-->

ผู้เขียน หัวข้อ: การประมาณการงบกระแสเงินสด  (อ่าน 4594 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

don

  • บุคคลทั่วไป
การประมาณการงบกระแสเงินสด
« เมื่อ: 08 มกราคม 2008, 11:06:50 »

การประมาณการงบกระแสเงินสด

 เรียบเรียงโดย ผศ.กิตติภูมิ  มีประดิษฐ์

ในส่วนนี้จะเป็นการประมาณการความต้องการเงินทุนและงบดุลในช่วงเริ่มต้นกิจการ ซึ่งกิจการแต่ละประเภทจะมีความต้องการในด้านต่าง ๆ แตกต่างกันไป จากตัวอย่างในการตั้งกิจการเพื่อจำหน่ายหนังสือ การวางแผนทางการเงินจะเกี่ยวข้องกับการจัดหาสำนักงาน เครื่องคิดเงินสด ชั้นวางสินค้า และรายการต่าง ๆ ที่ใช้ในกิจการ ตลอดจนเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในช่วงเริ่มต้นกิจการ ดังนั้นในการวิเคราะห์ความต้องการเงินทุนนี้ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาถึง 1) ค่าลงทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงเริ่มกิจการ และ 2) แหล่งที่มาของเงินทุนทั้งทุนส่วนของเจ้าของแลจากแหล่งอื่น
แม้กิจการที่เริ่มตั้งใหม่จะมีความไม่แน่นอนสูงและมีผลทำให้การประมาณทางการเงินมีความคลาดเคลื่อนก็ตาม แต่ผู้ประกอบการยังคงมีความจำเป็นต้องประมาณการความต้องการทางการเงินที่ใช้ในตอนเริ่มกิจการ ซึ่งวิธีการที่ใช้สามารถทำได้โดยการใช้อัตราส่วนมาตรฐานของอุตสาหกรรมและทำการตรวจสอบจากการสังเกต
ในการประมาณการความต้องการเงินทุนของกิจการนั้น ผู้ประกอบการจะต้องทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างยอดขายและสินทรัพย์ที่จำเป็นต้องใช้ในกิจการ การที่ยอดขายของกิจการเป็นตัวผลักดันให้เกิดความจำเป็นในการใช้สินทรัพย์ในอนาคตหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการที่ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็นสาเหตุให้เกิดความต้องการสินทรัพย์เพิ่มขึ้นและมีผลต่อความต้องการเงินทุนที่จะต้องเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

