-->

ผู้เขียน หัวข้อ: งักฮุย (岳飞) แม่ทัพพิทักษ์แผ่นดิน  (อ่าน 360 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

  • Administrator
  • เทพเจ้าราตรี
  • *
  • กระทู้: 18150
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +9/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • cmxseed
งักฮุย (岳飞) แม่ทัพพิทักษ์แผ่นดิน
« เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2018, 17:37:47 »

งักฮุย (岳飞) แม่ทัพพิทักษ์แผ่นดิน



ขุนพลงักฮุย (岳飞) เทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ (ดั้งเดิม) เป็นขุนพลที่มีชีวิตจริงเกิดในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ
(หลังยุคสามก๊กประมาณ 700 กว่าปี และที่ผมพูดถึงยุคสามก๊ก เพราะบทความต่อไปผมจะเอางักฮุยมา
เปรียบเทียบกับกวนอูครับ) ในสมัยที่งักฮุยโตเป็นหนุ่มนั้น ฮ่องเต้ 2 พระองค์ของราชวงศ์ซ่งเหนือ
(ซ่งฮุยจง และซ่งชินจง) ได้ถูกพวกจิน (ชนเผ่าที่เข้ามารุกราน) จับตัวไปเป็นเชลยซึ่งเป็นเหตุให้ราชวงศ์
ซ่งเหนือล่มสลายลง งักฮุยจึงตั้งปณิธานว่าจะรับใช้ชาติและกอบกู้แผ่นดินกลับคืนมาให้ได้


งักฮุยเป็นอัจฉริยะทางการทหารอีกผู้หนึ่ง เพียบพร้อมทั้งบุ๋นบู๊ ชนิดที่ว่าไม่เป็นสองรองใครในแวดวงขุนศึก
โดยเฉพาะด้านยุทธพิชัยสงคราม สามารถใช้กำลังรบน้อยกว่ายันกับกองกำลังมหาศาลของกิมก๊กได้อย่าง
ไม่เป็นรอง แถมยังตีโต้กลับไปได้ด้วย ทำเอาแม่ทัพวู่ซู่แห่งกิมก๊กเสียหน้าครั้งแล้วครั้งเล่า

แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือเกียรติประวัติของงักฮุยในประเทศไทยกลับไม่เป็นที่แพร่หลายมากนักยิ่งเมื่อ
เปรียบกับกวนอูที่ได้รับการยกย่องจากชาวจีนในไทยให้เป็นถึงเทพเจ้าแต่งักฮุยกลับได้รับการยกย่องในฐานะ
ของนายทหารคนหนึ่งเท่านั้น จนกระทั่งในระยะหลัง เมื่อเกิดวิกฤตการเมืองในประเทศไทย ชื่อของ งักฮุย
จึงถูกยกขึ้นมา เปรียบเทียบกับสถานการณ์การเมืองไทยให้ได้ยินอยู่เนือง ๆ



งักฮุย เกิดในราชวงศ์ซ่งเหนือ บริเวณที่ปัจจุบันนี้ คือ อำภอทางยิง เมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน เมื่อครั้งวัยเยาว์
ณ บ้าน เกิดของเขาเกิดอุทกภัยใหญ่ จากการแตกของเขื่อนกั้นแม่น้ำฮวงโห มารดาของงักฮุยต้อง อุ้มบุตรชายไว้
ในอ้อมกอดอาศัยซุกตัวอยู่ในโอ่งลอยตามน้ำไปเรื่อย ๆ เพื่อรักษาชีวิตให้รอด


เมื่อล่วงเข้าสู่วัยหนุ่มในภาวะที่ประเทศกำลังตกอยู่ในวิกฤต เนื่องจากฮ่องเต้สองพระองค์ของราชวงศ์ซ่งเหนือ คือ
ซ่งฮุยจง และ ซ่งชินจง ถูกพวกจินจับตัวไปเป็นเชลยศึก (ค.ศ. 1115 - ค.ศ. 1234) จนนำมาซึ่งจุดจบของราชวงศ์
ซ่งเหนือ งักฮุยเมื่อพบเห็นกับเหตุการณ์เช่นนี้จึงตั้งปณิธานกับตัวเองไว้ว่าจะต้องกอบกู้ดินแดนที่สูญเสียกลับคืนมาให้ได้
ความตั้งใจนี้เมื่อประกอบกับการสนับสนุนของมารดา

