อสำหรับหนองในจากคอหอยและทอนซิล เป็นวิธีที่แม่นยำที่สุดในการวินิจฉัยการติดเชื้อบริเวณนี้ การเพาะเชื้อหนองใน ต้องอาศัยวุ้นเลี้ยงเชื้อชนิดพิเศษ ซึ่งจะมียาปฏิชีวนะบางอย่างซึ่งจะทำลายเชื้อ ปนเปื้อนจากช่องคอชนิดอื่น ๆ ทำให้เชื้อหนองในเจริญขึ้นมาได้ ในปัจจุบัน การเพาะเชื้อด้วยวิธีการดังกล่าวมีบริการเฉพาะศูนย์กามโรคของกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข หน่วยกามโรคของโรงพยาบาลใหญ่ และสถานพยาบาลของเอกชนเฉพาะด้านที่มีมาตรฐานสูงเท่านั้น
การรักษา
โรคหนองในในคอมีความยากลำบากในการรักษากว่าหนองในในอวัยวะสืบพันธุ์ ยาที่ใช้ได้ผลเป็นยาฉีดซึ่งราคาแพงมาก ในปัจจุบันมียาฉีดเพียงชนิดเดียวซึ่งพิสูจน์ว่าได้ผลเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ การรักษาจึงควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ทางกามโรค หรืออายุรแพทย์ (โรคติดเชื้อ) และมีการประเมิน ผลว่าหายแน่นอนหรือไม่
โรคเริมในช่องปากและคอ
ในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปากสัมผัสอวัยวะเพศอาจจะเกิดโรคที่ช่องปากหรือช่องคอได้ ในกรณีที่ไม่เคยได้รับเชื้อและไม่มีความต้านทาน ระยะฟักตัวจะสั้นประมาณ 1 สัปดาห์และมีอาการรุนแรงเริ่มจากรู้สึกไม่สบาย ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต่ำ ๆ เจ็บในช่องปาก และคอมาก ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มแดง ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นตุ่มพองใสและแตกออกเป็นแผลตื้น ๆ ภายใน 1-2 วัน บางครั้งแผลจะติดต่อกันจนเป็นแผลกว้าง แผลเหล่านี้มีอาการแสบและเจ็บปวดมาก ต่อมนํ้าเหลืองที่คอมักจะโตเจ็บ อาการมักจะเป็นอยู่ 2-3 สัปดาห์จึงค่อย ๆ หายไป เชื้อไวรัสบางส่วนจะหลบอยู่ที่ปมประสาทหน้าหู และจะเป็นขึ้นมาได้เป็นครั้งคราว เมื่อร่างกายมีความเครียดทั้งทางร่างกายหรือจิตใจ การเป็นซ้ำอาการมักไม่รุนแรง โดยจะเริ่มจากเจ็บๆ คันๆ บริเวณนั้นและจะเกิดตุ่มแดงซึ่งจะกลายเป็นตุ่มนํ้าใสและแตกออกเป็นแผลตื้น ๆ อยู่เป็นกลุ่ม การเป็นซ้ำมักจะเกิดเฉพาะตรงขอบริมฝีปากที่เยื่อบุ ช่องปากต่อกับผิวหนัง และมักจะเป็นอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์จึงจะหาย
การวินิจฉัย
คล้ายโรคเริมที่อวัยวะเพศ ส่วนมากแล้วจะวินิจฉัย ได้ชัดเจนเมื่อโรคเริ่มเป็นในระยะแรก แต่ถ้าเป็นมาหลายวันแล้วจะแยกกันยากจากแผลอักเสบในช่องปากจากสาเหตุอื่น ๆ
การรักษา
ในปัจจุบันมียารักษาโรคเริมที่ได้ผลดีมากสำหรับผู้เป็นครั้งแรก จึงควรรีบพบตจแพทย์ แพทย์ทางกามโรค อายุรแพทย์ (โรคติดเชื้อ) หรือแพทย์เวชปฎิบัติทั่วไปโดยเร็ว ถ้าอาการอักเสบรุนแรงและคิดว่าอาจจะเป็นโรคเริมในคอ หากเป็นมาเกิน 5 วันการใช้ยาดังกล่าวจะไม่ได้ผล
