-->

ผู้เขียน หัวข้อ: นอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ มีผลอย่างไรต่อสุขภาพ ?  (อ่าน 1327 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

mammos69

  • บุคคลทั่วไป

นอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ มีผลอย่างไรต่อสุขภาพ ?

ผู้ที่มีอาการนอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับร่วมด้วย จะมีการลดระดับลง ของระดับออกซิเจนในเลือด เมื่อถึงจุดหนึ่งร่างกายก็จะป้องกันตนเอง ไม่ให้ขาดออกซิเจนมากกว่านี้ ด้วยการปลุกให้ตนเองตื่น ช่วงของการตื่น มักเป็นเวลาสั้นมาก ซึ่งผู้ที่กรนและมีหยุดหายใจจะไม่ทราบ แต่คนรอบข้างอาจสังเกตุเห็น ว่ามีการหยุดหายใจ ตามมาด้วยอาการสะดุ้งเฮือกหรือสำลักน้ำลาย การถูกปลุกให้ตื่นด้วยตนเองนี้ นำมาสู่การนอนที่ไม่มีคุณภาพ มีระยะเวลาของการหลับลึกที่ไม่มากพอ ทำให้ผู้ที่มีปัญหาหยุดหายใจขณะหลับ มีอาการตื่นมาตอนเช้าไม่แจ่มใส และมีอาการง่วงนอนมากกว่าปกติในตอนกลางวัน แม้ว่าจะนอนจำนวนชั่วโมงเพียงพอแล้ว (หากนอนไม่พอ หรืออดนอน จะมีอาการง่วงนอนตอนกลางวัน ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา) ยกตัวอย่างเช่น นั่งสัปหงก หรือหลับในที่ประชุม โดยไม่ตั้งใจ หลับขณะรถติดไฟแดงขณะที่เป็นคนขับรถเอง อาการง่วงนอนมากกว่าปกตินี้ หากเกิดในคนที่ต้องทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร หรือขับรถทางไกล อาจนำมาซึ่งการเกิดอุบัติเหตุได้

นอกจากปัญหาเรื่องง่วงนอนมากกว่าปกติแล้ว หากปล่อยให้เกิดการขาดออกซิจนในช่วงนอนหลับ ทุกๆคืน เป็นระยะเวลานานๆ หลายปีติดต่อกัน อาจนำมาซึ่งผลกระทบต่อ 3 ระบบที่สำคัญคือ

สมองและระบบประสาท การขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง ทำเกิดความจำแย่ลง สมาธิแย่ลง การตัดสินใจแย่ลง รวมทั้งอารมณ์แย่ลงด้วย ก่อนวัยอันควร (อาการเหล่านี้ เป็นมากขึ้นอยู่แล้ว เมื่อมีอายุมากขึ้น แต่ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจจะเป็นมากกว่าปกติ อาจสังเกตได้โดยการเปรียบเทียบกับเพื่อนๆ ที่อยู่ในวัยเดียวกัน)
หัวใจ การมีออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจน้อยลง ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดในตอนกลางคืนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น เป็นโรคหัวใจขาดเลือดอยู่แล้ว หรือมีความดันโลหิตสูง โคเลสเตอรอลในเลือดสูง เป็นต้น
ผลต่อหลอดเลือด ขณะที่ภาวะขาดออกซิเจน จะมีผลทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกาย เกิดอาการตีบตัว อันนำมาสู่โรคความดันโลหิตสูงได้
ผลต่อสุขภาพที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดขึ้นในระยะเวลาข้ามคืน แต่จะมีผลต่อสุขภาพ ถ้าปล่อยให้เกิดทุกๆคืนต่อเนื่องเป็นรยะเวลาเป็นปีๆ ซึ่งอาจทำให้บางคน ไม่ตระหนักถึงผลที่อาจจะเกิดขึ้น และไม่ได้ทำการรักษาให้เหมาะสม อันนำมาซึ่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้



นอนกรน เกิดจากอะไร?

มาถึงตรงนี้ คงสงสัยกันแล้วว่า การนอนกรน เกิดมาจากสาเหตุอะไรแน่ การจะเข้าใจสาเหตุของการนอนกรน คงต้องเข้าใจเรื่องการหายใจแบบปกติก่อนว่าเป็นอย่างไร

ปกติแล้วเวลาเราหายใจ ไม่ว่าหลับหรือตื่น ลมหายใจจะวิ่งผ่านจมูก เข้าสู่ช่องจมูก ลำคอหลังโพรงจมูก ลำคอ ผ่านกล่องเสียง และเข้าสู่ปอด หากลมหายใจวิ่งได้ราบรื่นดีตามทางเดินปกติ ก็จะไม่มีเสียงใดๆ เกิดขึ้น แต่หากมีการอุดกั้นทางเดินหายใจไม่ว่าระดับใดก็ตาม ทำให้ลมที่วิ่งไปตามทางเดินปกติ มีไม่มากพอ ร่างกายก็จะตอบสนองด้วยการอ้าปากหายใจร่วมด้วย เมื่อลมวิ่งเข้าไป 2 ทาง ทั้งทางปากและทางจมูก ก็จะไปปะทะกันบริเวณลำคอ เกิดเป็นลมหมุน ทำให้ผนังลำคอ รวมทั้งลิ้นไก่และเพดานอ่อนสั่น เกิดเป็นเสียงกรน

