-->

ผู้เขียน หัวข้อ: อ๊อกร์ (Ogre): ยักษ์ประหลาดแห่งดินแดนเทพนิยาย  (อ่าน 1373 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

  • Administrator
  • เทพเจ้าราตรี
  • *
  • กระทู้: 18221
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +9/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • cmxseed



ขึ้นชื่อว่าตัวประหลาดแล้ว ก็ย่อมจะมีตัวที่ผิดปกติไปจากสิ่งที่ควรจะเป็นมีอยู่ บ้างประหลาดแบบน่ากลัวบ้าง
ประหลาดแบบน่ารัก ส่วนใหญ่จะเอาไว้หลอกเด็กดื้อให้เชื่อฟัง โดยเฉพาะตัวประหลาดของฝรั่งมักจะแฝงอยู่ใน
เรื่องเล่าลึกลับหรือตำนานพิศวง (Mythology) หรือเรื่องราวเกี่ยวกับเทพกรณัมต่างๆ ทำให้ตัวประหลาด
ในวัฒนธรรมของฝรั่งค่อนข้างเป็นที่รู้จักและแพร่หลายมาอย่างยาวนาน ทุกวันนี้เรื่องเกี่ยวกับตัวประหลาดดังกล่าว
จะได้สอดแทรกอยู่ในภาพยนตร์ เกมส์ หรือละครของตะวันตก แฟนานุแฟนหลายท่านน่าจะเคยผ่านตามาบ้าง
ไม่มากก็น้อย วันนี้ขอนำทุกท่านมาทำความรู้จักกับหนึ่งในตัวประหลาดของเทพนิยาย มันมีชื่อว่า...


อ๊อกร์ (Ogre)



อ๊อกร์ มีรูปร่างเป็นตัวประหลาดขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างคล้ายคลึงมนุษย์ (Humanoid) แต่ที่ควรรู้ไว้คือ
อ๊อกร์เป็นตัวประหลาดในเทพนิยายหรือนิทานพื้นบ้านในยุโรป ซึ่งสร้างสรรค์จินตนาการเกี่ยวกับอ๊อกร์
ในวรรณกรรมต่างๆ อย่างกว้างขวาง ในด้านศิลปะ ฝรั่งมักจะจินตนนาการว่าอ๊อกร์มีหัวขนาดใหญ่
มีผมและเคราดกหนา และมีร่างกายที่แข็งแรง ในอีกด้านคนยุโรปมักจะเปรียบเทียบคำว่าอ๊อกร์กับคนที่ดูเถื่อน
ดิบหรือโหดร้ายกับศัตรู


นอกจากนี้ผู้ใหญ่มักจะใช้อ๊อกร์ไว้ขู่เด็กๆ ที่มักจะดื้อแพ่งไม่เชื่อฟังพ่อแม่ โดยเล่าว่าหากเด็กๆทำตัวไม่ดี จะทำให้
อ๊อกร์สนใจและลักพาเพื่อกินเด็กคนเสีย แต่ว่าก็มีนักเขียนอีกกลุ่มกลับมองอ๊อกร์ในมุมที่แตกต่างไปเพราะเชื่อว่านิสัย
ส่วนใหญ่ของอ๊อกร์นั้นขี้อาย และชอบหลบหลีกจากสังคม

อ๊อกร์ออกเสียงและมีตัวสะกดเหมือนกันทั้งภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส แต่แตกต่างจะภาษาอิตาลีเล็กน้อยที่เรียกว่า
Orgo หรือ Orco ที่หมายถึงสัตว์ประหลาด ซึ่งน่าจะแปลงมาจากภาษาละตินที่เรียกว่า Orcus



อ๊อกร์ปรากฏตัวขึ้นในโลกวรรณกรรมสมัยใหม่ของฝรั่งเศส ว่ากันว่าได้ถูกอ้างอิงอยู่ในวรรณกรรมของ ชาร์ล แปร์โรต์
(Charles Perrault) เมื่อ ค.ศ.๑๖๙๖ ในเรื่อง Tales of Mother Goose ซึ่งน่าจะเป็นนักเขียนรุ่นแรกผู้บุกเบิก
เกี่ยวกับวรรณกรรมแนวใหม่ที่ว่าด้วยเทพนิยายเป็นหลัก รวมถึงเรื่อง Le Chat botte และ Le Petit Poucet
ซึ่งก็ได้อ้างอิงถึงเรื่องอ๊อกร์ด้วย ขณะที่วรรณกรรมเด็กปัจจุบันก็ได้มีการกล่าวถึงเรื่องราวของอ๊อกร์อย่างแพร่หลายเช่นกัน
เช่นงานเขียนของ C.S.Lewis, J.R.R. Tolkien, Ruth Manning-Sanders และ Piers Anthony เป็นต้น




