-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ขลิป ป้องกันมะเร็งปากมดลูก กับมะเร็งองคชาต  (อ่าน 3217 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

donsong

  • บุคคลทั่วไป

ไปเจอมาในเว็บที่ผมเป็นสมาชิกอยู่ เห็นว่าน่าสนใจดีเลยเอามาฝากกัน ถ้าซ้ำก็ขออภัยนะครับ

ขลิบ กับมะเร็งองคชาติและมะเร็งปากมดลูก

เมื่อไม่นานมานี้ แพทย์ชาวสเปน ได้วิจัยพบว่า ผู้ชายที่ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ นอกจากจะส่งผลดีในการรักษาความสะอาดให้กับตนเองแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกให้กับคู่นอนได้


โดยผลการวิจัยนี้มีการนำไปตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ นิว อิงแลนด์ ฉบับล่าสุด จนเป็นที่กล่าวถึงกันว่า อีกหน่อยการชลิบนี้จะกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญของการตัดสินใจแต่งงานด้วยหรือไม่

ตามปกติแล้วหนังหุ้มปลายองคชาติ ถ้าไม่ขลิบก็สามารถเปิดเองได้ตามธรรมชาติ แต่อาจต้องมีการรูดหน่อย เช่น ตอนเด็กผู้ปกครองอาจรูดให้ตอนอาบน้ำ พอโตขึ้นเจ้าตัวก็ควรรูดเองตอนอาบน้ำล้างทำความสะอาดได้ แต่ถ้าคนไม่เคยรูดเลย หนังส่วนปลายจะไม่เคยขยาย ดังนั้นมันจะรูดไม่ได้ครับ ถึงจะวัยรุ่นก็ตาม บางครั้งส่วนหน้าตีบ รูดไม่ได้ บางรายรูดได้ แต่รูดเข้ามาแล้วรัดส่วนหัวก็ต้องขลิบเหมือนกัน ในสมัยก่อนจะทำการขลิบให้เด็กตั้งแต่เกิด เพราะเด็กไม่รู้เรื่อง ดูแลง่าย แต่ปัจจุบันนิยมขลิบลดลง เพราะคิดกันว่าไม่จำเป็น ถ้าเขาสามารถเปิดเองได้ในอนาคต
ทีนี้มาทำความเข้าใจการขลิบในทารกกันก่อนครับ การขลิบหนังหุ้มปลายองคชาติ หรือ Circumcision คือการตัดหนังบริเวณด้านหน้าขององคชาติออก จุดประสงค์คือเพื่อให้สามารถรูดออกทำความสะอาดบริเวณด้านในขององคชาติได้ ซึ่งผิวหนังบริเวณนี้จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่าขี้เปียก หรือ Smegma มีลักษณะเป็นขุยขาวๆ คล้ายขี้ไคลขึ้นมาและการที่ไม่สามารถเปิดออกล้างได้ จะทำให้สารดังกล่าวคั่ง ก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อเรื้อรัง รวมทั้งอาจก่อให้เกิดโรคร้ายอย่างมะเร็งที่องคชาติได้ และจากการเก็บข้อมูลพบว่าผู้ป่วยมะเร็งองคชาติเกือบทั้งหมด ไม่สามารถรูดหนังออกเพื่อทำความสะอาดได้ ผู้ชายที่เป็นมะเร็งที่องคชาติปัจจุบันพบได้บ้างแต่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 60 ปี ดูแลสุขอนามัยไม่ค่อยดี และที่สำคัญมักจะหนังหุ้มปลายไม่เปิดครับ


คุณผู้ชายสามารถดูแลสุขอนามัยตัวเองอย่างถูกต้องได้ง่ายๆ แค่ตอนอาบน้ำ ควรรูหนังออก ล้างสารที่สะสม (ขี้เปียก) ออกก่อนแต่งตัวก็ซับให้แห้งก่อนรูปหนังกลับไปตามเดิม ไม่ควรใช้แป้งหรือสารใดๆ ทาครับ
ดังนั้นข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดขลิบหนังหุ้มปลายจึงมีประโยชน์ต่อสุขอนามัยของผู้ชายโดยตรง ส่วนผู้หญิงก็ได้อานิสงส์ได้ความมั่นใจในชายคู่ของเธอคนนั้นมากขึ้นไปด้วย แต่ไหนแต่ไรมา จึงมีการทำในกรณีที่ผู้ชายนั้น?

