-->

ผู้เขียน หัวข้อ: คนไข้ VS หมอ บอกติดเอดส์ ระทม 4 ปีตรวจอีกทีหาย!?  (อ่าน 536 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

แบดบอย

  • เด็กทะลึ่ง
  • ****
  • กระทู้: 72
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด

โรคเอดส์หรือเอชไอวี (HIV) เป็นที่ทราบ เป็นโรคที่น่ากลัว ยังไม่มียารักษาให้หายขาด มีเพียงยาต้านเชื้อเพื่อยื้อเวลาเท่านั้น แต่…เกิดกรณีที่ทำให้ใครได้ฟังต้องถึงกับมึน เมื่อพบว่าได้มีหญิงสาวคนหนึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเอดส์ และต้องรักษาตัวนานถึง 4 ปี ภายหลังกลับมาตรวจกลับไม่พบเชื้อ ทางโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในพื้นที่ภาคใต้ ระบุอาการของหญิงดังกล่าวว่า เธอหายป่วยแล้ว โดยอ้างว่า "ร่างกายสามารถล้างเชื้อเองได้...!?!"
เปิดปมหญิงสาวรักษาเอดส์ 4 ปี เช็กซ้ำไม่เจอ รพ.อ้างร่างกายผู้ป่วยล้างเชื้อเองได้
ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ จึงติดต่อไปยัง นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เพื่อสอบถามถึงที่ไปที่มาของเรื่องดังกล่าว นางปรียนันท์ เล่าว่า เรื่องนี้สืบเนื่องจากมีผู้ป่วยท่านหนึ่งมาร้องเรียนกับเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง โดยมีการตรวจเลือดผิดพบว่าเป็นเอชไอวี และเข้าใจเช่นนั้นมาตลอด 4 ปี ไม่กล้าไปตรวจซ้ำที่อื่น เนื่องจากตอนนั้นเพิ่งเลิกกับสามีเก่าซึ่งค่อนข้างเจ้าชู้ จึงเข้าใจว่าอาจติดเชื้อจากสามีเก่าหรือไม่ ต่อมาสังเกตสุขภาพยังดีอยู่ จึงตัดสินใจไปตรวจซ้ำหลายโรงพยาบาล ผลออกมาตรงกันว่าไม่พบเชื้อเอชไอวี แต่กลับได้คำตอบจากแพทย์โรงพยาบาลต้นเหตุว่า เป็นเพราะร่างกายผู้ป่วยล้างเชื้อเอชไอวีได้เอง
"เรื่องเกิดขึ้นเมื่อปี 50 เธอไปตรวจเลือดเพื่อวางแผนมีลูกกับสามีใหม่ ผลการตรวจแพทย์วินิจฉัยว่ามีเชื้อเอชไอวีซึ่งก่อนการวินิจฉัยก็ต้องผ่านกระบวนการตรวจที่มีมาตรฐานของมัน เธอก็เชื่อสนิทใจเพราะว่าตัวเธอเป็นพยาบาลวิชาชีพ รู้ว่ากระบวนการตรวจต้องผ่านอะไรมาบ้าง เลยไม่ได้ไปตรวจที่อื่น และเธอเชื่อว่าเธออาจจะติดจากสามีคนแรกที่เจ้าชู้ ประกอบกับทางโรงพยาบาลเอกชนแห่งนี้ใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย ก็รักษากับที่โรงพยาบาลนี้มาตลอด 4 ปี และเธอก็ไม่ได้รับยาต้าน CD4 ใกล้เคียงปกติ เธอจึงเฝ้าสังเกตอาการ แต่ก็พบว่าสุขภาพยังดีอยู่ พอปี 55 ก็เลยตัดสินใจตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อของที่นั่น กลับไม่พบเชื้อเอชไอวี หลังจากนั้นเธอจึงตัดสินใจไปตรวจซ้ำที่โรงพยาบาลอื่นอีกหลายแห่ง ผลตรงกันหมดว่าเธอไม่ได้เป็นเอดส์ เมื่อถามกลับไปยังแพทย์โรงพยาบาร่างกายมนุษย์จะสามารถล้างเชื้อเอชไอวีได้จริงหรือ!?
