-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ปัญหาชีวิตคู่: ทำอย่างไรเมื่อคู่ของเราไม่ทำอย่างที่เราต้องการ  (อ่าน 2303 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ชายวัยทอง

  • บุคคลทั่วไป

บิลและแซนดี้นั่งอ่านหนังสือกันเงียบ ๆ กว่าชั่วโมงที่ห้องนั่งเล่น พอถึงเวลาเข้านอน แซนดี้ก็โพล่งประชดประชันแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยขึ้นว่า ให้ตายเถอะ เราสองคนช่างมีเวลาใกล้ชิดกันอย่างลึกซึ้ง เหมือนเคยซะจริง ๆ? บิลสะดุ้งเฮือก แต่ไม่อยากเสี่ยงที่จะแกว่งเท้าหาเสี้ยนจึงได้แต่นั่งเงียบๆ แล้วเตรียมตัวเข้านอน ปล่อยให้แซนดี้งุ่นง่านกระแทกโน้นกระแทกนี่ หงุดหงิดโมโหโกรธาอยู่คนเดียวอีกกว่าชั่วโมง




ในใจของแซนดี้คิดว่า :

เขาไม่อยากจะมีส่วนร่วมอะไรกับฉันอีกต่อไปแล้ว เขาเบื่อกับชีวิตการแต่งงานของเราแล้ว ทั้ง ๆ ที่เขาก็รู้ดีว่าฉันเสียใจมากแค่ไหนที่เราไม่ค่อยได้พูดจากันใกล้ชิดกันมากเหมือนเมื่อก่อน แต่เขาก็ไม่สนใจความรู้สึกของฉัน แล้วตอนนี้เราก็น่าจะจัดการเรื่องไปเที่ยวสุดสัปดาห์กันแต่เขาก็ไม่สนใจที่จะพูดถึง ชีวิตการแต่งงานนี้มันช่างสิ้นหวังเสียจริง ๆ


ในใจของบิลคิดว่า :

                ตายล่ะวา! ฉันคิดว่ามันช่างวิเศษจริง ๆ ที่แซนดี้กับฉันได้นั่งพักผ่อนกันเงียบ ๆ ทำในสิ่งที่ต่างคนต่างอยากทำ แล้วดูสิ แซนดี้ไม่เคยที่จะบ่นเรื่องการไปเที่ยวสุดสัปดาห์นี้สักครั้งเดียว ดูเธอก็มีความสุขดี แต่ไหงอยู่ดี ๆ เจ้าหล่อนก็โพล่งบ่นเรื่องน่าเบื่อเดิม ๆ เรื่องที่เราไม่ค่อยพูดคุยกัน เรื่องเก่าปีมะโว้ขึ้นมาอีก เจ้าหล่อนต้องการอะไรจากฉันกันแน่นะ

ทั้งคู่กำลังพูดกันคนละภาษาอยู่หรือเปล่า ?

บิลมีความคิดว่า ความต้องการของแซนดี้ที่มีต่อเขานั้นเป็นการล่วงละเมิดอิสระและความเป็นส่วนตัวของเขาอย่างมาก ในขณะที่ความคิดของแซนดี้นั้น การที่บิลต้องการความเป็นส่วนตัวหมายถึงบิลไม่ต้องการจะใกล้ชิดเธอ บิลไม่ได้มีความต้องการที่จะอยู่กินกับเธออย่างแท้จริง

เขากลัวการติดกับดัก

เธอกลัวการถูกทอดทิ้ง


ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทั้งคู่จะต้องรู้สึกโกรธและเจ็บใจ และความน่าจะเป็นก็คือ ในคืนวันถัดไป บิลจะต้องรู้สึกกังวลและเครียดเวลาที่เขาต้องการอยู่คนเดียวเงียบ ๆ หลังจากเลิกงาน เพราะกลัวแซนดี้จะโมโหอีกว่าเขาเอาแต่อยู่กับตัวเอง ส่วนแซนดี้นั้นก็จะต้องสั่งสมอารมณ์เศร้าโศก หงุดหงิด น้อยใจมากขึ้นไปเรื่อย ๆ เพราะกลัวว่าชีวิตการแต่งงานนี้จะต้องพังทลายลงสักวัน

วันรุ่งขึ้นเพียงแค่แซนดี้พูดขึ้นว่า เธอคิดว่าเสื้อเชริต์ของเขาไม่เข้ากันกับเครื่องแต่งตัวทั้งหมดที่บิลใส่ เท่านั้นก็เป็นเรื่อง บิลกร้าวขึ้นทันทีว่า ?อย่ามายุ่งกับผมได้ไหม? แล้วทั้งคู่ก็ต้องเต้นเร่าอยู่กับความโกรธ แค้นใจ ความสัมพันธ์ของทั้งคู่เย็นชาในที่สุด

