-->

ผู้เขียน หัวข้อ: เทศกาลดิวาลี (Diwali)  (อ่าน 3384 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

  • Administrator
  • เทพเจ้าราตรี
  • *
  • กระทู้: 18237
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +9/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • cmxseed
เทศกาลดิวาลี (Diwali)
« เมื่อ: 27 ตุลาคม 2014, 14:51:46 »

Diwali เทศกาลแห่งไฟ



จัดขึ้นที่ประเทศอินเดียเป็นประจำทุกปี ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน เป็นเทศกาลที่สำคัญมากที่สุดในปฏิทินของฮินดู
จะฉลองกันด้วยแสงไฟจากตะเกียงเทียน และพลุไฟจำนวนมาก และที่อินเดียนับจากวันนี้จะเป็นวันหยุดต่อเนื่องกันถึง 5 วัน
ในช่วงเทศกาลนี้ผู้คนจะตกแต่งบ้านเรือนด้วย ดิยา (Diya) ตะเกียงน้ำมันใบเล็กๆ ไว้ทั่วบ้านสร้างบรรยากาศแห่งความอบอุ่น
และวาดภาพรังโกลีด้วยทรายหลากสีสันไว้ที่ลานบ้านและประตูทางเข้า รวมทั้งแขวนดอกไม้และใบมะม่วงไว้ที่ประตูและหน้าต่าง
เพื่อเป็นการต้อนรับ สิ่งดีงาม ความรุ่งเรือง และความสุขเข้ามาสู่บ้าน รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนของขวัญ ขนมหวานระหว่างญาติ
เพื่อน และเพื่อนบ้าน



เทศกาลดิวาลี หรือดิปาวาลี ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญที่สุดของชาวฮินดู เป็นเทศกาลที่เฉลิมฉลองกัน
ทั่วประเทศอินเดีย เทศกาลนี้มีความเกี่ยวข้องกับไฟ ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เทศกาลแห่งแสงไฟ (The Festival of Lights)
เมื่อถึงเวลาเทศกาลทุกบ้านเรือนจะมีการจุดบูชาไฟ โดยใช้ตะเกียงดินเผาใบเล็กทำเป็นภาชนะ หรือเรียกกันในชื่อว่า ดิยา (Diya)
ซึ่งเป็นตะเกียงดินเผาใบเล็ก ที่ใช้น้ำมันเนย หรือน้ำมันพืชเป็นเชื้อเพลิง มีฝ้ายเป็นไส้ตะเกียง และดิยานี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของ
เทศกาลดิวาลีอีกด้วย ผู้คนจึงนิยมซื้อหามาจุดกันในทุก ๆ ที่ของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นหลังคาบ้าน ห้องรับแขก ห้องครัว แม้แต่ในห้องน้ำ
และทำลวดลายสัญลักษณ์รังโกลี (Rangoli) จากแป้งสี ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการต้อนรับผู้มาเยือน ตามลานหน้าบ้าน หรือ
ทางด้านหน้าประตูของบ้าน อีกทั้งมีการแขวนดอกดาวเรืองและใบมะม่วงตามประตูและหน้าต่าง

ดิวาลี (Diwali) หมายถึง แถวของประทีปไฟ เทศกาลนี้จะเล่นกันอยู่ 5 วัน เริ่มต้นหลังจาก เดือนคาร์ติก้า (Kartika) หรือคืนเดือนมืด
ไป 15 วัน ตามปฏิทินชาวฮินดู หรือตามปฏิทินเกรโกเรียนเทศกาลดิวาลีจะตกในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งในปีค.ศ. 2012 นี้
งานเทศกาลดิวาลีจะเริ่มในวันที่ 13 พฤศจิกายน และในปีถัดไปจะเริ่มงานเทศกาลดิวาลีอีกครั้งในวันที่ 3 พฤศิกายน


เทศกาลดิวาลีถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดู มีการเฉลิมฉลองด้วยแสงไฟ จากตะเกียงดินเผา และเทียน รวมทั้งดอกไม้ไฟอีกด้วย
ผู้คนจะทำความสะอาดบ้าน และตกแต่งบ้านเรือนของพวกเขาอย่างสวยงามด้วยไฟกระพิบบ้าง ด้วยดิยาบ้าง มีการเล่นดอกไม้ไฟ
อย่างสนุกสนานในตอนกลางคืน และเป็นช่วงเวลาที่หาซื้อของขวัญโดยเฉพาะขนมหวานและผลไม้แห้งมาแลกเปลี่ยนกันระหว่าง
เพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง และเพื่อนบ้าน



เทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่เฉลิมฉลองกันทุกรัฐของประเทศอินเดีย แต่เนื่องด้วยความใหญ่โตของประเทศอินเดีย ทำให้เทศกาลดิวาลี
มีการจัดและบูชาที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละพื้นที่คือ


บูชาพระแม่ลักษมีเทวี (ทั่วไป), พระราม พระสีดา (เมืองอโยธยา), พระกฤษณะ (เมืองวรินดาวัน และรัฐคุชราต), เจ้าแม่กาลี (รัฐเบงกอล)

เทศกาลจะมีพิธีกรรมทางศานาฮินดูที่เรียกว่า อารตี (Aarti) เป็นการแสดงความเคารพต่อทวยเทพและเทวีต่าง ๆ ของชาวฮินดู
เทศกาลนี้จะเฉลิมฉลองด้วยกัน 5 วัน เฉพาะทางรัฐทมิฬนาดูลและภาคใต้จะเฉลิมฉลองเทศกาลดิวาลีเพียง 2 วันเท่านั้น
ลักษณะเฉพาะของเทศกาลดิวาลีนี้จะมีการเฉลิมฉลองอยู่ด้วยกัน 5 วัน และแต่ละวันจะมีลักษณะความสำคัญที่แตกต่างกันออกไปคือ

วันที่ 1 คือ ธนเตรส (Dhanteras หรือ Dhawantari Triodasi)



ในวันนี้จะมีการทำความสะอาดและซ่อมแซมบ้านเรือน ทางประตูเข้าบ้านจะประดับด้วยลวดลายสัญลักษณ์รังโกลีเพื่อที่จะอันเชิญ
เจ้าแม่ลักษมีเข้าบ้านตน ชาวฮินดูจะมีการซื้อสิ่งของที่เป็นเงินหรือทอง หรือภาชนะชิ้นใหม่สักหนึ่งหรือสองชิ้น เชื่อกันว่าเป็น
เครื่องหมายของความโชคดี ในช่วงตอนเย็นจะจุดไฟตะเกียงดินเผาเพื่อขับไล่วิญญาณร้ายทั้งหลาย และมีการสวดสรรเสริญ
เจ้าแม่ลักษมีด้วยบทเพลงบาจัน (Bhajans) หลังจากนั้นมีการถวายขนมหวานกับเทวี

ในพื้นที่รัฐมหารัฐมหาราษฏระจะใช้เมล็ดผักชีและน้ำตาลโตนดเป็นเครื่องถวายแทนขนมหวาน บ้านไหนมีวัวก็จะประดับตกแต่งและบูชา
โดยเฉพาะทางตอนใต้อินเดียมีการบูชาวัวเป็นพิเศษในวันนี้


วันที่ 2 คือ โชตี้ ดิวาลี (Choti Diwali หรือ Narak Chatursasi)



ในวันที่สองนี้จะบูชาเจ้าแม่ลักษมี พระราม และพระกฤษณะ ชาวฮินดูเชื่อกันว่าเป็นวันที่พระกฤษณะชนะมารร้ายนรกอสูร วันนี้เป็นวันที่เริ่มเล่น
อย่างสนุกสนาน และเล่นพลุไฟ ในทางอินเดียตอนใต้มีพิธีกรรมที่แปลกมากคือในตอนเช้าของวันนี้จะต้องลุกขึ้นมาก่อนที่พระอาทิตย์จะขึ้น
นำคัมคัม (Kumkum) แป้งสีแดงมาผสมกับน้ำมันพืช ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเลือด นำผลไม้รสขมมาตีให้แตก

