-->

ผู้เขียน หัวข้อ: การตรวจสอบฐานะทางการเงิน  (อ่าน 1882 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

don

  • บุคคลทั่วไป
การตรวจสอบฐานะทางการเงิน
« เมื่อ: 09 มกราคม 2008, 23:06:51 »

เรียบเรียงโดย ผศ.กิตติภูมิ  มีประดิษฐ์

บทนำ
ผู้ประกอบการคงเข้าใจแล้วว่าระบบบัญชีช่วยทำให้รายการทางบัญชีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในธุรกิจ SMEs ถูกรวบรวมให้เป็นหมวดหมู่และสรุปออกมาเป็นรายงานทางบัญชีเรียกว่างบการเงินได้  ข้อมูลจากงบการเงิน ผู้ประกอบการสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่ผ่านมาได้
ธุรกิจ SMEs ควรมีงบการเงินอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป เพื่อเปรียบเทียบและดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง เมื่อรวบรวมข้อมูลงบการเงินมาได้แล้ว สามารถเริ่มวิเคราะห์งบการเงินได้โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1)   จัดวางข้อมูลรายงานงบการเงินในงบการเงินของปีต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการวิเคราะห์และเปรียบเทียบ
2)   เลือกเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ เช่น      (1) การย่อส่วนตามแนวดิ่ง (Common ? Size)  (2) การวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend Analysis)  (3)  การวิเคราะห์งบแสดงการเคลื่อนไหวของเงินทุน (Fund Flow Analysis)  และ (4) การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis)
3)   การอ่านและแปลความหมาย
4)   การจัดทำรายงานและการใช้ประโยชน์

กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน

    พิจารณาจากแหล่งของเงินทุนจากผลประกอบการก่อน คือ กำไรสุทธิประจำงวด (ของ
ปี 2547) และบวกค่าเสื่อมราคาในปีนั้นกลับเข้าไปเพื่อให้เป็นกำไรที่เป็นเงินสด
ผู้ประกอบการควรทราบว่า กำไรเงินสดนี้เป็นแหล่งที่มาของเงินทุนซึ่งเกิดจากการออกแรงทำมาหาได้ของกิจการ เงินทุนนี้ถือว่าบริษัทเอาไปใช้ลงทุน  ชำระหนี้ระยะสั้น หรือระยะยาวก็ได้เพราะมักจะไม่มีภาระผูกพัน
นอกจากเงินทุนที่ได้มาจากกำไรแล้ว แหล่งเงินทุนจากการดำเนินงานจะได้จากรายการของสินทรัพย์หมุนเวียนที่ลดลง ให้คิดว่าการลดลงของสินทรัพย์ถาวรเปรียบเสมือนหนึ่งการขายสินทรัพย์ออกไป แล้วได้เงินเข้ามาในกิจการจึงถือว่าเป็นแหล่งที่มาของเงินทุน หรืออาจได้มาจากการเพิ่มขึ้นของหนี้สินหมุนเวียน ถ้าสินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้นและหนี้สินหมุนเวียนลดลงถือว่าเป็นแหล่งที่ใช้ไปของเงินทุน เมื่อบวกลดรายการทั้งที่เป็นแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุน ผลสุทธิเราจะเรียกว่า กระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน

กระแสเงินสดจากการลงทุน

ถ้ารายการในสินทรัพย์ถาวรและสินทรัพย์อื่นเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นถือว่าเป็นการใช้ไปของเงินทุนที่เกี่ยวกับการลงทุน (เพราะการลงทุนหมายถึงการได้มาหรือใช้เงินทุนแบบระยะยาว) ส่วนถ้ารายการในสินทรัพย์ถาวรและสินทรัพย์อื่นเปลี่ยนแปลงลดลง เป็นการได้มาของเงินทุนประเภทระยะยาว ผลสุทธิของทั้ง 2 ด้านทำให้ได้กระแสเงินสดสุทธิจากการลงทุน (ถ้ายอดติดลบแสดงว่าแหล่งที่ใช้ไปของเงินทุนมากกว่าแหล่งที่มาของเงินทุน)

