-->

ผู้เขียน หัวข้อ: 5 นิยายที่เกิดจากความฝัน รู้ไหมว่า นักเขียนบางคน ก็ได้พล็อตนิยายตอนหลับ!  (อ่าน 853 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

  • Administrator
  • เทพเจ้าราตรี
  • *
  • กระทู้: 18211
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +9/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • cmxseed

5 นิยายที่เกิดจากความฝัน
รู้ไหมว่า นักเขียนบางคน ก็ได้พล็อตนิยายตอนหลับ!


 
แดร็กคูล่า



นักเขียนเรื่อง แดร็กคูล่า คือ บราม สโตกเกอร์ (Bram Stoker) ซึ่งเป็นชาวไอริช เขาเขียนเรื่องนี้ในปี ค.ศ. 1897 และนิยายเรื่องนี้
ก็กลายเป็นผลงานมาสเตอร์พีซของเขา มีคนรู้จักทั่วโลก นอกจากเป็นนักเขียน สโตกเกอร์ยังเป็นผู้จัดการโรงละคร นักวิจารณ์หนัง
และผู้ช่วยส่วนตัวของนักแสดงชื่อดัง เฮนรี่ ไอร์วิ่ง ความที่ใกล้ชิดกับวงการละคร และยังเคยประกอบอาชีพนักข่าวมา ทำให้สโตกเกอร์
ได้ศึกษาวรรณกรรมและนิทานพื้นบ้านเยอะมาก รวมถึงรู้จักสถานที่แปลกๆ อย่างเช่น ทรานซิลวาเนีย อันเป็นบ้านเกิดของแดร็กคูล่านั่นเอง
 




จุดเริ่มต้นของแดร็กคูล่า เกิดจากการที่สโตกเกอร์ได้ศึกษาตำนานพื้นบ้านเก่าๆ ของชาวโรมาเนี่ยนและฮังกาเรี่ยน และได้สัมผัส
บรรยากาศของเมืองเล็กๆ อย่าง Whitby ในอังกฤษ ซึ่งเป็นเมืองที่เชื่อกันว่าเป็นที่อยู่ของพวกแวมไพร์ สโตกเกอร์อาจดูเหมือน
เป็นผู้ริเริ่มไอเดียเรื่องผีดูดเลือด แต่ความจริงแล้ว มีนักเขียนอื่นๆ อีกหลายคนที่เขียนถึงเรื่องนี้ เช่น

เรื่อง "Carmilla" โดย Joseph La Fanu เรื่อง "The Family of the Vourdalak" โดย Tolstoy
และเรื่อง "The Vampyre" โดย John William Polidori ทุกเรื่องเขียนในช่วง ค.ศ. 1700
แต่ผู้ที่ทำให้ผีดูดเลือดเป็นที่รู้จัก กลับเป็นตัวสโตกเกอร์นี่เอง





 
วันดีคืนดี สโตกเกอร์ก็ฝันถึงชายคนหนึ่ง ผู้นอบน้อม ตระกูลดี และชอบเก็บตัว เขาคนนั้นเป็นท่านเคานท์ และต่อมา ก็กลายเป็นบุคคล
ที่ทุกคนจดจำได้ในชื่อของ ท่านเคานท์แดร็กคูล่า ลูกชายของสโตกเกอร์เป็นผู้ออกมาบอกเล่าเรื่องราวเหล่านี้ในเวลาต่อมา เขาเล่าว่า
พ่อ (สโตกเกอร์) กลัวความฝันนี้มาก จนต้องจับปากกาเพื่อที่จะเขียนนิยาย ระหว่างเขียน พ่อบอกว่า ความฝันนั้นชัดเจนและน่ากลัวมาก
และเขาเชื่อว่า มันเป็นความจริง สโตกเกอร์ ได้รวมเรื่องราวของเขาเข้ากับความจริง โดยเชื่อมโยงแดร็กคูล่าเข้ากับเจ้าชายแห่งเพนซิลวาเนีย
ชื่อว่า Vlad Tepes (หรือ Vlad the Impaler) เจ้าชายองค์นี้ ขึ้นชื่อเรื่องความโหดร้าย หลังพระองค์เสียชีวิต ผู้คนเชื่อว่า
พระองค์ได้กลายเป็นผีดูดเลือด คอยทำร้ายคน โดยเฉพาะผู้หญิงสาวๆ สวยๆ


