-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ซุนวู บรรพที่ ๖ ความอ่อนแอ และความเข้มแข็ง  (อ่าน 481 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

mormor1973

  • บุคคลทั่วไป

บรรพที่ ๖  ความอ่อนแอ และความเข้มแข็ง

ซุนจู้กล่าวว่า...
 "โดยทั่วไปนั้น ผู้ที่ตั้งค่ายในสนามรบได้ก่อน และคอยทีข้าศึกอยู่ ย่อมไม่เคร่งเครียด ผู้ที่มาถึงภายหลัง แล้วรีบเร่งเข้าทำการรบ ย่อมอิดโรย"  "ผู้ชำนาญการสงครามจึงชักจูงให้ข้าศึกเดินเข้ามาสู่สนามรบ  มิใช่ให้ข้าศึกนำตนเข้าสู่สนามรบ"
 "เมื่อข้าศึกสบาย จงรังควานให้เกิดความอิดโรย เมื่ออิ่มท้อง ต้องทำให้หิว เมื่อหยุดพัก ทำให้เคลื่อนที่"
 "ปรากฎตัวในที่ๆจะทำให้ข้าศึกเกิดความสับสนอลหม่าน  เคลื่อนที่เข้าตีอย่างรวดเร็วในที่ๆข้าศึกไม่คาดคิดว่าท่านจะเข้าถึงได้"
 "ท่านอาจเดินทัพได้ไกลพันลี้ โดยไม่อิดโรย เพราะเดินทางในเขตที่ไม่มีข้าศึก"
เพื่อให้แน่ใจว่าเข้าตีจุดใด ย่อมยึดได้ที่นั้น จงเข้าตีจุดที่ข้าศึกขาดกันป้องกัน
เพื่อให้แน่ใจว่าจะป้องกันที่ตั้งไว้ได้ จงป้องกันพื้นที่ที่ข้าศึกจะไม่เข้าตี
 ฉะนั้น "สำหรับผู้ที่ชำนาญในการเข้าตี  ข้าศึกจะไม่รู้ว่าควรป้องกันที่ใด
ส่วนผู้ที่ชำนาญในการป้องกันนั้น   ข้าศึกก็มิรู้ว่าจะเข้าตีที่ใด"
 ผู้ที่รุกด้วยการทุ่มเทกำลังที่ไม่มีผู้ใดต้านทานได้ ลงตรงจุดอ่อนของข้าศึก
 ผู้ที่ถอยทัพโดยไม่ให้ผู้อื่นติดตามได้ จะกระทำอย่างรวดเร็วฉับพลันจนไม่มีผู้ใดไล่ได้ทัน
 มาดังลมพัด ไปดังสายฟ้า
 "เมื่อข้าพเจ้าปรารถนาจะเปิดการรบ"  แม้ข้าศึกจะมีกำแพงสูง และคูเมืองป้องกัน  ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงข้าพเจ้าได้  ข้าพเจ้าโจมตี ณ จุดที่ข้าศึกต้องการความช่วยเหลือ
 "เมื่อข้าพเจ้าปรารถนาจะหลีกเลี่ยงการรบ"  ข้าพเจ้าอาจป้องกันตัวเองง่ายๆ ด้วยการขีดเส้นลงบนพื้นดิน  ข้าศึกก็ไม่อาจโจมตี ข้าพเจ้าได้  เพราะข้าพเจ้าจะเปลี่ยนมิให้ข้าศึกมุ่งไปยังที่เขาประสงค์จะไป
    "ถ้าข้าพเจ้าจะสามารถคอยพิจารณาดูท่าทีของข้าศึก ขณะเดียวกันข้าพเจ้าก็ช่อนเร้นท่าทีของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าก็จะสามารถรวมกำลัง โดยข้าศึกต้องแบ่งกำลัง  และถ้าข้าพเจ้ารวมกำลังได้ ขณะที่ข้าศึกแบ่งแยกกำลัง ข้าพเจ้าก็สามารถใช้กำลังทั้งหมดขยี้กำลังย่อยของข้าศึกได้ เพราะข้าพเจ้ามีจำนวนทหารมากกว่า
ฉะนั้นเมื่อสามารถใช้กำลังเหนือกว่าโจมตีผู้มีกำลังด้อยกว่า ณ จุดที่ข้าพเจ้าเป็นผู้กำหนด ใครที่ต้องสู้กับข้าพเจ้าจะเหมือนดังอยู่ในช่องแคบอันเต็มไปด้วยอันตราย"
  "ข้าพเจ้าจะต้องไม่ให้ข้าศึกรู้ว่า ข้าพเจ้าจะเปิดการรบ ณ ที่ใด  เมื่อไม่รู้ว่าข้าพเจ้าตั้งใจจะรบที่ใด  ข้าศึกก็ต้อง เตรียมตัวรับในที่ต่างๆกันหลายแห่ง    เมื่อข้าศึกต้องเตรียมรบในที่หลายแห่ง ณ จุดที่ข้าพเจ้าต้องการเปิดการรบ กำลังของข้าศึกจึงมีอยู่เพียงเล็กน้อย"
จงพิจารณาที่แผนของข้าศึกเสียก่อน  แล้วท่านจึงรู้ว่าควรใช้แผนยุทธศาสตร์ใดจึงจะได้ผล
    กวนข้าศึกให้ปั่นป่วน  แล้วดูรูปขบวนความเคลื่อนไหวของข้าศึกให้แน่ชัด
  พิจารณาท่าทีของข้าศึก แล้ว "ศึกษาลักษณะภูมิประเทศ (สมรภูมิ) ให้ถ่องแท้"
  ตรวจสอบ และ "ศึกษาให้รู้ว่า กำลังของข้าศึกส่วนใดเข้มแข็ง และส่วนใดบอบบาง"
  "สิ่งสำคัญในการวางรูปขบวนศึก อยู่ที่การไม่กำหนดรูปร่างให้แน่ชัด
เพื่อมิให้สายลับของข้าศึกที่แอบแฝงอยู่อ่านรูปขบวนออก  ข้าศึกแม้จะมีสติปัญญาเพียงใด ก็ไม่สามารถวางแผนทำลายท่านได้"
เมื่อข้าพเจ้าได้ชัยชนะครึ่งหนึ่งแล้ว ข้าพเจ้าจะไม่ใช้ยุทธวิธีนั้นซ้ำอีก แต่จะยึดถือเอาสภาวะแวดล้อมในลักษณะที่ผิดแปลกแตกต่างออกไปไม่รู้จบสิ้น ในการทำสงครามไม่มีภาวะใดคงที่
 
