-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนานขุนหลวงวิรังคะราชเจ้า และ พระนางจามเทวี  (อ่าน 2031 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

  • Administrator
  • เทพเจ้าราตรี
  • *
  • กระทู้: 18295
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +9/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • cmxseed

ตำนานขุนหลวงวิรังคะราชเจ้า และ พระนางจามเทวี



เป็นเรื่องเล่าจากตำนานมูลศาสนา แต่งโดยพระพุทธกาม กับพระพุทธญาณ ความเป็นมาของ
ตำนานจามเทวี และวิรังคะราชเจ้า


เริ่มตั้งแต่ สมัยพุทธกาล ตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ ในล้านนา พบชนเผ่าลัวะ หรือ ละว้า
(ซึ่งเป็นชนเผ่าท้องถิ่น อยู่ในตระกูลมอญ และเขมร) อาศัยอยู่ตามลุ่มน้ำแม่ปิง มีปู่แสะย่าแสะ และลูกชาย



เมื่อพระองค์ ถึงบ้านปางไฮ (ปัจจุบัน คือตำบลสะลวง อำแภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ) พระพุทธองค์ ทรงทราบด้วยญาณ
ก็แสดงปาฎิหารย์ เพื่อที่จะข่มคนทั้งสาม โดยทรงประทับรอยพระบาท ลงบนแผ่นหินใหญ่ (รอยนี้มิใช่รอยแรก)
ก่อนหน้านี้มีพระพุทธเจ้าองค์อื่น คือ กะกุสันทะโกนาคมนะ และ กัสสะปะได้ เสด็จมาประทับ รอยพระบาท
ไว้แล้วบนแผ่นหินใหญ่ แผ่นเดียวกันนี้ มีถึงสามรอย พระพุทธเจ้า ได้ทรงประทับรอยพระบาท เป็นรอยที่สี่
จึงปรากฎเป็นพระพุทธบาทสี่รอย


จากการที่ได้ทรง ประทับรอยพระบาทที่บนก้อนหินใหญ่ สร้างความตกใจ แก่ชาวลัวะ ทั้งสาม เป็นอย่างยิ่ง
พระองค์ทรงเทศนา สั่งสอน เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง ความป่าเถื่อน ของพวกเขาดังนั้น ปู่แสะ และย่าแสะ
จึงตั้งสัตย์ปฎิญาณ ว่าจะไม่กิน เนื้อมนุย์ อีกตราบใดที่พระพุทธองค์ ยังทรงพระชนม์อยู่ แต่พวกเขา
ไม่รับปากว่าหลังจากพระพุทธองค์ ทรงเสด็จปรินิพานแล้ว ส่วนลูกชายของทั้งสอง เกิดความซาบซึง
ในรสพระธรรม ยอมตั้งสัตย์ปฎิญาว่า จะไม่กินเนื้อมนุย์ตลอดชีวิต และพระพุทธองค์ทรงแนะนำ ให้บวชเป็นฤาษี
และได้บวชเป็นฤาษีได้ชื่อว่า สุเทวะฤาษี หรือ ฤาษีวาสุเทพ ซึ่งกาลต่อมา ได้เป็นเทวดารักษาเมืองเชียงใหม่
มาจวบจนปัจจุบันนี้

(ปู่แสะย่าแสะไม่อาจรับศีลห้าได้ตลอดจึงขอกินเนื้อมนุษย์ปีละสองคน เมื่อพระพุทธองค์ไม่อนุญาต
ก็ขอต่อรองลงมาเรื่อย ๆ จนขอกินเนื้อสัตว์ ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสบอกให้ไปถามเจ้าเมืองเอาเอง
แล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จจากไป โดยไว้พระเกศธาตุที่ต่อมากลายเป็นพระธาตุดอยคำ ผีปู่แสะย่าแสะ
ได้รับอนุญาติจากเจ้า เมืองให้กินควายได้ปีละครั้ง จึงได้มีประเพณีฆ่าควายเอาเนื้อสดสังเวยผีปู่แสะย่าแสะ)