เขาจึงสมัครเข้าเป็นทหารรับใช้ให้กับราชวงศ์ซ่งใต้ (ค.ศ. 1127-ค.ศ. 1279) ที่ขณะนั้นฮ่องเต้คือ ซ่งเกาจง ได้ย้าย
เมืองหลวงหนีมาทางใต้ จากเปี้ยนเหลียง (ปัจจุบันคือเมืองไคเฟิง) มาอยู่ที่หลินอัน (ปัจจุบันคือเมืองหางโจว) ก่อนที่งักฮุย
จะออกจากบ้านไปรับใช้ชาติ มารดาได้สลักอักษรจีน 4 ตัวไว้ที่กลางแผ่นหลังของบุตรชาย ความว่า จิ้นจงเป้ากั๋ว
(รู้รักภักดี พลีชีพเพื่อชาติ)



เมื่อเข้ารับราชการทหาร งักฮุยที่พกความมุ่งมั่นไว้เต็มเปี่ยมก็แสดงความกล้าหาญ และความสามารถในการรบ สังหารข้าศึก
ไปเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งผลงานไปเข้าตาแม่ทัพนาม จงเจ๋อ (จงเส็ก) ต่อมาแม่ทัพจงเจ๋อ (จงเส็ก) นายทัพของเขา
เห็นภูมิปฏิภาณสติปัญญาและแววความสามารถของงักฮุยจึงได้มอบตำราพิชัยสงครามแก่งักฮุยด้วยหวังว่างักฮุยจะเป็น
กำลังสำคัญในการกอบกู้บ้านเมืองต่อไป


งักฮุยหาได้สร้างความผิดหวังแก่จงเจ๋อไม่ แม่ทัพหนุ่มผู้นี้สร้างผลงานโดดเด่นรบชนะกองทัพต้าจินอยู่หลายครั้งมีความก้าวหน้า
ในการรับราชการทหารเป็นลำดับจนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “ชิงหย่วนจวินเจี๋ยตู้สื่อ (清远军节度使)”
หรือ ผู้บัญชาการมณฑลทหารเขตชิงหย่วน

กองทัพงักฮุยขึ้นชื่อเรื่องระเบียบวินัยอันเคร่งครัดผู้ใดฝ่าฝืน ลงโทษโดยไม่ละเว้นแม้ผู้นั้นจะเป็นบุตรชายของงักฮุยเองก็ตาม
กฎเหล็กที่งักฮุยบัญญัติไว้ก็คือ

"แม้ต้องหนาวตายก็ไม่ขอเบียดเบียนบ้านชาวประชา แม้ต้องอดตายก็จะไม่ปฏิบัติตัวเยี่ยงโจรขโมย"



ครั้งหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าพลทหารขอเชือกปอ จากชาวบ้านหนึ่งเส้นเพื่อนำมามัดไม้ฟืน งักฮุยสั่งให้ลงโทษพลทหารผู้นั้นทันที
ยามเมื่อกองทัพของงักฮุยยาตราทัพผ่านไปยังหมู่บ้านใดก็จะตั้งค่ายพักผ่อนหลับนอนกันริมทาง แม้ชาวบ้านยินดีเชื้อเชิญให้
เหล่าทหารเข้าไปพักผ่อนในบ้านเพียงไรทหารเหล่านั้นก็ไม่ยินยอมด้วยเหตุนี้กองทัพของงักฮุยจึงสามารถครองใจชาวบ้านได้
ทำให้ส่วนหนึ่งของกองทัพงักฮุยมีชาวบ้านอาสามาร่วมรบด้วย


การศึกในครั้งนั้น งักฮุยสามารถทวงคืนดินแดนที่ถูกพวกต้าจิน (กิมก๊ก) ยึดไว้กลับคืนมาได้มากมายกองทัพงักฮุยบุกตะลุยต่อ
จนกระทั่งตั้งทัพอยู่ห่างจากเมืองหลวงเดิมคือไคฟงเพียง 20 กิโลเมตรเท่านั้น ณ เวลานั้นแม้ว่าสถานการณ์จะเป็นใจอย่างยิ่ง
ต่อการฟื้นฟูประเทศของอาณาจักรซ่งใต้

แต่ฮ่องเต้ซ่งเกาจงที่ได้รับคำแนะนำจากอัครมหาเสนาบดี (ตำแหน่งเทียบเท่านายก ฯ) นาม ฉินฮุ่ย หรือ ฉินไคว่ (秦桧)
กลับมีแนวนโยบายในการเจรจาสงบศึกกับอาณาจักรต้าจินโดยมองว่างักฮุยนั้นคืออุปสรรคของการเจรจา ทำให้มีการส่ง
ป้ายทองอาญาสิทธิ์ 12 ป้ายภายในวันเดียวเรียกให้งักฮุยถอนทัพกลับมาทางใต้