ช่องว่างระหว่างการสื่อสารในลักษณะนี้เกิดขึ้นได้ในทุกความสัมพันธ์ที่มีเรื่องของเพศและความรักเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะว่าความสัมพันธ์ที่มีเรื่องเพศและความรักมาเกี่ยวข้องนั้นเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง ดังนั้นต้องพิจารณาความแตกต่างในการส่งข้อความของแต่ละเพศเป็นสำคัญ ในเรื่องนี้เราสามารถเห็นถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้แต่ละเพศมีความคิดและความเชื่อที่ต่างกันที่เป็นสาเหตุพื้นฐานที่สำคัญที่มีอยู่ในความยุ่งยากในความสัมพันธ์เหล่านั้น
ในวัยเยาว์ ผู้หญิงถูกสั่งสอนมาให้ทำตัวให้น่ารัก สุภาพและอ่อนหวาน ผู้หญิงต้องไม่กล้าหาญชาญชัยมากจนเกินไป และเธอต้องมีผู้ชายมาทำให้ชีวิตของเธอสมบูรณ์และมีคุณค่า เมื่อนั้นชีวิตของเธอก็จะประสบสุข และผู้หญิงยังคงถูกอบรมสั่งสอนมาอีกว่า เธอจะเป็นที่น่ารังเกียจมากถ้ารูปร่างหน้าตาของเธอไม่สดสวยเหมือนกับนางแบบวัย 20 ปีคนนั้น ๆ ฯลฯ

ด้วยการที่ผู้หญิงเห็นว่าชีวิตของเธอจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อต้องมีผู้ชายมาเป็นผู้ทำให้ พวกเธอจึงพยายามอย่างเต็มความสามารถที่จะเกาะติดอยู่กับความสัมพันธ์ที่เปราะบาง (และแม้กระทั่งบางรายยังถูกสามีทำร้ายร่างกายด้วย) เธอเหล่านี้ยังคงทนอยู่กับสถานการณ์ชีวิตสมรสแบบนี้ไปเรื่อย ๆ สั่งสมความโกรธ เครียด ซึมเศร้า กังวลเมื่อพวกเธอไม่ได้การตอบสนองอย่างที่เธอต้องการจากสามี แล้วในที่สุด เธอก็จะเริ่มเปลี่ยนแปลงนิสัยของตัวเองไปทีละน้อยอย่างไม่รู้ตัว เช่น เธอจะเปลี่ยนเป็นมีนิสัยเง้างอด หน้าง้ำ เก็บกด เกาะติดเป็นปลิง ละเลยสิ่งสำคัญอื่น ๆ ในชีวิต หมายรวมถึง การละเลยเรื่องการงาน กิจกรรมที่น่าสนใจอื่น ๆ บางทีเธออาจคิดว่าถ้าเธอจะเลิกนิสัย ?ผู้หญิง? เหล่านี้ โดยการประพฤติตัวเป็นคนกล้าแสดงออก อยู่โดยที่ไม่ต้องมีผู้ชาย เธอก็จะกลัวว่าเธอจะถูกกล่าวหาว่าเป็น ?นังพวกแม่มด?, เป็นพวกลักเพศ เป็นพวกเย็นชา เป็นพวกก๋ากั๊น ฯลฯ

ในขณะที่เด็กผู้หญิงจะเล่นเลี้ยงน้อง ขายข้าวขายแกง เล่นเป็นพ่อแม่พี่น้องพูดคุยสนทนา ปรึกษาหารือ เด็กผู้ชายจะเล่นยิงนกตกปลา ต่อสู้ ปีนต้นไม้ หรือเล่นอะไรก็ตามที่เป็นการใช้พละกำลัง เด็กผู้ชายจะเรียนรู้ ความเป็น ?เพศชาย? จากการเล่นเหล่านี้ ดังนั้นผู้ชายจึงคิดว่าตนต้องไม่เขาไปยุ่งเกี่ยวกับอะไรก็ตามที่เป็นอุปนิสัยหรือเพียงแค่เป็นสัญญลักษณ์ของ ?เพศหญิง? เช่น การเปิดเผยความในใจ (การเล่นเป็นพ่อแม่พี่น้องปรึกษาหารือ เป็นต้น) การแสดงความอ่อนโยนอ่อนหวาน การแสดงความกลัว การแสดงความเจ็บปวด หรืออะไรก็ตามที่จะเป็นการให้เขาถูกมองว่ามีนิสัยผู้หญิง เพราะผู้ชายจะกลัวถูกตราหน้าว่าเป็นพวก ?หน้าตัวเมีย?, ?อ่อนแอ?, ?ขี้แง?, ?ไก่อ่อน? ฯลฯ ผู้ชายจะเปรียบตัวเองว่าต้องเป็นต้นไม้ยืนต้นที่เข็มแข็ง มั่นคง เป็นตัวของตัวเอง อยู่ในความควบคุมของตนเอง หาเงินได้มาก ๆ และต้องระมัดระวังไม่ให้ใครรู้ว่าตัวเองไม่สามารถควบคุมสถานการณ์นั้น ๆ ได้