ขุนหลวงวิรังคะราช หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าแสนหลวง เป็นขุนใหญ่แก่ ชาวลัวะ ทั้งมวล ได้ทราบข่าวว่า
พระนางจามเทวี มี พระรูปลักษณะ งดงามยิ่งนัก จึงมีความรักใคร่ในตัวพระนาง เป็นอันมากจึงให้ขุนอำมาตย์
พร้อมบริวารประมาณ ๕๐๐ คนนำเครื่องบรรณาการ และของฝากมากมาย มาถวายแก่ พระนางจามเทวี
แล้วกราบทูลสาสน์ ของขุนหลวงวิรังคะราช แก่พระนางจามเทวี


“ข้าแด่มหาราชเทวีเจ้าขุนแห่งตัวข้ามีนามว่า ขุนหลวงวิรังคะราช อยู่อยู่ทิศตะวันออก ระหว่างดอยละวะโพ้น เป็นใหญ่
กว่าชาวลัวะ ทั้งปวงจัดแจง ให้ตูข้าทั้งหลายนำเครื่องบรรณาการ มาถวายแก่พระนาง โดยเหตุผลที่ว่าขุนหลวงวิรังคะราช
มีความรักใคร่ ในตัวพระนางอยาก ได้พระนาง ไปเป็นอัครมเหสี ที่แท้จริงถึงแม้นว่าตัวขุนหลวง จะมีมเหสี
อยู่แล้ว ๔๐๐ องค์แล้วก็ตาม”


พระนางจามเทวี ทรง เรียกประชุม เหล่าเสนาอามาตย์ เพื่อประเมินสถานการณ์ซึงเวลานั้น มอญเมืองลำพูน
เพิ่งสร้างเมืองใหม่ ยังไม่พร้อม ที่จะรบ กับพวกลัวะ แห่งเมืองเชียงใหม่พระนางจึงส่งฑูตไปทูล แก่ขุนหลวงวิรังคะราช
ว่าให้รอไปอีก ๓ ปีก่อนเพราะว่าพระนางเอง พึ่งจะคลอดลูกชายฝาแฝด รอให้เด็กหย่านมเสียก่อน แล้วจะอภิเษก
สมรสด้วยกัน บัดนั้นเป็นต้นมาพวกลัวะ แห่งเมืองแม่ระมิงค์เชียงใหม่ กับพวกมอญลำพูน ก็ได้ไปมาหาสู่กัน
อย่างสงบสุข

ส่วนพระนาง จามเทวีได้เรียกประชุมเหล่าเสนาว่าการ ประวิงเวลาในครั้งแรกนั้นเวลา ก็ใกล้เข้ามาแล้วจึงขอให้โหรร่วมมือ
ในการใช้วิทยา อาคมให้เลื่อนเวลา ออกไปอีก โหรหลวงจึงแนะนำว่าควรเลื่อนเวลาออกไปอีกเพราะว่าเกณท์
ชะตาบ้านเมืองเข้ายุคเข็ญ ข้าวน้ำจะขาดแคลน จะมีโรคระบาดประชาชน และสัตว์เลี้ยงจะล้มตาย เป็นอันมาก
ต้องสะเดาห์เคราะห์ ด้วยการถือศีลกินเจ ฟังธรรมสักการะ พระรัตนตรัย เป็นระยะเวลา ๔ ปี จึงจะพ้นภ้ยภิบัติตาม
ที่โหรทำนายไว้พระนาง จึงสั่งให้ฑูตไปรายงานเหตุการณ์ แก่ขุนหลวงวิรังคะด้วยความจำเป็น ตามที่ระบุไว้ขุนหลวงยอม
ให้มีเลื่อนพิธีการอภิเษกสมรส และยอมถือศีลกินเจ ตามพระนางด้วย



ระหว่างนั้น พระนางจามเทวี ได้เกณฑ์คนหนุ่มสาวมาฝึก เป็นทหารเตรียมเมือง ให้พร้อมสำหรับการทำสงคราม
กับขุนหลวงวิรังคะ ในขนาดเดียวกันนั้นเพื่อมิให้ชาวเมืองตกใจตื่นกลัว วิตกกังวลกับภัยการรุกรานของ ขุนหลวงวิรังคะ
จึงจัดให้มีการจัดการแสดงมหรสพ และการละเล่นต่างๆ