? หนังหุ้มปลายไม่เปิด (Phimosis)

? รูดแล้วติดไม่สามารถรูดกลับได้ (Paraphimosis)

? ทำตามความเชื่อของศาสนา (อิสลาม)


ซึ่งนอกจาก 3 ประเด็นนี้แล้ว อาจจะมีอีกประเด็นคือ ทำตามคำขอร้องของภรรยา เนื่องจากมีผลการศึกษาออกมาว่าการขลิบลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกให้เธอได้
มาดูรายละเอียดของผลการศึกษาของคณะแพทย์สเปนกันบ้างครับ พวกเขาบอกว่าสามีจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคร้ายดังกล่าวให้กับภรรยาได้ ด้วยการขลิบหนังหุ้มปายอวัยวะเพศ ในขณะที่ผู้ชายเองก็จะปลอดจากโรคติดเชื้อที่อวัยวะเพศ โดยการขลิบปลายอวัยวะเพศนั้น ทำให้ผู้ชายมีโอกาสติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) น้อยลง ซึ่งเชื้อไวรัสดังกล่าว คือ เชื้อไวรัสโรคหงอนไก่ นั่นเอง ซึ่งพบว่าการติดเชื้อหงอนไก่นั้น มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปากมดลูกอย่างชัดเจน โดยเชื่อว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกถึง 99%


ในการศึกษาข้อมูลนั้น คณะแพทย์สเปนเปิดเผยว่าพวกเขาวิเคราะห์ผลการศึกษา 7 รายการใน 5 ประเทศ 3 ทวีป ซึ่งพบว่าผู้ชายที่ไม่ได้ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศมีเชื้อไวรัสเอชพีวี เกือบ 20 % แต่คนที่ขลิบปลายอวัยวะเพศมีไม่ถึง 6 % ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งก็คือเรื่องของการทำความสะอาดที่ง่ายกว่าในรายที่ทำการผ่าตัดเปิดหนังหุ้มปลาย สำหรับผู้หญิงนั้นโอกาสที่จะเกิดมะเร็งปากมดลูกจะลดลง 58% หากคู่นอนขลิบปลายอวัยวะเพศแล้ว แม้ว่าผู้ชายคนดังกล่าวมีประวัติว่าผ่านคู่นอนมาหลายคนก็ตาม กรณีนี้จึงมีการคำนวณกันว่าถ้าหากมีผู้ชายขลิบอวัยวะเพศในโลกประมาณ 25% ก็จะช่วยลดการเกิดมะเร็งปากมดลูดได้ 23-40% ขณะเดียวกันก็จะลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งที่อวัยวะเพศชายได้ ลดการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีและอื่นๆ ลงได้อีกด้วย


แม้ผลการศึกษาจะออกมาว่าการขลิบให้ผลดีทั้งกับผู้ชายและผู้หญิง แต่จากการสำรวจก็ยังพบว่าผู้ชายหลายๆ คน ไม่ต้องการขลิบปลายอวัยวะเพศ เพราะกลัวเจ็บ และกลัวสมรรถภาพทางเพศจะลดลง แต่จริงๆ แล้วการขลิบไม่น่ากลัวอย่างที่คิดครับ วิธีการก็คือจะฉีดยาชา (ยกเว้นผู้ป่วยเด็กอาจจะต้องวางยาสลบ) จากนั้นจึงจะตัดหนังหุ้มปลายส่วนเกิน หรือส่วนที่เป็นสาเหตุท่ำให้ไม่สามารถรูดมาทำความสะอาดได้และเย็บด้วยไหมละลาย ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลครับ (ยกเว้นกรณีที่ใช้การดมยาสลบในเด็ก อาจต้องมีการนอนสังเกตอาการบ้าง) ส่วนประเด็นเรื่องสมรรถภาพทางเพศลดลงนั้น ยังไม่มีผลชัดเจน ความรู้สึกอาจจะลดลงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากเนื้อเยื่อส่วนที่รับความรู้สึกที่ไวถูกตัดออกไปบ้าง และถ้าจะถามว่า จำเป็นต้องขลิบทุกคนไหม ในคนที่สามารถรูดได้ ทำความสะอาดได้ ไม่จำเป็นต้องทำครับ และถ้าภรรยาขอร้องเพราะกลัวมะเร็งปากมดลูก คุณอาจจะบอกเธอว่า แม้จะไม่ขลิบ ก็ยังมีวิธีอื่นที่จะลดความเสี่ยงได้เช่นกัน เช่นใช้ถุงยางอนามัย การทำความสะอาดอวัยวะเพศอย่างถูกต้อง แต่ที่สำคัญที่สุด คือ การตรวจภายใน ตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีที่เราเรียกว่า Pap Smear ทุกปีครับ
มะเร็งองคชาติ