หากการอุดกั้นทางเดินหายใจ เกิดขึ้นเพียงบางส่วน ร่างกายยังได้รับอากาศเข้าไปอย่างสม่ำเสมอ ก็จะไม่มีปัญากับสุขภาพ มีเพียงเสียงกรนที่ดังรบกวนคนรอบข้างเท่านั้น แต่หากขณะนอนหลับ ทางเดินหายใจอุดกั้นมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งอุดตันจนหมด ทำให้อากาศทั้งจากทางปากและจากทางจมูก ไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ เกิดภาวะที่เราเรียกว่า หยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep Apnea) เมื่อหยุดหายใจ ทำให้ระดับออกซิเจนในกระแสเลือดลดต่ำลงเรื่อยๆ ซึ่งเมื่อต่ำถึงระดับหนึ่ง ร่างกายก็จะมีกลไกในการป้องกันตนเอง ไม่ให้ออกซิเจนลดต่ำไปมากกว่านี้ ด้วยการปลุกให้ตัวเองตื่นขึ้น และกลับมาหายใจใหม่ การตื่นในลักษณะนี้ มักเป็นการตื่นในระยะเวลาสั้นๆ และผู้ที่หลับมักจะจำไม่ได้ว่าตื่น แต่คนรอบข้างมักจะสังเกตเห็นว่า ผู้ที่นอนมีการกรนมาระยะหนึ่ง แล้วนิ่งเงียบหายไป หลังจากนั้นจะมีอาการสะดุ้งเฮือกหรือสำลักน้ำลาย แล้วกลับมากรนใหม่

สาเหตุที่ทำให้ทางเดินหายใจไม่โล่ง มีได้ดังนี้

ปีกจมูกแฟบหรือเล็กกว่าปกติ
เยื่อบุจมูกอักเสบ
ผนังกั้นกลางจมูกคด
ริดสีดวงในจมูก หรือมีเนื้องอกในช่องจมูก
ต่อมอดีนอยด์โต
ต่อมทอนซิลโต
เพดานอ่อนยืดยาวกว่าปกติ หรืออยู่ในตำแหน่งที่ค่อนมาทางด้านหลัง
ลิ้นตกมาทางด้านหลังขณะนอนหงาย ร่วมกับการมีผนังลำคอแคบจากการมีน้ำหนักมากกว่าปกติ
เมื่อไปปรึกษาแพทย์ จึงจำเป็นที่จะต้องตรวจหาตำแหน่งการอุดกั้นทางเดินหายใจ ว่าส่วนใดที่เป็นปัญหา และสามารถแก้ไขได้หรือไม่ รวมทั้งการประเมินความรุนแรงของการกรนว่า เป็นกรนแบบธรรมดา หรือกรนแบบมีหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วยหรือไม่



นอนกรนอย่างไร จึงเป็นปัญหา

เราสามารถแบ่งการนอนกรน ตามความรุนแรง เป็น 2 ระดับ คือ กรนอย่างเดียว และกรนแบบมีหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย

จากสถิติในผู้ที่มีปัญหานอนกรน พบว่า 70% จะเป็นปัญหาระดับกรนอย่างเดียว อีก 30% จะเป็นกรนแบบมีหยุดหายใจร่วมด้วย พวกที่เป็นปัญหากรนอย่างเดียว จะไม่มีปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการกรน จะทำการรักษาหรือไม่ก็ได้ หากทำการรักษา จะทำเพื่อลดเสียงกรนให้ลดลง เพื่อลดความรำคาญกับผู้คนรอบข้างเท่านั้น อย่างไรก็ตาม คนกลุ่มนี้ ควรจะคอยติดตามอาการของตนเอง เนื่องจากสามารถพัฒนาไปสู่ กรนแบบมีหยุดหายใจร่วมด้วยได้

กลุ่มที่ต้องให้ความสำคัญ คือกลุ่มที่มีกรนและหยุดหายใจร่วมด้วย เนื่องจากจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ หากทิ้งไว้ให้เกิดขึ้นทุกวัน ในระยะเวลานานๆ (เป็นปีๆ ไม่ได้เกิดทันทีในพรุ่งนี้ มะรืนนี้) คนกลุ่มนี้ ควรจะได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และเหมาะสม

อาการและอาการแสดง ที่จะช่วยบอกว่า อาจมีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย มีดังนี้