จากการถูกอบรมสั่งสอนมาอย่างนี้ ชีวิตแต่งงานของผู้ชายมักจะจบลงด้วยปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้คือ :

1. ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะแยกแยะและจัดการกับอารมณ์ต่าง ๆ และไม่สามารถควบคุมอารมณ์เครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. มีความรู้สึกไม่สมหวัง สิ้นท่า หมดอำนาจ หรือ เดือดดาล อยู่เป็นประจำ

3. ยากที่จะวางตัวเองอยู่ในสถานการณ์หรือเกมส์การแข่งขันใด ๆ ที่ไม่มีเรื่องจุดเป้าหมายของชัยชนะมาเกี่ยวข้อง


ผู้ชายและผู้หญิงจะได้ประโยชน์อย่างมากถ้าได้มาทำความเข้าใจถึงทัศนะคติและอุปนิสัยที่พวกเขาถูก อบรมมาอย่างฝังหัว ความเชื่อที่ทำให้พวกเราต้องถูกเก็บกดอยู่ในความรู้สึกที่ว่าต้องไม่ทำอะไรที่จะเป็นการเสี่ยงต่อการไม่ยอมรับของสังคม จากการที่เราได้เรียนรู้อารมณ์และความรู้สึกของกันและกัน (คู่สมรส)ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องมาจากพื้นฐานการอบรมจากสังคมและความเชื่อ เราจะได้เลิกที่จะคิดและตัดสินอะไรด้วยความรู้สึกของเราเสียที มันจะทำให้เราขุ่นเขืองและเศร้าหมองน้อยลงเมื่อคู่ชีวิตของเราไม่ทำอย่างที่เราต้องการ เมื่อเราทำได้อย่างนี้มันจะช่วยให้เรายังคงรักษาความชอบส่วนตัว ความต้องการส่วนตัวของเราเองไว้ (ไม่ต้องพยายามเปลี่ยนตัวเอง) ในขณะเดียวกันก็ยังมีความหวังว่าคู่สมรสของเราจะใกล้ชิดกับเราได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ จุดเป้าหมายคือ การทำความเข้าใจในธรรมชาติของแต่ละเพศเพื่อที่จะทำให้เรา ?เลิก? ใช้อารมณ์ต้องการสิ่งต่าง ๆ หรืออารมณ์อยากจะได้อย่างนั้นอย่างนี้ อยากจะให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
เพราะเราไม่สามารถจะคาดหวังให้ใครสักคนที่กำลังมีความต้องการ ?หยุด? มีความต้องการ
เราไม่สามารถทำให้ใครสักคนที่ไม่อยากพูดกับเราเลย หันมาพูดกับเรา
ด้วยการที่เราเลิกความต้องการนั้น ๆ และยอมรับความจริงว่า เขาหรือเธอเป็นอย่างไรนั่นเท่ากับว่าเรากำลังทำให้เป้าหมายความสำเร็จสูงสุดที่จะทำให้เขาหรือเธอเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เราชอบใกล้เข้ามาทุกที


จากการศึกษางานวิจัยของ Eleanor Maccoby, Carol Gilligan, Deborah Tannen and John Gottman ข้าพเจ้าได้เขียนตารางสรุปกุญแจสำคัญที่ชี้ให้เห็นความแตกต่างของความคิดระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายที่ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างด้านการสื่อสาร และปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อท่านได้อ่านแล้ว ขอจงได้คิดพิจารณาเพื่อนำมาปรับใช้ในสถานการณ์ของท่านเอง

ตัวอย่างคู่สามีภรรยาคู่หนึ่ง (Case Study)