นอกจากนั้นแล้วอ๊อกร์ยังปรากฏตัวในเกมส์คอมพิวเตอร์อยู่หลายเกมส์ เช่น Final Fantasy, RuneScape, Warcraft,
Two Worlds และ Ogre Battle เป็นต้น และที่สนใจกว่านั้น ยักษ์เขียวผู้ใจดีของเด็กอย่าง Shrek ก็เป็นหนึ่งใน
เผ่าพันธุ์ของอ๊อกร์สมัยใหม่ ซึ่งมีรูปร่างใหญ่ตัวเขียวแต่ไม่ดุร้ายเหมือนอ๊อกร์ทั่วไป

ลองมาพิจารณารูปร่างลักษณะของอ๊อกร์โดยทั่วไป จะพบว่าอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น คือตัวใหญ่และมีรูปร่างที่ไม่ค่อย
สมส่วนเสียเท่าไร อย่างไรก็ตามอ๊อกร์แต่ละตัวก็ใหญ่กว่ามนุษย์ทั่วไป นอกจากนี้อ๊อกร์ยังมีรูปร่างแข็งแรง มีหัวกลม
ท้องนูนใหญ่และผมและหนวดเคราดก มีฟันขนาดใหญ่อยู่เต็มปาก และที่สำคัญหน้าตาดูไม่หล่อหรือว่ากันง่ายๆก็คือ
อัปลักษณ์นั้นเอง มาพร้อมกับกลิ่นที่มีความดุร้าย มีผิวหนังที่ค่อนข้างหยาบสีออกน้ำตาลหากอยู่ในยุโรป แต่ว่าใน
ทางเอเชียบ้านเราผิวของอ๊อกร์จะดูสว่างกว่าหรืออาจมีสีส้มก็มี



คราวนี้ลองมาดูอ๊อกร์ของเอเชียบ้านเราดีกว่า อ๊อกร์ที่มีชื่อที่สุดอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่น คนที่นั้นเรียกตัวประหลาดนี้ว่าโอนิ (Oni)
มาจากนิทานพื้นบ้านปรัมปรา เป็นตัวประหลาดที่มีเอกลักษณ์เป็นที่โดดเด่น ปรากฏตัวอยู่ในงานศิลปะ วรรณกรรม
และการแสดงของญี่ปุ่นอย่างแพร่หลาย




ลักษณะของโอนิที่ได้ถูกบรรยายส่วนใหญ่จะมีลักษณะร่วมกันคือ ลักษณะคล้ายคลึงกับอ๊อกร์ ตัวใหญ่ ชอบหลบซ่อนตัว
จากสังคม มีอุ้งมือขนาดใหญ่ ผมยุ่งเหยิง และที่เป็นจุดเด่นคือมีเขาทั้งสองข้างงอกออกมาจากหัว มีรูปร่างคล้ายคนโดยมาก
อย่างไรก็ตามก็มีรูปร่างลักษณะบางอย่างที่ดูอย่างไรก็ไม่เหมือนคนอยู่ดี เช่น มีดวงตาที่มากกว่าปกติ หรือมีนิ้วมือและ
นิ้วเท้าขนาดใหญ่ ผิวหนังมีหลายสี แต่ว่าสีส้มหรือสีแดงดูจะเป็นสียอดนิยมของนักเขียนญี่ปุ่นที่วาดให้กับโอนิ
โอนิมักจะชอบใส่เสือคลุมที่ทำมาจากหนังเสือและถือกระบองเหล็ก ที่เรียกว่า Kanabo ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสัญลักษณ์
ความเข้มแข็งที่ไม่สามารถจะเอาชนะได้

โอนิจากที่เคยมีชีวิตหรือมีอยู่จริง เวลาได้ทำให้โอนิกลายเป็นสิ่งที่ดูเสมือนมนุษย์ และได้รับการทำให้มีความร่วมสมัยยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะการผสมผสานความเชื่อนี้เข้ากับความเชื่อทางพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับยักษ์นั้นเอง (yaksha) นอกจากนี้
ยังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับจินน์ของดินแดนอาหรับด้วย