 
สรุปก็คือ ไอเดียเรื่องแดร็กคูล่านี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากความฝันของสโตกเกอร์ด้วย ตำนานด้วย เรื่องจริงด้วย เมื่อนำมาผสมผสานเข้าด้วยกัน
สุดท้าย ก็เลยกลายเป็นนิยายที่น่าอ่าน นับว่าสโตกเกอร์เป็นนักเขียนที่ใช้ประโยชน์จากเรื่องราวรอบๆ ตัวได้อย่างน่าสนใจ และฉลาด
ที่จะนำไอเดียต่างๆ มารวมเข้าด้วยกัน

 
 
 


แฟรงเก้นสไตน์
 


นิยายสุดหลอนในตำนาน ผลงานของนักเขียนชาวอังกฤษ แมรี่ โวลล์สโตนคราฟ เชลลี่ (Mary Wolstonecraft Shelley) นิยายเรื่องนี้
ออกวางแผงในปี ค.ศ. 1817 ตัวนักเขียนบอกว่า ได้ไอเดียมาจากความฝันในคืนที่หนาวเหน็บของฤดูหนาว เธอระบุเวลาได้ด้วยว่า
มันคือตีสองถึงตีสามในคืนนั้น

 
“ฉันฝันเห็นคนหน้าซีด อวัยวะของเขาถูกนำมาเย็บติดเข้าด้วยกัน ด้วยเครื่องมืออันทรงพลัง ทั้งน่ากลัวและหลอกหลอนจนบอกไม่ถูก
เขาคือมนุษย์สายพันธุ์ใหม่ ถูกสร้างขึ้นจากความหวาดผวา เป็นปีศาจที่ทุกคนต้องหวาดกลัว” 

 
ดูเหมือนว่าภาพที่นักเขียนฝันเห็น ก็คือต้นกำเนิดของแฟรงเก้นสไตน์นั่นเอง แค่ภาพภาพเดียวในความฝัน เชลลี่สามารถนำภาพนั้นมาปะติดปะต่อ
และขยายพล็อตจนกลายเป็นนิยายที่ตรึงใจผู้คนทั่วโลก เชลลี่เล่าว่า หลังจากฝันร้าย เรื่องราวนั้นติดอยู่ในใจของเธอ จนกระทั่งเธอและเพื่อน
ได้ไปเที่ยวที่สวิตเซอร์แลนด์ และได้อ่านตำนานผีของเยอรมัน และนั่นแหละ ปัง! พล็อตกระจายในหัวของเธอ ภาพของแฟรงเก้นสไตน์
เริ่มชัดเจนขึ้นมาทีละนิด ไอเดียมาทีละส่วน และสุดท้าย เธอก็ได้คอนเซ็ปท์ของเรื่อง ที่จะว่าไปแล้ว... ก็เหมือนเป็นการพยากรณ์ล่วงหน้า
ถึงเรื่องของ สเต็มเซลล์, การปลูกถ่ายอวัยวะ และจีเอ็มโอ ในปัจจุบัน นับว่านักเขียนมีไอเดียน่าสนใจ และฉลาดมากทีเดียว
 
 
 