จวบจนใกล้ ครบ ๔ ปี ขุนหลวงวิรังคะ ได้ส่งฑูตไปขอทราบ กำหนดการอภิเษกสมรสพระนาง จึงบอกทูตไปว่าพระนางพร้อม
ทำตามสัญญา เพื่อให้มีความแม่นยำทรงย้ำ เรื่องกฤษ์ยามว่าอย่าให้มีการผิดพลาด คณะทูตจึงไปรายงานต่อ
ขุนหลวงวิรังคะ ที่เมืองแม่ระมิงค์เชียงใหม่ ของลัวะฝ่ายพระนางจามเทวี ก็ได้มีการแก้ไข ชื่อเดือนจากเดือนอ้าย
เป็นเดือนสาม (นั่นคือสาเหตุที่ทำให้การนับเดือนของทางภาคเหนือ หรือล้านนา เร็วกว่าเดือนทางภาคกลางไป ๒ เดือน)
เช่นวันลอยกระทงจะตรงกับวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำเดือนยี่ หรือ เดือน ๒ ของภาคกลาง


ดังนั้นทางภาคเหนือจึงเรียกวันลอยกระทงว่าเดือนยี่เป็ง เมื่อถึงกำหนด การอภิเษกสมรสตาม ที่ได้ตกลงกันไว้ขุนหลวงวิรังคะ
จึงได้เดินทางไปเมือง ลำพูน เพื่อเข้าพิธีอภิเษกสมรสตาม ที่ได้ตกลงกันไว้แต่พระนางจามเทวี ทรงบอกว่าเสียใจที่ขุนหลวง
ผิดนัดเอง และได้ผิดนัดไปถึงสองเดือน ด้วยกัน (เนื่องจากมอญได้มีการเลื่อนเดือน เร็วขึ้นไปสองเดือน ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น)


ขุนหลวงวิรังคะจึงโกรธแค้น เป็นอันมากที่ถูกปฎิเสธ จึงกลับไปเตรียม ไพร่พลได้ประมาณ ๔๐,๐๐๐ คนจัดทัพเตรียมบุกลำพูน
และเมื่อเคลื่อนทัพไป ถึงเมืองลำพูนสั่งไพร่พลล้อมเมืองเอาไว้ หวังให้อาหารหมดไปจนต้องยอมจำนน และในเวลานั้น
เป็นช่วงปลายเดือน ๙ หรือเดือน ๗ ของภาคกลาง เป็นเวลาใกล้จะเข้าฤดูฝน ล้อมเมืองได้ไม่นานฝน ก็ตกเจ็ดวันเจ็ดคืน
น้ำเหนือไหลหลากไหลเชี่ยว ท้วมไพร่พลล้มตาย เป็นอันมาก



ขุนหลวงวิรังคะ เห็นว่า สถานการณ์ไม่ดีจึงยกทัพกลับไปก่อน จากนั้นจึงได้รวบรวมไพร่พลขึ้นมาใหม่ โดยมีไพร่พลครั้งนี้
รวมมาได้ประมาณ ๘๐,๐๐๐ คน บุกเข้าตีเมืองลำพูน และลูกชายฝาแฝดของพระนางจามเทวี ได้ขี่ช้างพลายก่ำงาเขียว
ต้านไว้จนทัพ ของขุนหลวง แตกพ่ายไป ขณะทีแตกพ่านหนีนั้น ช้างของ ขุนหลวงวิรังคะราช ได้ไปเบียดประตูเมืองลำพูน
จนตกช้างขาหักพวกทหารลัวะ มาอุ้ม พาหลบหนีไป ประตูเมืองลำพูน จึงมีชื่อว่า ประตูช้างสี มาจวบจนทุกวันนี้

ขุนหลวงวิรังคะ รักษาอาการบาดเจ็บตลอดระยะเวลาถึง ๓ เดือนจนรู้สึก หายดีแล้วจึงส่งทูตไปขู่
เพื่อที่จะขอแต่งงานกับ พระนางจามเทวีอีก