ในพวกที่เป็นซ้ำนั้นการใช้ยาทาเฉพาะที่ (ชนิดเดียวกับโรคเริมที่อวัยวะเพศ) ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้โรคหายเร็วขึ้นและไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใกล้ชิด แต่ยาดังกล่าวนี้จะไม่อาจป้องกันการเกิดซ้ำได้
โรคหนองในเทียม
การติดเชื้อหนองในเทียมโดยเฉพาะคลามัยเดียนั้นเกิดได้ในคอ แต่ส่วนมากแล้วจะไม่มีอาการและจะไม่อาจวินิจฉัยได้เลยถ้าไม่มีการตรวจหาเชื้อดังกล่าว คนที่มีเชื้อจะเป็นพาหะแพร่โรคให้ผู้ที่ตนมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปากด้วย เชื้อดังกล่าวจะหายไปได้เองหากไม่ได้รับการรักษาหรือไม่นั้นยังไม่มีหลักฐานยืนยัน
โรคอินเฟคเชียส โมโนนิวคลีโอสิส(Infectious Mono- nucleosis)
เชื้อไวรัส เอบสไตน์-บาร์ (Ebstein-Barr) ซึ่งเป็นไวรัสในตระกูลเดียวกับ เฮอร์ปีส ซิมเพล็กช์ ไวรัสสามารถติดต่อได้จากการหายใจเอาละอองเสมหะเข้าไปหรือสัมผัสกับนํ้าเมือกหรือนํ้าลายในช่องปากของผู้ป่วย ดังนั้นจึงติดต่อได้จากการจูบปาก หรือใกล้ชิดกับผู้เป็นโรค โรคนี้มักพบในวัยหนุ่มสาว ระยะฟักตัว 4-7 สัปดาห์ โดยเริ่มมีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ไข้สูง เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองคลำได้โตทั่ว ๆ ไป อาจมีอาการตัวเหลือง ตับ ม้ามโต ปอดอักเสบ หรืออาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ ส่วนมากโรคมักจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปได้เองใน 1-4 สัปดาห์ แต่บางรายอาจจะเป็นอยู่ 2-3 เดือน การวินิจฉัยที่แน่นอนต้องอาศัยการตรวจเลือด ดูจำนวนเม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติ และการตรวจแอนติบอดีชนิด Heterophile
โรคติดต่อเชื้อราแคนดิดาในคอ
ส่วนมากแล้วการติดเชื้อราแคนดิดาในคอจะเกิดในคนที่มีความต้านทาน ลดตํ่าลง เช่น เป็นโรคเลือด เป็นโรคมะเร็ง เป็นเบาหวาน ลักษณะจะเป็นฝ้าขาว บนเยื่อบุซึ่งมีการอักเสบแดงเล็กน้อย จะขูดฝ้าขาวเหล่านี้ออกได้ง่ายคล้ายคราบนม ในคนที่เกิดเชื้อราซํ้า ๆ ในช่องปากและคอ ควรต้องตรวจอย่างละเอียดเพื่อหาว่ามีโรคภายในที่ทำให้ความต้านทานโรคของร่างกายลดลงหรือไม่ ในชายรักร่วมเพศ ถ้าพบเชื้อราแคนดิดาในช่องปากและช่องคอจะต้องนึกถึงโรคพร่องภูมิต้านทาน (โรคเอดส์) และควรมีการตรวจเลือดหาโรคดังกล่าวทันที
เชื้อราแคนดิดาบางทีอาจจะอาศัยอยู่ในคอโดยไม่ทำให้เกิดอาการ แต่อาจแพร่โรคผ่านทางนํ้าลายให้ผู้อื่นได้ พบว่าในสตรีที่เป็นตกขาวจากเชื้อราบ่อย ๆ สามีมักจะมีเชื้อราชนิดนี้ในน้ำลายและช่องคอ แต่ไม่มีอาการและอาจแพร่โรค กลับมาสู่ภรรยาได้อีก จึงควรได้รับยาฆ่าเชื้อราไปพร้อม ๆ กัน ยารักษาเชื้อราในคอปัจจุบันที่ดีที่สุดได้แก่ ยารับประทานคีโตโคนาโชล (Ketoconazole) วันละ 2 เม็ด นานประมาณ 1 สัปดาห์ ยานี้ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่ง และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก   healthcarethai.com

Report by www.livcapsule.om