ข้อมูลอีกแหล่งก็อ้างว่า ภาพลักษณ์ของโอนิมาจากแนวคิดจากเมืองจีนและออนเมียวโด ว่ากันว่าทางตะวันออกเฉียงเหนือ
ครั้งหนึ่งเคยถูกเรียกว่าเป็น คิมอน (kimon) หรือประตูปีศาจ และเชื่อว่าเป็นทางที่ไม่เป็นมงคลเพราะเป็นทางที่วิญญาณ
ภูตผีปีศาจใช้ผ่าน นอกจากนี้ คิมอน ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อว่าเป็นทางที่เสือผ่านด้วย (ushitora)


วัดในญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะสร้างในตำแหน่งทิศทางที่ตรงกันข้ามกับคิมอน สิ่งปลูกสร้างของชาวญี่ปุ่นมักจะมีการย่อเป็นรูปตัว L
ณ ตำแหน่งทิศตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อห่างไกลจากโอนินั่นเอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เอ็นริยากูจิ บนภูเขาเฮเอ
ทางตะวัดออกเฉียงเหนือของกรุงเกียวโต และคาเนอิจิ  นอกจากนี้เมืองหลวงของญี่ปุ่นเองก็พยายามหลีกเลี่ยงเมือง
ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างเมือง นาโงย่าหรือเกียวโตในศตวรรษที่ ๘



หมู่บ้านบางแห่งในญี่ปุ่นจัดงานฉลองประจำปีเพื่อขับไล่โอนิ โดยเฉพาะช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ ระหว่างช่วงเทศกาล
เซตซูบัน (Setsuban) ชาวบ้านจะขวางถั่วเหลือออกจากบ้านและตะโกนว่า โอนิจงออกไป และพรที่ปรารถนาจงเข้ามา 
(Oni wa soto! Fuku wa uchi!)  นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าลิงจะเป็นสิ่งที่ป้องกันโอนิได้ ส่วนใหญ่จึงมักสร้างรูปปั้นลิง
ไว้ตามหมู่บ้าน เพราะคำว่าลิงในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า saru ที่มีความหมายว่าออกไป ตามตำนานพื้นบ้านยังเชื่อว่า
ต้นฮอลลี่ (Holly เป็นพืชที่มีผลสีแดง และอยู่ในตระกูล Ilex) สามารถใช้ป้องกันโอนิได้เช่นเดียวกัน

ต่อมาในปัจจุบัน เข้าใจว่าการรับรู้เกี่ยวกับด้านที่ชั่วร้ายของโอนิได้ผ่อนคลายลงไปมากจากความหมายดั้งเดิม
และถูกตีความไปในทางที่จะเป็นสิ่งที่พิทักษ์จากความชั่วร้ายไปเสียเอง ทุกวันนี้ ผู้ชายที่แต่งการเลียนแบบโอนิ
จะเป็นผู้นำขบสนพาเหรดที่แสดงให้เห็นถึงการจัดการให้ความชั่วร้ายออกไป เช่น สิ่งปลูกสร้างทุกวันนี้นิยมมี
แผ่นกระเบื้องบนหลังคาเป็นรูปโอนิ นัยว่าใช้ป้องกันความชั่วร้ายและสิ่งอัปมงคล เช่นเดียวกับการประดับตัว
การ์กอยในวัฒนธรรมตะวันตก




ย้อนกลับมาถึงข้อสันนิษฐานของนักวิชาการที่พยายามหาคำตอบว่าแท้จริงแล้วอ๊อกร์มีที่มาที่ไปอย่างไรในทางวิชาการ
และทำไมจึงมีอิทธิพลต่อชาวบ้านต่างวัฒนธรรมทั้งยุโรปและเอเชีย คำตอบก็คือ นักวิทยาศาสตร์ต่างสันนิษฐานว่า
อ๊อกร์น่าจะเป็นมนุษย์ดึกดำบรรพ์นีแอนเดอร์ธัลส์ (Neanderthals) ซึ่งเป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่เคยอาศัยอยู่ในยุโรป
และตะวันตกของเอเชีย