มาถึงตรงนี้แล้วสังคมคงแคลงใจว่า "ร่างกายมนุษย์จะสามารถล้างเชื้อเอชไอวีได้จริงหรือไม่" ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์พยายามค้นหาคำตอบของคำถามนี้ จึงติดต่อไปยังแพทย์หญิง นิตยา ภานุภาค พึ่งพาพงศ์ หัวหน้าแผนกป้องกันและหัวหน้าหน่วยวิจัยเสิร์ช ศูนย์วิจัยโรคเอดส์สภากาชาดไทย เผยกับทีมข่าวฯ ว่า "ในปัจจุบันเรายังไม่เห็นว่ามีผู้ติดเชื้อรายไหนที่มีการล้างเชื้อออกไปได้ด้วยตัวเอง หรือแม้แต่ว่าด้วยการกินยาต้านไวรัสเป็นเวลาช่วงหนึ่ง แล้วหยุดกินไปแล้วเชื้อจะล้างออกไปได้เอง เรียกว่ายังไม่เคยพบเจอ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าไม่มี เรากำลังควานหาคนเหล่านั้นอยู่ ในโลกนี้มีคนไข้คนหนึ่ง ซึ่งเป็นชาวอเมริกัน เขาหายขาดจากเชื้อเอชไอวีได้ แต่รายนี้เขาเป็นกรณีพิเศษ เขาเป็นเอชไอวี กินยาต้านไวรัส แล้วดันเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว ก็เลยไปเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก ฉายแสง ให้เคมีบำบัด แล้วเขาก็ได้รับบริจาคเม็ดเลือดของคนซึ่งพอดีมันไม่มีตัวรับเอชไอวี (การที่เอชไอวีจะเข้าสู่ร่างกายคน ก็จะเข้าสู่เซลล์ ซึ่งเซลล์นั้นต้องมีตัวรับกับเชื้อเอชไอวี ตัวรับนี้จะอยู่บนผิวของเม็ดเลือดขาว พอเชื้อเข้าไปมันก็จะไปจับกับตัวรับนี้ แล้วค่อยๆ แทรกเข้าไปอยู่ในเซลล์ของคน บางคนโดยธรรมชาติแล้ว เซลล์เม็ดเลือดขาวจะไม่มีตัวรับนี้อยู่ แต่จะเจอได้น้อยมาก จาก 1 ในหลายหมื่น หรือโดยเฉพาะบางเชื้อชาติ) เข้ามาในตัวเขา คนนี้เป็นคนที่หลังจากหยุดยาต้านไวรัสไปแล้ว ตอนนี้ผ่านมาเป็น 10 ปี ก็ยังตรวจไม่เจอเชื้อเลยในร่างกาย ซึ่งหมายความว่าเชื้อก็ไม่ได้ขับออกไปเอง แต่ต้องอาศัยกระบวนการต่างๆ นานา ในการทำให้เขาหายได้" พญ.นิตยา กล่าว
ลต้นเหตุ แต่พญ.นิตยา กล่าวต่ออีกว่า การตรวจเอชไอวีในปัจจุบันที่มีให้บริการในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ จะเป็นการตรวจโดยใช้เลือด มีหลักการตรวจอยู่ 2 วิธี คือ 1. การตรวจโดยตรวจหาภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นโปรตีนที่สร้างต่อตัวเชื้อเอชไอวี เรียกการตรวจนี้ว่า การตรวจ Anti-HIV จะสามารถบอกได้ว่าใครมีเชื้อหลังจากที่ไปสัมผัสหรือไปรับเชื้อมาไม่เกิน 4 สัปดาห์ กรณีถ้าตรวจครั้งที่ 1 พบว่าเป็นลบคือไม่มีเชื้อ ประกอบกับการพิจารณาความเสี่ยงของผู้ตรวจ ถ้าไม่มีความเสี่ยงทางแพทย์ก็จะรายงานผลว่าเป็นลบและไม่นัดมาตรวจซ้ำอีก อีกกรณีถ้าตรวจครั้งที่ 1 พบว่าเป็นลบ แต่ผู้ตรวจเพิ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อมา 3-4 วัน แพทย์ก็จะแจ้งให้มาตรวจซ้ำอีกใน 2 อาทิตย์และหากผลตรวจครั้งที่ 2 ออกมาเป็นบวกคือมีเชื้อ ทางแพทย์ก็จะตรวจซ้ำอีก 2 วิธี โดยชุดตรวจที่เป็นคนละชนิดกับชุดแรก ทั้งนี้ แพทย์จะรายงานผลต่อเมื่อชุดตรวจทั้ง 3 วิธีให้ผลเหมือนกันหมด
วิธีที่ 2 การตรวจหาตัวเชื้อโดยตรง เรียกการตรวจนี้ว่า การตรวจ NAT (Nucleic Acid Amplification Testing) จะมีความไวกว่า Anti-HIV ขึ้นมาประมาณ 1-2 อาทิตย์หลังจากไปสัมผัสหรือไปรับเชื้อมา เพราะไม่ต้องรอให้ร่างกายสร้างโปรตีนขึ้นมา การตรวจชนิดนี้ จะใช้ในกรณีการบริจาคเลือด ก่อนการนำเลือดไปเก็บเพื่อที่จะส่งต่อให้คนอื่น จะมีการตรวจ NAT ก่อน ส่วนผู้ป่วยที่ตรวจแบบวิธีที่ 1 แล้วมีกรณีพิเศษเกิดขึ้นก็อาจจะมีการตรวจ NAT เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