เปรียบเสมือนพระกฤษณะทำลายศรีษะของจอมอสูร และนำแป้งสีแดงที่ผสมมาแต้มที่หน้าผาก จากนั้นอาบน้ำที่ผสมด้วยน้ำมันจันทร์

วันที่ 3 คือ ดิวาลี (Diwali)



วันนี้ถือเป็นวันเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เป็นวันที่บูชาพระแม่ลักษมี ในอิเดียตอนเหนือและตะวันออกการทำความสะอาดบ้านเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด
เพราะพระแม่ลักษมีชอบความสะอาด บ้านหลังไหนที่สะอาดที่สุดพระแม่ลักษมีก็จะเยื่ยมบ้านนั้นเป็นบ้านแรก และนี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไม
ต้องบูชาไม้กวาดด้วยผงขมิ้นและชาด หลังจากพระอาทิตย์ตกดินมีการจุดตะเกียงดินเผาให้สว่างทั่วทั้งบริเวณบ้านเพื่อเป็นแสงนำทางให้
พระแม่ลักษมีเข้าบ้านเรือนตน อีกทั้งยังขับไล่สิ่งชั่วร้ายและความมืดออกจากบ้านด้วย คนในครอบครัวจะอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย
และใส่เสื้อผ้าชุดใหม่

คนอินเดียจะถือวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดู มีการเล่นอย่างสนุกสนาน และมีการจุดพลุเล่นกันทั้งคืน


วันที่ 4 คือ ปัดวา (Padwa หรือ Govardhan Puja)


 
วันที่สี่เป็นงานบูชาพระกฤษณะ และทำบูชาเทพเจ้าที่ตนนับถือที่แม่น้ำ  ในวันนี้สำหรับชาวฮินดูที่เคร่งศาสนาจะไม่นอนหลับในคืนนี้
พวกเขาจะทำอาหาร 56 หรือ 108 ชนิดที่แตกต่างกันไป เรียกอาหารเหล่านั้นว่า โภค (Bhog) เพื่อนำไปถวายแด่พระกฤษณะ


วันที่ 5 คือ ไภทูช (Bhai Duj)



วันสุดท้ายนี้น้องสาวจะเจิมหน้าผากให้พี่ชายเพื่อให้มีความสุขและ อายุยืน มีความเจริญในหน้าที่การงาน ฝ่ายพี่ชายก็จะมอบของขวัญ
และสัญญาว่าจะปกป้องน้องสาวเป็นการตอบแทน สาระสำคัญของการฉลองวันนี้ เพื่อเสริมสร้างความรักระหว่างพี่ชายและน้องสาว
เป็นวันที่กินอาหารร่วมกัน มอบของขวัญให้กัน


มีตำนานเกี่ยวเทศกาลดิวาลีออกไปต่าง ๆ คือ


ตำนานแรก



เทศกาลดิวาลีนี้เกิดขึ้นจากความเชื่อในมหากาพย์รามายณะ ตามประวัติกล่าวว่า พระราม (Rama) ซึ่งเป็นอวตารของพระนารายณ์หรือวิษณุ
เป็นเทวดาในคราบมนุษย์ มีความดีสมบูรณ์แบบไม่มีด่างพร้อยเป็นโอรส ของพระเจ้าทศรถ ซึ่งครองโกศลประเทศ (Kosala) มีเมืองหลวง
ชื่อ อโยธยา (Ayotaya) พระบิดาของพระรามมีมเหสี ๓ พระนาง คือ เกาศัลยะ (Kaudalya), ไกเกยี (Kaikeyi) และสุมิตรา (Sumitra)
พระรามเป็นพระโอรสของนางเกาศัลยะ มีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะสืบทอดราชสมบัติต่อจากพระบิดา


