-->

ผู้เขียน หัวข้อ: High Risk High Retur  (อ่าน 1389 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

labk1200

  • บุคคลทั่วไป
High Risk High Retur
« เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2010, 08:29:47 »

เรื่องเงินๆ ทองๆ เป็นเรื่องไม่เข้าใครออกใคร ยิ่งในเวลานี้ สิ่งยั่วยุให้จับจ่ายมีอยู่เกลื่อนกลาดบ้านเมืองเอื้ออำนวยให้ กล้าซื้อ กล้าเสี่ยงใครตาดีก็ได้ แต่ใครตกอยู่ตาร้ายผลที่ตามมาคือ "หนี้สิน" จนทำให้เกิดเป็นปัญหาตามมา
แต่จะเชื่อหรือไม่ว่า "ความรวย" กับ "ความเสี่ยง" นั้น เหมือนกับยืนอยู่บนทางสายเดียวกัน
ลองไปฟังวิธีการใช้เงินของคนรุ่นใหม่ อย่าง ชมะนันทน์ วรรณวินเวศร์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, ผู้ประกาศข่าว และพิธีกร หทัยชนก สุวรรณทรรภ เจ้าของห้องเสื้อฟิลเตอร์ ที่เวียนมาพบเจอกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน คร่ำหวอดอยู่ในวงการเงินมานานมากกว่า 10 ปี และยังเป็นผู้ก่อตั้งหลักทรัพย์จัดการอยุธยาเจเอฟ อย่าง พนิช วิกิจเศรษฐ์

"ประชาชาติธุรกิจ" ขอเก็บเกี่ยวมาเล่าสู่กันฟัง ลองมาดูกันว่า ทำอย่างไรที่ Risk แล้วถึงจะ Rich !!!

นิยามของการใช้เงินที่ดีเป็นอย่างไร
      พนิช - การใช้เงินที่ดี คือ มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีระเบียบ มีวินัย ในการใช้
ปัญหาเรื่องของการใช้เงินของคนมีมากน้อยแค่ไหน
         พนิช - วิธีการใช้เงินไม่สำคัญเท่ากับวิธีการดูแลรักษาเงิน การใช้เงินเป็นทัศนคติของคน อยู่ที่อายุ ความสามารถ การดำรงชีวิตของเขา ซึ่งสอนกันยาก แต่วิธีการดูแลรักษาเงินให้งอกเงยทำให้มีฐานะให้มั่นคงมากขึ้นเป็นเรื่องสำคัญ

มีวิธีการใช้เงินอย่างไร
     หทัยชนก - ทำธุรกิจเราต้องเตรียมพร้อมกับความเสี่ยง เราต้องมีเงินสำรองไว้เสมอ บางเดือนเราอาจจะทำได้เกินเป้า บางเดือนเราอาจจะขาดทุน สำหรับตัวเองเมื่อได้เงินก้อนมาลงทุน ก็จะแบ่งไว้แล้ว 20 เปอร์เซ็นต์ ก้อนนี้ที่จะไม่แตะเด็ดขาด แต่ถ้าเราได้เงินมาเกินเป้า ได้กำไรก็จะเปิดบัญชีเป็นเงินเก็บ
    ชมะนันทน์ - สำหรับผมจะตั้งเป้าในชีวิต ผมไม่ใช่เจ้าของธุรกิจแต่ผมโชคดีที่มีแหล่งเงินหลายทาง สอนหนังสือ อ่านข่าว พิธีกร ผมจะมองจุดหลัก อะไรมาก่อน อะไรอันดับหนึ่ง เช่น ปัจจัย 4 ให้คุณพ่อคุณแม่ เป็นปัจจัยพื้นฐานเงิน 100 เปอร์เซ็นต์ ผมจะแบ่ง 40-40-30 เงินจากการสอนหนังสือผมนำมาส่งตัวเองเรียนปริญญาโท เงินประกาศข่าวก็จะเป็นเงินใช้ทั่วไป ส่วนเงินพิธีกร ถือเป็นรายได้ที่ไม่คาดฝันก็จะเป็นเงินเก็บ
     พนิช - การใช้เงินที่น่ากลัวที่สุดคือ ใช้เงินไม่มีวินัย การมีวินัยสามารถช่วยจัดสัดส่วนให้มีเงินได้ บัญชีของคุณเชอรี่ (หทัยชนก) ถ้าไปอยู่ในที่ผิด หรืออยู่ในที่ไม่งอกเงยก็เสียโอกาส ผมคิดว่าถ้ามีเงินออมควรจะมาจัดสรรลงทุนให้งอกเงย

