-->

ผู้เขียน หัวข้อ: จับตาอสังหาฯ-ก่อสร้างวิกฤติขาดแรงงาน  (อ่าน 851 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ka12345

  • รอง Global Moderator
  • แอบจิต
  • *
  • กระทู้: 15
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด

ปัญหาผู้รับเหมาฯ-แรงงานขาดแคลนเข้าขั้นวิกฤต อสังหาฯเผยไม่มีผู้รับเหมาฯเสนอประมูลงาน ตัดโอกาสผู้ประกอบการระดับกลาง-รายย่อย


สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สมาคมอาคารชุดไทย จัดเสวนาพิเศษเรื่อง "วิกฤติแรงงานขาดแคลน ผลกระทบต่ออสังหาริมทรัพย์" (ในธุรกิจก่อสร้าง) ระบุว่า ปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในธุรกิจก่อสร้าง กำลังเป็นปัญหาใหญ่เข้าขั้นวิกฤติ โดยมีภาวะขาดแคลนแรงงานในทุกกลุ่ม ทั้งแรงงานระดับหัวหน้าคุมงาน แรงงานระดับช่างฝีมือ และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และแม้กระทั่งแรงงานไร้ฝีมือ ก็อยู่ในภาวะขาดแคลน ถึงขั้นต้องแย่งตัวแรงงานต่างด้าวที่ประจำในแต่ละไซต์งาน อีกทั้งมีปัญหาต้องเสียค่าใช้จ่ายปลีกย่อยหลายด้าน หากมีแรงงานต่างด้าวในครอบครอง ซึ่งเสี่ยงต่อการจ้างงานผิดกฎหมาย แต่หลายบริษัทก็ต้องรับสภาพ เนื่องจากมีภาวะขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก
นายอธิป พีชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมอาคารขุดไทย กล่าวว่า สถานการณ์ที่ขาดแคลนแรงงานในภาคก่อสร้าง ผู้รับเหมาก่อสร้างจำเป็นต้องใช้แรงงานต่างด้าว จึงทำให้ปัจจุบันแรงงานต่างด้าวกลายเป็นแรงงานหลักในไซต์งานก่อสร้าต่างๆ ในปัจจุบัน ซึ่งพบว่าผู้รับเหมาฯแทบทุกรายล้วนใช้แรงงานต่างด้าว เกินกว่าครึ่งของแรงงานที่มี และยังพบว่าสถานการณ์จ้างงานก่อสร้างเปลี่ยนไป คือแต่เดิมเวลาจะเปิดประมูลงาน ต้องมีผู้รับเหมาฯมาเสนองาน 5 รายเป็นอย่างต่ำ แต่ปัจจุบันนี้แทบไม่ต้องประมูล เพราะอาจเรียกผู้รับเหมาฯมาเสนองานได้เพียง 1-2 รายเท่านั้น

ผู้รับเหมาฯเล่นตัวเมินประมูลงาน
"ผู้รับเหมาฯเล่นตัวมากขึ้น ถึงขนาดบอกว่าถ้าไม่ใช่ลูกค้าเก่ากันมาก่อน คงไม่มารับงานให้ที่มาเสนองานครั้งนี้เพราะเกรงใจ" นายอธิป ย้ำและว่าสถานการณ์นี้เกิดขึ้นกับ บริษัทพัฒนาอสังหาฯรายใหญ่ ยิ่งหากเป็นรายกลาง-รายย่อย การหาผู้รับเหมาฯในขณะนี้เป็นเรื่องยากมาก หรือหากได้งานก็ต้องเสนอราคาจ้างงานที่สูงมาก เกินภาวะปกติไป 10-20% กลายเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นโดยใช่เหตุ ไม่เพียงผู้รับเหมาฯ งานปลีกย่อยเช่น ตอกเสาเข็มก็เข่นกัน ต้องรอคิวถึง 45 วัน เพื่อจองตัวคนงานขับรถตอกเข็มซึ่งขาดแคลนหนัก เช่นเดียวกับช่างมุงหลังคาที่หาได้ยากงานล้นมือ หลายโครงการต้องกองกระเบื้องรอช่างนานนับเดือน


