-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ค่าแรงของเงิน By Narin จาก กรุงเทพธุรกิจ..น่าอ่านดีครับ  (อ่าน 707 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

labk1200

  • บุคคลทั่วไป

เจอบทความการเงินดีๆมา 1 เรื่อง เลยนำมาให้สมาชิกCMX อ่านกันครับ fdgdfdf

เชื่อ ว่าทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า ให้เงินทำงานแทนเรากันแล้ว ผมคงไม่ต้องอธิบายความหมายอีก แต่เพื่อให้เราได้รู้สึกถึงความหมายของมันมากขึ้น ลองมาคำนวณอะไรเล่นๆ กันดู



สมมติว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 3 ต่อปี เงินฝาก 1 ล้านบาท ก็จะได้ดอกเบี้ยปีละ 30,000 บาท หรือเท่ากับวันละ 82 บาท ดังนั้น ก็มองอีกแง่หนึ่งก็เหมือนกับว่า เมื่อเงินหนึ่งล้านบาททำงานให้เรา มันจะได้ค่าแรงวันละ 82 บาท ดังนั้น ถ้าหากคุณสามารถออมเงินได้หนึ่งล้านบาท เงินก้อนนั้นจะหาเงินให้คุณได้ 82 บาท ทุกวัน ตลอดกาล โดยที่มันไม่เคยบ่น ไม่เคยขอลาพักร้อนหรือแอบนินทาเจ้านาย (ซึ่งหมายถึงคุณ) เลยแม้แต่น้อย ตอนนี้คุณมีแรงจูงใจที่จะออมเงินขึ้นมาแล้วหรือยังครับ เวลาที่คิดจะซื้อของฟุ่มเฟือยก็ท่องไว้นะครับว่าเงินหนึ่งล้านทำงานได้วันละ 82 บาทเลยทีเดียว



ลองคิดเล่นๆ ต่อไปว่า ทุกวันนี้ คุณมีความสามารถในการหารายได้เท่ากับเงินจำนวนเท่าไร สมมติว่าคุณทำงานได้เงินเดือนๆ ละ 20,000 บาท ก็เท่ากับปีละ 240,000 บาท แต่เงินหนึ่งล้านบาททำงานได้เงินปีละ 30,000 บาท นั่นแสดงว่า ทุกวันนี้ คุณสามารถทำงานหาเงินได้เท่ากับที่เงิน 8 ล้านบาทหาได้พอดี ถ้าอย่างนั้นคนที่มีเงิน 8 ล้านบาทฝากอยู่ในธนาคารเฉยๆ ต่อให้เขาไม่ทำอะไรเลย นั่งงอมืองอเท้าทั้งวัน เขาก็ยังมีรายได้เข้ามาเท่ากับคุณที่กำลังทำงานหาเงินตัวเป็นเกลียวอยู่ทุก วันเลยทีเดียว การมีเงินออมมันดีอย่างนี้นี่เอง



แต่พักนี้ดูเหมือน เงินจะเริ่ม "อู้งาน" เพราะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงนี้ถือว่าตกต่ำมากเป็นประวัติการณ์ เงินฝากประจำแบบ 3 เดือนให้ดอกเบี้ยแค่ร้อยละ 0.75 ต่อปีเท่านั้น เท่ากับว่าค่าแรงที่เคยได้วันละ 82 บาทเหลือแค่วันละ 20.5 บาทเท่านั้น



เวลาที่ดอกเบี้ยเงินฝากตกต่ำมากๆ คนที่มีเงินฝากมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ต้องอาศัยดอกเบี้ยเงินฝากเป็นแหล่งรายได้หลักย่อมรู้สึกว่า รายได้ของตัวเองหายไปเยอะ ความรู้สึกไม่พอใจอันนี้มักก่อให้เกิดแรงจูงใจที่จะดิ้นรนหาวิธีที่จะทำให้ เงินฝากกลับมาสร้างผลตอบแทนได้เท่าเดิม บางคนหันไปฝากให้ยาวขึ้น (ซึ่งอาจไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีเสมอไปก็ได้) บางคนหันไปซื้อหุ้นกู้ที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่า ซึ่งก็ต้องแลกกับการที่เงินจำนวนนั้นต้องถูกขังไว้ในหุ้นกู้เป็นระยะเวลานาน ขึ้นเช่นเดียวกัน จะว่าไปแล้วก็ทำอย่างนั้นก็คล้ายๆ กับการให้เงินของคุณเปลี่ยนงานใหม่ กล่าวคือ ไปทำงานกับบริษัทที่ให้ค่าแรงเพิ่มขึ้นโดยแลกกับการเซ็นสัญญาจ้างงานระยะยาว แต่อย่างน้อยความปลอดภัยของเงินต้นก็ยังมีอยู่



แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ บางคนเกิดความรู้สึกอยากถอนเงินฝากออกไปเก็งกำไรในสินทรัพย์รูปแบบต่างๆ อาทิเช่น ทองคำ เงินต่างประเทศ อสังหาฯ หุ้น เป็นต้น เพื่อให้ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น การทำอย่างนั้นต้องเข้าใจ ว่า การเก็งกำไรแม้จะทำให้มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น แต่จะต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินต้น การทำเช่นนี้ เปรียบเสมือนการให้เงินของคุณย้ายงานจากงานง่ายๆ อย่างเช่น งานล้างจาน ไปเป็นงานที่ต้องเสี่ยงชีวิต อย่างเช่น งานก่อสร้างตึกระฟ้าที่ต้องทำงานอยู่บนนั่งร้านตลอดทั้งวัน แม้ว่าจะได้ค่าแรงมากขึ้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุด้วย ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่ของฟรี