การประมาณการงบกระแสเงินสด
เรามักพบอยู่เสมอว่ากิจการเป็นจำนวนมากต้องประสบกับปัญหาการขาดสภาพคล่องทั้ง ๆ ที่กิจการยังคงมีผลกำไรอยู่ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ผู้ประกอบการได้ละเลยหลักการจัดการเงินสดที่มีประสิทธิผลจนในที่สุดมีผลทำให้กิจการต้องประสบกับความล้มเหลว นอกจากนั้นแม้กิจการจะมีการประมาณการงบกำไรขาดทุน แต่งบการเงินนี้ได้แสดงรูปแบบทางการเงินเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นแนวทางที่มีประสิทธิผลสำหรับธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเริ่มต้นกิจการได้แก่การสร้างผลกำไรควบคู่กับการมีเงินสดในจำนวนที่เพียงพอสำหรับการดำเนินงาน
งบการเงินที่กิจการนำมาใช้ประโยชน์และมีความสำคัญอีกงบการเงินหนึ่งคืองบกระแสดเงินสดซึ่งงบนี้จะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในเงินทุนดำเนินงาน จากรายการต่าง ๆ ทั้งจากแหล่งที่มาของเงินทุนและการใช้ไปของเงินทุน อย่างไรก็ตามแม้งบกระแส
เงินสดจะทำให้ผู้ประกอบการมองเห็นภาพของกระแสเงินสดและสภาพคล่องของกิจการในอนาคตได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นแต่ธุรกิจขนาดย่อมจำนวนมากไม่ค่อยเห็นถึงความจำเป็นของงบนี้ ทั้ง ๆ ที่งบกระแสเงินสดจะเป็นสัญญาณเตือนภัยที่ดีเกี่ยวกับกระแสเงินสดเพื่อที่กิจการจะได้หาแนวทางแก้ไขในอนาคต นอกจากนั้นการพิจารณาแต่เฉพาะงบกำไรขาดทุนในบางกรณีจะให้ภาพลวงตาแก่ผู้ประกอบการจนอาจมองไม่เห็นถึงปัญหาด้านกระแสเงินสดได้
   การที่เงินสดเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้กิจการสามารถดำเนินงานได้ตามพันธะผูกพันที่มีต่อค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการที่มีการจัดการเงินสดอย่างมีประสิทธิผลจึงเป็นผู้ที่ต้องดำเนินบทบาทในการจัดการเกี่ยวกับเงินสดทั้งในด้าน
   ? ผู้หาเงินสด (cash finder)  ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบประการแรกของผู้ประกอบการโดยจะต้องแน่ใจว่ากิจการจะมีเงินทุนอย่างเพียงพอที่จะใช้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
   ? ผู้วางแผนเงินสด (cash planner) ผู้ประกอบการต้องแน่ใจได้ว่าเงินสดของกิจการจะต้อง
ถูกใช้ไปอย่างเหมาะสมและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยจัดทำประมาณการงบเงินสดเพื่อพยากรณ์กระแสเงินสดเข้าและออก
   ? ผู้ใช้เงินสด (cash distributor) เป็นงานที่สร้างหลักประกันได้ว่าลูกค้าของกิจการจะชำระเงินตามกำหนด ซึ่งเรามักจะพบว่ากิจการจำนวนมากอาจเน้นที่ยอดขายมากเกินไปจนละเลยการเก็บหนี้จากลูกค้า
   ? ผู้รักษาเงินสด (cash conserver) บทบาทนี้เพื่อสร้างหลักประกันสำหรับกิจการให้มีการใช้จ่ายอย่างมีคุณค่าสูงสุด ตลอดจนการหลีกเลี่ยงการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น โดยเป้าหมายการจ่ายเงินสดควรเน้นไปที่การสร้างผลตอบแทนให้แก่กิจการ