นอกจากนี้ แม้หลายโครงการมีผู้รัเหมาฯแล้วก็ใช่ว่าจะหมดปัญหา เพราะยังมีภาวะค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นซ้ำซ้อนอย่างไม่ควรเป็น กรณีที่ผู้รับเหมาฯใช้แรงงานต่างด้าว ซึ่งแน่นอนย่อมมีทั้ง ที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง และเข้ามาแบบไม่ถูกกฎหมาย จึงมักมีปัญหาต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากการตรวจสอบแรงงานต่างด้าว

"ขณะนี้มีไม่น้อยกว่า 14 หน่วยงาน ที่เวียนเข้ามาตรวจไซต์งานก่อสร้าง ขอให้คนงานต่อแถวตรวจเอกสาร บางครั้งต้องยกขบวนกันไปโรงพัก เสียเวลาทำงานเป็นวันๆ ส่งผลกระทบต่อการทำงานล่าช้าเสียหาย ผู้รับเหมาฯบางรายจึงยอมจ่ายเงินพิเศษ เพื่อตัดปัญหาแต่ก็พบกรณีเรียกตรวจทำนองนี้ค่อนข้างถี่ หลายรายยอมเสียค่าใช้จ่ายให้เจ้าหน้าที่แบบรายเดือนเพื่อตัดปัญหา แต่ก็กลายเป็นปัญหาต้นทุนซ้ำซ้อนบานปลาย" นายอธิป เผยและว่า ที่ผ่านมาเอกชนพยามปรับตัวด้วยการ นำระบบก่อสร้างกึ่งสำเร็จรูปมาใช้ แต่ก็มีปัญหาเรื่องการยอมรับของตลาด เนื่องจากคุณภาพงานมีปัญหา จากรอยต่อชิ้นส่วนต่างๆ ที่มีกรณีน้ำรั่วซึมได้ เนื่องจากไทยเป็นเมืองร้อนชื้นฝนตกมากกว่าแถบยุโรปเจ้าของเทคโนโลยีต้นแบบ

นอกจากนี้ยังมีปัญหา แย่งตัวคนงานก่อสร้างกันแบบเฉพาะหน้า โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าว ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนพบว่ามีปัญหาถูกชิงตัว ถึงไซต์งานหากไม่มีหัวหน้างานคุมอยู่ ด้วยการเสนอค่าจ้างสูงกว่าเกือบเท่าตัว ดึงตัวคนงานจากไซต์หนึ่งไปอีกไซต์หนึ่งแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งกรณีการเสนอค่าจ้างแรงงานสูงกว่า เป็นอีกประเด็นปัญหาที่ทำให้คนงานต่างด้าวจำนวนหนึ่งไม่ต้องการขึ้นทะเบียน เพราะเมื่อขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวแล้ว จะทำให้การเคลื่อนย้ายที่ทำงานทำได้ยาก แม้กระทั่งการย้ายไซต์งานก่อสร้างก็ไม่สามารถทำได้ หากแจ้งขึ้นทะเบียนทำงานกับนายจ้างเดียวไว้ไซต์งานเดียวไว้ตั้งแต่แรก

เสนอผ่อนเกณฑ์ย้ายแรงงานต่างด้าว
ปัญหาเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงานต่างด้าวทำได้ลำบาก เป็นอีกประเด็นที่กระทบต่อการดำเนินงาน เพราะแม้กระทั่งนายจ้างเดิมที่ขึ้้นทะเบียนแรงงานไว้ถูกต้อง ก็ยังต้องมีค่าใช้จ่ายกรณีที่จย้ายแรงงานต่างด้าว ไปทำงานนอกพื้นที่ที่แจ้งไว้รายละ 1,000 บาท/ต่อการแจ้งย้าย 1 ครั้ง ดังนั้นเอกชนจึงต้องการจอผ่อนผันเรื่องการย้ายแรงงานออกนอกพื้นที่ด้วย