ภาพยนต์จีนยุคชอว์บราเดอร์ส์ เรื่อง 12 ป้ายทอง หยิบยกเอาเหตุการณ์ตอนฉินไขว้ ส่ง 12 ป้ายทองประกาศิต
เรียกตัวงักฮุยกลับมาเมืองหลวง แม้งักฮุยจะพยายามฝืนคำสั่งของราชสำนักเช่นไรแต่สุดท้ายก็ทัดทานไว้ไม่ไหว
ต้องยกทัพกลับเมืองหลวง ปล่อยให้กองทัพจินยึดดินแดนคืนกลับไป


หลังการถอนทัพกลับมายังเมืองหลวงไม่นานนักฉินฮุ่ย (ฉินไคว่) ก็ใส่ร้ายว่า งักฮุยนั้นมักใหญ่ใฝ่สูง คิดการใหญ่จะก่อกบฏล้มล้าง
ราชสำนักจนถูกส่งเข้าคุก ข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากเว็บไซต์ thaigoodview.com ระบุว่าหลังงักฮุยถูกใส่ความและถูกจับกุม
ราชสำนักซ่งก็บรรลุข้อตกลงในสัญญาสงบศึกกับอาณาจักรจิน สัญญาสงบศึกดังกล่าวลงนามกันในปี ค.ศ.1411 อันเป็นปีที่ 11
ของศักราชเส้าซิงทำให้ได้ชื่อว่าเป็น “สัญญาสงบศึกเส้าซิง”



สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่ซ่งใต้ เสียเปรียบจินเป็นอย่างมากเนื่องจากซ่งใต้ต้องยอมลดตัวเป็น ‘บ่าว’ ยกย่องจินไว้เป็น ‘นาย’
ทุกปีอาณาจักรซ่งต้องส่งของบรรณาการไปจิ้มก้องให้กับจินเป็นเงิน 250,000 ตำลึงกับผ้าไหมจำนวน 250,000 พับ ทั้งต้อง
ยอมยกดินแดน ถังโจว (唐州) เติ้งโจว (邓州) ทั้งหมดรวมไปถึงพื้นที่ครึ่งหนึ่งของ ซังโจว (商州) และฉินโจว (秦州)
ให้กับจินด้วย

ภายหลังการเซ็นสัญญาสงบศึกดังกล่าวได้ไม่นาน...งักฮุยก็ต้องโทษ “อาจจะมีก็ได้ (莫须有)”
( ต้องรับโทษเพียงเพราะเชื่อว่าอาจจะกระทำ ) ถึงขั้นประหารชีวิต


หลังงักฮุยถึงแก่อสัญกรรมฮ่องเต้แห่งอาณาจักรซ่งใต้องค์ต่อ ๆ มาก็ยังมีการลงนามในสัญญาสันติภาพอีก 2 ครั้ง โดยมีความ
เปลี่ยนแปลงในเนื้อหาเล็กน้อยคือ ในสมัยฮ่องเต้ซ่งเสี้ยวจง (宋孝宗)จินกับซ่งเปลี่ยนสถานะ เป็นอากับหลาน โดยทุกๆ ปี
ซ่งต้องส่งเงิน 200,000 ตำลึง และผ้าไหมจำนวน 200,000 พับ ให้กับต้าจิน ลุถึงสมัยฮ่องเต้ซ่งหนิงจง (宋宁宗)
อาณาจักรต้าจินก็มีสถานะเป็นลุงของราชวงศ์ซ่งทุก ๆ ปีซ่งจะต้องส่งเงิน 300,000 ตำลึง และผ้าไหมจำนวน 300,000
พับให้กับจิน



ผลจากการ "ซื้อสันติภาพ" ดังกล่าวส่งผลให้ดินแดนทางภาคเหนือทั้งหมดหลุดไปจากความควบคุมของฮ่องเต้ซ่งใต้โดยเด็ดขาด
ภายใต้การปกครองของต้าจินชีวิตของชาวจีนทางภาคเหนือตกอยู่ภายใต้ความยากลำบากเป็นอย่างยิ่งเพราะชาวฮั่นที่เคยทำนาบนที่ดิน
ของตนเองนั้นต้องกลายสภาพเป็น "ชาวนาเช่า" ซึ่งต้องเช่าที่ดินจากชาวจิน (กิม) ขณะที่ในส่วนของราชวงศ์ซ่งใต้การสูญเสีย
ดินแดนทางภาคเหนือไปทำให้อาณาเขตการปกครองของซ่งใต้นั้นมีเนื้อที่เพียง 2 ใน 3ของอาณาจักรซ่งเหนือเท่านั้น