มองอย่างไรกับบัตรเครดิต
ชมะนันทน์ - ผมว่ามันเป็นดาบสองคมอยู่ที่ว่าเราจะใช้ด้านไหน ผมมีบัตรอยู่ 4-5 ใบ แต่ละใบผมใช้แบบมีวัตถุประสงค์ คือ ใช้เติมน้ำมัน บัตรใช้ไปหาหมอหรือฉุกเฉิน แต่เมื่อใช้แล้วผมจะเบิกเงินมาเตรียมจ่าย เป็นการตีกรอบมันไว้
หทัยชนก - ไม่ใช้บัตรแล้ว กลัวห้ามใจไม่อยู่ (หัวเราะ) ที่เลิกเพราะเวลาที่เห็นรายการสิ้นเดือนจะตกใจ เวลารูดจะไม่รู้สึก พอไม่ใช้บัตรชอบอะไรก็่ต้องไปกดเอทีเอ็ม พอเราเห็นจำนวนเงินที่กดก็จะรู้สึก ถ้ารูดการ์ดเราจะไม่รู้สึก

เคยมองวิธีการใช้เงินของตัวเองหรือไม่
หทัยชนก - บางครั้งก็ดี บางครั้งก็ไม่ดี แต่คุณพ่อเป็นคนสร้างวินัยให้
ชมะนันทน์ - ผมไม่ทราบว่าคนจะมองดีหรือไม่ แต่สำหรับผมตั้งเป้าหมายไว้เป็นแผนระยะยาวกับระยะสั้น ตอนนี้ผมกำลังดำเนินทำชอร์ตเทอมอยู่เพื่อไปถึงลองเทอมแปลนให้ได้ เมื่อผมจบปริญญาโท อาชีพที่เมืองไทยอาจจะล้มเหลว ผมจะใช้เงินเก็บส่งตัวเองไปเรียนต่อเมืองนอกสร้างมูลค่าให้ตัวเองอีก เพราะเงินส่วนใหญ่ที่ได้มาตอนนี้ 60 เปอร์เซ็นต์เก็บตาย อีก 10 เปอร์เซ็นต์ เพื่อส่งตัวเองเรียนต่อที่เมืองไทย อีก 30 เปอร์เซ็นต์ ใช้จ่ายทั่วไป
มีเรื่องหนึ่งที่ผมจำได้แม่นมากถือเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิต ผมไปทานข้าวที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง ข้างฝาเขาติดภาพหลอดยาสีฟันแห้งสนิทเลยจนไม่มีที่จะบีบ คิดว่าจะใช้อะไรกันขนาดนี้ เขามีตัวหนังสือผมก็ไปอ่าน เขาบอกว่านี่เป็นหลอดยาสีฟันของในหลวง พระองค์ตรัสไว้ว่า ...จะใช้เงินอย่างไรก็ได้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด... คำนี้ผมจำได้ถึงวันนี้ และนำมาวิเคราะห์ว่า ทรัพยากรที่มีค่าตอนนี้ของเราคือ แรง เพราะฉะนั้นต้องทำงานหนัก เรียนเยอะๆ เก็บเงิน เราอยากเป็นอะไรก็เดินตามเส้นทางนั้น

แปลว่า การออมไม่ใช่การเก็บในธนาคารอีกต่อไป
พนิช - คำว่า การฝาก หรือบัญชีออมทรัพย์ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าไม่ได้ลงทุน การลงทุนหมายถึง การลงทุนที่มีระยะและมีผลตอบแทนที่ชัดเจน อย่างดอกเบี้ยแบงก์ผมมองว่าไม่ใช่การลงทุนเพราะผลตอบแทนต่ำมาก ในฐานะนักการเงิน ผมมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีหลายระดับ และมีความคาดหวัง
อะไรที่มีความเสี่ยงสูงก็ได้ผลตอบแทนสูง มันเป็นเรื่องธรรมชาติ อย่างที่เรียกว่า ไฮริสก์ ไฮรีเทิร์น (High Risk High Return) ไม่มีที่ใดในโลก ไฮรีเทิร์น โนริสก์ (High Return No Risk) แต่เราสามารถเฉลี่ยความเสี่ยงได้ คือต้องมีพอร์ตโฟริโอในการลงทุน รู้จักจัดการตัวเอง ต้องเริ่มเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ การจัดพอร์ตก็คือการกระจายความเสี่ยงให้สอดคล้องกับสิ่งที่เราคาดหวัง