เธอ : เมื่อเธอมีความรู้สึกอยากจะพูด อยากจะคุย อยากมีเพศสัมพันธ์ ถ้ายิ่งเขาถอยห่างมากเท่าไรเธอจะยิ่งอยากจะทำสิ่งเหล่านี้มากขึ้นเท่านั้น เธอจะยิ่งอยากตื้อ เธอจะยื้อพูดอยู่อย่างนั้นเป็นชั่วโมง เธอจะพร่ำพูดว่า ?คุณรู้สึกอย่างไรบ้าง? และเธอจะทนไม่ได้เลยที่จะอยู่ห่างจากเขา เธอจะยิ่งอยากอยู่ใกล้เขาเข้าไปอีก เธอจะพยายามอย่างยิ่งที่เอาความรู้สึกของเธอก้าวล้ำเข้าไปในความรู้สึกของเขา
เขา : เขามีความรู้สึกต้องการมีเพศสัมพันธ์น้อยลงกว่าที่เขาเคยเป็น ซ้ำยังประสบปัญหาความตื้นตัวขององคชาติเมื่อครั้งสุดท้ายที่มีเพศสัมพันธ์กับเธอ เขาต้องการจะอยู่ในการควบคุมของตัวเองเมื่อมีเพศสัมพันธ์เพื่อที่เขาจะได้รู้สึกว่าเขาทำสำเร็จ เขามองว่าชีวิตแต่งงานของเธอและเขาก็ ?โอเค? แต่เขากลับรู้สึกไม่สามารถทำได้อย่างที่เธอต้องการ

การมองความสัมพันธ์และการสื่อสารของคู่สามีภรรยา

เรื่องความใกล้ชิด

เธอ : ฉันต้องการให้เราได้มีการพูดคุย มีความใกล้ชิด เพื่อฉันจะได้รู้สึกว่าฉันมีตัวตนสำหรับเขา ฉันทนไม่ได้ถ้าเราไม่ได้ใกล้ชิดกัน

เขา : ผมต้องพยายามควบคุมไม่ให้เธอบุกรุกเข้ามาใกล้ผมเกินไป ผมต้องพยายามดูแลและควบคุมความเป็นส่วนตัวนี้ไว้

เรื่องเวลา

เธอ : การที่เขายุติการสนทนา นั่นหมายความว่าเขาไม่แยแสฉันแล้ว แล้วถ้าเราไม่พยายามแก้ปัญหานี้ให้ได้ มันจะทำให้เรื่องราวไปไกลใหญ่โต แล้วเราก็ต้องมามีปัญหาอย่างนี้อีก เราต้องแก้ไขมันเดี๋ยวนี้

เขา : การที่เรายุติเรื่องที่กำลังเถียงกันเสียก่อน แล้วค่อยมาพูดกันใหม่เมื่อผมรู้สึกสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดีกว่านี้จะเป็นการดีกว่า เพราะถ้าเรามาพูดกันทีหลังผมรู้สึกว่าผมทำด้วยความสมัครใจ การที่เธอพยายามจะพูดจะคุยจะแก้ปัญหาทันทีที่เถียงกัน ผมรู้สึกว่าเธอกำลังบังคับกดหัวผม และเธอก็กำลังหาเรื่องใส่ตัว

เรื่องการแก้ปัญหาขัดแย้ง

เธอ : เราต้องแก้ไขเรื่องที่เราเห็นไม่ตรงกันเสียเดี๋ยวนี้ เพราะมันจะทำให้ฉันรู้สึกใกล้ชิดเขาเหมือนเดิม ฉันทนอยู่ห่างจากเขาไม่ได้

เขา : เราต้องไม่เถียงกัน เถียงกันนั่นแหละปัญหา ผมทนการนั่งพิรี้พีไรคุยกันเถียงกันไม่ได้ เวลาที่เราทะเลาะกัน ผมรู้สึกเหมือนหายใจไม่ออก ผมต้องการออกไปจากสภาพอึดอัดหายใจไม่ออกอย่างนั้น

สไตล์การรับฟังของผู้ชาย

เธอ : ถ้าเขาสนใจฟังฉันพูดจริง ๆ เขาต้องแสดงท่าทางให้เห็นว่าเขาสนใจฟังฉัน

เขา : ถึงแม้ว่าผมจะเฉยๆ เงียบ ๆ แต่ผมก็ได้ยินว่าเธอพูดอะไร จริง ๆแล้ว ผมไม่รู้ว่าจะพูดอะไร หรือบางทีผมยังไม่รู้ว่าปัญหามันคืออะไรในตอนที่เธอพูด บางทีหลังจากนี้ไปสักหน่อยผมอาจจะคิดอะไรออกก็ได้