ถ้าว่ากันตามประวัติศาสตร์ และความเชื่อของชาวจีนตามที่หลักฐานปรากฏ จอมทัพงักฮุยคือผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นเทพเจ้าแห่ง
ความซื่อสัตย์มาโดยตลอดจนกระทั่งในยุคราชวงศ์ชิง จึงมีการเปลี่ยนเป็นกวนอู ด้วยเหตุผลทางการเมือง เนื่องจากชาวแมนจู
ซึ่งเป็นผู้ปกครองในยุคราชวงศ์ชิงต้องการให้ชาวฮั่น ซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ล้มเลิกอุดมการณ์ในการต่อต้านพวกตน แต่งักฮุยที่ชาวฮั่น
เคารพยกย่องนั้นมีศัตรูคู่แค้นคือ "ชนเผ่านอกด่าน"


ในขณะที่กวนอูและจ๊กก๊กไม่มีนโยบายเป็นศัตรูกับชนเผ่านอกด่านซ้ำบางครั้งกวนอูและจ๊กก๊กยังใช้ชนต่างเผ่าให้เป็นประโยชน์เสียด้วยซ้ำ
ควรกล่าวด้วยว่า แท้จริงแล้ว ราชวงศ์ชิงก็คือผู้สืบสายเลือด มาจากชนเผ่าต้าจินหรือกิมก๊กเดิมนั่นเอง



ครับ...นั่นคือประวัติโดยย่อ ของจอมทัพงักฮุย ก่อนที่จะถูก ฉินไคว่ใส่ความและถูกประหารชีวิต ซึ่งเป็นต้นทางแห่งตำนานปาท่องโก๋
อันลือลั่นจนถึงทุกวันนี้รายละเอียดในส่วนนี้ ผมเชื่อว่าทุกท่านพอจะทราบมาบ้างแล้วซึ่งผมจะไม่ขอกล่าวถึง  แต่สิ่งที่ผมสนใจก็คือ
ผู้ร้ายในเรื่องนี้มีเพียงต้าจินกับสองสามีภรรยา แซ่ฉินเท่านั้นหรือ ?


เรื่องนี้คงต้องย้อนกลับไปในสมัยอาณาจักรซ่งเหนือขณะที่เมืองหลวงยังตั้งอยู่ที่ไคฟงในเวลานั้น เมื่อต้าจิน(กิมก๊ก) ยกทัพรุกประชิด
เมืองหลวงไคฟงฮ่องเต้ซ่งฮุยจงจึงสละราชบัลลังก์ให้รัชทายาทขึ้นเป็นฮ่องเต้นาม "ซ่งชินจง"

ต้าซ่งตัดสินใจยก 3 เมืองพร้อมกับเงินทองทรัพย์สินจำนวนมากให้กับต้าจิน ทำให้ต้าจินยอมถอยทัพกลับไปแต่เนื่องจากประชาชนใน 3 เมือง
ไม่ยอมอยู่ในอาณัติและทำการสู้รบขัดขืนทำให้ทางต้าจินยกทัพมาเพื่อจะยึดเมืองไคฟงอีกครั้งโดยไม่ยอมเจรจาสงบศึกอีกเมื่อต้าจินบุกถึงไคฟง
ได้จับกุมตัวฮ่องเต้ซ่งฮุยจง ซ่งชินจง ฮองเฮา พระสนม เชื้อพระวงศ์ และขุนนางผู้ใหญ่กลับไปถึง 3,000 คน รวมถึงได้ทำการปล้นทรัพย์สิน
ในท้องพระคลังกลับไปจนหมดสิ้น จุดนี้ถือว่าเป็นการสิ้นสุดหรือล่มสลายของ ราชวงศ์ซ่งเหนือในปี ค.ศ.1127
(เหตุการณ์นี้เรียกว่าทุกขภัยแห่งจิ้งคัง)



หมายเหตุ : นี่คือที่มาแห่งชื่อของ ตัวละครหลักสองคนในวรรณกรรมจีน เรื่องมังกรหยกนั่นก็คือ ก๊วยเจ๋ง กับ เอี้ยคัง โดยกิมย้งแต่งเนื้อเรื่องให้
บิดาของทั้งสองถือเอาปีจิ้งคัง(อ่านแบบแต้จิ๋ว คือ เจ๋งคัง) มาตั้งเป็นชื่อบุตรชาย เพื่อมิให้ลืมความอัปยศในครั้งนั้น และหวังให้บุตรชายกอบกู้
บ้านเมืองในภายภาคหน้า


