-->

ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์หลักทรัพย์ด้วยตนเอง ตอนที่4: เทคนิคการค้นหา Growth Stock ตอนแรก  (อ่าน 3199 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Hymn1919

  • บุคคลทั่วไป

เราจำเป็นต้องรู้จักวิธีคัดสรรหลักทรัพย์ เพื่อรวบรวมจำนวนหลักทรัพย์เป้าหมาย ที่น่าสนใจลงทุน และตัดหรือคัดหลักทรัพย์ที่ไม่น่าสนใจออกไป

ก่อนที่เราจะเจาะลึกศึกษาหลักทรัพย์ที่ตัดเลือกไว้ได้แล้วนั้นต่อไป การคัดสรรนี้เป็นศิลปะซึ่งต้องฝึกฝนปฏิบัติ ในครั้งแรกๆ ที่เราคัดสรร เราอาจจะได้จำนวนหลัก ทรัพย์มากไปหรือน้อยไป เราก็อาจปรับปรุงเกณฑ์ในการคัดสรรให้เข้มขึ้นหรืออ่อนลงจนทำให้ได้จำนวนของหลักทรัพย์เป้าหมายที่เราต้องการได้

ในตอนนี้จะอธิบายถึงเกณฑ์ในการค้นหา หุ้นเติบโต (Growth Stock) ซึ่งหมายถึง หุ้นของบริษัทที่ยังขยายตัวดี ทั้งสินทรัพย์ ยอดขาย กำไร และเป็นที่ต้องการในตลาด ราคาหลักทรัพย์มีแนวโน้มเติบโต โดยเกณฑ์การคัดหุ้นเติบโตนี้สรุปมาจาก www.quicken. com ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ทั่วไป ต้องนำมาปรับถ้าจะประยุกต์ใช้ กรณีหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายใต้เว็บไซต์นี้จะบอกวิธีการคัดหุ้น โดยดึงเฉพาะหุ้นที่มีอัตราการเจริญเติบโตของรายได้หรือยอดขายต่อปีไม่ต่ำกว่า 20% และมีอัตราการเติบโตของกำไรต่อปีไม่ต่ำกว่า 18% มี ROA (Rreturn on Asset) ไม่ต่ำกว่า 8% ต่อปี

โปรแกรมภายใต้เว็บไซต์ของ Quicken มีเมนูที่จะให้เรากำหนดค่าสูงสุดและต่ำสุด ของค่าตัวแปรที่สำคัญได้เองด้วย นอกเหนือจากตัวแปรหลัก 3 ตัวที่ได้กล่าวไปแล้ว ในโปรแกรมยังกำหนดตัวแปรอื่นๆ เพิ่มเติมได้ตามที่เราต้องการ เช่น

lมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) เช่น มีการกำหนดว่าจะต้องไม่ต่ำกว่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐ (สำหรับตลาดสหรัฐ) การมีขนาดของมูลค่าตามราคาตลาดที่ไม่สูงจะถูกจัดว่าเป็นหุ้นขนาดเล็ก (Small Cap) ซึ่งมีโอกาสเติบโตได้ แต่ก็มีความเสี่ยงสูง

lอัตราส่วนราคาต่อยอดขาย (Price to Sales Ratio) กำหนดอัตราส่วนขั้นต่ำไว้ที่ 2 เท่า และสูงสุด 9 เท่า ถ้า P/S มีค่าต่ำมากๆ เป็นสัญญาณบอกว่าหุ้นนั้นมีราคาถูก โดยที่ยอดขายของบริษัท 1 บาท นักลงทุน รับรู้ไปที่ราคาหลักทรัพย์ในราคาที่ต่ำมาก ซึ่ง แปลได้ 2 ทางคือ เป็นหุ้นที่ไม่น่าสนใจสมควรแล้วที่ราคาถูก กับเป็นหุ้นดีราคาถูก ซึ่งเราต้องวิเคราะห์ต่อไป มีข้อสังเกตว่าหุ้นของบางอุตสาหกรรม เช่น ในอุตสาหกรรมค้าปลีก หรือห้างสรรพสินค้ามักมียอดขายสูง แต่มีกำไรต่อหน่วยค่อนข้างต่ำกว่า 2 ลงไปอีก ก็ได้

lอัตราการเติบโตของยอดขาย (Revenue Growth) กำหนดอัตราขั้นต่ำ ของการเติบโตของรายได้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เท่ากับ 15% ต่อปี และของในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมาและ 1 ปีที่ผ่านมาเท่ากับ 20% ต่อปี

การกำหนดตัวเลขของการเติบโตของ ยอดขายในช่วง 5 ปี เพื่อให้แน่ใจว่าได้หุ้น ของบริษัทที่มีการเติบโตของยอดขายมายาวนานเพียงพอ และการกำหนดอัตราขั้นต่ำ 20% สำหรับการเติบโตของยอดขายในช่วง 1-3 ปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นการกำหนดแบบ Aggressive

lการประเมินของนักวิเคราะห์ (Analysts Consensus Ratings) กำหนดค่าขั้นต่ำไว้ที่ 2 โดยปกตินักวิเคราะห์จะมีการประเมินคำแนะนำเกี่ยวกับหุ้นเอาไว้ เช่น ให้ซื้อ ถือเอาไว้ และขาย ถ้านำเอาคำแนะนำของนักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์หลายๆ แห่งเกี่ยวกับหุ้นนั้นมาพิจารณา เรียกว่า เป็นการดูแบบ Consensus ในที่นี้ถ้าให้คำ แนะนำซื้อแบบ Strong Buy มีค่าเป็น 1 ซื้อแบบ Buy มีค่าเป็น 2 ถือไว้มีค่าเป็น 3 ขายแบบ Weak Sell มีค่าเป็น 4 และขายแบบ Strong Sell มีค่าเป็น 5 ถ้าพิจารณาจาก ค่าเฉลี่ย Consensus ของคำแนะนำของหุ้นตัวหนึ่งๆ การกำหนดค่า 2 ถือเป็นค่าสูงสุดสำหรับ Weak Buy ถ้าค่าเกินกว่า 2 ไม่ควรแนะนำให้ซื้อเข้ากลุ่มหลักทรัพย์ และควร ตัดหลักทรัพย์นั้นออกจากการพิจารณา

lกำไรส่วนที่เกินจากการพยากรณ์ในไตรมาสที่ผ่านมา (Latest Quarter Earnings Surprise) การกำหนดค่าขั้นต่ำ ไว้ที่ 0% ช่วยตัดบริษัทที่มีผลกำไรต่ำกว่าการพยากรณ์ของนักวิเคราะห์ออกไป (ซึ่งเราเรียกว่าเป็นบริษัทที่มี Negative Surprise) ในรายงานงบการเงินของไตรมาสล่าสุด ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนในหลักทรัพย์เชื่อว่า บริษัทที่มี Negative Surprise นี้ เป็นสัญญาณบอกว่าจะมี More Negative Surprises เพิ่มขึ้นในอนาคต

CREDIT by กฤษฏา เสกตระกูล @ posttoday