เวลาที่ผู้หญิงแสดงอารมณ์โกรธ

เธอ : ฉันรู้ดีว่ามันไม่เป็นสุภาพสตรีเลยที่จะแสดงอารมณ์โกรธ แต่ฉันคิดว่าฉันก็มีสิทธิที่จะแสดงให้ใคร ๆ เห็นว่าฉันคิดอย่างไรหรือรู้สึกอย่างไรเพื่อเรียกร้องการเปลี่ยนแปลง เอถ้าฉันทำอย่างนั้นเขาก็จะไม่ชอบใจ หาว่าฉันเป็นยายจอมขี้บ่น หรือฉันจะเป็นยายจอมขี้บ่นจริง ๆ
เขา : เวลาเจ้าหล่อนโกรธ เธอดูเหมือนยายบ้าจอมบ่น จอมตื้อ ขี้ขอ ทำตัวอย่างกับว่าตัวเองเป็นเจ้าหญิงที่ต้องให้ใคร ๆ มาเอาใจ หลงตัวเอง เอาแต่ใจ ไม่ระงับอารมณ์ ไม่มีความคิด คิดไม่เป็น ไม่มีเหตุผล แสดงอารมณ์จนเกินเหตุ จุ้นจ้าน อ่อนไหวมากเกินไป

เวลาผู้ชายแสดงอารมณ์

เธอ : เขาเห็นแก่ตัวมากเกินไป ใจแคบ ไม่ได้ความ เย็นชา

เขา : ผมจะรู้สึกดีผ่อนคลาย ควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ มีเหตุผล ส่วนเธอนั้นมันพวกเจ้าอารมณ์ ประสาท


ยอมจำนน

เธอ : ถ้าฉันยอมอะลุ่มอล่วย นั่นหมายถึงฉันเป็นผู้ให้ ฉันเป็นคนทำให้ชีวิตแต่งงานนี้ยั่งยืนและไปได้ดี

เขา : ถ้าผมยอมอะลุ่มอล่วย หมายถึงผมยอมแพ้ ยอมจำนน ขี้แพ้ อ่อนแอ ยอมให้ตัวเองถูกจูงจมูก


การแก้ปัญหา

เธอ : เขาจะต้องหาทางออกไม่ทางใดก็ทางหนึ่งให้ได้ เพราะถ้าเขาหาไม่ได้หมายความว่าเขาไม่สนใจฉันอีกแล้ว เขาไม่สนใจว่าเราจะเป็นอย่างไรต่อไป (เขาคงจะไม่รักฉันอีกแล้วแน่ ๆ แล้วเราก็คงจะไม่สามารถฝ่าฟันไปด้วยกันอีกแล้วแน่ ๆ มันน่าเศร้าเสียจริง ๆ )

เขา : ผมจะต้องรู้ให้ได้ว่าจะทำอย่างไรต่อไป แต่ผมก็ทำไม่ได้ แล้วเธอจะต้องไม่ผลักดันกระตุ้นผมให้ทำให้ได้ เพราะมันทำให้ผมเหมือนถูกตรึงอยู่กับกำแพงในสภาพการณ์อย่างนี้ บ้าชะมัด! ผมทนไม่ได้


                เมื่อได้อ่านตารางข้างบนนี้แล้ว ขอให้กลับไปอ่านตัวอย่างปัญหาที่เขียนไว้ก่อนตารางนี้ (case study) แล้ววิเคราะห์ด้วยตัวท่านเอง ท่านจะเห็นว่าทั้งคู่มีความตั้งใจที่จะรักษาสัมพันธภาพการแต่งงานไว้ ด้วยความคิดตามสัณชาติญาณของเพศตนเอง และเพื่อให้ได้มาชึ่งจุดมุ่งหมายของตน ในการทำอย่างนี้ทั้งคู่จบลงด้วยการผลักไสคู่ของตัวให้ออกห่างไปอย่างไม่รู้ตัว
ตอนนี้มาลองพิจารณาในอีกแง่มุมหนึ่งหลังจากอ่านตารางข้างบน ด้วยวิธีการที่ถ้าสมมุติว่าทั้งคู่ให้ความสำคัญของความคิดของตัวเองน้อยลง แล้วต่อรองหรือเจรจาใหม่ โดยเห็นความคิดความต้องการของอีกฝ่ายสำคัญขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ทั้งคู่จะสามารถได้รับการทอดไมตรีที่ดีขึ้นจากอีกฝ่าย

don

  • บุคคลทั่วไป