ส่วนพระนางไกเกยี มีโอรสองค์หนึ่งชื่อ ภรต เกิดอิจฉาพอดีกับนางไกเกยีเคยได้รับพรพิเศษ 2 ข้อจากท้าวทศรถในคราวช่วยเหลือพระองค์
ให้รอดชีวิตจากศัตรูในสงครามจึงทูลขอราชสมบัติให้กับพระภรต ถือเป็นพรข้อแรกแต่ถูกพระเจ้าทศรถทักท้วงว่า จะให้เราเอาลูกรามของเรา
ไปไว้ไหนเล่า นางจึงขอพรข้อสองว่าให้พระรามไปอยู่ป่าสัก 14 ปี ระหว่างนี้ก็ให้พระภรตครองราชย์ไปก่อน กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ
แม้จะต้องระกำกับพรดังกล่าว

พระเจ้าทศ รถจำต้องทำตามพรที่ให้ไว้ แต่พระรามซึ่งรักษาเกียรติและพระดำรัสของพระบิดา ก็ยินดีรับและออกไปอยู่ป่ากับนางสีดามเหสีซึ่ง
เพิ่งแต่งงานกันพร้อมพระลักษมัน (Lak man) พระอนุชาต่างมารดา แม้จะได้รับการอ้อนวอนจากพระภรต ซึ่งไม่รู้ไม่เห็นกับการกระทำของ
พระชนนีว่าให้พี่รามครองราชย์เถิด แต่พระรามใจแข็งพูดคำไหนคำนั้น ยอมลำบากไปบำเพ็ญเพียรกัน 3 พระองค์ และได้ต่อสู้กับราวัณตาม
มหากาพย์รามายณะ จนกระทั่งอยู่ในป่าครบ 14 ปีที่รับปากไว้กับพระบิดา อโยธยาจึงจัดพิธีต้อนรับการกลับคืนมายังพระนครโดยการจัดประทีป
โคมไฟตั้งวางเรียงรายเป็นแถวตามถนนหนทาง ตามอาคารบ้านเรือนสว่างไสวไปทั่วทั้งเมืองเป็นที่มาของเทศกาลดิวาลีในที่สุด

สำหรับตำนานแรกชาวฮินดูจะเชื่อตามตำนานนี้มากที่สุด

ตำนานสอง



เชื่อกันว่าเป็นวันประสูติพระแม่ลักษมี คือ ถือกำเนิดจากการกวนเกษียรสมุทร บางแห่งบอกว่าวันประสูติพระแม่ลักษมีนั้นตามปฏิทินฮินดู
จะเป็นอีกวันหนึ่งคือ ราวเดือนมีนาคม เรียกกันว่า วันมหาลักษมีจยันติ


ตำนานสาม



เพื่อฉลองชัยที่พระกฤษณะ เอาชนะนรกสูร (Narakasura) เนื่องจากอสูรตนนี้อาศัยอยู่ในความมืดและเมื่อใดก็ตามมีผู้จุดตะเกียง
เพื่อใช้แสงสว่างเมื่อนั้นนรกสูรจะสังหารเสีย เมื่อพระกฤษณะทรงรับรู้ถึงเรื่องราวต่างๆ จึงฆ่านรกสูรเสีย ดังนั้นจึงเชื่อว่าการจุดประทีบ
เป็นการขับไล่นรกสูร (สิ่งไม่ดี) และเป็นการอัญเชิญ พระกฤษณะ หรือ เทพเจ้าต่างๆ (สิ่งดี) เข้ามาช่วยปัดเป่าสิ่งไม่ดีต่าง ๆ


credit :: tsa-bhu.org
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 พฤศจิกายน 2014, 11:03:57 โดย etatae333 »
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่