กลับได้รับคำตอบว่า ร่างกายคนไข้สามารถล้างเชื้อเอชไอวีเองได้" ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์เล่า
ผลการตรวจอาจจะผิดพลาดได้..!?
จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการตรวจหาเชื้อเอชไอวี มีอยู่หลายขั้นตอน แต่ทว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่ผลการตรวจจะเกิดการผิดพลาด พญ.นิตยากล่าวถึงข้อสงสัยนี้ว่า "ผลการตรวจผิดพลาดเป็นไปได้ว่ามีแน่นอน ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของการตรวจเอชไอวี วิธีการตรวจตามห้องปฏิบัติการมันไม่มีอะไร 100% เพียงแต่ว่าสิ่งที่เราพยายามทำกันอยู่คือการเลือกชุดตรวจ ซึ่งมีความไว ความเฉพาะสูงที่สุด ชุดตรวจแต่ละชุดซึ่งใช้ในโรงพยาบาลต้องผ่านการรับรองคุณภาพของเมืองไทยก่อน ซึ่งเขาก็จะเซตเอาไว้เลย เลือดที่บวกทั้งหมดต้องตรวจเจอ เกินกี่เปอร์เซ็นต์ เลือดที่เป็นลบตรวจแล้วลบเกินกี่เปอร์เซ็นต์ จะเห็นว่าทั้งหมดมันไม่มีอะไร 100% หมายถึงอาจจะมี 1 ในหมื่น 1 ในแสน ที่อาจจะเป็นผลปลอมได้ ไม่ใช่เรื่องประหลาดอะไร'' พญ.นิตยา ระบุ
อย่างไรก็ตาม ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ได้ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และ ได้รับการเปิดเผยบทสรุปของเรื่องนี้ จาก นางปรียนันท์ อีกครั้งว่า หลังเกิดเหตุผู้เสียหายไม่ได้ร้องเรียนต่อแพทยสภา แต่เลือกที่จะสู้ผ่านกระบวนการยุติธรรม...
"หลังเกิดเหตุเธอไม่ได้ร้องต่อแพทยสภา เพราะเห็นว่าการไกล่เกลี่ยคงจะไม่ได้ผล จึงนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ศาลให้ไกล่เกลี่ยถึง 3 ครั้ง ปรากฏว่าโรงพยาบาลไม่รับผิดชอบ โดยยืนยันว่าโรงพยาบาลทำการตรวจถูกต้องแล้ว และยังยืนกรานว่าเธอติดเชื้อเอชไอวีจริง อ้างว่าร่างกายคนไข้สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายเองได้ เธอรู้สึกเจ็บใจเพราะเชื่อว่ามันเป็นไปไม่ได้ ขัดกับหลักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เมื่อตกลงกันไม่ได้ก็เข้าสู่กระบวนการนำสืบ ศาลนัดสืบพยานปี 57 ฟ้องโรงพยาบาลเป็นจำเลยที่ 1 และแพทย์เป็นจำเลยที่ 2 ปรากฏว่าเธอหาพยานทางการแพทย์ไม่ได้ ก็เลยมาขอความช่วยเหลือกับเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ทางเราจึงหาพยานทางการแพทย์ให้ได้ 2 ท่าน หลังจากนั้นก็ไปเบิกความ ผลออกมาเมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งวันนั้นเธอได้ไปฟังคำพิพากษาด้วย แต่ทางเราไม่ได้ไป เธอจึงส่งข้อความสั้นๆ บอกว่า "เราชนะ หมอผิด จ่าย 3.2 ล้าน โรงพยาบาลไม่ผิด แต่ศาลให้ร่วมจ่าย" ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ระบุ.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก thairath.co.th

Report by www.livcapsule.com