พระนางจามเทวี จึงวางแผนขึ้นมาใหม่โดยให้มีการพุ่งเสน้า (หมายถึงการพุ่งหอก) จากดอยสุเทพ ไปตกใจกลางเมืองลำพูน
ได้เมื่อไหร่ก็จะยอมอภิเษกสมรสด้วย ดังนั้นขุนหลวงวิรังคะ พร้อมไพร่พลและคณะทูตมอญ ลำพูนได้มีกระตระเตรียมการพุ่งเสน้า
โดยรอสัญญาณไฟจากกลางใจเมือง ลำพูน การพุ่งเสน้านี้ให้โอกาส ๓ ครั้งโดยจะพุ่งกันทุกๆ ๗ วัน จนครบสาม ครั้ง




การพุ่งเสน้าครั้งแรกขุนหลวงวิรังคะราช นั้น ปรากฏว่าพลาดเป้าไปหน่อย เดียวเนื่องจากถูกคณะทูตจากลำพูน
ของพระนางจามเทวียั่วให้โกรธ เสียสมาธิ จึงพุ่งไปตกนอกกำแพง เมืองด้านตระวันตกเฉียงเหนือ อยู่บริเวณหลัง
วัดมหาวัน จึงเรียกว่า หนองเสน้า เคยค้นพบอาวุธ เป็นกระบอกเสน้าหนาใหญ่และยาว ประมาณ ๒ วา จมอยู่
มีลักษณะปลายแหลม เข้าใจว่าน่าจะเป็นปลายเสน้า

ก่อนจะถึงวันพุ่งเสน้า ครั้งที่สอง พระนางจามเทวี ทำพิธีข่ม ขุนหลวงวิรังคะราช ด้วย พิธีทางไสยศาสตร์ เช่นใช้เศษผ้า
นุ่งชั้นในเย็บ ทำเป็นหมวก เสร็จเรียบร้อยแล้วให้ เสนาเมืองลำพูน นำถวายบรรณาการ แก่ขุนหลวง ณ ยอด ดอยสุเทพ
และทำให้ขุนหลวง ไม่สบายและพุ่งเสน้า ไปตกที่เชิงดอยสุเทพจึง รู้ว่าได้ถูก มนตร์ข่ม จุดที่เสน้าไปตกในหนองน้ำเล็กๆ
สมัยก่อนเรียกว่าหนองเสน้า อยู่หลังโรงเรียนประชาบาล เชิงดอยสุเทพ

จากเหตุการณ์ทั้งหมด ที่เกิดขึ้นทำให้ ขุนหลวงวิรังคะราช ได้ฉุกคิดได้ว่า อยู่ดีๆเกิดอาการวิงเวียน ใจสั่นเพลียกาย
คล้ายถูกข่ม จึงรู้ว่าตนถูกพระนางจามเทวี หลอกและกลั่นแกล้ง ด้วยปัญญามาโดยตลอด คิดได้ก็เกิดความละอายใจที่
ทำให้ชาวลัวะ ต้องมาพลอยลำบาก กับตนเอง จึงบังเกิดอารมณ์พุ่งพล่าน วิ่งออกไปลานกลางแจ้ง คว้าเสน้าพุ่งขึ้นฟ้า
แล้วหอกก็ดิ่งตกจากฟ้า ขุนหลวงวิรังคะราชเจ้า แบะอกรองรับปลายหอกเสน้าเสียบทะลุอกขุนลัวะร้องด้วยความเจ็บปวด