ส่วนใหญ่แล้ว ผู้คนมักจะคิดได้พร้อมๆ กัน ว่า เวลานี้ควรเก็งกำไรอะไรดีทุกคนจึงมักแห่ไปซื้อสินทรัพย์อย่างเดียวกันเสมอจน ราคาของสินทรัพย์นั้นฟองสบู่ และถึงเวลาเลิกก็มักเลิกพร้อมๆ กันด้วย ดังนั้น การจะได้กำไรหรือขาดทุนจากการเก็งกำไร จึงขึ้นอยู่กับว่าเราคิดได้เร็วหรือช้ากว่าคนอื่นมากน้อยแค่ไหน การเก็งกำไรจึงมีความเสี่ยงที่เงินต้นจะขาดทุนจากการเข้าออกผิดจังหวะ ไม่เหมือนกับเงินฝากหรือตราสารหนี้ที่หากถือจนครบกำหนดเงินต้นก็จะอยู่ครบ เสมอ โอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการเก็งกำไรมักไม่คุ้มกับความเสี่ยง ของเงินต้นที่เพิ่มขึ้นแต่บ่อยครั้งความรู้สึกไม่พอใจที่ได้ดอกเบี้ยต่ำมัก ทำให้เรามองแต่ผลตอบแทน จนลืมคิดถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นด้วย 



อันที่จริง ในช่วงนี้ การฝากเงินไว้เฉยๆ แม้จะได้ดอกเบี้ยน้อยมากแต่กลับไม่ถือว่าเลวร้ายนัก เพราะอัตราเงินเฟ้อในช่วงนี้ต่ำมากจนถึงขั้นติดลบ และยังมีแนวโน้มที่จะคงอยู่ในระดับที่ต่ำเช่นนี้ต่อไปอีกสักพักใหญ่ๆ เลยทีเดียว ดังนั้น เมื่อคิดผลของเงินเฟ้อแล้ว ถือได้ว่าช่วงนี้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังเป็นบวกอยู่ ตรงกันข้ามกับเมื่อสักหนึ่งปีที่แล้ว ตอนที่น้ำมันแพงลิบลิ่ว ช่วงนั้น แม้ดอกเบี้ยเงินฝากจะสูงถึง 3-4% ก็จริงแต่เงินเฟ้อในเวลานั้นสูงมากจนเกือบจะเป็นเลขสองหลักเลยทีเดียว อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในช่วงนั้นจึงถือว่าติดลบ ที่จริงแล้ว ในช่วงเวลานั้นต่างหากที่การฝากเงินให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าตอนนี้เสียอีก



ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนสูงมากเช่นเวลานี้ ไม่มีใครรู้ว่าในอนาคตอันใกล้จะเกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจไทยบ้าง การมีสภาพคล่องสูงไว้กับตัวจึงถือเป็นความมั่นคงของชีวิตอย่างหนึ่ง ประเด็นนี้นับว่าเป็นประโยชน์อย่างหนึ่งของการฝากเงินไว้เฉยๆ ในเวลานี้ที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย นอกเหนือไปจากเรื่องดอกเบี้ยที่ได้รับ บางทีอาจจะเป็นเพราะการฝากเงินไว้เฉยๆ ในเวลานี้มีข้อดีอะไรบางอย่างรออยู่ เป็นเหตุให้คนที่ฝากเงินไว้เฉยๆ ในเวลานี้ต้องได้ดอกเบี้ยน้อยก็ได้ครับ

ZOIDS

  • บุคคลทั่วไป

เรื่องเศรษฐกิจนี่ บางทีมันก็ซํบซ้อนจัง  l,l,

inside_grils

  • บุคคลทั่วไป

เล่นหุ้นระยะยาว หรือว่า ลงทุนระยะยาว ถือเป็นการให้เงินทำงานแทนได้ไหมครับ
โดย เลือกซื้อหุ้นที่ปันผลดีๆ สักตัวสองตัว แล้วรอปันผล  ijhgvf

AZURA3232

  • บุคคลทั่วไป

ขอเสริมนิดนะครับ  อีกไม่กี่ปี แนวคิดเช่นว่า นี้ คงใช้ไม่ได้แล้ว ละครับ 
เพราะ การฝากเงิน กับสถาบันการเงินอย่างธนาคาร  นั้นจะมีการค้ำประกันเงินต้นอยู่ที่ ล้านบาทเท่านั้น
ฝากไว้ร้อยล้าน  ถ้ามันเจ๊งก็คือได้กลับมา ล้านเดียว แค่นั่น
แนวทางที่ไร้ความเสี่ยง  แทบจะมีอยู่อย่างเดียว คือ  พันธบัตรที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย เท่านั้น

แต่โดยส่วนตัวในความคิดผมแล้ว  ที่ที่คิดว่าอันตราย  ตอนนี้ อาจเป็น ที่ที่ปลอดภัยที่สุด แล้วครับ
คือ  คงไม่มีใคร ทำให้  ปตท.   ปูนซิเมนต์ไทย  ธ.กรุงเทพ  ซีพี   เจ๊งไปในคราวเดียว พร้อมๆ กันได้หรอกครับ  ยังไงคงมีเหลือรอดอยู่มั่ง

และต่อข้อถามของท่าน inside_grils  ที่ว่า การลงทุนระยะยาว  สำหรับผมไม่คิดว่าเป็นการให้เงินทำงาน แต่ เป็น การมอบโอกาศให้ซีอีโอ ทำงาน ครับ
เพราะ ความเสี่ยงทั้งหมด อยู่กับความสามารถในการฝ่าวิกฤตของผู้บริหาร  ...  แนวทางให้เงินทำงาน  ก็น่าจะเป็นเช่น ซื้อที่ดินแล้วปล่อยเช่า  น่ะครับ  kjhg  kjhg
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 เมษายน 2009, 07:48:08 โดย AZURA3232 »