อุบัติการ

1. ในปี 1990 พบมะเร็งองคชาติในประเทศไทย ประมาณ 417 ราย

2. ในปี 1995 ผู้ป่วยมะเร็งองคชาติมารักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 9 ราย

3. อายุโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยอยู่ระหว่าง 58-60 ปี


ปัจจัยเสี่ยง
1. uncircumcised men ซึ่งน่าจะเกิดจากการระคายเคืองของ semega และการดูแลรักษาความสะอาด
น้อย, semega เป็นผลเนื่องจาก bacteria ทำปฏิกิริยากับ desquamated epithelial cells

2. ปัจจัยอื่นที่มีการวิจัยสนับสนุนและขัดแยังกัน ได้แกE/P>

2.1 Human Papilloma Virus (HPV) infection
2.2 Herpetic infection
2.3 Cervical carcinoma sexual partner


อาการและอาการแสดง
1. อาการที่พบบ่อยคือ mass หรือ persistent sore, ulcer of the glans, foreskin or
shaft of penis
2. อาการที่พบน้อยในระยะแรก ได้แกEinguinal lymphadenopathy

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแม้มะเร็งองคชาติจะพบได้น้อยคือประมาณ 1 ใน 100000 แต่ก็เป็นโรคที่ไม่ควรเสี่ยงเพราะถ้าเป็นแล้วต้องตัดทิ้งอย่างเดียวเลยนะ ส่วนมะเร็งปากมดลูกนี่ก้อรู้ ๆ กันอยู่แล้ว ดังนั้นก้อตัดสินใจกันเอาเองนะครับ
   
ภาพที่จะแสดงต่อไปนี้อาจจะมีภาพบางภาพที่ไม่เหมาะกับผู้ภาวะขวัญอ่อนหรือจิตใจไม่เข้มแข็ง โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม





ขลิบซะทีดีไหมเนี่ย

เมื่อปีที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปร่วมประชุมสมาคมแพทย์ผิวหนังอังกฤษ ร่วมกับคณะของท่านอาจารย์ปรียา กุลละวณิชย์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนังที่เมืองไบรตัน ประเทศอังกฤษ
เนื้อหาของการประชุมครั้งนั้นมีมากมาย แต่มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ดูว่าอาจเป็นเพียงเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็น่าสนใจ คืองานวิจัยที่ว่า ผู้ชายควรขลิบดีหรือไม่ เรื่องของการขลิบนี้เป็นที่นิยมกันมากในพวกอเมริกัน แต่ถ้าเป็นทางแถบยุโรปส่วนใหญ่ก็ยังไม่ขลิบ

เชื่อกันว่า อาจช่วยลดการเกิดมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่เป็นภรรยาของผู้ที่ขลิบได้ นอกจากนั้น ในผู้ชายที่หนังหุ้มปลายเปิดไม่ออกอาจมีขี้เปียกหมักหมมและเป็นต้นเหตุของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ชายด้วย
เพื่อศึกษาว่า มีความสัมพันธ์กันระหว่างการทำ Circumcision หรือการขลิบและโรคผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศจริงหรือไม่ ผู้ทำวิจัยศึกษาผู้ป่วยจำนวน 364 ราย ที่มาด้วยโรคผิวหนังบริวเณอวัยวะสืบพันธุ์ชายและหาความสัมพันธ์ระหว่างโรคผิวหนังกับการมีหรือการไม่มีหนังหุ้มปลาย

