cmxseed สังคมราตรี

Seed market => ปรึกษา ทุกปัญหาเรื่อง บ้านและที่ดิน => ข้อความที่เริ่มโดย: etatae333 ที่ 17 กรกฎาคม 2014, 16:18:15

หัวข้อ: เดินหน้าแก้ปมชุมชนขยายตัว เตรียมผุดถนนเลี่ยงเมืองต้นเปา
เริ่มหัวข้อโดย: etatae333 ที่ 17 กรกฎาคม 2014, 16:18:15
เดินหน้าแก้ปมชุมชนขยายตัว เตรียมผุดถนนเลี่ยงเมืองต้นเปา

หัวหน้าโครงการศึกษาความเหมาะสมฯถนนเลี่ยงเมืองต้นเปาแจง หากชุมชนต่อต้านคัดค้านกรมทางหลวงชนบท
อาจโยกงบฯไปดำเนินโครงการอื่นที่ไม่มีปัญหาได้ ระบุวางแนวศึกษาถนนเลี่ยงเมืองไว้ 4 เส้นทาง คาดภายใน 3 เดือน
สามารถจบโครงการได้


ดร.ปรีดา พิชยาพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การขยายตัวของชุมชน
รอบตัวเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นศูนย์กลางการศึกษา การค้า การบริหารราชการ ส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรหนาแน่น
ทั่วทั้งพื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ และจุดเชื่อมเส้นทางระหว่างตัวเมืองเชียงใหม่กับชุมชนรอบนอก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดเชื่อมเส้นทางไปสู่อำเภอสันกำแพง เพื่อให้การเชื่อมโยงเครือข่ายการคมนาคมขนส่งระหว่าง
ตัวเมืองเชียงใหม่กับอำเภอสันกำแพงมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาการจราจร และช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน

คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบโครงการก่อสร้าง ถนนเลี่ยงเมืองต้นเปา บริเวณแยก ทล.121บรรจบ ทล.1014
สายบ่อสร้าง-ดอยสะเก็ด อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ตามแผนงาน/โครงการที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) และสำนักงานงบประมาณ เสนอขออนุมัติโครงการศึกษาความเหมาะสม
และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น โครงการก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองต้นเปา บริเวณแยก ทล.121 บรรจบ ทล1014
สายบ่อสร้าง – ดอยสะเก็ด อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

โดยมอบหมายให้กรมทางหลวงชนบทเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งกรมทางหลวงชนบทได้มอบหมายให้คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study) พร้อมจัดทำรายงาน
ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) เนื่องจากแนวเขตทางของถนนโครงการจะต้องผ่านพื้นที่เอกชน
และชุมชนหลายแห่งซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนและวิถีชีวิตในพื้นที่

ทั้งยังจะต้องมีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อศึกษาแนวทางเลือกและกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมพร้อมจัดทำแบบ
เชิงหลักการ (Conceptual Design) ของถนนเลี่ยงเมืองต้นเปา บริเวณแยก ทล.121บรรจบ ทล.1014
สายบ่อสร้าง-ดอยสะเก็ดอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ และส่วนต่อขยายที่เชื่อมกับถนน ชม.3029
และ ชม.4039 เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคมละสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมเบื้องต้นของโครงการ

การดำเนินงานโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น โครงการก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองต้นเปาฯ
เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคม 2557 โดยมี ดร.ปรีดา พิชยาพันธ์ เป็นหัวหน้าโครงการแล้วจะมีกำหนดแล้วเสร็จ
ในเดือนตุลาคม 2557 จะใช้ระยะเวลาในการศึกษาทั้งหมด 240 วันหรือ 8 เดือน โดยการดำเนินงานจะมี 5 ขั้นตอนๆ

แรกเป็นการศึกษา ทบทวนและสำรวจข้อมูล
ขั้นตอนที่ 2 เป็นการคัดเลือกแนวเส้นทางที่เหมาะสม
ขั้นตอนที่ 3 เป็นการศึกษาผลกระทบทางด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม
ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นตอนของการออกแบบรายละเอียดของโครงการ
และขั้นตอนสุดท้ายเป็นขั้นตอนประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน

ขณะนี้คณะทำงานอยู่ระหว่างการสำรวจรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมของแนวเส้นทางต่างๆ
“สำหรับการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นจะจัดประชุมใหญ่ 2 ครั้งๆ แรกเป็นการชี้แจงและเปิดโครงการ
เมื่อ 19 มิ.ย.2557 ที่เทศบาลเมืองต้นเปา เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และข้อเสนอแนะ
ที่จะเป็นประโยชน์ ต่อการศึกษาของโครงการ และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการจราจร และสามารถสร้างคุณภาพชีวิต
ที่ดีของประชาชนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์เชิงลึกที่ดำเนินการกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งผู้นำชุมชน
ผู้นำท้องถิ่น ส่วนราชการต่างๆ และสัมภาษณ์กลุ่มย่อยที่เห็นว่าได้รับผลกระทบจากโครงการนี้ ซึ่งการเข้าไป
สัมภาษณ์เชิงลึกได้ดำเนินการไปแล้ว 5 ครั้ง และมีการเผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ รวมทั้งการแถลงข่าวของ
จังหวัดเชียงใหม่ รวมไปถึงการเปิดตู้ปณ.รับฟังความคิดเห็นอีกทางหนึ่งด้วย”

หัวหน้าโครงการฯ กล่าวและว่า

สำหรับแนวเส้นทางในการกำหนดนั้นจะมองเป็นโครงข่ายของกรมทางหลวงชนบทที่มีอยู่ โดยจุดเริ่มต้นที่บริเวณ
ถนนวงแหวนรอบกลาง ส่วนจุดปลายของถนนจะอยู่ที่ถนนชม.4039 ซึ่งอยู่ใกล้กับศูนย์ราชการอำเภอสันกำแพง
ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ซึ่งเบื้องต้นกำหนดไว้ใน 4 แนวทางหรือเส้นทาง ซึ่งการเลือกเส้นทางที่มีความ
เหมาะสมมากที่สุดจะใช้ภาพถ่ายทางอากาศดูจากจุดเริ่มต้นไปจนถึงปลายเส้นทางว่าจะต้องไม่กระทบกับชุมชน
ขนาดใหญ่ รวมถึงหมู่บ้านจัดสรร

หัวหน้าโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบฯ กล่าวอีกว่า ในหลักการพิจารณาเลือกเส้นทางก็จะดูพื้นที่ก่อน
จากนั้นค่อยดูว่าระยะห่างจากถนนเส้นทางเดิมกับถนนทางเลี่ยงห่างกันมากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้าหากห่างมาก คนอาจจะ
ไม่นิยมใช้เส้นทางมากนัก จุดประสงค์ที่จะให้เป็นเส้นทางเลี่ยงก็น้อยลง แต่หากใกล้เกินไปคนใช้มากแต่อาจจะแออัด
ซึ่งก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบ อย่างไรก็ตามในการดำเนินการใน 5 ขั้นตอนจะทำไปพร้อมๆ กันคาดว่าภายใน 1-2 เดือนนี้
จะสามารถออกแบบและประเมินราคาได้ และคงใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือนจากนี้ไปการศึกษาฯก็จะน่าจะจบ

“โครงการนี้ใช้งบประมาณในการศึกษา 9 ล้านบาท สว่นงบก่อสร้างยังไม่ได้คำนวณ เพราะต้องผ่านกระบวนการ
คัดเลือกเส้นทางและออกแบบด้วย ส่วนเรื่องของการเวนคืนที่ดินในการจัดประชุมชี้แจงโครงการก็มีเจ้าหน้าที่
ของกรมทางหลวงชนบทมาชี้แจงแล้วว่าจะมีอัตราการประเมินตามหลักการ ซึ่งที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีปัญหา
เพราะมีการจ่ายค่าชดเชยให้หมด รวมถึงความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วยซึ่งต้องยอมรับว่าในเวทีแรกก็เรียบร้อยดี
และในส่วนของประชาชน ผู้นำท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองก็ทราบว่ากรมทางหลวงชนบท
ได้งบประมาณมาค่อนข้างจำกัด ถ้าหากโครงการศึกษาฯใดที่ชุมชนต่อต้านก็สามารถโยกงบประมาณไปทำอย่าง
อื่นก่อนได้”

ดร.ปรีดา กล่าวและชี้แจงอีกว่า

วัตถุประสงค์ของการศึกษาโครงการฯนี้ ก็เพื่อศึกษาแนวทางเลือก และกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสม พร้อมจัดทำ
แบบเชิงหลักการ (Conceptual Design) ของถนนโครงการ และส่วนต่อขยายที่เชื่อมกับ ถนนชม.3029
และ ชม.4039 เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางด้าน วิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของโครงการ
และเพื่อศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) ของโครงการสำหรับพื้นที่ศึกษาครอบคลุม 4 อำเภอ 10 ตำบล
ประกอบด้วยอำเภอเมืองเชียงใหม่ในเขตตำบลท่าศาลา และตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอสันกำแพงครอบคลุมตำบลต้นเปา
สันกลาง แม่ปูคา สันกำแพง ทรายมูล และร้องวัวแดง อำเภอดอยสะเก็ดครอบคลุมตำบล สันปูเลย สำราญราษฏร์และแม่คือ
และอำเภอสันทรายครอบคลุมตำบลสันพระเนตร.