-->

ผู้เขียน หัวข้อ: เพศศึกษา: วิธีการดำเนินชีวิตเมื่อเป็นรักร่วมเพศ  (อ่าน 1975 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ชายวัยทอง

  • บุคคลทั่วไป

เพศศึกษา: วิธีการดำเนินชีวิตเมื่อเป็นรักร่วมเพศ

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่รักเพศเดียวกัน แรกๆคุณอาจว้าวุ่นใจและสับสน แต่หากคุณสามารถเปิดเผยให้ผู้ใกล้ชิด พ่อแม่ คนในครอบครัวทราบและอธิบายให้เขาสามารถยอมรับได้ จะทำให้ คุณรู้สึกสบายใจขึ้นกว่าการพยายามปกปิดเป็นความลับ แต่คุณควรเตรียมใจและยอมรับสภาพว่าการเปิดเผยตัวให้ใครๆรู้ว่าคุณเป็นรักร่วมเพศ จะทำให้คนในครอบครัวผิดหวังเสียใจระยะแรก แต่เมื่อเวลาล่วงเลยผ่านไปพวกเขามักจะยอมรับและทำใจได้

ส่วนคนอื่นๆในสังคมที่อยู่รอบตัวคุณ บางคนอาจรับไม่ได้และแสดงท่าทีรังเกียจ คุณอาจต้องทำใจให้ได้ว่าคนเรานั้นไม่เหมือนกัน คุณต้องเลือกปฏิบัติ ถ้าเป็นคนที่ยอมรับได้ คุณก็ไม่ต้องระมัดระวังตัวมาก แต่ถ้าพบคนที่แสดงท่าทีรังเกียจ คุณก็ควรลดระดับการติดต่อลง อาจติดต่อเฉพาะเรื่องที่จำเป็นเท่านั้น และถ้าสามารถควบคุมจริตกริยาหรือการแสดงออกได้ ก็จะเป็นการดีค่ะ เพื่อลดความรู้สึกอึดอัดกระอักกระอ่วนใจของอีกฝ่ายลง

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะเดินทางสายนี้ คุณจำเป็นต้องยอมรับธรรมชาติ ความเป็นจริงของชีวิตรักร่วมเพศว่า ชีวิตคู่ของรักร่วมเพศมักไม่จีรังยั่งยืน ยิ่งถ้าแก่ตัวลงก็จะหาคู่ได้ยากมากขึ้นทุกที และยิ่งเป็นกรณีของ?ทอม? หรือ ?เกย์ควีน? ด้วยแล้ว ต้องยอมรับว่าหาคู่ได้ยากกว่า ?ดี้? และ?เกย์คิง? ซึ่งมีโอกาสที่จะหันไปหาชายจริงหญิงแท้ได้ง่าย

ดังนั้น คุณควรเตรียมความพร้อมที่จะ ทำใจให้ได้เมื่อถูกทอดทิ้งหรืออีกฝ่ายตีจากไป คิดเสียว่าเป็นเรื่องของสัจธรรมไม่มีอะไรแน่นอน แม้คู่รักชายจริงหญิงแท้เองก็มีโอกาสเจอกับปัญหาเหล่านี้เช่นกัน เพียงแต่คู่ของรักร่วมเพศอาจมีแนวโน้มที่จะพบปัญหานี้ได้มากกว่า มีช่วงของการอยู่ร่วมกันสั้นกว่า แต่คุณก็สามารถมีความสุขกับสิ่งที่เป็นอยู่ได้ ถ้าคุณพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่และรู้จักแสวงหาความสุขในด้านอื่นๆ แทนที่จะมุ่งแสวงสุขจากเรื่องความรักความใคร่เพียงอย่างเดียว เช่น หาความสุขจากความสำเร็จในด้านการเรียน การงาน หรือทำตัวให้มีคุณค่าด้วยการทำประโยชน์แก่สังคม หรือสุขจากการให้ความใส่ใจคนในครอบครัว สร้างความสำเร็จในทิศทางที่เหมาะสมทำชีวิตของคุณให้มีคุณค่า ซึ่งจะทำให้คุณได้พบกับความสุขที่แท้จริงต่อไป


ข้อสำคัญเมื่อไรก็ตามที่คุณรู้สึกปรับตัวไม่ได้ ทำใจได้ยาก หรือมีปัญหากับการใช้ชีวิตอยู่ในสังคม ก็ควรขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวช อย่าปล่อยทิ้งไว้ให้เรื้อรังและเนิ่นนานนะคะ จะเป็นการบั่นทอนสุขภาพจิตของคุณเปล่า ๆ

ข้อมูลโดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2545