-->

ผู้เขียน หัวข้อ: เราจะรู้ได้ยังไง ว่าร่างกายได้รับเชื้อ HIV  (อ่าน 819 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

แบดบอย

  • เด็กทะลึ่ง
  • ****
  • กระทู้: 72
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด

 ภายหลังการได้รับเชื้อ ร่างกายต้องใช้เวลาในการสร้างปฏิกิริยาตอบสนองต่อเชื้อ ในปัจจุบันในการวินิจฉัยว่า
ติดเชื้อหรือไม่ เราไม่ได้ตรวจหาเชื้อโดยตรง แต่เป็นการตรวจว่าร่างกายเรามีปฏิกิริยาต่อเชื้อหรือไม่ โดยการ
ตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อเอชไอวี (Anti-HIV antibody) ซึ่งการตรวจดังกล่าวอาจให้ผลลบได้ในกรณีที่ได้
รับเชื้อมาใหม่ ๆ เนื่องจากร่างกายยังไม่ได้สร้างปฏิกิริยาตอบสนอง (ควรตรวจหลังจากเกิดความเสี่ยงแล้ว 3
เดือนขึ้นไป )

ภายหลังการรับเชื้อบางรายอาจไม่มีอาการใด ๆ เลย บางรายอาจมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัสทั่ว ๆ ไป เช่น มีไข้ ผื่นตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ อาการมักกินเวลาสั้น ๆ และหายไปได้เอง หลังจากนั้นผู้ป่วยจะไม่มี
อาการใด ๆ เลย
อาการข้างต้นจะเหมือนหรือคล้ายกับการติดเชื้อหวัด ทำให้บางรายไม่ได้สังเกตุ หรือบางรายอาจคิดว่าเป็นหวัด
ทั่วๆไป เลยทำให้การสังเกตุจากลักษณะอาการหลังการติดเชื้อเป็นไปได้ยาก

อาการของโรคติดเชื้อ HIV
อาการของการติดเชื้อ HIV จะมีความหลากหลายขึ้นกับระยะของโรค เนื่องจากเชื้อ HIVเป็นไวรัสชนิดหนึ่ง
อาการของการติดเชื้อ HIV จะเหมือนอาการของไข้หวัดคือ มีไข้ ปวดศีรษะ มีผื่น อ่อนเพลีย เราไม่สามารถ
วินิจฉัยได้จากอาการ แม้ว่าผู้ได้รับเชื้อ HIV จะไม่มีอาการแต่เขาสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้  ฉนั้นผู้ที่มีพฤติกรรม
เสี่ยงควรได้รับการเจาะเลือด ในช่วงแรกของการติดเชื้อ HIV คุณอาจจะมีอาการดังต่อไปนี้
•   ต่อมน้ำเหลืองโต ตับม้ามโต มักจะเป็นอาการอันแรกของการติดเชื้อ
•   ท้องร่วง บางคนอาจจะเรื้อรัง
•   น้ำหนักลด.
•   มีไข้
•   ไอและหายใจลำบาก
  เมื่อไม่ได้รับการรักษาเชื้อก็จะแบ่งตัวเรื่อยและทำลายระบบภูมิคุ้มกันและกลายเป็นโรคเอดส์ซึ่งจะมีอาการดังนี้
•   เหงื่ออกกลางคืน
•   ไข้หนาวสั่น ไข้สูงเรื้อรัง
•   ไอเรื้อรังและหายใจลำบาก
•   ท้องร่วงเรื้อรัง
•   ลิ้นเป็นฝ้าขาว
•   ปวดศีรษะ
•   ตามัวลงหรือเห็นเป็นเส้นลอยไปมา
•   น้ำหนักลด
•   การติดเชื้อฉวยโอกาส
•   เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย
•   หากเป็นผู้หญิงก็มีอาการตกขาวบ่อย
•   เพลียและเหนื่อยง่าย
•   บางคนมีผื่นตามตัว
เชื้อไวรัสจะส่งผลให้ระดับเม็ดเลืดขาวที่เรียกว่าซีดีโฟร์ลดลงอย่างช้า ๆ จนผู้ป่วยเริ่มเกิดอาการของเอชไอวี
เกิดขึ้น เช่นฝ้าในปาก ผึ่นคันตามตัว น้ำหนักลด โดยส่วนใหญ่มักเกิดอาการเมื่อระดับซีดีโฟร์ต่ำกว่า 200
cell/mm3
อัตราเฉลี่ยของประเทศไทยตั้งแต่รับเชื้อจนเริ่มป่วยใช้เวลา 7-10 ปี
ในช่วงที่เรามีเชื้อเอชไอวีอยู่ในร่างกายแต่ไม่ป่วยเพราะเรายังมีภูมิคุ้มกันที่ยังควบคุม หรือจัดการกับเชื้อโรค
ที่เข้าสู่ร่างกายได้ เรียกว่า เป็นผู้ติดเชื้อ และเมื่อภูมิคุ้มกันถูกทำลายเหลือจำนวนน้อย จนไม่สามารถควบคุม
หรือจัดการกับเชื้อโรคบางอย่างได้ทำให้เราป่วยด้วยเชื้อโรคนั้น ๆ เรียกว่าเราเริ่มมี ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
เป็นผู้ป่วยเอดส์ โรคที่เราป่วยเนื่องจากภาวะภูมิบกพร่อง เรียกว่า โรคฉวยโอกาส