คณะทูตจากลำพูน เห็นท่าไม่ค่อยจะสู้ดีนัก จึงหนีกลับลำพูน แล้วกราบทูลเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่ดอยสุเทพแก่
พระนางจามเทวี ให้ทรงทราบ ขุนหลวงวิรังคะราช ก่อน จะสิ้นใจได้เรียกคนใกล้ชิด มาสั่งเสียโดยเปรียบ เปรยตนเองว่า
เป็นเพียง ห้วหน้าเผ่าลัวะ ผู้อาศัยอยู่ตามป่า ไม่มีการศึกษามีแต่ กำลัง ขาดสติปัญญาไม่อาจเปรียบเทียบกับ
พระนางจามเทวี ซึ่งเป็นชาวเมือง เป็นผู้มีการศึกษา มีสติป้ญญา ตนเปรียบเสมือนเอี้องแซะ ซึ่งจะงดงามก็ต่อเมื่อ
อยู่ในที่อันควรตาม ธรรมชาติ ของเอี้องแซะ จะขึ้นในป่าลึก มีกลิ่นหอมชื่นใจ เสมือนกับชาวลัวะ ซึ่งชำนาญการ
อยู่ตามป่าเขาสามารถดำรงชีพ อยู่อย่างมีความสุขสบายตามสภาพ

ขุนหลวงวิรังคะ รู้ว่าตนกำลังจะหมดลมหายใจจึง สั่งเสียกับคนใกล้ชิดว่า ชนเผ่าลัวะ จะออกจากป่าหาผู้ปกป้อง ที่มั่นคง
อย่างพระนางจามเทวี ก็ ได้หรือจะตัดสินใจอพยพเข้าป่า ให้ห่างเมืองก็ได้ตามใจ แต่มียอดดอยหินใหญ่ อยู่เหนือขึ้นไป
เป็นสถาน ที่ได้เลือกไว้แล้ว หากตนได้ตายไป แล้วให้หามศพไปตามไหล่เขา ข้อสำคัญอย่าข้ามลำน้ำห้วย
เป็นอันขาดเกรงว่าน้ำ จะแห้งไร่นาจะเสียหาย เวลาวางศพ ให้หันหน้าสู่ทิศใต้ ปรับระดับให้มองเห็นเมืองลำพูน
อยู่ตรงระดับสายตา



เมื่อสั่งเสียเรียบร้อยแล้วขุนหลวงวิรังคะราช ก็ ถีงกาลมมรณะลม หายใจค่อยๆ ขาดช่วงจนสิ้นลมหายใจไป
ขบวนแห่ศพ ได้เคลื่อน ไปตามสันเขา ดอยสุเทพผ่านสถานที่ต่างๆ ซี่งมีชื่อตกทอดมาถึงปัจจุบันนี้


ตำนานกล่าวไว้ว่าบริเวณที่เป็นผาสว่า(ผารูปฉาบ) และผาเด็ง(ผารูประฆัง) นั้นมีความเป็นมาว่า ขบวนที่หามศพ
และผู้คนไปร่วมพิธีงานศพ เกิดพลัดหลงกันขึ้นบางพวกเดินข้าม บางพวกเดินลอดใต้เถาวัลย์ที่มีชื่อว่า เครือเขาหลง
ทำให้พวกที่เดินลอดใต้ เครือเขาหลง มีความจำเสื่อม ไปชั่วขณะทำให้นักดนตรี ที่ไปร่วมขบวนงานศพ
เกิดเล่นขัดกันระหว่างพวกสว่า (ฉาบ) กับพวกเด็ง (ระฆัง) ในที่สุดก็พากันทิ้งเครื่องดนตรี หนีกลับลงดอย
ไปเครื่องดนตรีเหล่านั้น ได้กลายเป็นหินเกลื่อนกลาด กระจัดกระจายอยู่บนสันเขา ต่างๆ เช่น ผาฆ้อง
ผากล๋อง ผาสว่า ผาเด็ง




ส่วนพวกที่แบกหามศพ พากันเดินจนถึงยอดดอย แห่งหนึ่งจึงวางศพของ ขุนหลวงวิรังคะราชเจ้า นอนตะแคง
ให้หันศพหันหน้า ไปทางทิศใต้คล้ายดังว่า กำลังมองดูเมืองลำพูน ต่อจากนั้นได้ขนเอาหนาม มาวางป้องกัน
สัตว์ป่าทั้งหลาย ที่จะมากินซากศพ แล้วเอาโลงคว่ำครอบศพไว้ ต่อมาโลงศพ ก็ได้กลายเป็นหิน ปัจจุบันเรียก
ดอยม่อนล่อง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ม่อนคว่ำล่อง" สามารถมองเห็นทัศนียภาพ ของเมืองเชียงใหม่
บริเวณถนนเส้นแม่ริม - สะเมิง ได้แก่ ตัวอำเภอแม่ริม ตัวอำเภอสะเมิง สวนพฤกษศาสตร์ เอราวัณรีสอร์ท
หมู่บ้านแม่สาใหม่ หมู่บ้านโป่งแยง หมู่บ้านสามหลัง รวมถึงทิวทัศน์ บริเวณสันเขา ดอยสุเทพ และดอยปุย


