-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ถึงคราว ?ผู้ตาม? นำองค์กร  (อ่าน 454 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

don

  • บุคคลทั่วไป
ถึงคราว ?ผู้ตาม? นำองค์กร
« เมื่อ: 10 ธันวาคม 2008, 05:00:04 »

เมื่อพูดถึงการบริหาร โดยเฉพาะความสำเร็จขององค์กร เรามักจะนึกถึงผู้นำ และมักถามกันเสมอว่าความสำเร็จของผู้นำต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ก็จะมีคำตอบว่าผู้นำต้องมีบุคลิกอย่างนั้นอย่างนี้ โดยคนส่วนใหญ่มักลืมนึกไปว่าผู้นำจะสำเร็จได้นั้นต้องมีผู้ตามที่ดี


สิ่งที่สำคัญที่สุด คือสิ่งที่ผู้นำต้องการมากที่สุดจึงเป็นผู้ตามที่ดี ลองนึกถึงบริษัทใหญ่ที่มีพนักงานเป็นแสนคน เช่นบริษัทข้ามชาติที่มีสาขาทั่วโลก ความสำเร็จจะอยู่ที่คนแสนคน ถ้าทุกคนก้าว 1 ก้าว จะมากกว่าผู้นำที่ก้าวไปได้เพียง 10-20 ก้าว

สมัยผมยังเป็นนักเรียนประถม สิ่งที่คุณครูสอนอยู่เสมอๆ ก็คือการรวมพลังของแต่ละคน เปรียบเทียบกับการนำตะเกียบ 1 คู่มาให้เด็กนักเรียนทุกคนหัก ก็แน่นอนว่าหักกันได้หมดทุกคน แต่ถ้าเพิ่มเป็น 2 คู่ก็ยิ่งมีเด็กหักได้น้อยลง และถ้ามากขึ้นก็ยิ่งน้อยลงไปเรื่อยๆ

สิ่งที่คุณครูสอนผม คือเรื่องความเป็นหนึ่งเดียวกัน ตะเกียบหลายคู่ เมื่อรวมกันพลังก็จะมากขึ้นเป็นทวีคูณ ไม่ต่างอะไรกับพนักงานที่มีจำนวนมาก ถ้ามีแค่ 1 คนทำงานทุกอย่าง แม้จะมีความคิดดี แต่ไม่ว่าจะดีแค่ไหน ก็ไม่สามารถครอบคลุมความสำเร็จของทั้งบริษัทได้

เช่นเดียวกับผู้บริหาร ที่มีแค่คนเดียว หากไม่สามารถโน้มน้าวพนักงานได้ ก็เท่ากับว่าไม่มีคนปฏิบัติตามเจตนารมณ์ และทุกคนก็ไม่มีความคิด ไม่มีความรู้สึกว่างานนี้เป็นของเขา ไม่มีการทำด้วยจิตใจ แต่ทำไปเพราะหน้าที่ หรือทำตามคำสั่งเท่านั้น

แม้ว่าบทบาทของผู้นำเป็นสิ่งสำคัญ แต่ในความเป็นจริงแล้ว พนักงานก็มีความสำคัญไม่แพ้กันเลย ฉะนั้นการมีความสามารถทำให้พนักงานเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งที่ผู้นำคิด หรือมีความคิดไปในแนวทางเดียวกันกับที่ผู้นำต้องการ จึงเป็นสิ่งที่ชี้ชะตาให้กับบริษัทได้

ถึงแม้หลายๆ บริษัทจะผูกติดอยู่กับเจ้าของ หากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปจนบีบบังคับให้พนักงานต้องการเปลี่ยนแปลง แต่ในเมื่อเจ้าของไม่ต้องการเปลี่ยน ความสำเร็จก็คงไม่เกิด หรือในทางตรงกันข้ามคือเจ้าของต้องการเปลี่ยน แต่พนักงานไม่ยอม ผลที่ได้ก็เหมือนกัน

ทั้งสองฝ่ายจึงมีความสำคัญไม่แพ้กันเลย ทั้งผู้นำและผู้ตาม จึงมีบทบาทต่อบริษัทใกล้เคียงกัน ยิ่งทุกวันนี้สภาพแวดล้อมในการทำงานเปิดกว้างมากขึ้น พนักงานรุ่นใหม่ มีความสามารถในการหาข้อมูลใหม่ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ง่ายๆ

เช่นเดียวกับในหลายๆ บริษัทที่มีโครงสร้างเรียบง่ายขึ้น ไม่ได้มีลำดับชั้นมากมายเหมือนในอดีต พนักงานทุกระดับจึงมีบทบาทในการเข้าถึงข้อมูลและร่วมตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอนาคตของบริษัทได้มากขึ้น
 
ความกระตือรือร้นของพนักงานจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะทุกบริษัทต่างก็แสวงหานวัตกรรมและโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ พลังของพนักงานจึงมีบทบาทสูงมากในทุกวันนี้ และจะเป็นตัวตัดสินของความสามารถในการแข่งขันขององค์กรในท้ายที่สุด
 
แต่ไหนแต่ไรที่เราเคยเน้นแต่เรื่องของภาวะผู้นำ จึงน่าจะต้องหันไปดูที่ภาวะผู้ตามด้วยเช่นกัน

โดยเน้นความสามารถ ความคิด บุคลิกหรือทัศนคติของผู้ตาม เพื่อหาวิธีทำให้ผู้ตามมีความกระตือรือร้น ให้ผู้ตามอยากติดตาม
 
รวมทั้งต้องให้เขาเข้าใจว่าสิ่งที่กำลังจะไปเป็นทางของเขาด้วยไม่ใช่ทางของผู้นำเท่านั้น  ซึ่ง ต้องบริหารให้ผู้ตามเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด และเกิดความรู้สึกในความเป็นเจ้าของ รู้สึกมีส่วนร่วม ในที่สุดผู้ตามต้องมีความสุขกับสิ่งที่ทำ
 
ไม่น่าแปลกใจอะไร ที่ในวันนี้เราจะเห็นหนังสือมากมายที่เกี่ยวกับผู้ตาม เช่น Followship, The Starfish and the Spider เพราะบทบาทของผู้ตามที่เปลี่ยนไป ทำให้เราต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง