-->

ผู้เขียน หัวข้อ: กาลาปากอส ปริศนาแห่งวิวัฒนาการ  (อ่าน 902 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

  • Administrator
  • เทพเจ้าราตรี
  • *
  • กระทู้: 18209
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +9/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • cmxseed
กาลาปากอส ปริศนาแห่งวิวัฒนาการ
« เมื่อ: 19 กันยายน 2014, 14:28:56 »

   
กาลาปากอส ปริศนาแห่งวิวัฒนาการ





หมู่เกาะโดดเดี่ยวแห่งหนึ่งในมาหสมุทรแปซิฟิคมีความสำคัญกับคำว่า "วิวัฒนาการ" และตัว ชาลส์ ดาร์วิน มาก
ที่จริงดาร์วินใช้เวลากับหมู่เกาะแห่งนี้เพียง 5 สัปดาห์ แต่เวลาไม่กี่สัปดาห์นี้กลับเป็นช่วงสำคัญที่สุดในการเดินทาง
ไปตามชายฝั่งอเมริกาใต้เพราะช่วงเวลานี้เองที่ทำให้ดาร์วินมั่นใจว่า ทฤษฎีวิวัฒนาการของเขาถูกต้อง ตลอดเวลา
20 ปีต่อมา ดาร์วินย้อนไปอ่านบันทึกที่เขาเขียนที่หมู่เกาะนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนประจักษ์ออกมาว่าเวลาห้าสัปดาห์นั้น
ได้ไขปริศนาว่า สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการมาได้อย่างไร คำตอบก็คือ "การเลือกสรรของธรรมชาติ"


ในปี ค.ศ. 1831 เมื่อดาร์วินลงเรือหลวงบีเกิลในฐานะนักธรรมชาติวิทยาของทางราชการ ความคิดที่ยอมรับกัน
ในโลกของชาวคริสต์ตอนนั้นก็คือ พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลก ดาร์วินพยายามแสดงว่า
ความเชื่อเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ผิด โดยเขาได้เขียนไว้ในหนังสือสุดคลาสสิคชื่อ On the Origin of Sprcies
by Means of Natural Selection ว่าด้วยการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ โดยการเลือกสรรของธรรมชาติ
ซึ่งตีพิมพ์ออกมาในปี 1859



การเดินทางไปกับเรือหลวงบีเกิลเปิดโอกาสให้ดาร์วินได้ศึกษาพื้นที่ต่างๆมากมาย รวมทั้งนก พืช สัตว์ ที่มีอยู่อย่าง
หลากหลายน่าพิศวง การเดินทางครั้งนี้ตัวดาร์วินได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆจากของจริง ไม่ใช่จากตำราหรือพิพิธภัณฑ์
วิทยาศาสตร์อย่างที่นักวิชาการสมัยนั้นเค้าศึกษากัน ในช่วงสามปีแรกของการเดินทางนั้นดาร์วินเริ่มเชื่อว่า สิ่งมีชีวิต
ชนิดต่างๆมิได้คงสภาพเดิม แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ดาร์วินไม่อาจยอมรับคำอธิบายที่ว่า พระเจ้า
ผู้สร้างโลกได้"กำจัด"สัตว์ที่สูญพันธุ์บางชนิดไป หลังจากที่พวกมันทำหน้าที่บนโลกได้สมปรารถนาของพระเจ้าแล้ว
และพระองค์ก็ได้รงสร้างสิ่งมีชีวิตที่สูงกว่าดีกว่าขึ้นมา โดยมีมนุษย์สัตว์อันประเสริฐสุด(เหอะ เหอะ)เป็นสิ่งมีชีวิต
ชนิดสุดท้ายที่พระเจ้าสร้าง เหตุผลประการหนึ่งคือ ในระหว่างที่สำรวจชายฝั่งนั้น ดาร์วินขุดพบฟอสซิลและกระดูกสัตว์
ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับสัตว์ที่อยู่รอบๆตัวเขา เพียงแต่มันขนาดใหญ่กว่ามาก



เรือหลวงบีเกิลมาถึงหมู่เกาะกาลาปากอสเมื่อเดือน ก.ย. 1835 เกาะ 19 แห่งรวมทั้งโขดหินรอบๆ รวมทั้งเกาะเล็กๆ
ที่เกิดจากลาวาภูเขาไฟ กระจายกันอยู่ในมหาสมุทรเป็นเนื้อที่ 59,500 ตารางกิโลเมตร ห่างจากแผ่นดินอเมริกาใต้
ประมาณพันกิโลพอดีครับ ในตอนแรกดาร์วินกึ่งทึ่งกึ่งฉงนที่มีสัตว์ป่าอยู่อาศัยในที่ๆห่างไกลและทุรกันดารออกปานนี้
เขายังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า แม้สัตว์ส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายกันกับสัตว์ที่อยู่บนแผ่นดินใหญ่ แต่สัตว์เหล่านี้ยังมีลักษณะ
พิเศษที่พบเฉพาะในบริเวณหมู่เกาะกาลาปากอสเท่านั้น โดยมีผิดแผกกันไปบ้างตามท้องถิ่นที่พวกมันอยู่อาศัย


ประเภทของสัตว์ที่อยู่บนหมู่เกาะนี้ก็น่าศึกษาเช่นกัน ขณะที่ดาร์วินพักอยู่ที่นั่น เขาพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียง 2 ชนิด
คือ หนูขนาดเล็ก(mouse) ซึ่งดาร์วินลงความเห็นว่ามันคงวิวัฒนาการกันขึ้นที่นั่น และหนูขนาดใหญ่(rat) ซึ่งคงติดมากับเรือ
อย่างไรก็ตาม ดาร์วินไม่พบสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่หมู่เกาะนี้ เขาพบแต่สัตว์เลื้อยคลาน(จิ้งเบน?) ที่ดูจะชุกชุมมาก
เป็นพิเศษบนหมู่เกาะกาลาปากอส




ในที่สุด ดาร์วินสรุปว่า สิ่งมีชีวิตต่างๆมีวิธีมาถึงหมู่เกาะกาลาปากอสด้วยทางที่แตกต่างกันไป ซึ่งวิธีดังกล่าวคือตัวกำหนดว่า
ที่นี่มีสัตว์ประเภทใดบ้างที่คล้ายคลึงกับสัตว์บนแผ่นดินใหญ่ในอเมริกาใต้ สิ่งมีชีวิตพวกแรกคือพืชครับ พวกมันถูกลมหรือ
น้ำพัดพาเอาสปอร์(รวมทั้งเมล็ด)มาตกลงที่นี่ (ดาร์วินเคยทำการทดลอง โดยเอาเมล็ดพืชแช่น้ำไว้ลายเดือนแล้วลองเพาะ
ปรากฏว่าเพาะขึ้น) เมื่อมีสิ่งแวดล้อมจำพวกพืชเกิดขึ้นอย่างถาวรแล้ว พวกสัตว์ก็เริ่มอพยพเข้ามาอยู่ สัตว์ทุกชนิดในหมู่เกาะ
กาลาปากอสยกเว้นที่มนุษย์นำเข้ามา ล้วนวิวัฒนาการจาก"สัตว์บุกเบิก" ซึ่งมาถึงที่นี่โดยบังเอิญ เช่น นก ค้างคาว
และแมลงบางชนิดคงบินมาจากแผ่นดินอเมริกาใต้ (หรืออาจถูกพายุพัดออกนอกเส้นทางการอพยพย้ายถิ่นประจำปี)
ดังนั้นสัตว์บนเกาะจึงมีความคล้ายคลึงกับพวกบนแผ่นดินใหญ่อย่างที่ดาร์วินเห็น


สำหรับสัตว์ชนิดอื่นๆก็คงวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษที่บังเอิญอาจติดมากับท่อนไม้ กอสวะ แพสาหร่าย หรือเศษวัสดุที่ถูกน้ำ
ซัดสู่ทะเลผ่านทางปากแม่น้ำ แล้วลอยตามน้ำมายังหมู่เกาะ ไข่กบและคางคกที่อ่อนนุ่มไม่อาจอยู่รอดได้ เมื่อต้องลอยข้ามน้ำ
ข้ามทะเลเป็นระยะทางไกลๆ และถึงแม้จะรอดมาได้ หมู่เกาะนี้ก็แห้งแล้ง ไม่มีแหล่งน้ำจืดสำหรับสัตว์เหล่านี้ แต่ไข่ของสัตว์
เลื้อยคลานนั้นมีเปลือกที่แข็งแรงห่อหุ้มไว้ จึงลอยตามกระแสน้ำมาได้โดยปลอดภัย

เรียนรู้จากนก!!



ด้วยเหตุที่ไม่มีนกชนิดอื่นมาแก่งแย่ง นกฟินซ์ที่หมู่เกาะกาลาปากอสจึงใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ จากถิ่นอาศัยและแหล่งอาหาร
ที่มีอยู่ได้ นกฟินซ์ 13 ชนิดที่หมู่เกาะแห่งนี้มีลักษณะร่วมคือ ลำตัวยาว 10-20 ซม. มีขนสีน้ำตาลหรือดำ แต่แตกต่างกัน
ที่รูปร่างของจะงอยปาก บางชนิดมีรูปเรียวโค้งเพื่อใช้หาอาหารจากอดกไม้ บางชนิดเหมือนกแก้วเพื่อใช้ขบลูกไม้ และมีสองชนิด
สามารถใช้ปากคาบหนามกระบองเพชรเพื่อเสาะหาอาหารได้อย่างแคล่วคล่อง


สัตว์เลื้อยคลานที่น่าพิศวงที่สุดเห็นจะเป็นเต่าทะเลยักษ์ ในสมัยของดาร์วิน มีเต่าพักพิงอยู่ที่แห่งนี้นับเป็นแสนตัว คำว่า galapagos
อันเป็นชื่อของหมู่เกาะนั้น มาจากภาษาสเปนที่แปลว่าเต่าทะเล ด้วยเหตุที่ไม่มีสัตว์ล่าเหยื่อเป็นอาหาร เต่าที่นี่จึงมีอายุยืนกว่า 100 ปี
บางตัวมีขนาดยาวกว่า 1.3 เมตร และหนักเกือบ 200 กก. เมื่อโตเต็มที่ เข้าใจว่าเต่าพวกนี้คงจะมาถึงเกาะในขณะที่ยังเป็นไข่
หรือลูกเต่า ทั้งยังมีจำนวนมากพอที่จะตั้งแหล่งแพร่พันธุ์หรือกระจายออกไปทั่วทั้งหมู่เกาะ รองผู้ว่าราชการแห่งกาลาปากอสเล่า
ให้ดาร์วินฟังว่า แค่มองดูเขาก็บอกได้แล้วว่าเต่าตัวไหนมาจากเกาะใด ตอนนั้นดาร์วินไม่ตระหนักถึงความสำคัญของคำพูดนี้
ได้แต่จดจำเอาไว้เท่านั้น เต่าเหล่านี้มีลักษณะแตกต่างกันในรายละเอียดบางอย่าง ซึ่งดูเหมือนถุกกำหนดให้เป็นไปตามสภาพแวดล้อม
ในเกาะที่มีน้ำและพืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์ เต่าจะกัดกินหญ้าตามพื้นดิน กระดองด้านหน้าเหนือคอเต่าจึงโค้งลงเล็กน้อย
แต่ในท้องถิ่นที่เต่าต้องชะเง้อหาอาหารเหนือคอขึ้นไป คอเต่าจะยาวและกระดองด้านหน้าจะโค้งงอนขึ้นเหมือนอานม้า



กิ้งก่าอิกัวน่าก็มีความหลากหลายไม่แพ้กัน หมู่เกาะนี้มีกิ้งก่าอิกัวน่าสองชนิดที่แตกต่างกันชัดเจน ดาร์วินเชื่อว่าทั้งสองชนิดนี้
คงมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน แต่วิวัฒนาการไปคนละสายพันธุ์เพื่อให้สะดวกกับการหาอาหารที่สุด อิกัวน่าบนบกจะกินดอกและเมล็ด
ของต้นกระบองเพชรเป็นอาหาร ส่วนอิกัวน่าทะเลจะกินสาหร่ายที่ขึ้นอยู่โขดหินใต้ทะเล จึงมีหางยาวที่เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ
เพื่อให้มันสามารถแหวกว่ายในทะเลได้โดยสะดวกนั่นเอง


สัตว์เลื้อยคลานเช่นอีกัวน่าหรือกิ้งก่า ทำให้ชาลส์ ดาร์วินได้ข้อสังเกตบางอย่าง ซึ่งสนับสนุนข้อคิดของเขาที่ได้จากการศึกษานก
เช่นนกฟินซ์ที่มีอยู่อย่างดาษดื่น นกเหล่านี้ได้ให้คำตอบเกี่ยวกับทฤษฎีวิวัฒนาการว่าด้วยการเลือกสรรจากธรรมชาติ หรืออีกนัยหนึ่ง
ก็คือ พวกที่เหมาะสมเท่านั้นจึงจะมีชีวิตรอดอยู่ได้

(ถ้อยคำเหล่านี้ เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ ปราชญ์ยุคเดียวกับดาร์วินเป็นคนคิดครับ - - อย่าบอกนะว่าไม่รู้จัก)



ดาร์วินอนุมานว่า "...จากนกที่เดิมมีอยู่เพียงน้อยนิด นกชนิดหนึ่งมีอันต้องปรับเปลี่ยนตัวเพื่อจุดหมายที่แตกต่างกัน"

ฟินซ์(นกกระจาบปีกอ่อน) เป้นนกบกชนิดเดียวที่อาศัยอยู่อย่างแพร่หลายบนหมู่เกาะ ด้วยเหตุที่ไม่โดนล่าและไม่ต้องแย่งอาหาร
กับนกชนิดอื่น พวกมันจึงมีวิวัฒนาการที่แพร่หลายไปทั่วทั้งหมู่เกาะ แต่ละเกาะจะมีนกฟินซ์เป็นพันธุ์เฉพาะของเกาะนั้นๆ
ซึ่งพัฒนาการเพื่อเอื้ออำนวยให้อยูรอดได้ตามสภาพแวดล้อมให้มากที่สุด แล้วจึงถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนั้นให้นกรุ่นต่อๆไป
ถ้านกชนิดใดปรับตัวไม่ได้ ก็ต้องสูญพันธุ์ไปในที่สุด


นกจากนกฟินซ์ เต่าทะเล อิกัวน่าแล้ว ก็ยังมีนกทะเล สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง(shellfish) และสัตว์ประเภทกิ้งก่าอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก
สัตว์จำพวกเดียวกันที่อยู่แต่ละเกาะจะมีลักษณะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ดาร์วินเขียนบันทึกของเขาว่าความจริงในข้อนี้ทำให้

"ข้าพเจ้าได้ประจักษ์ด้วยความอัศจรรย์ใจ"

การสร้างสมมติฐานจากการพบเห็นดังกล่าว แสดงถึงความมีอัจฉริยภาพของดาร์วินได้เป็นอย่างดี

credit :: แสนยานุภาพ@arunsawat.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 กันยายน 2014, 17:02:23 โดย etatae333 »
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่