คนรอบข้างสังเกตเห็นว่า ขณะที่นอนหลับ มีการกรน แล้วมีหยุดไประยะหนึ่ง แล้วกลับมากรนใหม่ พร้อมกับมีอาการสะดุ้งเฮือก หรือสำลักน้ำลาย
ตื่นมาตอนเช้า ไม่แจ่มใส ทั้งๆ ที่นอนด้วยจำนวนชั่วโมงที่เพียงพอ (พวกนอนน้อยไม่นับนะครับ)
ตอนกลางวัน มีอาการง่วงนอนมากกว่าปกติ ที่ว่ามากกว่าปกติ หมายถึงพยายามฝืนแล้ว แต่ไม่สามารถทำได้ เช่น นั่งสัปหงกขณะทำงาน หรือขณะนั่งประชุม อาการนี้ไม่นับรวม ความรู้สึกง่วงนอนหลังรับประทานอาหาร (หรือที่เรียกว่า ท้องตึงหนังตาหย่อน) หรือในบางคนที่ตั้งใจไปงีบหลับจริงๆ ซึ่งแปรไปตามสภาพร่างกาย และอายุที่เพิ่มมากขึ้น
มีอาการมึนศีรษะตอนเช้า หลังตื่นนอน ซึ่งเกิดจากการขาดออกซิเจนขณะนอนหลับ จะแตกต่างจากอาการมึนที่เกิดจากความเครียด ที่มักเกิดขึ้นตอนสายๆ หรือบ่ายๆ
มีความดันโลหิตที่ขึ้นสูงตอนเช้า ขณะที่่ตอนสายๆ ความดันลดลง
ตื่นมาปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน มากกว่า 2 ครั้งต่อคืน โดยไม่มีโรคเบาหวาน หรือต่อมลูกหมากผิดปกติ สังเกตได้จาก ตอนกลางวันปัสสาวะไม่บ่อย แต่กลางคืนกลับปัสสาวะบ่อย
ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นอาการและอาการแสดงของการนอนกรนที่เป็นปัญหากับสุขภาพ หากท่านมีอาการที่เข้าได้กับอาการดังกล่าวข้างต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ครับ



นอนกรน เป็นปัญหาจริงหรือ?

เชื่อว่าหลายท่าน คงมีประสบการณ์ กับ การนอนกรนมาบ้าง ทั้งอาจเกิดขึ้นกับคนใกล้ตัว หรือเกิดขึ้นกับตัวเอง บ่อยครั้งที่คนที่กรน ไม่ทราบว่าตัวเองมีอาการนอนกรน จนกระทั่งออกเดินทางไปสัมนา หรือไปประชุมนอกสถานที่ และจำเป็นต้องนอนร่วมห้องกับคนอื่นๆ จึงทราบว่า ตนเองก็มีอาการนอนกรนด้วยเหมือนกัน

ช่วง 3-4 ปีหลังมานี้ แพทย์ได้พยายามอธิบายถึงสาเหตุของการนอนกรน รวมทั้งผลต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นตามมา ตามสื่อต่างๆ ทำให้คนไทย ตระหนักถึงผลที่อาจเกิดขึ้นจากการนอนกรนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อสงสัยว่า นอนกรนทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจริงหรือ ถ้าเช่นนั้น ปู่ย่าตายาย หรือแม้กระทั่งพ่อแม่ของเราที่นอนกรนมานาน ทำไมจึงไม่มีปัญหาใดๆ

การจะตอบคำถามนี้ จะต้องเข้าใจว่า การนอนกรนเป็นเพียง ?อาการแสดง? อย่างหนึ่งซึ่งมีสาเหตุมาจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น ซึ่งถ้าหากเป็นการอุดกั้นแค่บางส่วน ร่างกายยังได้รับอากาศเข้าไป ก็ไม่ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพแต่อย่างใด แต่ในบางคน การอุดกั้นทางเดินหายใจขณะนอนหลับ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งอุดจนหมด ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า ?หยุดหายใจขณะนอนหลับ? เกิดขึ้นร่วมด้วย ซึ่งถ้าหารปล่อยให้ภาวะนี้เกิดขึ้นทุกคืนเป็นระยะเวลานานเป็นปี ก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา

มีการศึกษาชิ้นหนึ่งในต่างประเทศ ได้ทำการศึกษาอัตราการรอดชีวิตของคนที่นอนกรน เปรียบเทียบกับคนปกติ พบว่า ในคนกลุ่มที่มีอาการนอนกรน อัตราการรอดชีวิตลดลงประมาณครึ่งหนึ่งในเวลาประมาณ 5 ปี ซึ่งทำให้แพทย์หันมาสนใจศึกษาและแก้ไขปัญหานอนกรนกันมากขึ้น

การนอนกรนเฉพาะบางวัน อาจเกิดขึ้นได้ และไม่ทำให้เกิดโรคแต่อย่างใด สาเหตุอาจมาจาก การที่เราอดนอนในวันก่อนหน้า วันที่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือรับประทานยาที่ทำให้ง่วงนอนเช่น ยาลดน้ำมูก เป็นต้น ปัญหาเรื่องกรนและหยุดหายใจ จะทำให้เกิดปัญหากับสุขภาพได้ จะต้องเกิดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ทำให้ในบางครั้ง ผู้คนไม่ใส่ใจให้การรักษาภาวะนี้ คิดว่า ไม่เห็นมีอาการอะไร ภาวะนี้ เปรียบเทียบได้กับ ?ระเบิดเวลา? เมื่อสะสมมาถึงจุดหนึ่งจึงแสดงอาการออกมา