-->

ผู้เขียน หัวข้อ: โทษขอการเป็นผู้ฆ่า (ศีลข้อ 1)  (อ่าน 923 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sonor

  • บุคคลทั่วไป
โทษขอการเป็นผู้ฆ่า (ศีลข้อ 1)
« เมื่อ: 15 กันยายน 2009, 06:45:23 »

๑)  ทุกข์ทางใจ

จิต ที่เป็น ปกติสุขไม่อาจคิดลงมือฆ่า การจะเอาชีวิตใครได้ต้องใช้จิตที่เป็นทุกข์เท่านั้น เพราะส่วนลึกรู้อยู่ว่าเป็นเรื่องผิด เป็นเรื่องน่าเศร้าใจ แม้แต่มดตัวน้อยก็ดิ้นรนเอาชีวิตรอดยามจวนตัว อยากดำรงสภาพของตนเองจนกว่าจะถึงอายุขัย การตัดสิทธิ์ในการดำรงชีวิตของผู้อื่นจึงนับเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เรื่องเล็ก แม้เขาจะอยู่ในอัตภาพเล็กเพียงใดก็ตาม

การ ตายเป็น ความทุกข์ของผู้ตาย ถ้าเราเป็นผู้หยิบยื่นความตายให้กับเขา ใจเราจะเป็นสุขไปได้อย่างไร การสังเกตเข้ามาในตนเองจะทำให้เห็นทุกข์เป็นขณะ ๆ อย่างชัดเจน

ทุกข์เริ่มต้นตั้งแต่เมื่ออยากฆ่า สังเกตเข้ามาในตนเอง จะเห็นเป็นความหวั่นไหวลังเลใจ กระวนกระวาย กระสับกระส่ายไม่สบายตัว

ทุกข์ จะทวีตัวขึ้นเมื่อตัดสินใจฆ่าจริง สังเกตเข้ามาในตนเอง จะเห็นเป็นแรงดันร้อน ๆ อัดแน่นอยู่ในอก ตลอดจนเกิดความตึงเครียดขึ้นในหัว ต่อให้ภายนอกดูนิ่ง ก็คล้ายมีลูกไฟวิ่งพล่านอยู่ข้างใน

ทุกข์ จะทวี ตัวขึ้นอีกเมื่อมีการพยายามฆ่า สังเกตเข้ามาในตนเอง จะเห็นเป็นการฝืนใจ เค้นเอาโทสะขึ้นมาพยายามเอาชนะมนุษยธรรมที่ติดตัวมาแต่แรกเกิด

ทุกข์ จะทวีตัวขึ้นถึงขีดสุดเมื่อลงมือฆ่า สังเกตเข้ามาในตนเอง จะเห็นความรู้สึกเหี้ยมเกรียมก่อตัวขึ้นมากพอที่จะระงับความละอายต่อบาปลง ชั่ววูบ หรือดับสำนึกเมตตาปรานีลงชั่วขณะหนึ่ง

ทุกข์ จะไม่จบโดยง่าย แม้เมื่อฆ่าสำเร็จ สังเกตเข้ามาในตนเอง จะเห็นเป็นความรู้สึกผิดที่ยืดเยื้อ เพราะตระหนักว่าชีวิตเมื่อตกล่วงไปแล้ว ย่อมไม่อาจเอากลับคืนมาได้ แม้ผู้ฆ่าจะสำนึกเสียใจเพียงใดก็ตาม

ถ้า สัตว์ที่ถูกฆ่ามีร่างจ้อยจน ดูไร้ค่า เช่น มดและแมลง ก็ไม่ต้องอาศัยกำลังใจในการปลิดชีวิตมากนัก ทุกข์ในขณะต่าง ๆ จึงอาจปรากฏเป็นของเล็กเกินกว่าจะจับสังเกตได้

หรือ ในอีกทางหนึ่ง แม้ผู้ถูกฆ่าจะเป็นมนุษย์ ซึ่งต้องอาศัยกำลังใจในการทำบาปยิ่งกว่าฆ่าสัตว์หลายร้อยหลายพันเท่า ความทุกข์ในการลงมือฆ่าก็อาจถูกกลบเกลื่อนด้วยความพึงใจที่สามารถกำจัด ปรปักษ์ได้สำเร็จ

ความไม่เห็น ค่าของชีวิต กับความสะใจที่ฆ่าสำเร็จ จึงเปรียบเหมือนม่านอำพรางทุกข์ทางใจของเราได้ แต่ขอเพียงเราใส่ใจสังเกต ก็จะพบว่าทุกข์ทางใจอันเกิดจากการฆ่า ยังคงเป็นความจริงอยู่เสมอ


๒)  การสั่งสมบาป

บาป เป็นธรรมชาติฝ่ายมืด เพราะมีอิทธิพลปรุงแต่งสภาพจิตให้มัวหมองลง นั่นหมายความว่าทุกครั้งที่ทำบาป มองไปทางไหนเราจะรู้สึกว่าโลกหม่นมืดกว่าปกติ

เมื่อ ทราบว่าความมืด เป็นเครื่องหมายของบาป เราก็สามารถสำรวจใจตนเองแล้วทราบได้ว่าการฆ่าเป็นบาป เพราะไม่มีการฆ่าครั้งใดที่ทำให้จิตของเราสว่างขึ้น มีแต่จะหม่นหมองลง กับทั้งไม่มีแก่ใจคิดอะไรในทางดี ในทางที่เจริญเอาเลย

แรง ผลักดันให้ ทำลายชีวิตผู้อื่นได้คือโทสะ โทสะต้องแรงเกินเมตตาธรรมไปมาก จึงขับให้เราก่อบาปด้วยการฆ่าได้ และโดยเหตุนี้เอง ทุกครั้งที่เราฆ่าแบบไม่ฝืนใจ ไม่ยั้งคิด ไม่ยั้งมือ จิตของเราจึงเหมือนแปรสภาพเป็นลูกไฟแห่งความโกรธแค้น ถ้าโกรธแค้นมากก็ลุกโพลงเป็นไฟดวงใหญ่ยืดเยื้อยาวนาน ถ้าโกรธแค้นน้อยก็โชนวูบเป็นไฟดวงเล็กแล้วดับลงในเวลาอันสั้น

ที่ น่า กลัวก็คือบาปสามารถสั่งสมตัวได้ นั่นหมายความว่ายิ่งฆ่าสำเร็จมากขึ้นเท่าไร ใจก็ยิ่งเร่าร้อนมากขึ้นเท่านั้น มองไปทางไหนอะไรต่ออะไรดูขวางหูขวางตา น่าทำลายล้างไปหมด ใครพูดผิดหูนิดเดียว ใจเราจะนึกถึงการลงมือประทุษร้ายเขามากกว่านึกถึงการคุยกันดี ๆ ด้วยเหตุด้วยผล

แม้ตบยุงสัก ตัว มือของเราก็ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องประหารแล้ว และใจของเราก็นับว่าเปื้อนบาปแห่งการฆ่าแล้ว ฉะนั้น ยิ่งตบยุงบ่อย เราก็ยิ่งหงุดหงิดรำคาญง่าย และใจก็ทำตัวคล้ายหลุมดำที่ดึงดูดยุงเข้ามาหาตัวถี่ขึ้นอย่างน่าแปลกใจ จนในที่สุด ยุงในการรับรู้ของเราก็กลายเป็นเครื่องหมายเตือนให้นึกถึงการเข่นฆ่าท่า เดียว

ความคิดในทางทำลายจะลด ความฉลาดในการหาวิธีป้องกัน เราจะไม่รู้สึกผิดและย้ำบอกตัวเองว่าสมควรแล้ว กระทั่งบาปพอกพูนขึ้นจนหนา รู้สึกด้านชากับการฆ่าสิ่งมีชีวิตระดับเล็ก ถึงจุดนั้นเราจะพร้อมฆ่าสิ่งมีชีวิตระดับที่ใหญ่ขึ้น ด้วยความรู้สึกว่าสมควรแล้วในทางใดทางหนึ่งเช่นกัน

ฉะนั้น เพียงไม่ตั้งใจไว้ก่อนว่าจะเว้นขาดจากการฆ่า ก็นับว่ามีโทษแล้ว เพราะเมื่อถูกรบกวนให้เกิดโทสะอย่างแรงกล้า เมตตาธรรมดั้งเดิมย่อมลดระดับแทบไม่เหลือ ยังผลให้สติพร่าเลือนลง เปิดช่องให้โทสะเข้าครอบงำจนโง่เขลา หลงนึกว่าบาปแห่งการฆ่าเป็นสิ่งสมควรทำยิ่งกว่าบุญแห่งการไว้ชีวิต


๓)  ความเป็นอยู่ที่เลวร้าย

ไม่ มีความรู้สึกผิดอันใดย่ำแย่ไปกว่าความรู้สึกผิดที่เกิดจากการฆ่า เพราะบาปข้ออื่นยังพอไถ่ถอนความรู้สึกผิดไหว เช่น ขโมยสมบัติใครยังคืนได้ เป็นชู้ยังขอขมาได้ โกหกยังสารภาพได้ ติดเหล้ายังฝึกอดได้ แต่ถ้าฆ่าใครสำเร็จ เราจะเอาชีวิตที่ไหนมาใช้คืนเขา?