จากนั้นบรรดาเชื้อพระวงศ์ ขุนนาง และทหารที่เหลือ ได้พากันหลบหนีลงใต้  และเมื่อไปถึงเมืองอิ้งเทียน เหล่าขุนนางก็ได้ช่วยกันสถาปนา "จ้าวโก้ว"
หนึ่งในทายาทของตระกูลจ้าวขึ้นเป็นฮ่องเต้มีพระนามว่า "ซ่งเกาจง" หลังสถาปนาเสร็จสิ้น ก็เคลื่อนทัพหลบหนีต่อ จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์
จึงเป็นที่เข้าใจได้ว่า "จ้าวโก้ว" หรือ "ซ่งเกาจง" เป็นเพียงฮ่องเต้ขัดตาทัพเท่านั้น เมื่อใดที่งักฮุยล้มต้าจินทวงคืนบ้านเมืองได้ เมื่อนั้นผู้มีสิทธิเป็นฮ่องเต้
โดยชอบธรรมย่อมได้แก่ "ซ่งชินจง" อดีตฮ่องเต้ซึ่งถูกต้าจินจับกุมตัวไป


นี่อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ซ่งเกาจงฮ่องเต้แกล้งโง่หลับหูหลับตาเชื่อฟังฉินไคว่ จนฉินไคว่ถึงกับกล้าประหารเสาหลักของบ้านเมืองอย่างงักฮุย
จะพูดให้ง่ายขึ้นก็คือ ซ่งเกาจงฮ่องเต้มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับนโยบายต่างประเทศด้านการทหารผลก็คือวีรกรรมของงักฮุย ที่เพียรพยายามกอบกู้
บ้านเมืองกลายเป็นเพียงหอกข้างแคร่ ความใจแคบ เห็นแก่ตัว และความเขลาของซ่งเกาจงฮ่องเต้ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในหมู่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จีน
แต่ก็ไม่ปรากฏว่าประวัติศาสตร์จีน หรือพงศาวดารจีนจะวิพากษ์วิจารณ์ ซ่งเกาจงอย่างที่ควรจะเป็นและเพื่อปกป้องมิให้ซ่งเกาจงฮ่องเต้ ต้องถูก
ประวัติศาสตร์พิพากษาอันจะส่งผลต่อเกียรติภูมิของชาติจีนด้วย

หน้าที่การตกเป็นแพะรับบาปทั้งหมดจึงต้องตกอยู่กับ ฉินไคว่ อย่างไม่ต้องสงสัย




ในความรู้สึกของผู้อ่านหลาย ๆ ท่านงักฮุยอาจตัดสินใจไม่ค่อยเหมาะสมนักเพราะความจงรักภักดีของขุนพลผู้นี้จึงเป็นเหตุให้ตัดสินใจสั่งถอนทัพ
ทำให้ประเทศเสียโอกาสมหาศาลแต่หากเข้าใจถึงบริบทของสังคมในยุคนั้นที่ประเด็นจารีตหรือประเด็นทางศีลธรรมยังผูกพันอยู่กับลัทธิหยู(ขงจื๊อ)
อย่างลึกซึ้ง จารีตแห่งลัทธิหยูในยุคนั้นปลูกฝังเรื่องความจงรักภักดีอย่างเข้มข้น และมีผลเสมือนกับวิถีชีวิต ทั้งยังมีความสำคัญสูงส่งเสมอด้วยชีพ
คนยุคนั้นที่สำคัญ มันเป็นพลังผลักดันให้งักฮุยสามารถต่อสู้ต่อไปอย่างไม่ลดละ หากขาดพลังผลักดันจาก ความยึดมั่นในความจงรักภักดี งักฮุยอาจ
ไม่มีพลังปลุกเร้าตนเองถึงขนาดนี้ ความเป็นขุนพลไร้พ่ายของงักฮุย จึงมิอาจแยกออกจากความจงรักภักดีได้

ดังนั้น อาณาจักรซ่งหาได้พินาศเพราะการตัดสินใจเยี่ยงนั้นของงักฮุยครับตรงกันข้าม หากขาดพลังแห่งความจงรักภักดีคอยเกื้อหนุนงักฮุยและ
อาณาจักรซ่งอาจมาได้ไม่ไกลถึงเพียงนี้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 พฤศจิกายน 2018, 11:16:53 โดย etatae333 »
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่