มิเซอรี่
 


Misery เป็นผลงานของนักเขียนสืบสวนฆาตกรรมคนดัง สตีเฟ่น คิง เคยทำเป็นหนังมาแล้ว โดยมีชื่อไทยว่า “มิเซอรี่ อ่านแล้วคลั่ง”
คิงสารภาพว่า ไอเดียของนิยายเรื่องนี้ มาจากความฝันของเขา เจ้าตัวบอกว่า ชอบฝันร้ายบ่อยๆ และมักจะหยิบเอาความฝันเหล่านั้นมาต่อยอด
ใส่คอนเซ็ปท์ต่างๆ เพิ่มบรรยากาศ ผสมความคิดสร้างสรรค์ จนกลายเป็นนิยายในแบบฉบับของคิง (เขาใช้คำว่า “ความฝันอันสร้างสรรค์”)
คิงยังเพิ่มเติมด้วยว่า การนำความฝันมาสร้างเป็นผลงาน คือคุณสมบัติสำคัญที่นักเขียนแนวนี้ทุกคนควรจะมี



Evelynn Waugh
 
ไอเดียของเรื่อง มิเซอรี่ เกิดขึ้นในช่วงที่คิงแอบงีบบนเครื่องบิน ระหว่างไฟลท์จากนิวยอร์กถึงลอนดอน ก่อนจะหลับ คิงอ่านเรื่องสั้น
ชื่อ "The Man who Loved Dickens” ผลงานของ Evelynn Waugh เนื้อหาเกี่ยวกับชายผู้โชคร้ายในอัฟริกาใต้ ระหว่างที่หลับ
คิงฝันเห็นพล็อตเรื่องเป็นฉากๆ เมื่อตื่นขึ้นมา เขาก็เริ่มต้นร่างพล็อตนิยายทันที เรื่องราวของนักเขียนชื่อดัง ผู้สร้างตัวละครหญิงสาว “มิเซอรี่”
จนกระทั่งวันหนึ่ง ระหว่างที่ปั่นต้นฉบับที่บ้านบนเขา พอลตกลงใจว่าจะจบชีวิตของ “มิเซอรี่” และเขียนนิยายเรื่องใหม่ โชคร้าย
ขณะขับรถลงเขา รถเกิดพลิกคว่ำ พอลตื่นมาอีกครั้ง พบว่าตัวเองอยู่ในบ้านของแฟนคลับนิยายจอมโหด จากนั้น ชีวิตของเขา
ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
 
และนั่นคืออีกหนึ่งผลงานที่เกิดจากความฝันของผู้เขียน
 
 
 
ดร. แจ็คเคิล กับ มิสเตอร์ไฮด์   



ผลงานสุดสยองของ โรเบิร์ต หลุยส์ สตีเวนสัน เนื้อเรื่องย่อๆ สรุปสั้นๆ ด้วยคำว่า “สองคนในร่างเดียว” สตีเวนสันสร้างผลงานชิ้นนี้
ในปี ค.ศ. 1885 ช่วงเวลานั้นเขาป่วยหนัก และมีความตั้งใจจะเปลี่ยนสไตล์งานเขียน ครั้งหนึ่ง เขาไข้ขึ้นสูงมาก จนฝันร้ายเป็นฉากๆ
ยิ่งนานวัน ฝันร้ายยิ่งหลอกหลอนมากขึ้น แถมเขายังพบว่าตัวเองฝันแบบเดิมซ้ำๆ วนไปวนมา วันหนึ่ง ภรรยาได้ยินเสียงเขาร้อง
อย่างเสียขวัญ จึงรีบวิ่งมาปลุก แทนที่จะขอบคุณ สตีเวนสันกลับตวาดใส่ภรรยาว่า


“มาปลุกทำไม คนกำลังจะได้พล็อต”

และต่อมา ฉากนี้ได้กลายเป็นฉากเปิดในนิยายเรื่อง ดร. แจ็คเคิล กับ มิสเตอร์ไฮด์ ที่มีชื่อเสียงมาก
 
