-->

ผู้เขียน หัวข้อ: เตรียมประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม 2 ฟากถนนประวัติศาสตร์เชียงใหม่-ลำพูน  (อ่าน 696 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

  • Administrator
  • เทพเจ้าราตรี
  • *
  • กระทู้: 18150
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +9/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • cmxseed

เตรียมประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม 2 ฟากถนนประวัติศาสตร์เชียงใหม่-ลำพูน

กระทรวงทรัพย์ฯเตรียมประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม 2 ฟากถนนประวัติศาสตร์เชียงใหม่-ลำพูน"
แก้ปัญหารุกล้ำ ทำลาย โค่นต้น "ยางนา" อายุเก่าแก่ 132 ปี ปลูกขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เหลือเพียง 900 ต้น
จากทั้งหมด 2,000 ต้น พร้อมคุมเข้มห้ามก่อสร้างอาคาร-โรงแรม-ตึกแถวขนาดใหญ่

นาย เกษมสันต์ จิณณวาโส เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)
เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ยกร่างประกาศ
กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ในท้องที่ตำบลวัดเกตุ ตำบลหนองหอย อำเภอเมืองเชียงใหม่ ตำบลหนองผึ้ง ตำบลยางเนิ้ง และตำบลสารภี
อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และในท้องที่ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พ.ศ.....และร่างแผนที่
ท้ายประกาศเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้นำเสนอกระทรวงทรัพยากรฯนำร่างประกาศฉบับนี้เสนอต่อคณะรักษาความสงบ
แห่งชาติ (คสช.) พิจารณา

"ความจำเป็นที่ต้องมีมาตรการคุ้มครองสิ่ง แวดล้อมในพื้นที่ดังกล่าวนี้ เพื่อประโยชน์ในการสงวนและอนุรักษ์ฟื้นฟู
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งควบคุมไม่ให้มีการทำลายมรดกทางธรรมชาติในบริเวณสองฟากทาง
หลวงแผ่นดิน หมายเลข 106 (ถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน) ซึ่งถือว่าเป็นถนนสายประวัติศาสตร์ที่มีการปลูกต้นยาง
นาตั้งแต่ในสมัยรัชกาล ที่ 5 และที่ผ่านมามีการรุกล้ำ ทำลาย ตัดโค่นต้นยางนาจำนวนมาก"


สำหรับ เขตที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม จะวัดจากแนวเส้นศูนย์กลางของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106
ออกไปทั้งสองด้าน ด้านละ 40 เมตร ตั้งแต่ลำเหมืองพญาคา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ถึงสุดเขตตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ในท้องที่ตำบลวัดเกตุ ตำบลหนองหอย อำเภอเมืองเชียงใหม่
ตำบลหนองผึ้ง ตำบลยางเนิ้ง และตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และในท้องที่ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน
จังหวัดลำพูน ซึ่งอยู่ในเขตควบคุมอาคารตามพระราชกฤษฎีกา ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
และเขตผังเมืองรวมจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2555 และเขตผังเมืองรวมลำพูน พ.ศ. 2555


ทั้งนี้ให้จำแนกพื้นที่เป็น 2 บริเวณ คือบริเวณที่ 1 วัดจากเส้นศูนย์กลางของทางหลวงแผ่นดิน (ถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน)
ออกไปทั้งสองด้าน ด้านละ 10 เมตรซึ่งจะมีการห้ามตัด ฟัน โค่นต้นยางนาหรือต้นขี้เหล็ก การห้ามเท/ปูพื้นที่ด้วยซีเมนต์
หรือแอสฟัลต์ หรือวัสดุอื่นที่เป็นอันตรายต่อระบบรากของต้นยางนาหรือต้นขี้เหล็ก การตอกหรือติดตั้งป้าย เคาะ
พ่นสีต้นยางนา เป็นต้น