การจัดทำงบประมาณเงินสด
ผู้ประกอบการจำนวนมากดำเนินกิจการโดยปราศจากการทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบของกระแสเงินสดและมักคิดว่าเป็นสิ่งที่มีความซับซ้อนและต้องเสียเวลามาก ในความเป็นจริงธุรกิจขนาดย่อมไม่สามารถจะละเลยกระบวนการในการจัดหาเงินสดได้ ทั้งนี้เพื่อสร้างหลักประกันให้แก่กิจการว่าจะมีเงินสดสำหรับใช้จ่ายในแต่ละช่วงเวลาอย่างเพียงพอ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่ากิจการจะต้องมีเงินสดในมือมากเกินกว่าความจำเป็นสำหรับใช้จ่ายในกิจการ ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องทำงบประมาณเงินสดเพื่อแสดงให้เห็นถึงจำนวนเงินและเวลาที่กิจการรับและจ่ายเงินสดในแต่ละช่วงเวลา
ในการจัดทำงบประมาณเงินสด ธุรกิจขนาดย่อมควรจัดทำเป็นรายเดือนอย่างน้อย 1 ปี และหลังจากนั้นจึงทำเป็นรายไตรมาสไว้อีก 2-2 ปีล่วงหน้า ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมการผันผวนของยอดขายตามฤดูกาลทั้งหมด ในการจัดทำงบประมาณเงินสดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แม้รูปแบบการจัดทำงบประมาณเงินสดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรูปแบบของกระแสเงินสด แต่โดยทั่วไปมีขั้นตอนพื้นฐาน 4 ขั้นตอนด้วยกันคือ
การกำหนดดุลเงินสดขึ้นต่ำในการพิจารณาว่าในแต่ละช่วงเวลากิจการควรมีดุลเงินสดส่วนเกินไว้จำนวนเท่าใดเป็นสิ่งที่กำหนดได้ยาก ซึ่งบางข้อแนะนำเห็นว่าดุลเงินสดของกิจการควรมีไว้หนึ่งในสี่ของหนี้สินระยะสั้น แต่ข้อแนะนำนี้ไม่สามารถใช้กับธุรกิจขนาดย่อมได้ทั้งหมด วิธีการที่น่าเชื่อถือมากที่สุดคงขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีตของผู้ประกอบการโดยอาศัยการบันทึกการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นเครื่องมือช่วยบ่งบอกว่าเงินสดที่เป็นกันชนทีกิจการควรมีไว้สำหรับรายจ่ายที่ไม่คาดหวังควรมีเท่าใดในแต่ละเดือน
การพยากรณ์รายรับที่เป็นเงินสดปัจจัยสำคัญที่ถือเป็นหัวใจของงบประมาณเงินสดได้แก่การพยากรณ์ยอดขายเพราะยอดขายจะนำไปสู่รายรับและรายจ่ายที่เป็นเงินสด ในกิจการเกือบทั้งหมดยอดยายถือเป็นแหล่งที่มาที่สำคัญที่สุดของกระแสเงินสดรับ ดังนั้นการพยากรณ์ยอดขายที่มีความน่าเชื่อถือจะนำไปสู่ความแม่นยำในการจัดทำงบประมาณเงินสดและสุดท้ายจะเป็นการอำนวยประโยชน์ในการบริหารกิจการ
ในการพยากรณ์ยอดขายสำหรับกิจการที่กำลังดำเนินงานอยู่ ผู้ประกอบการสามารถใช้เครื่องมือเชิงปริมาณ อาทิเช่นสมการถดถอยและการวิเคราะห์อนุกรมเวลา เป็นต้น มาใช้ในการพยากรณ์ยอดขายได้ แต่สำหรับกิจการที่เพิ่งเปิดใหม่การพยากรณ์จะมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นการอาศัยการวิจัยตลาดจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ถูกนำมาใช้ในการคาดคะเนยอดขายของกิจการ นอกจากนั้นเพื่อป้องกันความไม่แน่นอนในการคาดคะเนยอดขายผิดพลาด ผู้ประกอบการควรจัดทำงบประมาณเงินสดทั้งในกรณีที่ยอดขายสูง ต่ำ และในกรณีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่