สตีเวนสันใช้เวลาร่างพล็อตเรื่องเพียงแค่สามวัน เจ้าตัวบอกว่าจดจำฉากในความฝันได้แม่นยำ เขาจดทุกสิ่งทุกอย่างในความทรงจำ
ลงในกระดาษ จากนั้นก็นำข้อมูลที่ได้มาสร้างคาแร็คเตอร์ของตัวละครที่โดดเด่น นั่นคือ ดร. แจ็คเคิล กับ มิสเตอร์ไฮด์ คนสองบุคลิก
ที่เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย น่าแปลกที่อาการป่วยยิ่งหนักมากขึ้นเท่าไหร่ นักเขียนผู้นี้ก็ยิ่งกระตือรือร้นและมีพลังในการสร้างสรรค์งานเขียน
ท้ายที่สุด เมื่อเขียนนิยายเรื่องนี้จบ เขาก็หายป่วยและใช้ชีวิตต่อมาจนถึงปี ค.ศ. 1894 เป็นนักเขียนโชคดีมาก แม้จะป่วยหนัก
แต่ก็ได้พล็อตนิยายมาเขียน แถมสุดท้าย ยังหายดีอีกต่างหาก
 
 
 


งานเขียนหลายๆ ชิ้นของเอ็ดการ์ อัลลัน โพ



โพได้ชื่อว่าเป็นเจ้าพ่อสายนิยายสยองขวัญ เขาเขียนเรื่องได้หลอนและน่ากลัวมาก ครั้งหนึ่ง เมื่อถูกถามว่า เขาได้แรงบันดาลใจในการเขียนจากไหน
เจ้าตัวก็ตอบง่ายๆ ว่า แหล่งข้อมูลของเขาคือ “ความฝัน” คนใกล้ชิดทั้งเพื่อนๆ และครอบครัว ระบุว่าโพมักเล่าเรื่องฝันร้ายของตนให้คนอื่นๆ
ฟังเสมอ ทุกคนเห็นตรงกันว่า คงเป็นเพราะเขาดื่มหนักเกินไป ก็เลยฝันร้าย อย่างไรก็ตาม โพได้ใช้ประโยชน์จากฝันร้ายของตน
ด้วยการนำมาเขียนเป็นนิยายขายดี



 
เราขอยกตัวอย่างนิยายสยองขวัญขายดีที่โพบอกว่าได้พล็อตมาจากความฝัน นิยายเรื่องนั้นมีชื่อว่า "The Tell-Tale Heart" เรื่องราวของชาย
ผู้ได้ยินเสียงจากหัวใจของคนตาย หรือเรื่อง “The Cask of Amontillado” เรื่องของชายผู้ถูกขังไว้ในผนัง และสุดท้าย เรื่อง
"The Premature Burial" เรื่องของชายผู้ถูกฝังทั้งเป็น ทุกเรื่อง โพบอกว่าได้มาจากฝันร้ายของเขาทั้งหมด
 
ทำบทความนี้จบแล้ว แอดมินขอสรุปว่า ทุกคนที่เรายกตัวอย่างมานี้ ช่างมีความสามารถและมีคุณสมบัติของนักเขียนอย่างแท้จริง
ขนาดนอนหลับ ฝันไป ก็ยังเอาเรื่องราวในความฝันมาเขียนเป็นเรื่องได้อีก นับถือเลย...


credit :: ทีมงานนักเขียนเด็กดี
 
ขอบคุณบทความ
https://en.wikipedia.org/wiki/Dracula
http://www.cliffsnotes.com/literature/f/frankenstein/about-frankenstein
http://stephenking.wikia.com/wiki/Misery
https://en.wikipedia.org/wiki/Strange_Case_of_Dr_Jekyll_and_Mr_Hyde 
http://xroads.virginia.edu/~hyper/poe/telltale.html
http://alexeimaximrussell.blogspot.ca/2015/09/the-top-5-novels-inpired-by-authors.html


ป.ล. Edgar Allan Poe นี่น่าสไตล์แกสนใจดีนะครับ
ยังไงคราวหน้าจะเอาประวัติแกมาให้อ่านกันอีกที

 .,mn
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 กันยายน 2016, 17:27:41 โดย etatae333 »
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่