นักท่องเที่ยวสามารถ ขับรถขึ้นไปชมวิวได้สองจุดคือ จุดสูงสุดของ ดอยม่องล่อง และจุดฝังศพของ
พ่อขุนหลวงวิรังคะ ซึ่งเป็นที่ตั้ง ของศาลเจ้าพ่อขุนหลวงวิรังคะราชเจ้า หน้าผาหินสูงชันซึ่งมีความสูง
จากระดับน้ำทะเล 1,450 เมตร ศาลเจ้าพ่อขุนหลวงวิรังคะ ขึ้นชื่อด้านความช่วยเหลือ แก่หนุ่มสาวให้สมหวัง
ในความรักและให้สมปารถนา ทุกสิ่งทุกประการ และดลบันดาล ให้มีลูกตามที่ได้บนบานไว้

เมื่อพ่อขุนเม็งรายมหาราช สร้างเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.๑๘๓๙ เวลานั้น คนไทยทางตอนเหนือ
ที่อยู่อาศัยปะปน กับพวกลัวะหรือละว้า เป็นเวลาช้านาน ร่วม ๕๐๐ ถึง ๖๐๐ ปีมาแล้ว และได้อยู่ร่วมกัน
อย่างสงบสุข



เมื่อมีกษัตริย์ขึ้นปกครองชาวลัวะ ก็พอใจที่จะรับเอาวัฒนธรรมและประเพณีไปถือปฏิบัติขณะ เดียวกันคนไทย
ก็ได้ร่วมพิธีฆ่ากระบือ เพื่อเป็นการเช่น สังเวยวิญญาณของบรรพบุรุษ ตามความเชื่อของลัวะ โดยเต็มใจ
และยอมรับว่าผีลัวะ เป็นผู้มีอำนาจคุ้มครอง รักษา เมืองเชียงใหม่ โดยทำพิธีบวงสรวงปู่แสะ ย่าแสะ
และลูกชายคือ สุเทวะฤาษี และขาดเสียมิได้คือ ขุนหลวงวิรังคะ




คำอัญเชิญขุนหลวงวิรังคะราชเจ้า

โภนังโต วิรังโค ดูกราขุนหลวงวิรังคะเจ้า อันอยู่รักษาอาณารฐะเมือง
เชียงใหม่บัดนี้ขวบก็ได้มาไคว่ ปีก็มาเทิง เถิงการประเพณีก็มารอดแก่ผู้ข้า
ทั้งหลายได้ทอดถวายปันเป็นตานตามโบราณจารีตบ่หื้อหายผู้ข้าทั้งหลาย
ก็ตกแต่งหื้อถูกแพ่งพิมพ์แห่งเมืองล่วงแล้วบ่หื้อขาดหายเสียสักสิ่ง บ่หื้อ
พลัดวิ่งเสียสักอ้น บัดนี้ผู้ขออาราธนา ขุนหลวงวิรังคะเจ้าจุ่งเสด็จลีลามาสู่

