-->

ผู้เขียน หัวข้อ: 100 ซีอีโอไทย เชื่อ! นวัตกรรมสร้างความมั่งคั่ง  (อ่าน 512 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

don

  • บุคคลทั่วไป

เปิดผลสำรวจขีดความสามารถด้านนวัตกรรมของประเทศไทย 100 ซีอีโอไทย มั่นใจ ขีดความสามารถในการแข่งขันนวัตกรรมในประเทศสูงถึง 68.2% และสร้างความมั่งคั่งได้ถึง 72.9% ขณะที่ 7 กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง 1,000 ราย ยังมีการลงทุนในด้านวิจัยและพัฒนาค่อนข้างต่ำ


สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(สนช.)ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัทไมโครซอฟท์(ประเทศไทย)จำกัด  ดำเนินโครงการสำรวจขีดความสามารถด้านนวัตกรรมของประเทศไทยประจำปี 2550 ระหว่างมีนาคม ?กันยายน 2550
 
ถือเป็นการจัดทำดัชนีเพื่อวัดระดับความสามารถด้านนวัตกรรมขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทย
 
โดยทำการสำรวจ 2 ส่วนคือ 1.สำรวจข้อมูลทัศนคติของผู้บริหารระดับสูง(CEOs)จำนวน 100 คน เกี่ยวกับความสามารถด้านนวัตกรรมองค์กร/บริษัท(CEOs Survey)
 
โดยสอบถามเกี่ยวกับระดับความสามารถด้านนวัตกรรมขององค์กรภายในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ใช้ 3 ตัวแปรหลักในการวัดศักยภาพ คือ 1.การสร้างความรู้  2.การถ่ายทอดองค์ความรู้ 3.การนำความรู้ในองค์กรไปใช้เพิ่มขีดความสามารถขององค์กรพบว่า มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นระดับความสามารถด้านนวัตกรรมในปี 2550 เท่ากับ 68.2
 
หมายความว่าในปี 2550 นี้ กลุ่มผู้บริหารระดับสูงมีความเชื่อว่า องค์กรของตนมีระดับความสามารถในการทำนวัตกรรมที่มีศักยภาพการแข่งขันในประเทศไทยค่อนข้างดี  แต่ถ้าพิจารณาทั้ง 3 ตัวแปรแล้ว ตัวแปรด้านการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ที่สูงถึงร้อยละ 71.1 มีอิทธิพลมากที่สุด ต่อค่าดัชนีความเชื่อมั่นระดับความสามารถด้านนวัตกรรม ในปี 2550 รองลงมาคือ การสร้างความรู้ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 68.8 และการถ่ายทอดความรู้เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลน้อยที่สุดคือ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 63.9
 
ขณะที่ค่าเฉลี่ยผลลัพธ์ของนวัตกรรมต่อการสร้างความมั่งคั่งเท่ากับร้อยละ 72.9 หมายความCEOs ส่วนใหญ่เชื่อว่า นวัตกรรมมีผลต่อการสร้างความมั่งคั่ง  และยังเห็นว่าการสร้างนวัตกรรมส่งผลต่อการขยายตลาด/สร้างตลาดใหม่มากที่สุดถึงร้อยละ 76.5
 
ส่งผลให้CEOs มองทิศทางและแนวโน้มของระดับความสามารถขององค์กรในอนาคตไปในเชิงบวก เพราะเชื่อว่าในอนาคต 4-5 ปีข้างหน้า องค์กรของตนจะมีระดับความสามารถการแข่งขันบนเวทีโลกในระดับสูงถึงร้อยละ  67.6 และเชื่อว่าจะเป็นองค์กรนวัตกรรมในระดับปานกลางค่อนข้างสูงคือ ร้อยละ 64.8
 
2.สำรวจข้อมูลด้านการดำเนินกิจกรรมด้านนวัตกรรมของบริษัทที่มีศักยภาพการแข่งขันสูงจำนวน 1,000 บริษัท(Company Survery) ก็มี 3 ตัวแปรหลักเช่นเดียวกับ CEOs Survey  โดยทำการสำรวจเฉพาะบริษัทในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง 7 กลุ่มอุตสาหกรรมคือ ชีวภาพ,ผลิตภัณฑ์ธรรมและสมุนไพร,ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม,การออกแบบและการสร้างตราสินค้า,นาโนเทคโนโลยี,ซอฟต์แวร์ และระบบอิเล็กทรอนิกส์การเกษตร
 