การพยากรณ์รายจ่ายที่เป็นเงินสด ในช่วงก่อตั้งกิจการ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะตระหนักถึงค่าใช้จ่ายที่กิจการต้องจ่ายเป็นเงินสดว่ามีรายการใดบ้าง แต่หลังจากนั้นแล้วมักละเลยซึ่งอาจจะเนื่องจากการพยากรณ์รายจ่ายที่เป็นเงินสดมีความยุ่งยากขึ้นและต้องอาศัยเวลาในการจัดทำรายการ อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินสดหลายรายการ เช่นค่าเช่า เงินเดือน การชำระเงินต้นและดอกเบี้ยถือเป็นค่าใช้จ่ายที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระที่แน่นอนที่กิจการทุกกิจการสามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจน แต่สำหรับรายจ่ายอีกหลายรายการถือเป็นรายจ่ายที่มีความสัมพันธ์กับยอดขายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อวัตถุดิบ/สินค้าเพื่อขายและค่าใช้จ่ายในการขาย ซึ่งกรณีนี้ผู้ประกอบการจะต้องทำการพยากรณ์รายจ่ายควบคู่กับยอดขาย ดังนั้นองค์ประกอบที่สำคัญในการพยากรณ์รายจ่ายที่เป็นเงินสดทั้งหมดในงบประมาณเงินสดโดยการจัดทำรายการที่กิจการต้องจ่ายไว้ล่วงหน้า
สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายคือการคาดคะเนรายจ่ายที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งกรณีเช่นนี้มักก่อให้เกิดวิกฤติทางการเงินให้แก่กิจการได้ ดังนั้นผู้ประกอบการควรที่จะหลีกเลี่ยงรายการรายจ่ายที่ตนเองไม่มีความมั่นในโดยคาดคะเนให้สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจจะเป็นร้อยละ 20-30 ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาการขาดแคลนเงินสดในเวลาต่อมา
การคาดคะเนดุลเงินสดตอนสิ้นเดือน ในการคาดคะเนดุลเงินสดในแต่ละเดือน ขึ้นแรกผู้ประกอบการจะต้องกำหนดดุลเงินสดในช่วงต้นเดือนของแต่ละเดือน ซึ่งดุลเงินสดในช่วงต้นเดือนรวมถึงเงินสดในมือและเงินฝากธนาคาร ดังนั้นดุลเงินสดในช่วงสิ้นเดือนจะกลายเป็นเงินสดในต้นเดือนของเดือนถัดไปการที่กิจการมีกระแสเงินสดสุทธิเป็นบวกแสดงถึงการมีเงินสดส่วนเกินในเดือนนั้น ๆ ถ้าเป็นลบแสดงว่าจะขาดแคลนเงินสดเว้นแต่ว่าผู้ประกอบการจะสามารถหาเงินสดจากแหล่งอื่นมาชดเชย
โดยปกติดุลเงินสดจะมีความผันผวนในแต่ละเดือน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบของยอดขายที่เป็นไปตามฤดูกาล ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อการเพิ่ม/ลดของดุลเงินสดตลอดเวลาถ้าดุลเงินสดของกิจการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องย่อมพอจะบ่งบอดได้ว่ากิจการได้มีผลตอบแทนจากการลงทุนเกิดขึ้นแล้ว แต่ในทางตรงข้ามถ้ากระแสเงินสดสุทธิมีแนวโน้มลดลงจะแสดงให้เห็นถึงวิกฤติทางการเงินที่กำลังจะมาถึง นอกจากนั้นการขาดทุนในกระแสเงินสดในระยะยาวยังเป็นเครื่องบ่งบอกถึงภาวการณ์ขาดทุนที่แท้จริงของกิจการ
   ดังนั้นงบประมาณเงินสดไม่เพียงแต่อธิบายถึงกระแสเงินสดเข้าและออกเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้ประกอบการสามารถคาดการณ์สภาวะทางการเงินของกิจการได้

การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงกระแสเงินสดจากกิจกรรมทางธุรกิจ
ในการวัดฐานะทางการเงินของกิจการ นอกจากผู้ประกอบการพิจารณาจากงบดุลและงบกำไรขาดทุนแล้ว การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงกระแสเงินสดถือเป็นอีกงบหนึ่งที่จะรายละเอียดแก่ผู้ประกอบการถึงการเปลี่ยนแปลงในกระแสเงินสด ทั้งนี้เพื่อป้องกันภาพลวงตาที่อาจเกิดขึ้นได้จากงบกำไรขาดทุนและยังทำให้ผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์ถึงแหล่งที่มาของการเปลี่ยนแปลงในกระแสเงินสดได้ ในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงกระแสเงินสดของกิจการนั้นสามารถจัดทำได้โดยใช้ข้อมูลจาก 2 แหล่งคือ 1) งบดุลเมื่อต้นปีและสิ้นสุดปี และ 2) งบกำไรขาดทุน ซึ่งในกระบวนการวิเคราะห์ได้แบ่งรายการในกระแสเงินสดออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ 1) กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 2) กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุนและ 3) กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดการเงินทุน ฃ

โครงสร้างของเงินทุน
ในส่วนนี้เราจะพิจารณาถึงองค์ประกอบของโครงสร้างทางการเงินของกิจการโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์และยอดขายเพื่อนำมาประมาณการความต้องการสินทรัพย์และจากจำนวนสินทรัพย์ที่ต้องการจะสะท้อนถึงจำนวนเงินที่กิจการจะต้องจัดหามาเพื่อใช้ไปในการจัดหาสินทรัพย์ประเภทต่างๆ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งจำนวนเงินที่ใช้ไปในการลงทุนในสินทรัพย์จะต้องมีองค์ประกอบจากแหล่งการเงินประเภทต่าง ๆ ซึ่งได้มีแนวทางหรือหลักการเกี่ยวกับการพิจารณาเพื่อหาองค์ประกอบของโครงสร้าง ทางการเงินของกิจการที่สำคัญอยู่ 5 ประการด้วยกันคือ
   ?   เมื่อกิจการมีความต้องการสินทรัพย์เพิ่มขึ้นย่อมก่อให้เกิดความต้องการเงินทุนเพิ่มขึ้น ดังนั้นกิจการทีมียอดขายเพิ่มขึ้นโดยปกติจะมีความต้องการสินทรัพย์เพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดแรงกดดันที่กิจการจะต้องจัดหาเงินทุนมาเพิ่มเติม
   ?   กิจการควรจะจัดหาเงินเพิ่มในวิถีทางที่จะรักษาสภาพคล่องให้เหมาะสม ซึ่งมาตรการในการวัดสภาพคล่องได้แก่อัตราส่วนหมุนเวียน (current ratio) โดยเปรียบเทียบระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียน (ส่วนใหญ่เป็นเงินสด ลูกหนี้และสินค้าคงคลัง) กับหนี้สินหมุนเวียน (หนี้สินระยะสั้น)ดังนี้
   อัตราส่วนหมุนเวียน     =       
   ?   หนี้สินระยะสั้นบางส่วนเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของธุรกิจ ซึ่งเราอาจเรียกว่าแหล่งเงินทุนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยแหล่งนี้จะเพิ่มขึ้นตามลำดับเมื่อยอดขายของกิจการเพิ่มขึ้น เช่นการเพิ่มขึ้นในยอดขายทำให้กิจการมีความต้องการสินค้าคงคลังมากขึ้นและเป็นสาเหตุให้เจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
   ?   จำนวนหนี้สินทั้งหมดที่กิจการนำมาใช้เป็นแหล่งทางการเงิน ซึ่งถือเป็นแหล่งเงินทุนจากภายนอกจะถูกจำกัดโดยทุนส่วนของเจ้าของเพราะโดยทั่วไปสถาบันการเงินจะไม่ให้สินเชื่อเพื่อนำมาใช้ในกิจการทั้งหมด ถ้ากิจการไม่มีเงินทุนส่วนของเจ้าของอย่างเพียงพอ
   ?   มีแหล่งเงินทุนส่วนของเจ้าของ 2 แหล่งคือภายนอกกับภายใน ทุนส่วนของเจ้าของที่มาจากการลงทุนเริ่มแรกของเจ้าของกิจการและผู้ร่วมทุนถือเป็นทุนจากภายนอก หลังจากที่กิจการดำเนินงานและมีผลกำไรทุนส่วนของเจ้าของที่เพิ่มขึ้นจะมาจากกำไรที่กิจการกันไว้เป็นกำไรสะสมซึ่งถือเป็นเงินทุนจากภายใน
ดังนั้น ณ จุดนี้ผู้ประกอบการในธุรกิจขนาดย่อมสามารถที่จะตอบคำถามทางการเงิน 2 ประการด้วยกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เริ่มกิจการใหม่ อันได้แก่กิจการมีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนเท่าใด ? และประเภทของเงินทุนที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์? ในการตอบ 2 คำถามนี้เราได้กำหนดประเภทของเงินทุนออกเป็น 3 ประเภทคือ 1) เงินทุนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของยอดขาย 2) กำไรสะสม และ 3) เงินทุนจากภายนอก ทั้งจากผู้ประกอบการ ผู้ร่วมทุนและสินเชื่อ
   อย่างไรก็ตามสำหรับวัตถุประสงค์ในส่วนนี้เราจะพิจารณาถึงโครงสร้างเงินทุน ตลอดจนหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจในการเลือกแหล่งที่มาของเงินทุนของผู้ประกอบการ สมมติว่ากิจการมีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนจากภายนอก ดังนั้นกิจการมีทางเลือกอยู่ 3 ประการด้วยกันคือกู้ยืมเงินทั้งหมด ใช้ทุนส่วนเจ้าของทั้งหมดและใช้ทั้งสองส่วนร่วมกัน ซึ่งการตัดสินใจนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่กิจการดำเนินอยู่และทัศนคติของผู้ประกอบการที่มีต่อหนี้และทุนส่วนของเจ้าของ
ซึ่งหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกระหว่างหนี้และทุนส่วนของเจ้าของจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการที่ผู้ประกอบการควรพิจารณา คือศักยภาพของกำไร ความเสี่ยงทางการเงิน และการควบคุมกิจการ การที่กิจการมีหนี้ในสัดส่วนที่สูงจะทำให้อัตราผลตอบแทนของเงินทุนส่วนของเจ้าของสูงและมีผลทำให้อำนาจการควบคุมกิจการสูงขึ้นตามไปด้วย แต่การมีหนี้สูงจะทำให้ความเสี่ยงทางการเงินสูงขึ้นเช่นกัน ในทางตรงข้ามถ้ากิจการมีสัดส่วนเงินทุนส่วนของเจ้าของในสัดส่วนสูง แม้จะเป็นตัวจำกัดอัตราผลตอบแทนของเงินทุนส่วนของเจ้าของ แต่จะเป็นตัวลดความเสี่ยงทางการเงินของกิจการ