แล้วจุ่งเสวย ทั้งเสนาอามาตย์จุ่งยาตรามาเสวยจิ้นลาบและแก๋งอ่อม แล
ต้มปุ๋มยำ ไก่ต้มมัน ซวะชวาดน้ำเหล้าหยาดไหงาม ข้าวหนมหวาน กล้วย
อ้อย ดาแต่งไว้ใส่ขัน ข้าวน้ำทั้งหมากเหมี้ยง พลูยา มีพร้อมชุเยียงชุอัน
มีข้าวตอกดอกไม้และเทียนงามตกแต่งไว้ใส่ขันถวาย ขอขุนหลวงวิรังคะเจ้า
จุ่งมารับรองอยู่แล้วจงเสวยโดยง่ายจิ่มเทอะ ตั้งแต่ปีนี้เดือนนี้วันนี้ไปถายภาค
หน้าเราผู้ข้าถ้าขอเอาดีหลายอย่าง ข้าน้อยจึงขอเอาทั้งหมู่น้ำฟ้าและสายฝน
ขอหื้อตกลงมาแต่ฟากฟ้า หื้อคนได้หว่านกล้าและไถนา ลัวะเยียะไร่ก็อย่าหื้อ
ตายคา ไทยเยียะนาก็อย่าหื้อตายเหยี่วแห้ง ขออย่าหื้อขาดแล้งสักเดือน
ภัยเกณฑ์อย่าหื้อมาใกล้ หื้อหลีกเว้นเสียเขตแดนเมือง ขอขุนหลวงวิรังคะเจ้า
จุ่งช่วยดังคำคะนึง ชุเยี่ยง ชุประการ แด่เทอะ


คำกราบไหว้พระนางจามะเทวี

ยา เทวี จามะเทวีนามิกา อภิรูปา อโหสิ ทัสสะนียา ปาสาทิกา พุทธสาสเน จะ อะภิปะสันนา, สา อตีเต เมตตายะ
เจวะ ธัมเมนะ จะ หะริภุญชะยะธานิยา รัชชัง กาเรสิ, หะริภุญชะยานะคะระวาสีนังปิ มะหันตัง หิตะสุขัง อุปาเทสิ,
อะหัง ปะสันเนนะ เจตะสา ตัง วันทามิ สิระสา สัพพะทาฯ
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่

thaitays

  • แอบหื่น
  • ***
  • กระทู้: 40
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด

ขอบคุณคัรบ  ข้อมูลละเอียดชัดเจนมาก pongz

gundam1974

  • เด็กหัดเสียว
  • **
  • กระทู้: 268
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด

ข้อมูลละเอียดและได้ความรู้ดีมากครับ
 pongz

uouso

  • แตกหนุ่ม
  • ***
  • กระทู้: 530
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด

 pongz ติดตามต่อครับ ข้อมูลดีจริงๆ

ordy09

  • เด็กทะลึ่ง
  • ****
  • กระทู้: 81
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด

ตั้งแต่เกิดมา 30 กว่า ปีพึ่งได้ทราบเรื่องราว  ขอบคุณครับ

csi

  • แอบจิต
  • **
  • กระทู้: 21
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-1
    • ดูรายละเอียด

ขอบคุณมากครับ ได้อ่านตำนานดี ๆ แล้วนำมาเล่าอีกนะครับ hgjhg

chili

  • เด็กหัดแอ่ว
  • *
  • กระทู้: 114
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด

ได้ความรู้ประดับ ขอบคุณครับ

boyx

  • เด็กหัดแอ่ว
  • *
  • กระทู้: 102
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด

 pongzยอดเยี่ยมครับ

sukung

  • V.I.P.
  • อาชาคะนองศึก
  • *
  • กระทู้: 1189
  • Country: 00
  • คะแนนจิตพิสัย +1/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด

ขอบคุณครับผม eta08
สุคุง คนเดิมครับ

Barball

  • เด็กหัดเสียว
  • **
  • กระทู้: 457
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด

ข้อมูลแน่นมากครับ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลย  pongz

tarocktoktak

  • เด็กหัดแอ่ว
  • *
  • กระทู้: 131
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด
Re: ตำนานขุนหลวงวิรังคะราชเจ้า และ พระนางจามเทวี
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 22 มกราคม 2013, 10:25:30 »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ

pheebar

  • X5 Club
  • อาชาคะนองศึก
  • *
  • กระทู้: 1435
  • Country: 00
  • คะแนนจิตพิสัย +1/-1
    • ดูรายละเอียด
Re: ตำนานขุนหลวงวิรังคะราชเจ้า และ พระนางจามเทวี
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2013, 23:47:03 »

ตำนานทางล้านนานี่ก็คลาสสิคดีเหมือนกัน