           
ฮวน ลูอิส อาร์ซัวกา (Juan Luis Asuaga) นักโบราณคดีบรรพ์วิทยาชาวสเปนได้ตั้งข้อสมมติฐานตามหลักฐาน
ฟอสซิลว่าชาวนีแอนเดอร์ธัลส์และมนุษย์โครมันยองได้อาศัยอยู่ในพื้นที่บางส่วนของยุโรปในช่วงเวลาเดียวกัน
ขณะที่บียอน เคอร์เทน (Bjon Jurten) นักบรรพชิวินชาวฟินแลนด์ก็ทำให้ทฤษฎีดังกล่าวน่าสนใจไปอีก
เพราะได้เชื่อมโยงเอาความรู้กับจินตนาการเข้าด้วยกัน โดยบอกว่าอ๊อกร์เป็นความทรงจำที่หลงเหลือจากบรรพบุรุษ
มนุษย์นีแอนเดอร์ธัลส์และโครมันยองเมื่อเกือบ ๔๐,๐๐๐ ปีที่แล้วระหว่างการอพยพครั้งใหญ่ไปยังยุโรปเหนือ
จากหลักฐานฟอสซิลก็ทำให้คำตอบในเอเชียดูจะมีความชัดเจนขึ้นกว่าเดิม เพราะเชื่อกันว่าความเชื่อเกี่ยวกับอ๊อกร์
ในเอเชียอาจจะมาจากความทรงจำร่วมเกี่ยวกับบรรพบุรุษในอดีตเช่นกัน




ขณะที่ยังมีอีกคำอธิบายเกี่ยวกับนิยายปรัมปราเกี่ยวกับอ๊อกร์ เนื่องจากได้สะท้อนวัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับลัทธิ
บูชาบรรพบุรุษ (forefather-cult) ในสังคมสแกนดิเนเวียที่มีอยู่ทั่วไปก่อนที่อิทธิพลของคริสตศาสนาจะเริ่มแผ่
ขยายเข้ามาราวศตวรรษที่ ๑๐ ถึง ๑๑ ในการบูชาบรรพบุรุษส่วนใหญ่จะกระทำกันในป่าศักดิ์สิทธิ บนแท่นบูชา
หรือข้างหลุมฝังศพ เนื่องจากชาวไวกิ้งเชื่อว่าหลังจากสิ้นชีวิตวิญญาณผู้ตายจะยังคงอยู่หรืออยู่ใกล้กับบริเวณ
ที่ครอบครัวนั้นอาศัยอยู่ จึงทำให้ความเชื่อนี้ปรับใช้กับเจ้าที่เจ้าทาง เป็นวิญญาณบรรพบุรุษที่มีหน้าที่ปกปักรักษาบ้านเรือน
และได้รับการเคารพยำเกรงจากลูกหลานมาก


อย่างไรก็ตามวิญญาณพรรพบุรุษเหล่านี้ค่อนข้างจะห่วงที่อยู่ไม่น้อย เพราะหากว่ามีเด็กๆไปเล่นบริเวณดังกล่าว
ก็อาจจะทำให้วิญญาณดังกล่าวไม่พอใจ ด้วยเหตุนี้ ผู้เป็นผู้ปกครองจึงต้องสร้างเรื่องราวอ๊อกร์เพื่อทำให้เด็กกลัว
และกลายเป็นเป็นเรื่องเล่าเชิงตำนานปรัมปราไปในที่สุด อีกเหตุผลหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยคือ ภายหลังที่คริสต์ศาสนา
แผ่อิทธิพลเข้าสู่สแกนดิเนเวีย ก็ได้พยายามทำให้ลัทธิบรรพบุรุษนิยมเหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่ชั่วร้าย ด้วยการกล่าวหาว่า
เป็นการเคารพบูชาวิญญาณในหลุมศพเป็นการกระทำที่ชั่วร้าย อ๊อกร์จึงเกิดมาในลักษณะนี้ก็เป็นได้


           
เห็นไหมครับว่าเรื่องที่เราได้ยินหรือได้รับรู้กันทั่วไปในหนังหรือในเกมส์ที่เด็กรุ่นใหม่เล่นกัน ก็มีที่มาและที่ไปที่ค่อนข้าง
ละเอียดละออที่เดียวเริ่มจากการปรากฏตัวในฐานะตัวประหลาดในเทพนิยาย ก่อนจะถูกตั้งข้อสันนิษฐานว่าเป็นบรรพบุรุษ
ของมนุษยชาติอย่างนีแอนเดอร์ธัลส์ ฉะนั้นแล้วเวลาท่านผู้อ่านดูหนังฮอลลีวู๊ดที่ให้อ๊อกร์เป็นผู้ร้าย ท่านผู้อ่านควรเอาใจ
ช่วยอ๊อกร์ในฐานะพระเอกตัวจริงที่เป็นบรรพบุรษของมนุษย์ และเป็นแรงบันดาลใจให้กับงานศิลปะ วรรณกรรม
และการแสดงที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 มีนาคม 2014, 12:15:35 โดย etatae333 »
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่