จากการสำรวจพบว่า ในปี 2549 ธุรกิจในกลุ่มที่มีการแข่งขันสูง จะดำเนินกิจกรรมนวัตกรรมในบริษัทดังนี้ 1.ปรับปรุงกระบวนการเดิม จำนวน 2.3 รายการ/บริษัท/ปี  2. พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่เคยมาก่อนในตลาด จำนวน 2.2 รายการ/บริษัท/ปี และ 3. พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าทดแทนคู่แข่งในตลาด จำนวน 1.9 รายการ/บริษัท/ปี
 
นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มอุตสาหกรรมที่แข่งขัน จะมีจำนวนบุคลากรเฉลี่ยด้านวิจัย/พัฒนา/นวัตกรรม เท่ากับ 3.9 ต่อบริษัท  และรับบุคลากรที่ปฏิบัติงานวิจัย/พัฒนา/นวัตกรรมเข้ามาใหม่เท่ากับ 3.2 คนต่อปี  หากแต่บริษัทส่วนใหญ่เหล่านี้ถึงร้อยละ 63.1 กลับไม่มีระบบจูงใจ และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมแก่พนักงาน
 
ในส่วนของแหล่งข้อมูลที่ใช้พัฒนานวัตกรรม พบว่า ส่วนใหญ่อาศัยข้อมูลจากลูกค้าเป็นหลักร้อยละ 56.6 รองลงมาคือ อินเทอร์เน็ตร้อยละ 45.1 และงานแสดงสินค้าและนิทรรศการร้อยละ 42.5  ส่วนข้อมูลจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยจากภาครัฐน้อยที่สุดถึงร้อยละ 35
 
โดยเฉลี่ยบริษัทเหล่านี้จะมีโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมกับสถาบันการศึกษา 1.6 โครงการ/บริษัท/ปี แต่ถ้าเป็นสินค้าที่ทดแทนคู่แข่งในตลาด พัฒนาบริการใหม่ หรือ ปรับปรุงบริการ จะไม่ว่าจ้างสถาบันการศึกษาให้ช่วยพัฒนานวัตกรรมเลย ส่วนว่าจ้างหน่วยงานวิจัยเอกชน เฉลี่ย 1 รายการ/บริษัท/ปี
 
แต่ถ้าร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมกับหน่วยงานภายนอก พบว่าค่าเฉลี่ยของความร่วมมือจะอยู่ในระดับค่อนข้างสูงคือประมาณ 1.8 รายการ/บริษัท/ปี  โดยเฉพาะความร่วมมือระหว่างเอกชนด้วยกัน สะท้อนภาพในการแข่งขัน ปรากฏความร่วมมือในลักษณะรังสรรค์นวัตกรรม  ซึ่งจะมีการพัฒนานวัตกรรมในระบบเปิดมากขึ้น เห็นได้จากจำนวนโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมกันระหว่างบริษัทในกลุ่มที่มีการแข่งขันสูงกับบริษัทอื่นเท่ากับ 1.9 โครงการ/บริษัท/ปี
 
จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าใช้จ่ายในการทำวิจัย และพัฒนา และการสร้างความมั่งคั่งพบว่า ยิ่งการลงทุนในการทำวิจัยและพัฒนาต่ำ จะทำให้การเพิ่มรายได้ต่อผลิตภัณฑ์ และการส่งออกต่ำไปด้วย หากบริษัทจะสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ใหม่จะต้องลงทุนในด้านนี้มากกว่าร้อยละ 5 ของรายได้ จึงจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นที่ชัดเจน
   


suphap

  • บุคคลทั่วไป
Re: 100 ซีอีโอไทย เชื่อ! นวัตกรรมสร้างความมั่งคั่ง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 16 มีนาคม 2009, 15:37:56 »

เห็นด้วยคับ ท่าน  ghdf hgj