จริงๆแล้ว ไม่อยากให้ยึดอาการเริ่มต้นเมื่อได้รับเชื้อ ว่ามีอาการอย่างนั้นอย่างนี้แล้วสรุปได้เลยว่าได้รับเชื้อแล้ว
เพราะความเป็นจริงถึงแม้ข้อมูลทางวิชาการจะบอกไว้ว่า อาการเริ่มแรกเมื่อได้รับเชื้อไม่นาน ประมาณ 1-2 อาทิตย์จะมีอาการคล้ายๆไข้หวัด อันนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ได้รับเชื้อจะต้องมีอาการอย่างนี้ทุกคน แล้วก็
ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่มีอาการอย่างนี้คือการเริ่มได้รับเชื้อ

เพราะอาการเหล่านี้เป็นอาการที่ไม่ใช่การชี้ชัด อาจจะเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่การรับเชื้อ เช่นอาจเป็นไข้หวัดจริง หรืออาจป่วยด้วยอย่างอื่นที่ไม่ใช่การรับเชื้อ

อยากให้ยึดหลักการว่า การที่จะฟันธงว่าใครคนหนึ่งได้รับเชื้อ ควรดูจากผลการตรวจเลือดที่
3 เดือนเท่านั้น
เพราะการตรวจเลือดเนวิธีการที่ชัดเจน และแม่นยำ อีกทั้งยังไม่ทำให้เกิดความวิตกกังวลจนเกินไปของคนทั่วไป
ในระหว่างรอระยะเวลาให้สามารถตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัส HIV ได้นั้นช่วงนี้อาจเป็นข่วงที่เครียด
มากๆ ผลของความเครียดอาจทำให้เราเกิดความผิดปกติเล็กๆน้อยๆของสภาพร่างกาย บวกกับความวิตกกังวล
อาจเห็นว่าอาการนั้น อาการนี้ใกล้เคียงกับข้อมูลที่ได้รับมา ก็จะยิ่งทำให้เราติดอยู่ในกับดักความเครียดเข้าไปอีก
อยากให้พยายามใช้ความสงบเข้าไว้ครับ ใช้สมาธิมาเข้ามาเสริม พยายามทำให้ทุกอย่างดูเหมือนปกติเพราะ
วิตกกังวลไปก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ จะได้ไม่เสียสุขภาพจิตในระหว่างรอทำการตรวจ ในช่วงระหว่างนี้ให้
ระวังเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ หรือให้ใช้ถุงยางอนามัยเสมอเพื่อป้องกันความเสี่ยงไว้ก่อน

อีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่อยากรอนานจนถึง 3 เดือน ก็อาจจะเข้าไปขอให้แพทย์ช่วยตรวจหาตัวเชื้อไวรัส HIV
ให้แทน (ตรวจหาแอนติเจน) ซึ่งการตรวจหาแอนติเจนใช้ระยะเวลาหลังการเกิดความเสี่ยงไปแล้วประมาณ
1 เดือน ก็สามารถตรวจได้ แต่ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าการตรวจหาแอนติบอดีย์ทั่วๆไปแต่สุดท้ายก็ต้องมาตรวจหา
แอนติบอดีย์อีกเมื่อครบ 3 เดือนอีกครั้ง

Report : www.livcapsule.com