สรุปประเด็น
   เรามักพบอยู่เสมอว่ากิจการเป็นจำนวนมากต้องประสบกับปัญหาขาดสภาพคล่องทั้งๆ ที่กิจการยังคงมีผลกำไรอยู่ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ผู้ประกอบการได้ละเลยหลักการจัดการเงินสดที่มีประสิทธิผลจนในที่สุดมีผลทำให้กิจการต้องประสบกับความล้มเหลว นอกจากนั้นแม้กิจการจะมีการประมาณการงบกำไรขาดทุน แต่งบการเงินนี้ได้แสดงรูปแบบทางการเงินเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นแนวทางที่มีประสิทธิผลสำหรับธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเริ่มต้นกิจการได้แก่การสร้างผลกำไร ควบคู่กับการมีเงินสดในจำนวนที่เพียงพอสำหรับการดำเนินงาน
   งบการเงินที่กิจการนำมาใช้ประโยชน์และมีความสำคัญอีกงบการเงินหนึ่งคืองบกระแสเงินสด ซึ่งงบนี้จะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในเงินทุนดำเนินงาน จากรายการต่างๆ ทั้งจากแหล่งที่มาของเงินทุนและการใช้ไปของเงินทุน
   อย่างไรก็ตามแม้งบกระแสเงินสดจะทำให้ผู้ประกอบการมองเห็นภาพกระแสเงินสดและสภาพคล่องของกิจการในอนาคตได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ธุรกิจขนาดย่อมจำนวนมากไม่ค่อยเห็นถึงความจำเป็นของงบนี้ ทั้งๆที่งบกระแสเงินสดจะเป็นสัญญาณเตือนภัยที่ดีเกี่ยวกับกระแสเงินสดเพื่อที่กิจการจะได้หาแนวทางแก้ไขในอนาคต นอกจากนั้นการพิจารณาแต่เฉพาะงบกำไรขาดทุนในบางกรณีจะให้ภาพลวงตาแก่ผู้ประกอบการจนอาจมองไม่เห็นถึงปัญหาด้านกระแสเงินสดได้
   ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการขนาดย่อมต้องเรียนรู้ก็คือ
1. การจัดทำงบประมาณเงินสด
   2. การประมาณการงบกระแสเงินสด
   3. การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงกระแสเงินสดจากกิจกรรมทางธุรกิจ
   4. โครงสร้างของเงินทุน


กรณีศึกษา

บริษัท ไทยกรีนเทค โปรดักส์ จำกัด

ความเป็นมา
บริษัท ไทยกรีนเทคโปรดักส์ จำกัด ได้ก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจทางด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของ ผู้บริโภคมานานกว่า 10 ปี โดยได้คิดค้น พัฒนา ปรับปรุง และผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในครัวเรือนของผู้บริโภคมาโดย ตลอด เช่น เครื่องตัดไฟกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ ซึ่งสามารถตัดกระแสไฟฟ้าได้ทันทีเมื่อผู้บริโภคประสบปัญหาเกี่ยวกับ ไฟฟ้า อาทิเช่น ไฟดูด ไฟช๊อต ไฟรั่ว ใช้ไฟเกิน เป็นต้นเครื่องตัดแก๊สอัตโนมัติ ซึ่งสามารถตัดวาล์วได้โดยอัตโนมัติในกรณีที่สายแก๊สที่หลุดรั่ว รวมถึงเครื่องกรองน้ำดื่มน้ำใช้จะทำให้ผู้บริโภค มีความมั่นใจว่าน้ำที่ได้ผ่านเครื่องกรองน้ำแล้วเป็นน้ำที่สะอาดซึ่งการที่ผู้บริโภคได้น้ำสะอาด จะส่งผลให้ผู้บริโภค มีสุภาพที่ดีตามมาด้วย
แต่ที่ผ่านมาทางบริษัท ได้ดำเนินธุรกิจในรูปแบบผู้อยู่เบื้องหลังมาโดยตลอด กล่าวคือเป็นผู้ผลิตและ จำหน่ายให้กับลูกค้าหลายราย ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้เครื่องหมายการค้าของลูกค้าในแต่ละรายไป ที่ผ่านมาการทำการตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของบริษัทฯ เองนั้น ก็มีเช่นกันแต่มีจำนวนน้อย ซึ่งระยะเวลาที่ผ่านมาเสมือนเป็นช่วงระยะเวลาแห่งการทดลอง เรียนรู้และสะสมประสบการณ์ในด้านการพัฒนา คุณภาพสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพในราคาที่เหมาะสมพร้อมทั้งหาแนวทางการทำตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของบริษัทฯ เอง ซึ่งปัจจุบันนับว่าทางบริษัทฯมีความพร้อมเต็มที่ที่จะก้าวสู่ธุรกิจในลักษณะการสร้างเครื่องหมายการค้าของบริษัทฯ เอง เพื่อความมั่นคงและความสำเร็จยั่งยืนต่อไปในอนาคต
? GREEN ? คือชื่อและเครื่องหมายการค้าที่บริษัทฯ จะใช้เป็นสัญลักษณ์ของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตและจำหน่ายทุกชนิดทั้งปัจจุบันและอนาคต โดยมุ่งเน้นให้ผู้ริโภคเกิดความเชื่อถือชื่อ ? GREEN ? ในทุก ๆ ด้าน 