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ครึ่งทางแล้วนะครับ เมื่อวานเห็นหนังจบแล้วช่วง TPBS ไม่ค่อยได้ติดตามเลย ว่าจะหาDVDมาดู

3p

  • บุคคลทั่วไป
Re: ซุนวู บรรพที่ ๖ ความอ่อนแอ และความเข้มแข็ง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2008, 15:45:23 »

เมื่อข้าพเจ้าได้ชัยชนะครึ่งหนึ่งแล้ว ข้าพเจ้าจะไม่ใช้ยุทธวิธีนั้นซ้ำอีก แต่จะยึดถือเอาสภาวะแวดล้อมในลักษณะที่ผิดแปลกแตกต่างออกไปไม่รู้จบสิ้น ในการทำสงครามไม่มีภาวะใดคงที่


เข้าเค้านะเนี่ย  .,mn


ตามอ่านอยู่ก๊าบ  hgjhg

pass07

  • บุคคลทั่วไป
Re: ซุนวู บรรพที่ ๖ ความอ่อนแอ และความเข้มแข็ง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2008, 15:55:51 »

 ttu



ตามมาอ่าน ครับ


ขอบคุณ ครับ  ;khhg

Sylar

  • บุคคลทั่วไป
Re: ซุนวู บรรพที่ ๖ ความอ่อนแอ และความเข้มแข็ง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 16 ตุลาคม 2008, 01:35:37 »

ตามมาอ่านครับ ลงเรื่อยๆเรย

cmman573

  • บุคคลทั่วไป
Re: ซุนวู บรรพที่ ๖ ความอ่อนแอ และความเข้มแข็ง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 16 ตุลาคม 2008, 01:37:00 »

หึๆๆๆ กลยุทธ เหมือนประสบการณ์เราเอาไว้ใช้แก้ปัญหา ในอนาคต