-->

ผู้เขียน หัวข้อ: อัตตา และ อนัตตา  (อ่าน 1370 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

jaydai

  • อัศวินจากด้านมืด
  • กรรมการเวป
  • เด็กหัดเสียว
  • *
  • กระทู้: 426
  • คะแนนจิตพิสัย +2/-1
    • ดูรายละเอียด
อัตตา และ อนัตตา
« เมื่อ: 12 มีนาคม 2011, 07:16:10 »

อัตตา เป็นศัพท์ภาษาบาลี แปลว่า ตัวตน, ร่างกาย, รูปลักษณะ, ตัวเอง (ดูอัตภาพ) (ภาษาสันสกฤตใช้ อาตฺมัน) หมายถึงอาตมัน, วิญญาณ ตามทฤษฎีของผู้นับถือลัทธิว่าชีวิตเกิดขึ้นด้วยวิญญาณหรืออัตมัน ซึ่งชาวอินเดียทางภาคเหนือได้ยึดถือเช่นนั้น ในคัมภีร์อุปนิษัทอธิบายไว้ว่า อัตตาเป็นตัวตนเล็กๆ รูปร่างเหมือนคน อาศัยอยู่ในหัวใจเวลาปกติ และหนีออกจากร่างกายไปในเวลานอนหลับ หรือในเวลาสงบแน่นิ่ง เมื่ออัตตานั้นกลับมาสู่ร่างเหมือนเดิม ชีวิตและการเคลื่อนไหวจึงเกิดขึ้นเป็นไปตามเดิม ในเวลาตายอัตตาก็จะหนีออกจากร่าง ไปใช้ชีวิตในอมตะของตนเองวนเวียนไปอย่างนีโดยไม่มีสิ้นสุด แต่ทฤษฎีนี้พระพุทธศาสนาไม่ยอมรับทั้งหมด (นัยพจนา. บาลี-อังกฤษ ของสมาคมบาลีปกรณ์)

jaydai

  • อัศวินจากด้านมืด
  • กรรมการเวป
  • เด็กหัดเสียว
  • *
  • กระทู้: 426
  • คะแนนจิตพิสัย +2/-1
    • ดูรายละเอียด
Re: อัตตา และ อนัตตา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 12 มีนาคม 2011, 07:17:45 »

อนัตตา หรือ อนัตตตา แปลว่า ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน มิใช่อัตตา มิใช่ตัวตน หรือ สภาพที่บังคับบัญชาไม่ได้ โดยทั่วไปหมายถึง สังขารธรรม อันได้แก่ ขันธ์ 5 คำนี้จัดเป็นหนึ่งในชื่อเรียกที่เป็นคำไวพจน์ของขันธ์ซึ่งถูกใช้เป็นอย่างมากในพระไตรปิฎก จะมาคู่กับคำไวพจน์ของขันธ์อีก 2 คำ คือ อนิจจัง กับ ทุกขัง นั่นเอง

อนัตตา ที่ขันธ์ 5 ได้ชื่อนี้ เพราะมีอนัตตลักษณะดังนี้

1.เป็นสภาพว่างเปล่า คือหาสภาวะที่แท้จริงไม่ได้ เพราะประกอบด้วยธาตุ 4 เมื่อแยกธาตุออก สภาวะที่แท้จริงก็ไม่มี
2.หาเจ้าของมิได้ คือไม่มีใครเป็นเจ้าของแท้จริง สงวนรักษามิให้เปลี่ยนแปลงไม่ได้
3.ไม่อยู่ในอำนาจ คือไม่อยู่ในบัญชาของใคร ใครบังคับไม่ได้ เช่นบังคับมิให้แก่ไม่ได้
4.แย้งต่ออัตตา คือตรงข้ามกับอัตตา

การแปลคำว่า อนัตตานั้น ใช้ได้ทั้งคำว่า ไม่มีอัตตา, ไม่มีตัวตน, มิใช่อัตตา, มิใช่ตัวตน เพราะ

1.สามารถแปลเข้ากันได้กับพระพุทธพจน์ที่ว่า "สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา, สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา, สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา - สังขาร (ขันธ์ 5) ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นสิ่งไม่เที่ยง,สังขาร (ขันธ์ 5) ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นตัวทุกข์, สรรพสิ่งทุกสิ่งทุกอย่าง (ขันธ์ 5, นิพพาน, บัญญัติ) มันไม่ใช่ตัวตน"ดังนี้. ซึ่งในพระคัมภีร์ต่างๆ เช่น อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 8 และ อภิธัมมาวตาร บัญญัตินิทเทส เป็นต้น ท่านได้ระบุไว้ว่า ไม่มีอะไรพ้นไปจาก ขันธ์ 5, นิพพาน, บัญญัติ ดังนั้นขันธ์ 5 จังไม่ใช่ตัวตน เพราะตัวตนไม่มีอยู่ในที่ใดๆเลย.