ปรัชญาของบริษัท :
? กรีน เพื่อชีวิต เพื่อทรัพย์สิน เพื่อโลกสวย?
เพื่อชีวิต : กรีน ผลิตสินค้าทั้งในด้านปกป้องชีวิต และอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตของท่าน
เพื่อทรัพย์สิน : กรีน ผลิตสินค้าที่ปกป้องและพิทักษ์ ทรัพย์สินของท่าน
เพื่อโลกสวย : กรีน ผลิตสินค้าที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะกับโลก นโยบายของบริษัท ที่ใช้ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจ คือ
1.   บริษัท จะผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน ให้เป็นที่พอใจของท่าน ทั้งในปัจจุบันและอนาคตตลอดไป
2.   บริษัท จะรักษาไว้ซึ่ง คุณภาพของราคาสินค้า ให้เกิดความสมเหตุสมผล ไม่เอารัดเอาเปรียบลูกค้าตลอดไป
3.   บริษัท จะคำนึงถึงคุณภาพของการบริการ ที่ถูกต้องตามหลักการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้เป็นที่พึงพอใจสูงสุดของลูกค้า
4.   บริษัท จะให้ความสำคัญใน คุณภาพของบุคลากรทุกฝ่ายทุกด้านซึ่งจะคัดสรร สัมมา อบรม ให้บุคลากรขององค์กรมีความรู้ความสามารถเป็นที่พอใจของลูกค้าและนำพาให้บริษัทก้าวหน้าต่อไป
5.   บริษัท จะจัดระบบการบริหารการจัดการที่มีมาตรฐาน ซึ่งจะส่งผลต่อความเจริญ ก้าวหน้า มั่นคง และพึงพอใจต่อทุกฝ่ายภายในองค์กร
6.   บริษัท จะเติบโตและขยายตัวสู่สากลไม่มีขีดจำกัด เมื่อมีความพร้อมบริษัทฯ จะเพิ่มจำนวนของชนิดสินค้าสู่สากลโดยไม่มีข้อจำกัดเพียงชนิดสินค้าที่มีอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น

เป้าหมายธุรกิจ :
เพื่อให้ธุรกิจของบริษัทประสบความสำเร็จตามนโยบายที่วางไว้ บริษัทจึงมีเป้าหมายและ รายละเอียดต่อไปนี้ในอนาคตบริษัทฯมีเป้าหมายที่จะผลิตสินค้าหลากหลายชนิดไม่จำกัดอยู่เฉพาะสินค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น เครื่องปรับอากาศ หลอดไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องทำน้ำอุ่น และเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ โดยให้เป็นไปตามนโยบายการเติบโตและการขยายตัวสู่สากลไม่มีขีดจำกัด ฉะนั้นเป้าหมายในระยะนี้ต้องดูผลงานฝ่ายการตลาดที่ผ่านมา และดูชนิดสินค้าที่บริษัทฯจะผลิตออกมาด้วยจึงสามารถจึงจะสามารถกำหนดรายละเอียดได้