ด้านน.พ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ยอมรับว่าสถานการณ์แรงงานขณะนี้ขาดแคลนจริง โดยเฉพาะแรงงานไทยไม่นิยมทำงานในภาคก่อสร้างและภาคแรงงานพื้นฐานมากนัก ซึ่งความรุนแรงของปัญหามาจากหลายสาเหตุ ปัญหาใหญ่คือ โครงสร้างประชากรเปลี่ยน ทั้งเรื่องของอายุประชากร อาชีพที่เลือกได้ไมากขึ้น ปัจจุบันคนไทยเลือกอาชีพอิสระมากขึ้น เพราะทำง่ายรายได้ดี เช่น มอเตอร์ไซค์รับจ้าง หาบแร่แผงลอย อาชีพรับจ้างอิสระ และค้าขายอื่นๆ ทำให้แรงงานหายไปหลายแสนคน

ปลัดกระทรวงแรงงาน เผยว่าข้อมูลล่าสุดมีผู้ประกอบการแจ้งโควต้าความต้องการแรงานเพิ่มอีก 2.1 ล้านคน แต่สถานการณ์ขณะนี้ เรามีแรงานในมือเพียง 5 แสนกว่าคน สรุปเรายังมีความต้องการแรงงานต่างด้าวอยู่ 1.6 ล้านคน ที่ถือได้ว่ายังขาดแคลน โดยจำนวนนี้ไม่รวมแรงงานผิกกฎหมาย
หากดูจากสถาณการณ์ล่าสุด แรงงานต่างด้าวในไทยมีอยู่ 1.3 ล้านคน และยังอยู่ในมือผู้ประกอบการอีก 5 แสนคน ที่กำลังจะขึ้นทะเบียนรวมเป็น 1.8 ล้านคน ยังมีแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้ามาทำงานแบบไม่เปิดเผยอีกราว 7 แสนคน รวมเป็นแรงงานต่างด้าวนในไทยทั้งสิ้นกว่า 2.5 ล้านคนเป็นอย่างน้อยแต่ก็ยังไม่เพียงพอ

จำนวนที่ยังมีไม่เพียงพอกับความต้องการถึง 1.6 ล้านคนนั้น ที่ผ่านมากระทรวงแรงงานได้แก้ปัญหา โดยได้ทำเอ็มโอยูลงนามความร่วมมือกับ 3 ประเทศ คือ พม่า ลาว และกัมพูชา ในการนำเข้าแรงงานมาทำงานในไทย ซึ่งก็ช่วยได้ระดับหนึ่งแต่นยังไม่เพียงพอ เพราะในทางปฏิบัติจริงแรงงานตามเอ็มโอยู มีโอกาสจะได้มาเพียงจากพม่าเท่านั้น ขณะที่เวียดนาม และกัมพูชา มีโอกาสส่งแรงงานมาไทยน้อยมาก ที่เข้ามาส่วนใหญ่ล้วนเป็นการลักลอบแบบไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

อีกทั้ง ล่าสุดสมาคมประมง ได้เรียกร้องมาว่าต้องการแรงงานเพิ่ม เนื่องจากปัจจุบันแรงงานพม่า และกัมพูชา ไม่ยอมลงเรือ ทำให้มีปัญหาหลอกคนไปทำงาน ปัญหาค้ามนุษย์ตามมา ล่าสุดก.แรงงานจึงประสาน ด้วยการจะทำเอ็มโอยูกับประเทศบังคลาเทศ เพื่อส่งแรงงานเข้ามาในภาคประมงไทย และอาจเพิ่มให้กับสมาคมด้านก่อสร้างที่แสดงความจำนงมาด้วยเช่นกัน

ส่วนประเด็นการย้ายไซต์งานของแรงงานก่อสร้าง น.พ.สมเกียรติ กล่าวว่า เรื่องนี้่จะรับไว้พิจารณาดำเนินการผ่อนผัน ให้สามารถทำได้ โดยมีค่าใช้จ่ายน้อยลงกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน โดยกระทรวงฯจะรับไปดำเนินการต่อ และให้ระบุตั้งแต่ขั้นตอนการออกใบอนุญาตทำงาน โดยให้ระบบจำนวนไซต์งานของแรงงานนั้นๆ ได้มากว่า 1 แห่ง อาจได้ถึง 10 แห่งไว้ตั้งแต่ต้น