ถ้า ฆ่าใครแล้ว รู้สึกผิด ความรู้สึกผิดนั้นมักเรื้อรัง หากเปรียบเป็นแผล ก็หนักหนาเสียยิ่งกว่าบาดแผลทางกายหลายเท่า เพราะกายอาจเกิดแผลสดเพียงไม่นานก็ตกสะเก็ด รอให้เนื้อสมานกันดังเดิมราวกับไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น แต่แผลทางใจอันเกิดจากบาปแห่งการฆ่านั้น จะยังคงสดใหม่อยู่เสมอ ตราบเท่าที่ชีวิตของผู้ตายไม่อาจฟื้นคืนกลับมาฟังคำขอโทษจากเรา

เมื่อ บาปจากการฆ่าถูกสั่งสมมากแล้ว ผู้ฆ่าย่อมเลื่อนฐานะเป็นนักฆ่า ดูเผิน ๆ เหมือนใจเย็นกว่าคนอื่น แต่ที่แท้เลือดเย็นกว่าใคร ๆ ต่างหาก ความเลือดเย็นของนักฆ่าย่อมก่อให้เกิดกระแสในตัวที่น่าพรั่นพรึง ชวนให้รู้สึกถึงอันตราย ไม่ต่างจากยุง งู หรือเสือ แค่เห็นก็นึกเกลียดกลัวขึ้นมาทันที ทั้งที่ยังไม่ทันทำอะไรให้

การ ฆ่าแต่ละครั้งคือการสั่งสมความเครียด จะน้อยหรือมากก็ขึ้นอยู่กับว่าต้องเค้นกำลังใจขึ้นมาปลิดชีวิตผู้อื่นเพียง ใด ความเครียดทำนองนี้ย่อมกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารอันเป็นพิษต่อร่างกายหลาย ชนิด ซึ่งเมื่อสั่งสมมากพอ ย่อมก่อให้เกิดโรคที่คาดเดายาก จึงไม่น่าสงสัยเลยว่าเหตุใดนักฆ่าทั้งหลายจึงต้องทุรนทุรายกับสารพัดโรคร้าย ราวกับถูกคุมขังและลงโทษให้ตายอย่างทรมานอยู่ในคุกแคบ ซึ่งก็คือร่างกายของตนนั่นเอง

นัก ฆ่าจัดเป็นพวกที่ไว้ชีวิตตนเพื่อ ตัดชีวิตท่าน จึงย่อมได้ชื่อว่าก่อกรรมด้วยการริบอายุผู้อื่น แม้กลับใจแล้ว และใช้ชีวิตที่เหลือทำบุญใหญ่เพื่อให้บาปเจือจางลง เป็นผลให้มีสิทธิ์ได้เกิดเป็นมนุษย์ใหม่ ก็ย่อมถูกผลของบาปแห่งการฆ่าริบอายุเอาบ้าง อาจด้วยการถูกศัตรูไล่ล่าฆ่าคืน อาจด้วยการเป็นโรคร้ายรักษาไม่หาย หรืออาจด้วยการประสบอุบัติเหตุไม่คาดฝัน ตายดับไปจากสุคติภูมิเช่นมนุษยโลกเสียตั้งแต่อายุยังน้อย

หาก ตาย เยี่ยงนักฆ่าผู้ยังไม่อิ่มไม่พอกับการฆ่าฟัน แต่ยังพอมีบุญพยุงไม่ให้ร่วงหล่นถึงนรก ก็อาจไปเสวยภพของนักฆ่าระดับเดรัจฉานภูมิ เช่น ยุงลาย งูจงอาง หรือพญาราชสีห์ สุดแต่บุญเก่าของแต่ละตนจะตกแต่งให้เป็นนักฆ่ารุ่นเล็ก รุ่นกลาง หรือรุ่นใหญ่

แต่หาก ตายเยี่ยงนักฆ่าที่เหี้ยมโหดไร้ความ ปรานี กับทั้งไม่มีบุญเก่าพอช่วยพยุง ก็จัดว่ามีความเหมาะกับสภาพความเป็นอยู่อันเร่าร้อนเช่นนรกภูมิสถานเดียว!
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 กันยายน 2009, 06:47:14 โดย หมีพู »