การประมาณการงบกระแสเงินสด
ความจำเป็นในการขยายงาน
   ด้วยแผนงานที่ต้องการขยายกิจการด้วยการสร้างแบรนด์ของตัวเอง และการสร้างตลาดทั่วประเทศ ตลอดจนการนำผลิตภัณฑ์ไทยก้าวสู่การส่งออก ทำให้บริษัทไทยกรีนเทคฯต้องจัดทำงบการเงินของบริษัทอย่างรัดกุม ไม่ว่าจะเป็นงบดุล งบกำไรขาดทุน และ งบกระแสเงินสด
   โดยเฉพาะงบกระแสเงินสด ทางบริษัทฯจะมีการจัดทำประมาณการงบกระแสเงินสดทุกเดือน เพื่อให้ทราบถึงสภาพคล่องของกิจการ ซึ่งจะเกี่ยวโยงถึงแผนการขยายงานในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การตลาด และ การบริหารจัดการ
เพราะการประมาณการงบกระแสเงินสด จะเป็นการพยากรณ์ รายรับ รายจ่าย ซึ่งต้องใช้เงินสดเอาไว้ล่วงหน้า ทำให้บริษัททราบถึงสภาพคล่องของบริษัทอยู่ตลอดเวลา และ สามารถหาวิธีแก้ปัญหาได้ล่วงหน้า

- ปัจจุบันที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ บริษัท ไทยกรีนเทค โปรดักส์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 369 หมู่ 3 ถนน ประชาพัฒนา แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพ 10520 โทร : 0-2327-7001 - 5 , 0-2327-7008 ( อัตโนมัติ ) แฟกซ์ : 0-2327-7008
E-mail : thaigreen_97@hotmail.com Web site : http://www.thaigreentech.cjb.net/

+ ตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ + ::
-   บริษัท เมืองไฟฟ้าหาดใหญ่ จำกัด อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 074-220641,231923
-   บริษัท สยามโกลบอลเฮาส์ ( ร้อยเอ็ด ) จำกัด อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 043-527222
-   บริษัท อรุโณทัย การไฟฟ้า จำกัด ถ.เจริญกรุง ป้อมปราบ กทม. 02-2227640
-   ร้าน แสงใหม่การไฟฟ้า แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี กทม. 02-4666565
-   หจก.หาดใหญ่บ้านไฟฟ้า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 074-429516-7
-   บริษัท สยามโกลบอลเฮาส์ ( ขอนแก่น ) จำกัด อ.เมือง จ.ขอนแก่น 043-345500-4
-   ร้าน นำเจริญการไฟฟ้า อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 056-314049
-   ร้าน พิบูลย์การไฟฟ้า อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 032-221070
-   ร้าน มงคลการไฟฟ้า อ.เมือง จ.ยะลา 073-214607,01-8964418
-   บริษัท นำสินไฟฟ้า จำกัด อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 074-247700
-   ร้าน แสงไฟฟ้า อ.บ้านฉาง จ.ระยอง 038-603042
-   ร้าน ลำดวนการไฟฟ้า อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ 053-457106
-   ร้าน เรือนแก้ว อ.สอง จ.แพร่ 054-642541

ติดต่อ    คุณสิทธินันท์ นุ่นมั่น (Director)
   โทร. 09-119-6699 , 02-919-9990-2

มารจุติ

  • บุคคลทั่วไป
Re: การประมาณการงบกระแสเงินสด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 08 มกราคม 2008, 12:12:48 »

 :)  มีห้องนี้ตั้งกะเมื่อไหร่เนี้ย เข้ามาทุกทีมองข้ามตลอดเลยอ่ะ แต่ว่าเป็นห้องที่ดีมาก ๆ เลยนะครับ แต่ละเรื่องน่าสนใจมาก ๆ เลย
ทำให้เวปนี้ ดูมีสาระขึ้นมากะเขาเหมือนกัน  jhkll :(
เป็นกำลังใจให้ ท่าน don หาข้อมูลดี ๆ อย่างนี้ มาแจกจ่ายกันต่อไปนะครับ  ;khhg

zente

  • บุคคลทั่วไป
Re: การประมาณการงบกระแสเงินสด
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 08 มกราคม 2008, 15:26:21 »

พึ่งเห็นเหมือนกัน บางเล่มผมยังไม่เคยอ่านเรย ขอบคุณมากคับ  ;khhg