ผู้วิจัยได้ตั้งคลินิกพิเศษภายในภาควิชาตจวิทยา (โรคผิวหนัง) เพื่อรักษาและวินิจฉัยชายที่มีโรคผิวหนังบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์โดยเฉพาะ ในปี พ.ศ.2536 และได้วิเคราะห์ข้อมูลในช่วง 4 ปีจนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 พบว่า
ผู้ป่วยทั้งหมดมีช่วงอายุระหว่าง 2 ปีถึง 93 ปี โดยที่ 296 คนมีอายุระหว่าง 18 ถึง 50 ปี โรคผิวหนังพบบ่อยที่สุดที่อวัยวะเพศชาย จากการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่

? โรคสะเก็ดเงิน ซึ่งพบจำนวน 89 คน
? โรคติดเชื้อ ซึ่งรวมถึงหูดจากเชื่อไวรัส จำนวน 53 คน
? โรคผิวหนังอักเสบชนิดแห้งฝ่อ Lichen sclerosus จำนวน 52 คน
? โรคผื่นม่วงแดงที่ชื่อ Lichen planus จำนวน 39 คน
? โรครังแคที่ชื่อ Seborrheic dermatitis จำนวน 29 คน
? และโรคผิวหนังอักเสบบริเวณปลายอวัยวะเพศ
Zoon's balanitis จำนวน 27 คน

ส่วนโรคผิวหนังที่พบรองลงมาได้แก่
? โรคผื่นนูน Lichen simplex จำนวน 6 คน
? โรคเนื้องอกชนิด Bowenoid papulosis จำนวน 4 คน
? มะเร็งชนิด Squamous cell carcinoma จำนวน 3 คน
? และอาการบวมของอวัยวะเพศ จำนวน 5 คน


โดยมี 7 รายการที่มีการวินิจฉัย 2 โรคพร้อมกันโดยมี Zoon's balanitis ร่วมกับ Lichen sclerosus และ 1 ใน 3 รายหลัง มี Bowenoid papulosis ร่วมด้วย
พบว่าผู้ป่วยทุกรายที่เป็น Zoon's balanitis และ Bowenoid papulosis ไม่ได้รับการขลิบ ส่วน Lichen sclerosus นั้นพบในผู้ที่ขลิบแล้วเพียง 1 ราย โดยเป็นโรคผิวหนังอักเสบอย่างรุนแรงและอาจถูกทำ Circumcision ในวัยเด็กเพื่อรักษาโรคนี้ ผู้ป่วย Lichen sclerosus อีก 2 ราย ยังคงมีรอยโรคที่ลำไส้ส่วนปลายและรอบรูเปิดท่อปัสสาวะ แม้จะได้รับการขลิบเพื่อรักษาอาการแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่ในกลุ่มโรคสะเก็ดเงิน, Lichen planus และรังแคของอวัยวะเพศไม่ได้ขลิบ (ร้อยละ 71, 68 และ 73 ตามลำดับ) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีโรคติดเชื้อที่อวัยวะเพศจะไม่ได้ขลิบ (ร้อยละ 83) ผู้ป่วยที่มีอาการบวมของอวัยวะสืบพันธุ์ทุกรายเป็นผู้ที่ทำ Circumcision มาแล้ว ส่วนโรคผิวหนังอักเสบนั้นพบได้เท่าๆ กันในทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าร้อยละ 49 ของผู้ป่วยชายจำนวน 249 ราย ที่เข้ารับการตรวจในคลินิกโรคผิวหนังทั่วไปเป็นผู้ทำ Circumcision มาแล้ว