เกาะติดโครงการ2ล้านล้านหวั่นปัญหาซ้ำ
นอกจากนี้ นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า ทางกระทรวงยังมีความกังวล กับปัญหาที่อาจเกิดต่อเนื่องจากโครงการ 2 ล้านล้านบาท ของรัฐบาลที่จะสร้างระบบสาฤธาณูปโภคพื้นฐานอาจใช้แรงงานจำนวนมาก จะกลายเป็นการซ้ำเติมปัญหาแรงงานในภาคก่อสร้าง ที่ขาดแคลนหนักในปัจจุบัน จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปขอดูรายละเอียดโครงการดังกล่าว เพื่อประเมินว่าจะมีโอกาสใช้แรงงานเพิ่มอีกเพียงใด เพื่อนำมาวิเคราะห์วางแผนจัดเตรียมแรงงาน สำหรับป้อนภาคก่อสร้างให้เพียงพอ

ซึ่งในเรื่องนี้ ภาคเอกชนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมก่อสร้าง ก็แสดงความกังวลเช่นกันว่า โครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐในกลุ่มเมกะโปรเจคต่างๆ หากเปิดดำเนินการจริง อาจส่งผลกระทบการดึงผู้รับเหมาฯ และการดึงแรงงานซึ่งวิกฤติอยู่แล้ว ให้เลวร้ายซ้ำเติมขึ้นไปอีก สถานการณ์ขณะนี้ ผู้ประกอบการจึงพยายามทุกวิถีทางในการปรับตัวเพื่อรับมือปัญหา บางบริษัทมีการปรับระบบการบริหารงานก่อสร้าง เปิดแผนกควบคุมงานก่อสร้างขึ้นมาเป็นการเฉพาะ

อย่างกรณีล่าสุด บริษัท เอเชี่ยน พร็อเพอร์ตี้ จำกัด(มหาชน) เปิดแผนกบริหารโลจิสติกส์ สำหรับงานก่อสร้างขึ้นมาเป็นกรณีเฉพาะกิจ โดยให้เหตุผลว่าต้องการบริหารงานก่อสร้างไม่ให้ติดขัด ซึ่งเนื้อหาใหญ่ก็คือกาแก้ปัญหาการก่อสร้างไม่ให้สะดุด จากปัญหาขาดแคลนผู้รับเหมาฯ และขาดแคลนแรงงานก่อสร้างในทุกระดับชั้นนั่นเอง

ขณะที่่เอกชนบางราย ยอมรับว่าภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นขณะนี้ บางบริษัท ถึงกับต้องปรับตัว โยกย้ายเจ้าหน้าที่ในไซต์งานก่อสร้าง ดึงส่วนงานที่ไม่ขาดแคลนมากมาเสริม งานที่ขาดแคลนหนัก โดยเฉพาะงานโฟร์แมนผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ซึ่งใช้คนระดับอาชีวะ เป็นผู้ควบคุมแต่เนื่องจาก แรงงานในกลุ่มนี้ขาดแคลนมาก เพราะผู้จบอาชีวะมักจะกลับไปเรียนต่อเมื่อจบปริญญาตรีแล้ว ก็ไม่ยอมทำงานระดับโฟร์แมน ขยับไปสู่งานวิศวกรแทน หลายบริษัทจึงต้องปรับตำแหน่งวิศวกร ในแง่การทำงานลงมาเป็นงานระดับโฟร์แมน แต่เรียกตำแหน่งวิศวกรเช่นเดิม และจ่ายค่าจ้างระดับวิศวกร แต่ใช้งานในระดับต่ำลงเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน ซึ่งก็เป็นอีกค่าใช้จ่ายที่ทำให้ต้นทุนสูงเกินจริง


ขอบคุณ : กรุงเทพธุรกิจ

sleepypop

  • เด็กหัดแอ่ว
  • *
  • กระทู้: 138
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด
Re: จับตาอสังหาฯ-ก่อสร้างวิกฤติขาดแรงงาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2013, 08:45:36 »

ใช่เลย  หาคนสร้างบ้านตัวเองก็ยากด้วยครับ