2.สามารถแปลเข้ากันได้กับสักกายทิฏฐิ 4 หรือ 20 ดังที่ทรงตรัสไว้ทั้ง 4 อย่าง คือ
- ความเข้าใจผิดว่า ขันธ์ 5 เป็นตัวตนเราเขา,
- ความเข้าใจผิดว่า ตัวตนเราเขามีขันธ์ 5 อยู่,
- ความเข้าใจผิดว่า มีขันธ์ 5 อยู่ในตัวตนเราเขา,
- ความเข้าใจผิดว่า มีตัวตนเราเขาในขันธ์ 5

3.ในทิฏฐิวิสุทธินิทเทส คัมภีร์วิสุทธิมรรค ก็กล่าวปฏิเสธิอัตตาให้ไม่มีอยู่ในที่ใดๆโดยประการทั้งปวง.

jaydai

  • อัศวินจากด้านมืด
  • กรรมการเวป
  • เด็กหัดเสียว
  • *
  • กระทู้: 426
  • คะแนนจิตพิสัย +2/-1
    • ดูรายละเอียด
Re: อัตตา และ อนัตตา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 12 มีนาคม 2011, 07:31:10 »

ลองอ่านความหมายของ คำว่า "อัตตา" และ "อนัตตา" ทั้งสองคำนี้ มีบางอย่างที่ดูคล้ายกัน แต่จริงๆ แล้วแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

บางครั้ง การได้ยินอะไรมาหลายๆ อย่างเราคิดว่า "ใช่" แต่จริงๆ มันขัดแย้งเพราะ มันคือ อัตตา เราคิดว่า เมื่อตายไปแล้วยังต้องวนเวียน หมายถึง ทิ้งรูปกายรูปนี้ แล้วไปเกิดในอีกรูปกายหนึ่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ มันคือความหมายของ "อัตตา" ทั้งสิ้น

แต่ "อนัตตา" นั้นคือ สิ่งที่มากกว่านั้น หรือ อาจพูดได้ว่า ทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งสมมุติ ไม่มีสภาวะที่แท้จริง ไม่มีตัวตน ส่วนเบญจขันธ์ หรือ ขันธ์ 5 นั้น
เบญจขันธ์ หมายถึง กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้าหมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นชีวิต
ขันธ์ 5 ประกอบด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
1. รูปขันธ์ กองรูป ส่วนที่เป็นรูป ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่าง ๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด
2. เวทนาขันธ์ กองเวทนา ส่วนที่เป็นการเสวยรสอารมณ์ ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือเฉย ๆ
เมื่อรับรู้เกิดความพอใจ มนุษย์เรียกว่า สุข เมื่อรับรู้เกิดความไม่พอใจ มนุษย์เรียกว่า ทุกข์ เมื่อรับรู้แล้วไม่ทุกข์ไม่สุข เรียกว่า อุเบกขา
3. สัญญาขันธ์ กองสัญญา ส่วนที่เป็นความกำหนดหมายให้จำอารมณ์นั้น ๆได้ ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ 6 เช่น เสียงดัง รูปสวย กลิ่นหอม รสหวาน ร้อน และดีใจ
4. สังขารขันธ์ กองสังขาร ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลาง ๆ คุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต
5. วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์ ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6
อายตนะแปลว่า บ่อเกิดหรือสื่อสัมพันธ์ บ่อเกิดหรือสื่อสัมพันธ์ ของอายตนะทั้งสองแล้วเกิดอารมณ์ขึ้น อายตนะมีตาเป็นต้น เมื่อสัมผัสกับรูปแล้ว ก็ติดต่อสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องถึงประสาทเข้ามาหาใจ แล้วใจก็รับเอามาเป็นอารมณ์ ถ้าดีก็ชอบใจ สนุก เพลิดเพลิน ถ้าไม่ดีก็ไม่ชอบใจ คับแค้นเป็นทุกข์โทมนัสต่อไป

CastlevaniaX

  • แอบจิต
  • **
  • กระทู้: 10
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด
Re: อัตตา และ อนัตตา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 12 มีนาคม 2011, 11:00:22 »

ที่พี่เจพิมถูกครับ

แต่คนเรานั้นเมื่อถูกกิเลสเข้าครอบงำแล้วการจะเป็นคนดีนั้นทำได้ง่าย

นั้นขึ้นอยู่จิตใจเขาว่าเขาจะเบื่อหน่ายกับกิเลสที่ได้เห็น สัมผัส รูป

กลิ่นและเสียงครับ