ผู้วิจัยสรุปว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการอักเสบที่บริเวณอวัยวะเพศชาย จะพบในผู้ที่ไม่ได้รับการทำ Circumcision ซึ่งอาจเกิดจากการสัมผัสเสียดสี หรือเป็นผลสืบเนื่องมาจากการติดเชื้อโรคซึ่งยังระบุไม่ได้ชัดเจน
โดยความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่า ทั่วไปนั้นหากสามารถถลกหนังหุ้มปลายเพื่อทำความสะอาดอวัยวะเพศได้ จะขลิบหรือไม่คงไม่แตกต่างกันนัก แต่ในผู้ที่หนังหุ้มปลายไม่เปิด ไม่สามารถทำความสะอาดได้ ควรรับการขลิบดีกว่าครับ เคยพบผู้ป่วยอายุย่างเข้าเบญจเพศแล้ว แต่มีหนังหุ้มปลายปิดมิดเหลือรูปัสสาวะแค่รูเข็ม ถ้าเป็นแบบนี้ ไปพบศัลยแพทย์เพื่อขลิบหนังส่วนเกินออกรับรองว่าโลกจะสดใสกว่าเดิมแน่ครับ ....นพ.ประวิตร พิศาลบุตร นายกสภาแพทย์โรคผิวหนังแห่งภาคพื้นเอเชีย
 
(หากเนื้อหาหรือบทความไม่เหมาะสมเรียนเจ้าของบอร์ดดูแล ลบทิ้งได้นะครับ ขอบคุณเป็นอย่างสูง)

kose

  • บุคคลทั่วไป
Re: ขลิป ป้องกันมะเร็งปากมดลูก กับมะเร็งองคชาต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 03 มกราคม 2009, 17:58:04 »

 890แพงป่าวครับ

Tred

  • บุคคลทั่วไป
Re: ขลิป ป้องกันมะเร็งปากมดลูก กับมะเร็งองคชาต
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 03 มกราคม 2009, 19:34:17 »

 kjhgfถูกต้องนะคับอดเจ็บหน่อยแต่ปลอดภัยดีที่สุดคับ  kjhgf

jokerzero

  • บุคคลทั่วไป
Re: ขลิป ป้องกันมะเร็งปากมดลูก กับมะเร็งอ#
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 29 กันยายน 2010, 13:51:04 »

คุณควรเตรียมตัวอย่างไร หากคุณจะต้องกลับไปทำงานหลังจากที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง

สำหรับหลายๆ คนการกลับไปทำงานน่าจะเป็นการเยียวยาจิตใจที่ดีห ลังจากที่ตนเองป่วยหรือได้รับการรักษาโรคมะเร็ง เนื่องจากคุณจะได้ใช้เวลาว่างให้หมดไปกับการทำงานซึ่งดีกว่านั่งคิดมากอยู่กับบ้าน ซึ่งการที่ได้กลับไปทำงานหลังจากหยุดพักยาวๆนั้น  เจ้านายของคุณคงอยากจะรู้สาเหตุของการลานั้นอย่างแน่นอนที่สุด สิ่งที่สองที่คุณจะต้องเตรียมรับมือนั่นก็คือ...ปฎิกิริยาในรูปแบบต่างๆจากเพื่อนร่วมงานของคุณ แต่ละคนมีปฎิกิริยาตอยสนองกับโรคมะเร็งที่ แตกต่างกัน และแน่นอนเพื่อนร่วมงานของคุณย่อมมีคำถามมากมายที่จะถามคุณเกี่ยวกับโรคที่ คุณเป็น บางคนอาจจะรังเกียจคุณ...บางคนอาจจะตื่นตูมกับอาการของคุณมากจนเกินไป... หรือแม้กระทั่งอาจคิดว่าโรคมะเร็งเป็น โรคติดต่อ ซึ่งความคิดต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณจะต้องคอยรับมือและคอยตอบคำถาม แต่หากไม่เป็นผลสำเร็จ คุณควรจะปรึกษาหัวหน้าของคุณเพื่อหาข้อยุติปัญหาต่างๆเหล่านั้น สิ่งที่สามที่คุณควรจะทำนั่นคือ...คุยตกลงเรื่องงานกับหัวหน้าคุณก่อนเริ่มทำงานจริง เรื่องนี้จะคุยตกลงกันก่อนหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับตัวของคุณเองมากกว่า หากคุณคิดว่าคุณต้องการคนช่วยเหลือหรือ แบ่งเบาภาระงานที่คุณทำอยู่ คุณควรจะพูดคุยหรือตกลงกับหัวหน้าของคุณก่อนที่จะเริ่มงาน ยกตัวอย่างเช่น ในบางครั้งคุณจำเป็นจะต้องหยุดงานในวันใดวันหนึ่งในทุกๆอาทิตย์เพื่อไปพบ แพทย์ หรือแม้กระทั่งการที่คุณต้องหยุดพักหลักจากการผ่าตัดหรือฉายรังสีซึ่งจะต้อง ทำติดต่อกันหลายครั้งในช่วงที่คุณทำงาน เรื่องเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่สำคัญ คุณควรจะพูดคุยกับหัวหน้าของคุณอย่างตรงไปตรงมา เพื่อช่วยกันหาทางออกที่ดีที่สุดในการทำงานของคุณซึ่งคุณไม่ควรมองข้ามเด็ด ขาด เรื่องที่สี่ที่คุณควรจะทราบ หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมนั่นคือ...เรื่องสิทธิต่างๆของคุณที่คุณควรจะได้รับ ในแต่ละเมืองหรือในแต่ละประเทศที่คุณอยู่ย่อมมีกฎหมายแรงงานที่ตราขึ้นเพื่อ ความยุติธรรมต่อพนักงานแตกต่างกันออกไป คุณควรศึกษาให้ทราบถึงสิทธิต่างๆที่พึงได้รับทั้งจากทางรัฐบาลและจากบริษัท ที่คุณทำงานอยู่ ซึ่งวิธีง่ายๆในการหาข้อมูลเหล่านี้ก็คือ เดินเข้าไปคุยกับฝ่ายบุคคลของบริษัทคุณเพื่อรับทราบข้อมูลหรือสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสิทธิที่คุณพึงจะได้รับทั้งจากทางรัฐบาลและทางบริษัท ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งหรือข้อสงสัย คุณสามารถสอบถามข้อมูลเบื้องต้นต่างๆจากกระทรวงแรงงาน แต่หากเกิดข้อขัดแย้งต่างๆที่คุณไม่สามารถแก้ไขได้ วิธีที่อยากจะแนะนำก็คือ คุณควรจะนำเรื่องเหล่านี้ไปปรึกษากับหัวหน้างานของคุณเพื่อให้ท่านช่วยแก้ไข ปัญหาเหล่านั้นแทนคุณก็อาจเป็นได้ สิ่งที่ห้า สิ่งสุดท้ายที่คุณควรจะทำก็คือ...มอบความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งให้กับเพื่อนร่วมงานของคุณ หลายคนยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคมะเร็ง ซึ่งการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งรวม ทั้งการบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวคุณเอง แบ่งปันต่อเพื่อนร่วมงานฟัง อาจทำให้เขาเหล่านั้นเข้าใจและรู้จักวิธีการหลีกเลี่ยงการเป็นโรคมะเร็งได้ ซึ่งถือเป็นวิทยาทานทางความรู้อย่างหนึ่งที่คุณสามารถให้กับเพื่อนร่วมงานของคุณได้ หากคุณสามารถเตรียมตัวให้พร้อมที่จะรับมือกับปัญหา ต่างๆ โดยเฉพาะกับปัญหา 5 ข้อที่กล่าวไปแล้วในข้างต้นนั้น คุณจะพบว่าการกลับไปทำงานของคุณ จะไม่เป็นปัญหาใหญ่ที่จะทำให้คุณกลุ้มใจอีกต่อไป... ด้วยความปรารถนาดีจาก

สนับสนุนเนื้อหา
 
คำที่เกี่ยวข้อง  :  สุขภาพ   รอบรู้เรื่องสุขภาพ   มะเร็ง   เมื่อยคอ   ปวดหลัง   เชื้อโรค
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 กันยายน 2010, 17:00:32 โดย jokerzero »