การลงทุนคือใช้ส่วนของการออม
พนิช - ถูกต้อง ผมจะแบ่งเป็น 4 อย่าง อย่างแรกสำคัญที่สุด ต้องมีเงินพอที่จะใช้จ่ายประจำวัน ตัวผมเองจะแบ่ง 10-20 เปอร์เซ็นต์ ฝากแบงก์ อันนี้มีสภาพคล่องสูง เซฟสุด แต่ถ้าประสบการณ์มากขึ้นแบ่งไปอีก 10 เปอร์เซ็นต์ไปถือในสิ่งที่เรียกว่า สุดขั้วของความเสี่ยงสูง แต่ก็ได้การตอบแทนสูงเช่นกัน คือการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มันตรงข้ามกับอันแรกอย่างสุดกู่เลย อันนี้คือ ไฮริสก์ ไฮรีเทิร์น (Hight Risk Hight Return) แต่บางทีก็ขาดทุน บางทีอาจจะทำให้คุณล้มละลายไปเลยก็ได้
แต่ก็มีตรงกลาง คือ การซื้อตราสารหนี้ หรือพันธบัตร อาจผ่านกองทุนรวม ตรงนี้มีความเสี่ยงต่ำ ต้องมองว่าทุกอย่างในโลกมีความเสี่ยง อีกอย่างหนึ่งคือ การรวมทุนไปต่างประเทศ เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจประเทศทางแถบนี้เจ็บหนักเพราะมีการกระจายความเสี่ยงน้อยมาก แต่ปัจจุบันทางการเปิดช่องทางให้กระจายความเสี่ยงไปได้ กองทุนรวมสามารถช่วยได้
สุดท้ายต้องอย่าลืมแบ่งการลงทุนสำหรับความสุขสัก 15-25 เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้ต้องมี เพราะถ้าคุณเก็บอย่างเดียวแล้วคุณไม่มีความสุข มันก็เหงาไม่มีประโยชน์ บางคนเก็บเพชร เก็บไปเรื่อยๆ 5-10 ปี ก็มีค่าขึ้น เป็นความสุขที่สามารถงอกเงยขึ้นได้ แต่ที่สำคัญคือต้องศึกษาในเรื่องนั้นๆ
อย่างผมถ้ามีรายได้ที่นอกเหนือจากเงินเดือน อย่างโบนัส ผมต้องซื้อความสุข เพราะผมทำงานหนักมาทั้งปี ผมซื้อในสิ่งที่ผมรักชอบ แต่ซื้อแล้วจะให้มันเสื่อมไปตามเวลา หรือจะให้มันมีคุณค่ามากขึ้น ถ้าผมจะซื้อ เช่นนาฬิกา ก็ต้องซื้อยี่ห้อดี มีอะไรพิเศษยิ่งดี หรือซื้อรถ ถ้าเป็นปอร์ช ก็ต้องเป็น 911 เทอร์โบ ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นคลาสสิก ราคาไม่มีตก มีแต่จะเพิ่มขึ้น หรือจะซื้อธนบัตรที่ออกตามวาระต่างๆ ผมก็จะดูเลขที่เรียงสวยๆ หรือเก็บลายเซ็นรัฐมนตรีบนแบงก์เหล่านี้ เก็บไปก็มีความสุขและมีมูลค่าเพิ่มด้วย นี่คือการออม หรือการลงทุนที่สมเหตุสมผล
ชมะนันทน์ - ผมลงทุนการเรียนหาความรู้
พนิช - อันนี้ถือเป็นครึ่งๆ ถือเป็นความต้องการส่วนตัวเพราะมันไม่งอกเงย เว้นจะนำความรู้นั้นมาทำเงิน สิ่งเหล่านี้มันไม่ได้เป็นทรัพย์สิน
ชมะนันทน์ - ผมคิดว่าเด็กอย่างผมน่าจะเก็บเงินให้ถึงสักระดับหนึ่งแลวค่อยลงทุน
พนิช - อันนี้ผมไม่เห็นด้วย การลงทุนต้องทำสม่ำเสมอ ต่อเนื่องและมีการพิจารณาด้วย แล้วคุณตั้งเป้าไว้ที่ไหน ถ้าเกิดใช้เวลานานกว่าที่คิด เราไม่มีประสบการณ์ ไม่ได้ศึกษาเลย ความเสี่ยงยิ่งสูง กว่าจะมาสักล้านบาทเหนื่อยแทบตาย แต่ถ้ามาพลาดในการลงทุนครั้งแรกในชีวิตก็หมดเลย อันนี้ผมไม่อยากให้เกิดขึ้น อยากให้เริ่มทีละนิด อยากให้กระจายความเสี่ยงบ้าง
ต้องทำอย่างไรสำหรับผู้ที่ต้องการจะเริ่มเสี่ยง
พนิช - ผมเชื่อว่า ถ้าเข้าใจในเรื่องของความเสี่ยงก็จะมีโอกาส บางคนอายุมากแต่ไม่เคยเจอความเสี่ยงเลย เพราะกลัวและไม่เข้าใจ แต่ถ้าเขามีความรู้ความเข้าใจก็เพิ่มความเสี่ยงได้ ผมคิดว่าการเริ่มต้นลงทุนในกองทุนเป็นพื้นฐานที่น่าจะดีกว่าและต้องดูตัวเองด้วยว่ามีเวลามากน้อยแค่ไ หน ถ้ามีเวลาน้อยก็ไปหาคนที่ดูแลหุ้นให้ แต่สำคัญคือ ต้องศึกษาให้รู้จักและเข้าใจ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก   http://www.carefor.org/content/view/450/4/