ส่วนพื้นที่บริเวณที่ 2 วัดจากแนวเส้นศูนย์กลางของถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน ออกไปทั้งสองด้าน ด้านละ 40 เมตร
(ไม่รวมพื้นที่บริเวณที่ 1) จะห้ามก่อสร้าง ดัดแปลงอาคารให้เป็นอาคารขนาดใหญ่, โรงแรม, โรงงาน, โรงฆ่าสัตว์,
สถานที่บรรจุก๊าซ หรือตึกแถวที่มีความยาวด้านหน้าอาคารรวมเกินกว่า 36 เมตร เป็นต้น

นายเกษมสันต์เปิดเผยอีกว่า ที่ผ่านมาได้มีการประกาศใช้เขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมไปแล้ว ในโซน
จังหวัดอันดามัน เช่น ภูเก็ต พังงา กระบี่ และเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งจะมีมาตรการที่แตกต่างกันไปตามสภาพ
ปัญหาของแต่ละพื้นที่ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในสมัยรัชกาลที่ 5 และตรงกับสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครอง
นครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ในห้วงเวลานั้น เจ้าพระยาสุรสีห์ วิสิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ
เป็นผู้ริเริ่มนำพันธุ์ต้นยางนามาปลูกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2425 บริเวณสองข้างทาง จากสะพานย่านอำเภอเมืองเชียงใหม่
จนถึงเขตอำเภอเมืองลำพูน ส่วนการปลูกต้นยางนาในเขตอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่นั้น เริ่มต้นปลูกอย่างจริงจังเมื่อปี 2465
ในสมัยรัชกาลที่ 6 รวมระยะเวลาจนถึงปัจจุบัน ต้นยางนาจะมีอายุเก่าแก่ราว 100-132 ปี

ด้าน นายจงคล้าย วรพงศธร ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า
สาระสำคัญของร่างประกาศฉบับนี้คือการอนุรักษ์และคุ้มครองต้นยางนาตลอดแนวสอง ฟากถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน
ซึ่งหาก คสช.เห็นชอบต่อร่างประกาศนี้ ก็จะดำเนินการสร้างความเข้าใจ และสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนที่อยู่โดยรอบ
ก่อนที่จะมีประกาศฉบับจริงออกมา

นายสมชัย เบญจชย นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สำรวจพื้นที่แนวต้นยางนาสายเชียงใหม่-ลำพูน ไม่พบการบุกรุกพื้นที่สาธารณะ
เพราะส่วนใหญ่เป็นอาคารบ้านเรือน ร้านค้า อาคารพาณิชย์ที่มีเอกสารสิทธิ ปัจจุบันมีต้นยางนาเหลืออยู่ประมาณ 900 ต้น
จากเดิมมีจำนวนทั้งหมดราว 2,000 ต้น

อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญที่พบคือมีผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้า และผู้อยู่อาศัยบางส่วนที่อยู่บริเวณติดกับถนนต้นยางนา
ได้พยายามทำลายต้นยางมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การโบกปูนรอบโคนต้นยางเพื่อไม่ให้รากเติบโต การเทปูนซีเมนต์ล้อมรอบ
โคนต้นและพื้นที่โดยรอบ ขับขี่ยานพาหนะเข้าชนหรือกระแทก การทิ้งขยะสารเคมี และสิ่งของต่าง ๆ แล้วเผาบริเวณโคนต้น
การติดป้ายโฆษณา หรือที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งก็คือ การจงใจทำให้ต้นยางนาตายโดยใส่สารพิษบริเวณโคนต้นให้รากดูดซับเข้าไป

ทั้งนี้ ร่างประกาศฉบับนี้ นอกจากจะเป็นมาตรการทางกฎหมายที่จะช่วยปกป้องและคุ้มครองต้นยางนาแล้ว แต่สิ่งที่สำคัญ
มากกว่านั้นคือการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกคนที่อาศัยอยู่ บริเวณนั้นจะต้องช่วยกันดูแลรักษาต้นยางนาทุกต้น
เพื่อให้ชุมชนและต้นยางนาสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่ายั่งยืน
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่