กระแสเงินสดจากการจัดหาเงินทุน
      เป็นการจัดหาเงินทุนระยะยาวซึ่งอาจได้จากการเพิ่มขึ้นของหนี้ระยะยาวและทุนจดทะเบียน แต่ต้องด้วยรายการที่เป็นด้านตรงกันข้าม เช่น การลดลงของหนี้ระยะยาวและการจ่ายเงินปันผล ยอดสุทธิ เรียกว่า กระแสเงินสดสุทธิจากการจัดหาเงินทุน
 การเคลื่อนไหวของกระแสเงินสดทั้ง 3 ประเภท สะท้อนถึงพฤติกรรมการได้มาและใช้ไปของเงินทุนของกิจการ อาจนำเอาพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้มาวิเคราะห์ว่าไปกระทบในทางบวกหรือลบต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการได้

การอ่านและใช้ประโยชน์จากกระแสเงินสด
ต้องดูว่า เงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ซึ่งอยู่ในกลุ่มกระแสเงินสดจากการลงทุน มีขนาดเท่าใด ให้เริ่มคิดก่อนว่า การลงทุนในกลุ่มนี้ถือว่าเป็นการลงทุนแบบระยะยาว เพราะสินทรัพย์ถาวรมีอายุการใช้งานมากกว่า 1 ปี สามารถช่วยสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นในระยะยาว ดังนั้น เพื่อให้จัดหาเงินทุนได้ถูกประเภทควรจัดเงินทุนแบบระยะยาวมาสนับสนุนเช่นกัน
ลองพิจารณาต่อว่าในงบกระแสเงินสดนี้อะไรที่เป็นแหล่งเงินทุนระยะยาวบ้าง กลุ่มแรกสามารถจัดหามาได้จากกระแสเงินสดจากการจัดหาเงินทุน ถ้าดูมูลค่าเงินแล้วว่า เอาเงินทุนจากกลุ่มนี้ไม่พอ ก็ไปดึงมาจากกำไรเงินสด (กำไรสุทธิบวกค่าเสื่อมราคา) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในระยะยาวได้ ดังนั้นเขียนได้ว่า)
เงินทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร  =   เงินทุนที่ได้จากการหาแบบระยะยาว + กำไร

เงินลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร                  
เงินลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร หมายถึง การใช้เงินทุนระยาวของบริษัททำได้ถูกประเภทแล้ว แต่ถ้ารวมกำไรที่เป็นเงินสดในการดำเนินงาน กับเงินทุนระยะยาวอื่นๆ แล้วยังไม่ครอบคลุมเงินลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร แสดงว่ามีการนำเงินทุนระยะสั้นมาช่วยลงทุนด้วยจึงจะเพียงพอ อย่างนี้จะไปกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียนในระยะสั้น ซึ่งส่งผลต่อเนื่องยังสภาพคล่องของกิจการในอนาคต

เงินทุนหมุนเวียน
ในลำดับต่อมาพิจารณาเงินทุนหมุนเวียน ว่าจัดหามาได้พอดีกับที่ใช้ไปหรือไม่ ถ้าไม่พอสามารถนำกำไรบางส่วนที่เหลือมาใช้ได้ ถ้าพบว่าเงินหมุนเวียนที่จัดหามามากกว่าที่ใช้ไปจำนวนมากและพิสูจน์ได้ว่าเอาไปใช้ลงทุนในสินทรัพย์ถาวร อย่างนี้ถือว่าเป็นการใช้เงินทุนผิดประเภท กิจการที่มีลักษณะใช้เงินแบบนี้มักถูกพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของหนี้สินหมุนเวียนเร็วกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ระยะสั้นแย่ตามไปด้วย

การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios)
   แม้ว่าการวิเคราะห์ Fund Flow หรืองบกระแสเงินสด ทำให้เห็นที่มาของปัญหาทางการเงินได้ชัดเจนขึ้น แต่ถ้ามีเครื่องมือ Financial Ratios ไปวิเคราะห์ประกอบด้วย ทำให้การสรุปปัญหาทำได้กระชับ แบ่งเป็นกลุ่มและหัวข้อได้ง่ายขึ้น เช่น
-   หัวข้อเกี่ยวกับความสามารถชำระหนี้ระยะสั้นของกิจการ
-   หัวข้อเกี่ยวกับความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ของกิจการเพื่อก่อให้เกิดรายได้
-   หัวข้อเกี่ยวกับภาระหนี้สิน และความเสี่ยงทางการเงินของกิจการ
-   หัวข้อเกี่ยวกับความสามารถในการทำกำไรของกิจการ

สรุปประเด็น
(1) เลือกเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ เช่น     
(2) การย่อส่วนตามแนวดิ่ง (Common ? Size) 
(3) การวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend Analysis) 
(4)  การวิเคราะห์งบแสดงการเคลื่อนไหวของเงินทุน (Fund Flow Analysis) 
(5) การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis)
(6) การอ่านและแปลความหมาย
            (7) การจัดทำรายงานและการใช้ประโยชน์


กรณีศึกษา

บริษัท ไทยวินิเทค (2002) จำกัด
คุณสุพัศชัย วิรัตกพันธ์ กรรมการผู้จัดการ โทรศัพท์02-639-6699 มือถือ 01-840-2967

บริษัท ไทยวินิเทค (2002) จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2545 เป็นโรงงานผลิตเกี่ยวกับท่อพลาสติก PVC, อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับท่อ, ข้อต่อ และข้องอต่าง ๆ ที่ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม ISO 9200 และเครื่องหมายการค้า 3 ด้าน

ลูกค้าซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายของบริษัทฯ ส่วนใหญ่อยู่แถบภาคอีสาน และตามหน่วยงานราชการต่าง ๆ เนื่องจากโรงงานผลิตอยู่โคราช นิคมอุตสาหกรรมสุรนารี ตั้งอยู่เลขที่ 319 หมู่ 6 ถ.ราชสีมาโชคชัย ต.หนองระเวียง เขตอำเภอเมือง จ.นครราชสีมา

บริษัท ไทยวินิเทค (2002) จำกัด ใช้คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมสำเร็จรูปในการบันทึกเก็บข้อมูลทางบัญชีและการเงิน ทุกอย่างทั้งการซื้อ-ขาย บัญชีเงินเดือน บัญชีสินค้าคงคลัง จำนวนวัตถุดิบ การผลิต ตลอดจนบัญชีแยกประเภท ลูกหนี้ เจ้าหนี้ ฯลฯ ซึ่งบัญชีเหล่านี้จัดทำไว้อย่างเป็นระบบ ระเบียบ ง่ายและสะดวกต่อการตรวจสอบข้อมูล จากทั้งภายในบริษัทเองหรือจากภายนอก (เช่น สรรพากร, หุ้นส่วน ฯลฯ) ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ก็มีราคาไม่สูงมากนัก อยู่ที่ประมาณ 4-5 หมื่นบาท

นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนการลงทุนทั้งทางด้านปริมาณ ต้นทุนการผลิต ความสามารถทางการทำกำไร และใช้วิเคราะห์ข้อมูลระหว่างการดำเนินการด้วยเช่นกัน คือเมื่อดำเนินการผลิตไปแล้วก็สามารถวิเคราะห์ได้ตลอดเวลา

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน บริษัทฯ มีการวางแผนที่จะจัดหาเงินทุนมาใช้ โดยขอกู้จาก SMEs Bank ซึ่งเราได้วางแผนไว้ตั้งแต่ก่อนขอกู้แล้วว่าจะนำเงินมาทำอะไรบ้าง ซึ่งมีทั้งสินเชื่อระยะยาว 6 ปี ประมาณ 70 ล้านบาท ซึ่งกู้มาซื้อเครื่องจักร สร้างโรงงาน สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ส่วนสินเชื่อระยะสั้นวางแผนไว้สำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียน ประมาณ 20 ล้านบาท เช่น การผลิต ตลอดจนการซื้อ การขาย ซึ่งเป็นเงินทุนหมุนเวียนเมื่อเริ่มดำเนินการผลิตไปแล้ว